1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS06 - ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ
  4. HS06-ทำแบบสอบถาม SROI และอบรมการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์ทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ สารชีวภาพ ในชุมชนตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

HS06-ทำแบบสอบถาม SROI และอบรมการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์ทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ สารชีวภาพ ในชุมชนตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)

ประจำเดือนตุลาคม 2564

ดิฉันนางสาวเพ็ญนภา  ตาชูชาติ ประเภทบัณฑิตจบใหม่  เจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ  จังหวัดบุรีรัมย์ 

พื้นที่รับผิดชอบ หมู่ 15 บ้านโคกใหม่พัฒนา ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : HS06 – สร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

     การปฏิบัติงานในเดือนตุลาคมนี้เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังมีเพิ่มขึ้นในตำบลแสลงพันและบริเวณใกล้เคียง ทำให้พื้นที่ที่จัดทำกิจกรรมของทีมสมาชิกผู้ปฏิบัติงาน U2T ร่วมกับสมาชิกชุมชนเป็นไปได้ยาก แต่ทางอาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้ปฏิบัติงาน U2T ได้ประชุมและมอบหมายงานเพื่อลงพื้นที่จัดทำกิจกรรม โดยการแบ่งกลุ่มลงพื้นที่เพื่อความปลอดภัยและระมัดระวังกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

     วันที่​ 23​ กันยายน​ 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรนัดประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet โดยการประชุมครั้งนี้ได้มอบหมายงานทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ดังนี้

  1. การเก็บข้อมูลรายงานผลการดำเนินโครงการ เลื่อนส่งไม่เกินวันที่ 7 ตุลาคม 2564

 -แบ่งกลุ่มการจัดทำรายงาน (2-3 กลุ่ม)

  1. การเพิ่มอัตราการจ้างงานของตำบลแสลงพัน

   3. การจัดเสื้อให้กับผู้นำชุมชน

     วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ดิฉันได้ลงพื้นที่พร้อมกับทีมผู้ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบโรงเรือนบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่17 เนื่องจากก้อนเชื้อเห็ดเกิดเชื้อราสีดำ จึงต้องเร่งการแก้ไข ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการการใช้น้ำที่ไม่สะอาดรดก้อนเห็ด มีน้ำขังในก้อนและมีแมลงหวี่ จึงทำให้เกิดเชื้อราได้ ดิฉันพร้อมกับทีมผู้ปฏิบัติงานได้ทำการกวาดทำความสะอาดดูแลโรงเรือนเพาะเห็ด, เก็บเห็ดนางฟ้า, แคะหน้าเห็ดใหม่, จัดเรียงก้อนเชื้อเห็ดตามชั้นที่วางไว้ใหม่, พลิกก้อนเห็ดเพื่อทำไม่ให้เกิดเชื้อราได้อีก

     

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     วันที่ 3 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรนัดประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet โดยมอบหมายประธานในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานและสมาชิกจัดระบบพี่เลี้ยงให้กับสมาชิกใหม่  ,การจัดกิจกรรมเป็นวันศุกร์และเสาร์ ลงจัดกิจกรรม การออกแบบบรรจุภัณฑ์และการทำสื่อประชาสัมพันธ์การตลาด (สถานที่จะจัดกิจกรรมจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง ลงพื้นที่จัดกิจกรรมวันที่ 9 ตุลาคม 2564)  และการจัดทำรายงานบทที่ 1 กำหนด ส่งวันที่ 7 ตุลาคม 2564 ส่งให้กับอาจารย์และประธานในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบ

     ช่วงบ่ายเวลา 13.00 น. ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน HS06 บทที่ 1 ณ บ้านโคกใหม่ ตำบลแสลงพัน

     วันที่ 4 ตุลาคม 2564 เข้าร่วมประชุมออนไลน์ เรื่อง การเก็บข้อมูลแบบสำรวจ SROI ผ่านโปรแกรม Microsoft Team  ซึ่งมีข้อมูลการเก็บแบบสอบถาม U2T-SROI โดยมีหัวข้อ ดังนี้

