รายงานประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564

นิสิต คำหล้า ประเภทประชาชน HS06

ตำบลแสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

ข้าพเจ้านาย นิสิต คำหล้า ประเภทประชาชน HS06 ตำบลแสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ได้ทำการสำรวจข้อมูลพื้นฐานและวิเคราะห์หมู่บ้านบุก้านตงพัฒนาและวางแผนพัฒนาชุมชน โดยได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานในช่วงเวลา กลางเดือนกันยายนถึงกลางเดือนตุลาคม พบว่าสภาพของประชาชนในพื้นที่ยังอยู่ในภาวะการเฝ้าระวังเรื่องโรคโควิดแพร่ระบาด ระลอกที่ 4 เช่นเดิม  ประกอบกับช่วงนี้สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างมาก เนื่องจากชาวบ้านอยู่ในสภาวะกค้าขายที่ฝืดเคืองรุนแรง เพราะะเนื่องจากว่าการหมุนของระบบเงินในท้องถิ่นขาดแคลน ที่มีผลมาจากโรคระบาด จึงทำให้ระบบเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะชะงักงัน ประกอบกับช่วงนี้เป็นช่วงปลายของฤดูกาลของการเพาะปลูกของเกษตรกร ทำให้ชาวบ้านต้องดูแลแปลงปลูกข้าว พืชผัก และหญ้าอาหารสัตว์ เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายฤดูฝน ในสภาพเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรง กระบวนการเพาะปลูกต่างๆทำได้จำกัด เช่น  การควบคุมวัชพืช การใช้ปุ๋ย เป็นต้น อย่างไรก็ตามในด้านการพัฒนาชุมชนของโครงการยังคงดำเนินการต่อไปภายใต้สภาพดังปัญหาดังกล่าว ซึ่งมีกระบวนการดำเนินงานในรอบเดือนคือ การอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพจากการแปรรูปเห็ดนางฟ้า การพัฒนากิจกรรมผลิตภัณฑ์ปุยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ และครอบคลุมไปถึงแนวทางการทำเพจแนะนำสินค้าและผลิตภัณฑ์ของกลุ่มและพัฒนาตลาดออนไลน์ โดยข้าพเจ้าทำหน้าที่เป็นผู้ร่วมศึกษาและรับการฝึกอบรมร่วมกับสมาชิกในกลุ่ม โดยมีรายละเอียดของกิจกรรมต่างๆในรอบเดือนมีดังนี้

1) เก็บข้อมูลตามแนวทางการจัดทำรายงานการดำเนินงานของโครงการในรอบแรก

สำหรับในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2564 นั้นจะมีการสรุปข้อมูลเพื่อจัดทำรูปเล่มและนำส่งรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีข้อมูลการเก็บโดยภาพรวมของการเก็บข้อมูลดังนี้

1.1) สภาพทั่วไปของพื้นที่ บ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ที่ 16

1.2) ประวัติทั่วไปของ ชุมชนบ้านบุก้านตงพัฒนา

1.3) แผนที่ชุมชน บ้านบุก้านตงพัฒนา

1.4) ข้อมูลสำคัญรายหมู่บ้าน บ้านบุก้านตงพัฒนา

1.5) ข้อมูลสมาชิกในชุมชน บ้านบุก้านตงพัฒนา

1.6) ข้อมูลอื่นๆที่สำคัญในชุมชน

 

 

2) กิจกรรมติดตามให้คำแนะนำสมาชิกในการให้คำแนะนำการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์

ติดตามและให้คำแนะนำกลุ่มสมาชิกที่เข้าร่วมจำนวน 10 คน จากตัวแทนสมาชิกครัวเรือนของบ้านบุก้านตงพัฒนาหมู่ที่ 16  และหมู่ที่ 12 ที่เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพจากการเพาะเห็ด โดยมีข้าพเจ้าร่วมทำหน้าที่เป็นผู้ร่วมศึกษาและรับการฝึกอบรมร่วมกับสมาชิกในกลุ่ม 10 คนดังนี้

  1. นางเภา เสือซ่อนโพรงบ้านเลขที่ 291 หมู่ที่ 16
  2. นางเสาร์ จันโสดาบ้านเลขที่ 290 หมู่ที่ 16
  3. นางสาวพัชรีพรภาคะบ้านเลขที่ 232     หมู่ที่ 16
  4. นางอัมพร โพนรัตน์บ้านเลขที่ 230  หมู่ที่ 16
  5. นางสาวพรจันทร์ บุญทองบ้านเลขที่ 16 หมู่ที่ 16
  6. นางไผ่ แสงสำโรง บ้านเลขที่ 133   หมู่ที่ 12
  7. นางวิไลรัตน์ เนียนสันเทียะ บ้านเลขที่ 6      หมู่ที่ 12
  8. นางอนงค์ ห้วยทอง    บ้านเลขที่  9     หมู่ที่ 12
  9. นางประยูรภาคะบ้านเลขที่   29   หมู่ที่ 12
  10. นางสวรรค์เนียนสันเทียะ     บ้านเลขที่   14   หมู่ที่ 12

