การสร้างมูลค่าจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
นางสาวธิดา คำหล้า ประเภทประชาชน
พื้นที่ได้รับมอบหมาย บ้านบุก้านตง ม.12 ต.แสลงพัน

ข้าพเจ้านางสาวธิดา คำหล้า ประเภท HS06 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์สรุปผลการปฏิบัติผลการทำงานในรอบเดือนที่ผ่านมาและได้วางแผนปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายนดังนี้ประชาชน
ตามที่ข้าพเจ้าได้ทำการสำรวจข้อมูลพื้นฐานและสภาพบริบททั่วไปของหมู่บ้านบุก้านตงทั้งระดับบุคลและครัวเรือน โดยลงพื้นที่ปฏิบัติงานช่วงกลางเดือนกันยายนถึงกลางเดือนตุลาคม 2564 พบว่าผู้นำชุมชนและชาวบ้านในพื้นที่อยู่ในภาวะที่เฝ้าระวังและติดตามเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด 19 ระรอกที่ 4 ผู้นำและชาวบ้านมีการระมัดระวังและป้องกันคนในชุมชนมีการฉีดวัคซีนเกิน 80% ของคนในชุมชนเนื่องจากการระบาดที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้นทำให้ชุมชนได้รับผลกระทบมากกว่าเดิมส่งผลต่อการค้าขาย สินค้าทางการเกษตรเพราะชาวชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมมีรายได้ตกต่ำลงไปมากส่งผลกระทบทั้งทางตรงละทางอ้อมภายใต้สภาวะทีวิกฤตชาวชุมชน ม. 12 ได้มีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ของโรคโควิด 19
จากภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวกล่าวชาวบ้านหรือเกษตรกรต้องประกอบอาชีพต่อไปตามสถานการณ์ในช่วงเดือนที่ผ่านชาวบ้านได้ใส่ปุ๋ยดูแลนาข้าว ควบคุมวัชพืช ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นเพราะชาวบ้านต้องใช้เงินทุนในการทำเกษตร ในสภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ
อย่างไรก็ตามภายใต้สภาวะเศรษฐกิจดังกล่าวทางด้านการพัฒนาชุมชนของโครงการยังคงต้องดำเนินต่อไปภายใต้สภาพปัญหา ซึ่งมีกระบวนการดำเนินการดังต่อไปนี้
1. เก็บข้อมูลตามแนวทางการจัดทำรายงานการดำเนินงานของโครงการในรอบแรก
สำหรับในช่วงในเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564
ได้มีการสรูปข้อมูลเพื่อจัดทำรูปเล่มและนำส่งรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สภาพทั่วไปของพื้นที่บ้านบุก้านตงหมู่ที่ 12ซึ่งมีข้อมูลการเก็บโดยภาพรวมดังนี้
1.1) เก็บข้อมูลตามแนวทางการจัดทำรายงานการดำเนินงานของโครงการในรอบแรก
1.2) ประวัติทั่วไปของชุมชนบ้านบุก้านตงหมู่ที่ 12
1.3) แผนที่ชุมชน บ้านบุก้านตงหมู่ที่ 12
1.4) ข้อมูลสำคัญรายหมู่บ้านบุก้านตงหมู่ที่ 12
1.5) ข้อมูลสมาชิกในชุมชน บ้านบุก้านตงหมู่ที่ 12
1.6) ข้อมูลอื่นๆที่สำคัญในชุมชน
2. ผู้ปฏิบัติงาน และทีม กลุ่ม สมาชิกจะนำเห็ดไปขายในชุมชนหรือระแวกใกล้เคียง เช่นตลาดนัดใกล้หมู่บ้านและกลุ่มสมาชิกรวมกลุ่มแปรรูปเห็ดนางฟ้า คือการทำเห็ดสวรรค์กับทีมสมาชิกโครงการบ้านบุก้านตงทั้งสองหมู่บ้าน

