รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)

ประจำเดือนตุลาคม 2564

ดิฉันนางสาวพัชรี มณีเติม ประเภทบัณฑิตจบใหม่  เจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ  จังหวัดบุรีรัมย์

พื้นที่รับผิดชอบ บ้านหนองผักโพด หมู่ที่ 4  ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : HS06 – สร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

       การปฏิบัติงานในเดือนตุลาคม ตำบลแสลงพัน มีการร่วมมือจากหลายฝ่าย ดิฉันและผู้ปฏิบัติงาน U2T ลงพื้นที่รวบรวมแบบสอบถาม SROI โดยแบ่งเป็นกลุ่มเป็นโซนเพื่อให้ง่ายต่อการลงพื้นที่เก็บข้อมูล เพื่อให้เกิดความรวดเร็วต่อการรวบรวมงาน มีการติดตามโรงเห็ดต้นแบบทั้ง 3 หมู่บ้าน และมีการอบรมพัฒนากิจกรรมผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพให้กับชาวบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด -19 ทำให้การจัดกิจกรรมทุกครั้งมีการจำกัดจำนวนคน และมีการเว้นระห่าง และการลงพื้นที่แต่ละครั้งต้องระวังมากขึ้น

1. เก็บรวบรวมข้อมูล บันทึกข้อมูล ตามแบบSROI

       วันที่ 4 ตุลาคม 2564 ดิฉันและทีมงาน U2T ได้เข้าร่วมประชุมกับทางมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับงานสำรวจข้อมูลและคีย์ข้อมูลแบบสอบถาม SROI หลังจากเข้าร่วมประชุมเสร็จอาจารย์ประจำหลักสูตรก็ได้มอบหมายให้ประธานกลุ่ม U2T ประจำตำบล แบ่งหน้าที่แบ่งกลุ่มกันลงพื้นที่เก็บข้อมูลในพื้นที่โดยแบ่งกลุ่มทั้งสมาชิกเก่าและสามาชิกใหม่เข้าร่วมกัน ข้อมูลการเก็บจะมี 11 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตำบลเป้าหมาย ลูกจ้างโครงการ ครอบครัวลูกจ้าง ชุมชนภายใน ชุมชนภายนอก อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ เจ้าหน้าที่โครงการ (UDI) ผู้แทนตำบล หน่วยงานภาครัฐ อปท. เอกชนในพื้นที่ โดยการเก็บข้อมูล จะเก็บไม่ต่ำกว่า 1 ตัวอย่าง

       วันที่ 7-9 ตุลาคม 2564 ดิฉันและทีมงาน U2T ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถามในตำบลแสลงพัน  วันที่ 10 เรขาประจำตำบลแสลงพันเก็บรวบรวมข้อมูล วันที่ 11 ตุลาคม 2564 ดิฉันและทีมงานเรขานำส่งอาจารย์ประจำหลักสูตรตรวจสอบความถูกต้องก่อนคีย์ข้อมูลลงระบบ ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2564

2.จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน HS06 บทที่ 1

      พื้นที่พัฒนา เขตพื้นที่รับผิดชอบ คือ บ้านหนองผักโพด หมู่ 4 ต.แสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ สภาพทั่วไปของหมู่บ้านในช่วงเดือนตุลาคม สภาพแวดล้อมภายในหมู่บ้านบรรยากาศดี ผู้คนเป็นมิตร เป็นหมู่บ้านที่ขนาดใหญ่ ในช่วงนี้เก็บข้อมูลได้ยากขึ้นเพราะสถานการณ์โควิด -19 เพราะเป็นพื้นที่เสี่ยง

      วันที่ 23 กันยายน 2564 ดิฉันได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลของหมู่บ้านหนองผักโพด หมู่4 ได้นัดกับ อ.ส.ม. ประจำหมู่บ้านไปข้อมูลที่อนามัยประจำตำบลแสลงพัน เกี่ยวกับข้อมูลสมาชิกชุมชน 1) ผู้สูงอายุ 2) ทารกแรกเกิด 3) เด็กและเยาวชน (อายุ 1 ขวบ -19 ปี) 4) สตรีมีครรภ์ 5) ผู้พิการ 6) สมาชิก อสม.