โดยมีการแนะนำดังนี้คือ 1) ติดตามและให้คำแนะนำการเก็บเห็ดนางฟ้าและเทคนิคการทำให้ผลผลิตเห็ดสม่ำเสมอ 2) ให้คำแนะนำในการดูแลรักษาและเก็บผลผลิต 3) ปัญหาและข้อควรระวังในการผลิตเห็ดนางฟ้าให้ได้ผลผลิตที่ได้ ผลการอบรมพบว่าชาวบ้านให้ความสนใจดี และนำไปปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาพบว่าชาวบ้านให้การปฏิบัติด้วยดี

  1. 3. พัฒนากิจกรรมผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ

ในวันที่ 16-17 ตุลาคม 2564 ติดตามและเชิญชวนกลุ่มสมาชิกที่เข้าร่วมจำนวน 2 คน จากตัวแทนสมาชิกครัวเรือนของบ้านบุก้านตงพัฒนาหมู่ที่ 16 คือ นางอัมพร โพนรัตน์ และ นางสาวพรจันทร์ บุญทอง ที่เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ การส่งเสริมอาชีพในการทำผลิตภัณฑ์ การพัฒนากิจกรรมผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ โดยมีเป้าหมายและหลักแนวคิดในกรอบของการทำงานดังนี้

1) การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับครัวเรือนหรือชุมชนเกษตรกร

2)  การผลิตน้ำหมักชีวภาพใช้เองในครัวเรือนเพื่อการพึงพาตนเอง

3) การผลิตผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภคในครัวเรือน

4) สร้างแนวคิดการพัฒนาครัวเรือนแห่งความพอเพียงหรือสร้างชุมชนแห่งความพอเพียงเพื่อเพียงพอ

5) จัดทำสูตรน้ำหมักประเภทต่างๆให้กับชุมชนเกษตรกร เพื่อเป็นแนวทางในการพึ่งพาตนเอง

โดยมีสูตรต่างๆดังนี้

สูตรที่ 1 การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

วัสดุและอุปกรณ์

1.เศษอาหารแห้ง เช่น เศษข้าว เศษขนมปัง ก้างปลา เปลือกไข่ เปลือกผลไม้ 1 ส่วน

2.มูลสัตว์ เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ ขี้ม้า 1 ส่วน

  1. ใบไม้ 1 ส่วน

4.ถังขนาด 20 ลิตร

5.ตาข่ายกันแมลง

วิธีทำ

1.นำถังขนาด 20 ลิตร มาเจาะรูไว้รอบถังแล้วใช้ตาข่ายกันแมลงพันให้รอบ เพื่อช่วยระบายอากาศและป้องกันแมลงรบกวน

2.ผสมเศษอาหารแห้งที่มีขนาดเล็กและไม่มีน้ำ เช่น เศษข้าว เศษขนมปัง ก้างปลา เปลือกไข่ และเปลือกผลไม้ เข้ากับมูลสัตว์ เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ ขี้ม้า และเศษใบไม้ ในอัตรา 1:1:1 ส่วน

3.คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วปิดฝาให้สนิท ถ้าหากวันต่อไปมีเศษอาหารเพิ่ม ก็นำมาเติมเข้าไปได้ แต่อย่าลืมผสมในอัตราส่วนเท่าเดิมด้วย

4.พลิกกลับส่วนผสมวันละ 1-2 ครั้ง เป็นประจำทุกวัน

หมายเหตุ: ในช่วงแรกไม่จำเป็นต้องเติมน้ำ เพราะเศษอาหารมีความชื้นอยู่แล้ว แต่เมื่อเห็นว่าส่วนผสมเริ่มแห้งลง ก็สามารถพรมน้ำเข้าไปได้เล็กน้อย โดยจะใช้เวลาในการหมักประมาณ 1 เดือน ก็จะได้ปุ๋ยหมักสีดำขนาดเล็ก ที่แห้งสนิทและไม่มีกลิ่นเหม็นไว้ใช้บำรุงต้นไม้แล้ว

สูตรทึ่ 2 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพแบบน้ำ

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม มีดังนี้

1.ถุงกระสอบดินสำหรับใส่เศษอาหาร

2.ถังมีฝาปิด ขนาดที่สามารถใส่น้ำได้ 10 ลิตรขึ้นไป

3.น้ำตาล 1 กิโลกรัม

4.น้ำสะอาด 10 ลิตร ควรพักคลอรีนไว้สัก 1-2 คืน

วิธีทำ

1.นำน้ำสะอาด 10 ลิตร มาเติมลงในถัง ใส่กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม หรือใส่น้ำตาล 1 ส่วน ใช้ไม้กวนให้เข้ากัน