3.ผู้ปฏิบัติงานได้ติดตามกิจกรรมของกลุ่มสมาชิกและให้คำแนะนำด้านการรดน้ำดูแลก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าได้พบปัญหาคือเห็ดเกิดเชื้อราแนะนำให้สมาชิกงดน้ำ และแยกก้อนเชื้อเห็ดออกจากก้อนปกติ หลังจากงดน้ำก้อนเชื้อเห็ดได้ 3-4 วัน ก้อนเชื้อเห็ดก็สามารถกลับมาออกดอกได้เหมือนเดิม
4.ได้ลงสำรวจข้อมูลสภาพทั่วไปในพื้นที่ชุมชนบ้านบุก้านตงหมู่ที่ 12 ได้ลงไปสอบถามข้อมูลกับชาวชุมชน ผู้เฒ่าผู้แก่ประจำหมู่บ้านได้บอกเล่าประวัติของหมู่บ้าน และผู้นำชุมชนต่างให้ความร่วมมือและความรู้ภูมิปัญญาของหมู่บ้านที่ตนอาศัยเป็นอย่างดีจึงทำให้ทราบว่าทุกชุมชนล้วนภูมิใจในเอกลักษณ์ของหมู่บ้านที่ตนอยู่อาศัย
5.ได้ลงพื้นที่ทำกิจกรรมกับทีมผู้ปฏิบัติงานเรื่องการมอบหมายเก็บข้อมูล SROI ที่ศาลาประชาคมบ้านแสลงพันหมู่ที่ 7 และได้ไปติดตามโรงเรือนเพาะเห็ดที่บ้านหนองตาดตามุ่งและได้รับมอบหมายจากประธานกลุ่มให้ดำเนินการติดต่อประสานงานตัวแทนกลุ่มสมาชิกบ้านบุก้านตงหมู่ที่ 12 เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม
6. ส่งเสริม การตลาดแบบออนไลน์กับกลุ่มสมาชิกเช่นขายในเฟสบุ้ค กลุ่มไลน์ และแนะนำ ให้สมาชิกใช้เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่สมาชิกมีอยู่ทุกครัวเรือนมาประยุกต์เป็นสารปรับปรุงดิน น้ำหมักชีวภาพ มาปลูกผักใส่นาข้าวลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตได้ด้วย
6. ได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรมแปรรูปเห็ด ออกแบบผลิตภัณฑ์ จัดทำตลาดออนไลน์รวมทั้งการอบรมการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาประยุกต์เป็นปุ๋ยอินทรีย์ สารปรับปรุงดิน น้ำหมักชีวภาพ รวมทั้งมอบ EM กากน้ำตาล ถัง เมล็ดพันธุ์พืช ให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรมในโครงการ ในวันที่ 16 ตุลาคม ที่ศาลาประชาคมหมู่ที่ 7 บ้านแสลงพันและได้ไปอบรมและติดตามการดำเนินงานที่โรงเรือนบ้านบุขี้เหล็ก

7.ข้าพเจ้าได้ถ่ายภาพนิ่งและเคลื่อนไหวของกลุ่มสมาชิกบ้านบุก้านตงหมู่ที่ 12 เวลาปฏิบัติงานให้ให้ผู้รับ ผิดชอบ ประธานกลุ่มทีมผู้ปฏิบัติงาน และแนะนำทีมสมาชิกได้นำเสนอสินค้าผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ
จากการติดตามผลการดำเนินงานในรอบเดือนมีนาคม-ตุลาคมที่ผ่านมาทำให้ทราบว่าชาวชุมชนทั้งสองหมู่บ้านมีการร่วมมือร่วมแรงสามัคคีกันเป็นอย่างดีกลุ่มสมาชิกสามารถมีรายได้ในการจำหน่ายเห็ดลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนรวมถึงสร้างอาชีพการแปรรูปผลิตภัณฑ์ของบ้านบุก้านตงทั้งสองหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นโครงการที่สามารถสร้างเสริมอาชีพให้ชุมชนได้อย่างแท้จริงและเราได้ให้ตัวแทนทีมสมาชิกได้ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายจากการเก็บผลผลิตเห็ดนางฟ้า จึงทำให้ทราบว่าสมาชิกมีรายได้จากการจำหน่ายเห็ดและสามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ด้วย
จากการที่ข้าพเจ้าได้ติดตามการสร้างเครือข่ายในการจำหน่ายเห็ดของกลุ่มสมาชิกบ้านบุก้านตงและบ้านบุก้านตงพัฒนามีรายละเอียดดังนี้
1. การจัดทำบัญชีครัวเรือน รายรับ –รายจ่าย
รายรับ –รายจ่าย ประจำเดือนกันยายนของโรงเรือนเพาะเห็ดบ้านบุก้านตงพัฒนา ม.16
วัน/เดือน/ปี รายการ รายรับ (บาท ) รายจ่าย(บาท ) คงเหลือ

1/9 ขายเห็ด 350 – –
3/9 ขายเห็ดและซื้อถุง 70 –
8/9 ขายเห็ด และซื้อวัสดุแปรรูป 350 55 –
11/9 ขายเห็ด ซื้อวัสดุต่างๆ 490 65 –
12/9 ขายเห็ด 105 – –
13/9 ขายเห็ด 70 – –
25/9 ขายเห็ด 210 – –
26/9 ขายเห็ด 105 – –
27/9 ขายเห็ด 140 10 –
28/9 ขายเห็ด 140 – –
29/9 ขายเห็ด 210 – –
30/9 ขายเห็ด 140
รวมยอดรายได้ในการขายเห็ด -ยอดรวมรายจ่ายในการซื้อวัสดุแปรรูป 2380 130
2250