  1. ตำบลเป้าหมาย เก็บข้อมูลตำบลละ 3 คนในพื้นที่
  2. ลูกจ้างโครงการ เก็บข้อมูลจาก ผู้ถูกจ้างงานประจำตำบล 9 คน แบ่งเป็น ประชาชน 3 คน บัณฑิตจบใหม่ 3 คน และ นักศึกษา 3 คน
  3. ครอบครัวลูกจ้างโครงการ 1 ครอบครัว
  4. ชุมชนภายใน เก็บข้อมูล 1 คน
  5. ชุมชนภายนอก เก็บข้อมูลจากคนที่อยู่นอกพื้นที่ 1 คน
  6. ผู้แทนตำบล เก็บข้อมูล 1 คน
  7. หน่วยงานภาครัฐ เก็บข้อมูล 1 คน
  8. หน่วยงาน อปท. เก็บข้อมูล 1 คน
  9. เอกชนในพื้นที่ เก็บข้อมูลจากร้านค้าเอกชน 1 ร้าน

 

 

 

 

 

 

   

     วันที่ 5 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรนัดประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet สรุปงานการลงสำรวจแบบสอบถาม U2T-SROI  ในตำบลแสลงพัน ซึ่งแบบสอบถามโดยรวม เป็นการถามถึงโครงการที่กลุ่ม U2T ลงพื้นที่ไปจัดกิจกรรม ได้แก่

  1. การประเมินศักยภาพตำบล
  2. การสำรวจการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ โควิด-19
  3. การจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน
  4. การจัดกิจกรรม U2T สู้ภัยโควิด-19
  5. การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่
  6. การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน
  7. การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม

     วันที่ 7 ตุลาคม 2564 ได้ลงพื้นที่ประชุมหารือกับผู้ปฏิบัติงานในกลุ่ม และนัดลงพื้นที่เพื่อทำแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบลต่อ 1 มหาวิทยาลัย (U2T-SROI) ณ ศาลาประชาคมหมู่บ้าน หมู่ที่ 7 บ้านแสลงพัน ได้ขอความร่วมมือกับผู้นำตอบแบบสอบถาม ซึ่งได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีและการตอบแบบสอบถามนี้เป็นไปตาม มาตรการป้องกันโควิด-19 สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์อย่างเคร่งครัด การปฏิบัติงานครั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนร่วมมือและร่วมแรงกันเพื่อทำผลงานให้ออกมาดีที่สุด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

   

 

 

 

 

         วันที่ 16 ตุลาคม 2564 เข้าอบรมการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์ทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ สารชีวภาพ และลงพื้นที่พัฒนาหมู่บ้านแสลงพันหมู่ที่7 และบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนาหมู่ที่ 17 เพื่อนัดคนในชุมชนแบ่งการออกฝึกอบรม 2 ช่วง คือ ช่วงเช้ากับช่วงบ่าย ซึ่งมีตัวแทนคนในชุมชนทั้ง 17 หมู่บ้านของตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ เข้าร่วมรับการอบรมชี้แจงแนวทางการทำปุ๋ยอินทรีย์ สารชีวภาพ เพื่อให้ดำรงชีพด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยหลังจากการอบรมเสร็จ มีการแจกจ่ายถังพลาสติกสำหรับนำไปทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารภายในครัวเรือน และส่งเสริมให้ประชาชนปลูกผักเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนอีกด้วย

เมล็ดพันธุ์พืชทางการเกษตรที่ชุมชนต้องการ

1. ผักชีจีน

2.ผักคะน้า
3. ผักคะน้า 4. ผักกาดขาว
5. โหระพา 6. มะเขือเทศ
7. ผักกวางตุ้งฮ่องเต้ 8. ผักกาดหอม
9. ผักบุ้ง 10. พริกขี้หนู
11. ขึ้นฉ่าย 12. ผักชีลาว
13. ผักชะอมไร้น้ำ 14. หอม
15. ผักกาดเขียว 16. มะเขือเปราะ
17. ผักกวางตุ้งดอก 18. มะเขือเทศน้อย
19. มะละกอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