2.นำเศษอาหารใส่ลงในกระสอบ (กระสอบดินถุงที่พอจะมีช่องระบายอากาศ) มัดปากถุงแล้วแช่ลงไป โดยเเนะนำว่าไม่ควรใส่เศษอาหารเกิน 3 ส่วน

3.หมักทิ้งไว้ประมาณ 20-30 วัน โดยควรปิดฝาให้สนิท เพื่อให้แมลงจะได้ไม่มาไข่ เเละทำให้ถังหมักของเราไม่มีหนอน

วิธีนำมาใช้

1.เวลานำมาใช้รดน้ำต้นไม้ ก็ควรจะผสมให้เจือจาง เเนะนำว่าควรใช้ 2 ชัอนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 บัว (ประมาณ 20 ลิตร)

2.ส่วนกากที่เหลือก็สามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยต่อได้  โดยนำมาผสมกับใบไม้แห้ง เเละปุ๋ยคอก  รดน้ำ ปรับความชื้น 60% คือ เมื่อบีบแล้วไม่มีน้ำไหลซึมออกจากง่ามมือ และเมื่อแบมือออก ปุ๋ยยังคงจับตัวกันเป็นก้อน และทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์ หรือสังเกตดูจนปุ๋ยหายร้อน ก็สามารถนำไปใช้ได้

หมายเหตุ: ระหว่างการหมัก ถ้าเป็นไปได้ก็ควรเทเข้าเทออกสักหน่อย คล้ายๆ กับเป็นการกลับกองไปในตัว เเต่ถ้าลองสังเกตหรือจับดูเเล้วปุ๋ยที่หมักไม่ร้อนแสดงว่ากระบวนการหมักไม่เกิด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าเราปรับความชื้นไม่เหมาะสม

  1. การเก็บข้อมูลและบันทึกข้อมูลตามแบบ SROI

การเก็บข้อมูลตามกรอบของ SROI ( Social Return on Investment) คือการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลตอบแทนของโครงการต่างๆ ที่มีคุณค่าต่อเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งในโครงการนี้ ได้ทำการเก็บข้อมูลจากผู้คนในชุมชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 11 กลุ่ม ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มต่างๆดังนี้คือ

1) กลุ่มครัวเรือนเป้าหมาย

2) ลูกจ้างโครงการ

3) ครอบครัวลูกจ้าง

4) ชุมชนภายใน

5) ชุมชนภายนอก

6) อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ

7) เจ้าหน้าที่โครงการ

8) ผู้แทนตำบล

9) ผู้แทนหน่วยงานรัฐ

10) องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

11) เอกชนในพื้นที่

ซึ่งข้าพเจ้าสมาชิกตัวแทนกลุ่มได้ทำการเก็บข้อมูลภาคสนามด้านมิติ ชุมชนภายใน ซึ่งทำการเก็บข้อมูลที่วัดป่าบ้านแสลงพัน ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งผลการสรุปในภาพรวมของโครงการในมิตินี้อยู่ในระดับดีมาก

  1. การแปรูปเห็ดนางฟ้าเป็นผลิตภัณฑ์เห็ดสวรรค์

การแปรูปเห็ดนางฟ้าไว้บริโภคหรือจำหน่ายนั้นเป็นแนวทางหนึ่งใการลดภาวะผลิตภัณฑ์ล้นตลาดหรือเป็นการช่วยถนอมอาหารไว้บริโภคให้นานวันขึ้น ซึ่งขั้นตอนการทำมีดังนี้

1)  นำเห็ดนางฟ้ามาล้างทำความสะอาด แล้วตากแดดทิ้งไว้ให้สะเด็ดน้ำ

2) นำเห็ดลงทอดด้วยไฟกลางจนเหลืองกรอบ

3) การหมักและการบริโภค ตั้งกระทะใส่น้ำเปล่าเล็กน้อยและใส่น้ำตาลปี๊ป ซีอิ๊วขาว

4) การคลุกเคล้าและปรุงรส นำข้อ 3 มาเคี๊ยวจนละลาย จากนั้นนำเห็ดมาคลุกแล้วเติมเม็ดผักชีและเม็ดพริกไทย

วัตถุดิบที่ใช้ในการทำเห็ดสวรรค์

1) เห็ดนางฟ้า                         2) น้ำตาลปี๊ป

3) ซีอิ้วขาว                           4) เม็ดพริกไทยแฃะเม็ดผักชี

5) น้ำเปล่า

 


อื่นๆ

เมนู