      วันที่ 2 ตุลาคม 2564 ลงพื้นที่ เก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติหมู่บ้านโดยสอบถาม นายสูน แก้วกล้า ซึ่งเป็นอดีตผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 ของหมู่บ้านหนองผักโพด ในวันเดียวกันลงเก็บข้อมูลบ้านสามเขยกับสามชิกในทีม U2T

      วันที่ 7 ตุลาคม 2564 ลงเก็บข้อมูลส่วนที่เหลือเกี่ยวกับเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน วัด โรงเรียน

3.พัฒนากิจกรรมผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ วันที่ 16-17 ต.ค.64 ณ.บ้านแสลงพันและบ้านบุขี้เหล็กใหม่

      วันที่ 16 ตุลาคม 2564 ดิฉันและทีมงาน U2T พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร ลงพื้นที่อบรมให้คำแนะนำชี้แจงกิจกรรมระยะที่ 1 การเพราะเห็ด และกิจกรรมระยะที่ 2 การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และน้ำหมักชีวภาพ การมอบหมายขอความร่วมมือสามาชกหลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มจิตรอาสา ทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เองในครัวเรือน แจกเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัวและเน้นการใช้น้ำหมักชีวภาพ ปลอดสารพิษ ปลูกทานเอง เพื่อลดรายจ่าย และนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ พร้อมแจกอุปกรณ์การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ

      ช่วงเช้า เวลา 09:00น. อบรมที่ศาลาประชาคมบ้านแสลงพัน หมู่บ้านที่เข้าร่วมอบรมได้แก่ หมู่ 5,7,14,1,15,12,16,3 และช่วงบ่ายอบรมที่ศาลาประชาคมบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา เวลา 13:00น. หมู่บ้านที่ร่วมอบรมได้แก่ หมู่ 6,11,17,2,8,13,4,10,9 วิธีการทำปุ๋ยหมักมี ดังนี้

สูตรที่ 1 การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

วัสดุและอุปกรณ์

       1.เศษอาหารแห้ง เช่น เศษข้าว เศษขนมปัง ก้างปลา เปลือกไข่ เปลือกผลไม้ 1 ส่วน

       2.มูลสัตว์ เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ ขี้ม้า 1 ส่วน

       3.ใบไม้ 1 ส่วน

       4.ถังขนาด 20 ลิตร

       5.ตาข่ายกันแมลง

วิธีทำ

       1.นำถังขนาด 20 ลิตร มาเจาะรูไว้รอบถังแล้วใช้ตาข่ายกันแมลงพันให้รอบ เพื่อช่วยระบายอากาศและป้องกันแมลงรบกวน

       2.ผสมเศษอาหารแห้งที่มีขนาดเล็กและไม่มีน้ำ เช่น เศษข้าว เศษขนมปัง ก้างปลา เปลือกไข่ และเปลือกผลไม้ เข้ากับมูลสัตว์ เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ ขี้ม้า และเศษใบไม้ ในอัตรา 1:1:1 ส่วน

       3.คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วปิดฝาให้สนิท ถ้าหากวันต่อไปมีเศษอาหารเพิ่ม ก็นำมาเติมเข้าไปได้ แต่อย่าลืมผสมในอัตราส่วนเท่าเดิมด้วย

       4.พลิกกลับส่วนผสมวันละ 1-2 ครั้ง เป็นประจำทุกวัน

หมายเหตุ: ในช่วงแรกไม่จำเป็นต้องเติมน้ำ เพราะเศษอาหารมีความชื้นอยู่แล้ว แต่เมื่อเห็นว่าส่วนผสมเริ่มแห้งลง ก็สามารถพรมน้ำเข้าไปได้เล็กน้อย โดยจะใช้เวลาในการหมักประมาณ 1 เดือน ก็จะได้ปุ๋ยหมักสีดำขนาดเล็ก ที่แห้งสนิทและไม่มีกลิ่นเหม็นไว้ใช้บำรุงต้นไม้แล้ว