  1. เก็บรวบรวมข้อมูล บันทึกข้อมูล ตามแบบ SROI ได้รับมอบหมายเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายผู้แทนตำบล จากเจ้าหน้าที่ อบต. เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2564 ซึ่งแบบสอบถามโดยรวม เป็นการถามถึงโครงการที่กลุ่ม U2T ลงพื้นที่ไปจัดกิจกรรม ได้แก่
    1. การประเมินศักยภาพตำบล
    2. การสำรวจการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ โควิด-19
    3. การจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน
    4. การจัดกิจกรรม U2T สู้ภัยโควิด-19

 

 

 

 

 

  1. จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน HS06 บทที่ 1 เพื่อออกสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมในชุมชนที่รับผิดชอบเพื่อจัดทำรูปเล่มรายงาน นำส่งรายงานเพิ่มเติมให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และดิฉันได้รับผิดชอบบ้านโคกใหม่พัฒนา หมู่ที่ 15 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เกี่ยวกับสภาพทั่วไปของพื้นที่พัฒนาซึ่งจะนำไปวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต่อไป ข้อมูลที่สำรวจมีดังนี้

1.1 ประวัติทั่วไป

         1.2 แผนที่ชุมชน

         1.3 ข้อมูลสำคัญรายตำบล (หมู่บ้าน)

                1) ปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญา

                2) เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน

                3) ร้านค้าชุมชน

                4) วัด

                5) โรงเรียน

                6) แหล่งน้ำ

                7) ป่าชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ

                8) อาชีพ

                9) กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

                10) ผลิตภัณฑ์ในชุมชน

                11) เส้นทางคมนาคม

          1.4 ข้อมูลสมาชิกชุมชน

                1) ผู้สูงอายุ

                2) ทารกแรกเกิด (แรกเกิด-1ขวบ)

                3) เด็กและเยาวชน (อายุ 1ขวบ – 19 ปี)

                4) ผู้พิการ

                5) สมาชิก อสม.

          1.5 ข้อมูลทุนทางวัฒนธรรม

                1) จารีต (กติกาของแต่ละชุมชน)

                2) ประเพณี

                3) ภูมิปัญญา

                4) ศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่น

          1.6 พืชสมุนไพรในชุมชน

   

 

 

 

 

   

 

 

 

 

  1. พัฒนากิจกรรมผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ วันที่ 16-17 ต.ค.64 ณ บ้านแสลงพันหมู่ที่ 7และบ้านบุขี้เหล็กใหม่ หมู่ที่ 17 โดยหลังจากการอบรมเสร็จ มีการแจกจ่ายถังพลาสติกสำหรับนำไปทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารภายในครัวเรือน และส่งเสริมให้ประชาชนปลูกผักเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนอีกด้วย

ปุ๋ยสูตรที่ 1 การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

วัสดุและอุปกรณ์

    1. เศษอาหารแห้ง เช่น เศษข้าว เศษขนมปัง ก้างปลา เปลือกไข่ เปลือกผลไม้ 1 ส่วน
    2. มูลสัตว์ เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ ขี้ม้า 1 ส่วน
    3. ใบไม้ 1 ส่วน
    4. ถังขนาด 20 ลิตร
    5. ตาข่ายกันแมลง

วิธีทำ

    1. นำถังขนาด 20 ลิตร มาเจาะรูไว้รอบถังแล้วใช้ตาข่ายกันแมลงพันให้รอบ เพื่อช่วยระบายอากาศและป้องกันแมลงรบกวน
    2. ผสมเศษอาหารแห้งที่มีขนาดเล็กและไม่มีน้ำ เช่น เศษข้าว เศษขนมปัง ก้างปลา เปลือกไข่ และเปลือกผลไม้ เข้ากับมูลสัตว์ เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ ขี้ม้า และเศษใบไม้ ในอัตรา 1:1:1 ส่วน
    3. คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วปิดฝาให้สนิท ถ้าหากวันต่อไปมีเศษอาหารเพิ่ม ก็นำมาเติมเข้าไปได้ แต่อย่าลืมผสมในอัตราส่วนเท่าเดิมด้วย
    4. พลิกกลับส่วนผสมวันละ 1-2 ครั้ง เป็นประจำทุกวัน

***หมายเหตุ: ในช่วงแรกไม่จำเป็นต้องเติมน้ำ เพราะเศษอาหารมีความชื้นอยู่แล้ว แต่เมื่อเห็นว่าส่วนผสมเริ่มแห้งลง ก็สามารถพรมน้ำเข้าไปได้เล็กน้อย โดยจะใช้เวลาในการหมักประมาณ 1 เดือน ก็จะได้ปุ๋ยหมักสีดำขนาดเล็ก ที่แห้งสนิทและไม่มีกลิ่นเหม็นไว้ใช้บำรุงต้นไม้แล้ว***

 

ปุ๋ยสูตรที่ 2 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพแบบน้ำ

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม มีดังนี้

    1. ถุงกระสอบดินสำหรับใส่เศษอาหาร
    2. ถังมีฝาปิด ขนาดที่สามารถใส่น้ำได้ 10 ลิตรขึ้นไป
    3. น้ำตาล 1 กิโลกรัม
    4. น้ำสะอาด 10 ลิตร ควรพักคลอรีนไว้สัก 1-2 คืน

วิธีทำ

    1. นำน้ำสะอาด 10 ลิตร มาเติมลงในถัง ใส่กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม หรือใส่น้ำตาล 1 ส่วน ใช้ไม้กวนให้เข้ากัน
    2. นำเศษอาหารใส่ลงในกระสอบ (กระสอบดินถุงที่พอจะมีช่องระบายอากาศ) มัดปากถุงแล้วแช่ลงไป โดยแนะนำว่าไม่ควรใส่เศษอาหารเกิน 3 ส่วน
    3. หมักทิ้งไว้ประมาณ 20-30 วัน โดยควรปิดฝาให้สนิท เพื่อให้แมลงจะได้ไม่มาไข่ และทำให้ถังหมักของเราไม่มีหนอน

วิธีนำมาใช้

    1. เวลานำมาใช้รดน้ำต้นไม้ ก็ควรจะผสมให้เจือจาง แนะนำว่าควรใช้ 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 บัว (ประมาณ 20 ลิตร)
    2. ส่วนกากที่เหลือก็สามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยต่อได้ โดยนำมาผสมกับใบไม้แห้ง และปุ๋ยคอก  รดน้ำ ปรับความชื้น 60% คือ เมื่อบีบแล้วไม่มีน้ำไหลซึมออกจากง่ามมือ และเมื่อแบมือออก ปุ๋ยยังคงจับตัวกันเป็นก้อน และทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์ หรือสังเกตดูจนปุ๋ยหายร้อน ก็สามารถนำไปใช้ได้

***หมายเหตุ: ระหว่างการหมัก ถ้าเป็นไปได้ก็ควรเทเข้าเทออกสักหน่อย คล้ายๆ กับเป็นการกลับกองไปในตัว แต่ถ้าลองสังเกตหรือจับดูแล้วปุ๋ยที่หมักไม่ร้อนแสดงว่ากระบวนการหมักไม่เกิด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าเราปรับความชื้นไม่เหมาะสม***

ปุ๋ยสูตรที่ 3 การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารในครัวเรือนแบบฝังดิน

วัสดุอุปกรณ์

    1. ถุงผ้าแยงเขียว 1 ใบ
    2. เศษอาหารที่สะสมไว้หลายวัน 1 ถัง
    3. น้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย 1  ขันพลาสติก หรือ จุลินทรีย์น้ำซาว

วิธีทำ

    1. ขุดดินเป็นหลุมลึกพอประมาณกับถุงที่ใส่เศษอาหาร
    2. หย่อนก้นถุงผ้าแยงลงไปในหลุมแล้วเทเศษอาหารลงไปให้เต็ม
    3. เทน้ำหมักที่เตรียมไว้ให้และมัดปากถุงผ้าแยงให้แน่น แล้ววางถุงลงแนวนอน
    4. เอาดินกลบให้ทั่วถึง ไม่ต้องกลบแน่น หาป้ายเขียนวันหมักไว้เพื่อกันลืม หมักไว้ประมาณ 30 วันก็ขุดเอามาใช้ประโยชน์ได้