สูตรทึ่ 2 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพแบบน้ำ

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม มีดังนี้

       1.ถุงกระสอบดินสำหรับใส่เศษอาหาร

       2.ถังมีฝาปิด ขนาดที่สามารถใส่น้ำได้ 10 ลิตรขึ้นไป

       3.น้ำตาล 1 กิโลกรัม

       4.น้ำสะอาด 10 ลิตร ควรพักคลอรีนไว้สัก 1-2 คืน

วิธีทำ

       1.นำน้ำสะอาด 10 ลิตร มาเติมลงในถัง ใส่กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม หรือใส่น้ำตาล 1 ส่วน ใช้ไม้กวนให้เข้ากัน

       2.นำเศษอาหารใส่ลงในกระสอบ (กระสอบดินถุงที่พอจะมีช่องระบายอากาศ) มัดปากถุงแล้วแช่ลงไป โดยเเนะนำว่าไม่ควรใส่เศษอาหารเกิน 3 ส่วน

       3.หมักทิ้งไว้ประมาณ 20-30 วัน โดยควรปิดฝาให้สนิท เพื่อให้แมลงจะได้ไม่มาไข่ เเละทำให้ถังหมักของเราไม่มีหนอน

วิธีนำมาใช้

       1.เวลานำมาใช้รดน้ำต้นไม้ ก็ควรจะผสมให้เจือจาง เเนะนำว่าควรใช้ 2 ชัอนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 บัว (ประมาณ 20 ลิตร)

       2.ส่วนกากที่เหลือก็สามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยต่อได้ โดยนำมาผสมกับใบไม้แห้ง เเละปุ๋ยคอก รดน้ำ ปรับความชื้น 60% คือ เมื่อบีบแล้วไม่มีน้ำไหลซึมออกจากง่ามมือ และเมื่อแบมือออก ปุ๋ยยังคงจับตัวกันเป็นก้อน และทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์ หรือสังเกตดูจนปุ๋ยหายร้อน ก็สามารถนำไปใช้ได้

หมายเหตุ: ระหว่างการหมัก ถ้าเป็นไปได้ก็ควรเทเข้าเทออกสักหน่อย คล้ายๆ กับเป็นการกลับกองไปในตัว เเต่ถ้าลองสังเกตหรือจับดูเเล้วปุ๋ยที่หมักไม่ร้อนแสดงว่ากระบวนการหมักไม่เกิด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าเราปรับความชื้นไม่เหมาะสม

สูตรที่ 3 การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารในครัวเรือนแบบฝังดิน

วัสดุอุปกรณ์

       1.ถุงผ้าแยงเขียว     1 ใบ

       2.เศซอาหารทึ่สะสไว้หลายวัน 1 ถัง

       3.น้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย  1  ขันพลาสติก หรือ จุลินทรีย์น้ำซาว

วิธีทำ

      1.ขุดดินเป็นหลุมลึกพอประมาณกับถุงที่ใส่เศษอาหาร

      2.หย่อนก้นถุงผ้าแยงลงไปในหลุมแล้วเทดศษอาหารลงไปให้เต็ม

      3.เทน้ำหมักที่เตรียมไว้ให้และมัดปากถุงผ้าแยงให้แน่น แล้ววางถุงลงแนวนอน

      4.เอาดินกลบให้ทั่วถึง ไม่ต้องกลบแน่น หาป้ายเขียนวันหมักไว้เพือ่กันลืม หมักไว้ประมาณ 30 วันก็ขุดเอามาใช้ประโยชน์ได้