น้ำหมักน้ำซาวข้าว

 วัสดุอุปกรณ์

    1. น้ำซาวข้าว 1- 1.5 ลิตร
    2. น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
    3. นมเปรี้ยว 2 ช้อนโต๊ะ
    4. ขวดพลาสติกขนาด 1- 1.5 ลิตร

วิธีทำ

เทน้ำซาวข้าวที่เตรียมไว้ลงขวด ตามด้วยน้ำตาลทราย และนมเปรี้ยว เขย่าให้น้ำตาลละลายปิดฝาหลวมๆหมักไว้ 1 อาทิตย์

ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก

    1. ปุ๋ยหมักเป็นการนำขยะอินทรีย์มาใช้ประโยชน์ใหม่ จึงช่วยลดปริมาณขยะอินทรีย์เข้าระบบการจัดการขยะได้
    2. ปุ๋ยหมักบางชนิดมีจุลินทรีย์ที่ช่วยยับยั้งและป้องกันจุลินทรีย์ที่ทำให้พืชเป็นโรคได้
    3. ปุ๋ยหมักมีธาตุอาหารครบถ้วน ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม
    4. ปุ๋ยหมักเป็นแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตในดินที่เป็นประโยชน์ จึงช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีขึ้น
    5. ปุ๋ยหมักมักจะปล่อยธาตุอาหารให้พืชอย่างช้า ๆ ทำให้อยู่ในดินได้ค่อนข้างนาน จึงมีโอกาสเสียน้อยกว่าปุ๋ยเคมี
    6. ปุ๋ยหมักช่วยปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดินให้เหมาะสมได้ ต่างจากปุ๋ยเคมีที่มีแอมโมเนียเป็นส่วนประกอบ จึงอาจจะทำให้ดินแปรสภาพเป็นกรด
    7. ปุ๋ยหมักช่วยเพิ่มจุลินทรีย์และอินทรียวัตถุ ทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น เช่น ร่วนซุย ระบายน้ำดี ถ่ายเทอากาศสะดวก และรากแผ่กระจายหาอาหารง่ายขึ้น ในขณะที่ปุ๋ยเคมีไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงดินใด ๆ
    8. ปุ๋ยหมักช่วยลดค่าใช้จ่ายและทำให้ประหยัดเงิน เพราะสามารถใช้แทนปุ๋ยเคมีได้ สามารถลดปริมาณการซื้อปุ๋ยเคมีลงได้ แถมยังไม่ต้องเสียเงินซื้อสารเคมีหรือยาป้องกันแมลงศัตรูพืชด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4. ติดต่อประสานงาน ให้คำแนะนำ สมาชิกเป้าหมายหมู่บ้านโคกใหม่พัฒนา หมู่ที่ 15 จำนวน 2 คน คือ

นายทองสูน ประทุม และนางเสด็จ ผาน้อยวงศ์ เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาดำรงชีพด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

5. ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้ช่วยเลขานุการและเป็นผู้ประสานงาน ประจำหมู่บ้านโคกใหม่พัฒนา ตำบลแสลงพัน ในทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T พื้นที่รับผิดชอบตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ช่วยเหลือดูแลเกี่ยวกับการประสานงานไปยังชุมชน ช่วยเหลือกับผู้ปฏิบัติงานในตำบลแสลงพัน

6. ติดตามและให้คำแนะนำการเพาะเห็ดโรงเรือนบ้านบุก้านตง โรงเรือนบ้านหนองตาดตามุ่ง และโรงเรือนบุขี้เหล็กใหม่

ภาพกิจกรรมการติดตามให้คำแนะนำการพัฒนาผลผลิต

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วิดีโอปฏิบัติงาน HS06-EP.10 ต.แสลงพัน ประจำเดือนตุลาคม 2564

อื่นๆ

เมนู