## น้ำหมักน้ำซาวข้าว ##

     1.น้ำซาวข้าว      1- 1.5    ลิตร

     2.น้ำตาลทราย       2 ช้อนโต๊ะ

     3.นมเปรี้ยว             2 ช้อนโต๊ะ

     4. ขวดพลาสติกขนาด 1- 1.5 ลิตร

วิธีทำ

     เทน้ำซาวข้าวที่เตรียมไว้ลงขวด ตามด้วยน้ำตาลทราย และนมเปรี้ยว เขย่าให้น้ำตาลละลายปิดฝาหลวมๆหมักไว้ 1 อาทิตย์

ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก

     1.ปุ๋ยหมักเป็นการนำขยะอินทรีย์มาใช้ประโยชน์ใหม่ จึงช่วยลดปริมาณขยะอินทรีย์เข้าระบบการจัดการขยะได้

  1. ปุ๋ยหมักบางชนิดมีจุลินทรีย์ที่ช่วยยับยั้งและป้องกันจุลินทรีย์ที่ทำให้พืชเป็นโรคได้
  2. ปุ๋ยหมักมีธาตุอาหารครบถ้วน ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม
  3. ปุ๋ยหมักเป็นแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตในดินที่เป็นประโยชน์ จึงช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีขึ้น
  4. ปุ๋ยหมักมักจะปล่อยธาตุอาหารให้พืชอย่างช้า ๆ ทำให้อยู่ในดินได้ค่อนข้างนาน จึงมีโอกาสเสียน้อยกว่าปุ๋ยเคมี
  5. ปุ๋ยหมักช่วยปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดินให้เหมาะสมได้ ต่างจากปุ๋ยเคมีที่มีแอมโมเนียเป็นส่วนประกอบ จึงอาจจะทำให้ดินแปรสภาพเป็นกรด
  6. ปุ๋ยหมักช่วยเพิ่มจุลินทรีย์และอินทรียวัตถุ ทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น เช่น ร่วนซุย ระบายน้ำดี ถ่ายเทอากาศสะดวก และรากแผ่กระจายหาอาหารง่ายขึ้น ในขณะที่ปุ๋ยเคมีไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงดินใด ๆ
  7. ปุ๋ยหมักช่วยลดค่าใช้จ่ายและทำให้ประหยัดเงิน เพราะสามารถใช้แทนปุ๋ยเคมีได้ สามารถลดปริมาณการซื้อปุ๋ยเคมีลงได้ แถมยังไม่ต้องเสียเงินซื้อสารเคมีหรือยาป้องกันแมลงศัตรูพืชด้วย

4. ติดต่อประสานงาน

        ประสานงานกับผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกเป้าหมายหมู่บ้าน  บ้านหนองผักโพด หมู่ 4 จำนวน 2 คน ชื่อสมาชิกดังนี้ นาย 1.นายอนุสรณ์ บุญเลิศ 2.​นายประเสริฐ​ ทับผาเพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนา การทำปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุเหลือใช้ เช่น เศษผัก เศษผลไม้ เศษอาหาร นำไปหมักเพื่อนำมาใช้ฉีดผักที่เราปลูกไว้ที่บ้านหรือนำขายเพื่อลดรายจ่ายจากการซื้อปุ๋ยเคมี และปลอดสารพิษไม่เป็นอันตรายต่อการบริโภค โครงการนี้จัดทำเพื่อให้ชาวบ้านปลูกผักกินเองลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ถ้ากินไม่หมดก็สามารถนำไปขายได้ จากการทำปุ๋ยอินทรีถ้าเหลือใช้สามารถนำไปบรรจุภัณฑ์ขาย และต่อยอดให้กับชาวบ้านให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

5. ติดตามและให้คำแนะนำการเพาะเห็ดโรงเรือนบ้านบุก้านตง หนองตาดตามุ่ง และบุขี้เหล็กใหม่

       วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ลงพื้นที่ติดตามโรงเรือนต้นแบบ บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัมนา พบว่าเห็ดมีเชื้อราเกือบทั้งหมดดิฉันและทีมงาน U2T ได้แก้ปัญหาโดยการโยนก้อนเชื้อเห็ดเพื่อกระตุ้นเชื้อและเรียงเห็ด แคะหน้าเห็ดเอาเชื้อราออก และทำความสะอาดโรงเรือน ทิ้งไว้ 7 วันและติดตามผลพบว่าเห็ดนางฟ้ามีการงอกจำนวนมากและนำไปบรรจุขาย

       วันที่ 7 ตุลาคม 2564 ลงพื้นที่ติดตามโรงเรือนเห็ดต้นแบบที่บ้านบุก้านตงและบ้านหนองตาดตาม่ง พบว่า ทั้ง 2 ที่ เป็นเชื้อราเช่นเดียวกัน

สาเหตุของการเกิดเชื้อรา

  1. คนที่เก็บดอกเห็ดในโรงเรือนมาหยอดเชื้อข้างฟางโดยไม่ทำความสะอาดร่างกายก่อน คนเก็บเห็ดจึงกลายเป็นพาหะนำเชื้อราเขียวที่เกิดในโรงเปิดดอกเห็ด (หากมี) มาแพร่ขยายต่อที่ก้อนเห็ดใหม่
  2. พื้นโรงเรือนไม่ทำความสะอาด หรือบางฟาร์มจะทิ้งก้อนเห็ดที่เป็นเชื้อรา ติดแบคทีเรียไว้ในบริเวณฟาร์ม โดยไม่ได้ทำลาย หรือมีระบบจัดการที่ไม่ดี สปอร์ของราเขียวที่อยู่ในก้อนเห็ดเก่าก็อาจจะฟุ้งกระจายไปทั่วฟาร์มก็ได้
  3. ทิศทางของฟาร์มเห็ดไม่ถูกต้อง ทิศทางของฟาร์มเห็ดก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อราได้ง่าย ฟาร์มเห็ดที่ดีจึงควรตั้งขวางทิศทางลม เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อรา ไม่ใช่เฉพาะราเขียวอย่างเดียว
  4. การรดน้ำที่ไม่ถูกวิธี การให้ความชื้นที่เกินพอดี
  5. ใช้ช้อนเขี่ยทำความสะอาดหน้าก้อนเห็ดโดยที่ไม่ใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาด หากก้อนเห็ดก้อนใดมีเชื้อราเขียวปนเปื้อนอยู่ โอกาสจะแพร่กระจายจากก้อนหนึ่งไปสู่อีกก้อนหนึ่งได้ง่าย

ปัญหาและอุปสรรค

       ปัญหาสถานการณ์โควิด -19 ทำให้ยากต่อการลงพื้นที่ ยากต่อการขอข้อมูลกับชาวบ้าน การอบรมในแต่ละครั้งไม่สามารถเชิญชาวบ้านมาอบรมตามจำนวนที่ต้องการได้

       ปัญหาสภาพอากาศช่วงนี้อยู่ในช่วงฝนตกหนักหลายวัน ทำให้ยากต่อการลงพื้นที่มากขึ้น ชาวบ้านส่วนหนึ่งไม่สามารถมาอบรมตามที่กำหนดได้

       ปัญหาด้านโรงเรือนเห็ดตัวอย่าง เนื่องจากมีเชื้อราในก้อนเห็ดจำนวนมากยากต่อการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในลำดับต่อไป

ข้อเสนอแนะ

       ต้องการครัวเรือนตันแบบที่มีจิตอาสาจริงๆ มาทำพัฒนากิจกรรมผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ

เพื่อต่อยอดให้กับคนในหมู่บ้านเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน

       แจกก้อนเชื้อเห็ดให้กับตัวแทนหมู่บ้าน เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากต่อการดูแล

วีดีโอประจำเดือนตุลาคม 

อื่นๆ

เมนู