การจัดทำบัญชีครัวเรือนข้าพเจ้าแนะนำกลุ่มสมาชิกให้ทำแบบเรียบง่ายตามความเข้าใจและรับรู้ทุกคนในทีมสมาชิก

ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาอาชีพในท้องถิ่นและเลือกสื่อโซเชียล ต้นแบบในการพัฒนาชุมชน
1.การติดตามให้คำแนะนำเชิงปฏิบัติ และการพัฒนากลุ่มสมาชิกหรือตัวแทนสมาชิกเพื่อให้การทำงานบรรลุเป้าหมาย
2. เนื่องจากสภาวะที่โควิด 19 ระบาดค่อนข้างหนักเป็นอุปสรรคทั้งการฝึกอบรมและการลงพื้นที่ภาคสนาม ทีมผู้ประสานงานจึงติดตามผ่านกลุ่มไลน์ สื่อโซเชียลต่างๆกับทีมสมาชิกบ้านบุก้านตงหมู่ที่ 12
3.ปัญหาการทำบัญชีในกลุ่มสมาชิกโรงเรือนบ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ 16 แก้ไขโดยการทำบัญชีแบบเรียบง่ายให้เข้าใจในกลุ่มสมาชิก และสรุปรายได้และค่าใช้จ่ายให้กลุ่มสมาชิกทราบในแต่ละเดือน

4.ได้พัฒนาส่งเสริมอาชีพของกลุ่มสมาชิกบ้านบุก้านตงทั้งสองหมู่บ้านโดยการแปรรูปเห็ดเป็นแหนมและเห็ดสวรรค์พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เพิ่มสมุนไพรและข้าวไรซ์เบอรี่ในส่วนผสมของแหนมและเห็ดสวรรค์

สูตรการทำเห็ดสววรค์ (วัตถุดิบ)
เห็ดนางฟ้า 2 กิโลกรัม
กระเทียม 50 กรัม
พริกไทยป่น 1 ช้อนชา
น้ำตาลปี๊บ 200 กรัม
เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ
ซีอิ้วขาว 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำ 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันพืช(สำหรับทอด) 3 ถ้วยตวง
งาขาวคั่วสุก 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1.ทำความสะอาดเห็ด ล้างเห็ดแล้วปล่อยให้แห้งจากน้ำ
2.ฉีกเห็ดเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปนึ่งให้สุกผึ่งให้แห้ง
3.ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันพืช ไฟปานกลางใส่เห็ดเรียงกันพอดีชั้นเดียวเต็มกระทะ ทอดสุกเหลืองพอดี กับเห็ดที่เดียว (อย่าคนจะทำให้เห็ดห่อตัว)ใช้ตะแกรงตักขึ้นวางบนกระดาษซับน้ำมัน
4. ตักน้ำมันออกจากกระทะเหลือไว้ประมาณ 1ช้อนโต๊ะใส่กระเทียม พริกไทย เจียวให้เหลืองตักขึ้น
5. เอากระทะตั้งไฟอีกครั้ง ใส่น้ำตาลปี๊บ ซี

สูตรการทำน้ำหมักชีวภาพ จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร(เศษอาหารในครัวเรือน)
วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมมีดังนี้
ถังสำหรับใส่เศษอาหาร
ถังมีฝาปิด ขนาดที่สามารถใส่น้ำได้ 10 ขึ้นไป
น้ำตาล 1 กิโลกรัม
น้ำสะอาด 10 ลิตร ควรพักคลอรีนไว้ 1-2คืน

วิธีทำ
1. นำน้ำสะอาด 10 ลิตร มาเติมลงในถัง ใส่กากน้ำตาลหรือน้ำตาล 1 กิโลกรัม ใช้ไม้กวนให้เข้ากัน
2. จากนั้นนำเศษอาหารหรือเศษวัสดุที่เหลือใช้ทางเกษตรมาเทใส่ถัง โดยแนะนำว่าไม่ควรใส่เศษอาหารเกิน 3 ส่วน
3. หมักทิ้งไว้ประมาณ 20-30 วัน โดยควรปิดฝาให้สนิท เพื่อให้แมลงจะได้ไม่มาไข่ และถังหมักของเราไม่มีหนอน
วิธีนำมาใช้
เวลานำมารดต้นไม้ ก็ควรผสมให้เจือจางแนะนำควรใช้ 2 ฝา ต่อน้ำ 1บัว (หรือประมาณ 20 ลิตร)
ส่วนกากที่เหลือก็สามารถนำไปหมักเป็นต่อได้โดยนำมาผสมกับใบไม้แห้ง และปุ๋ยคอก รดน้ำ ปรับความชื้น 60% เมื่อบีบแล้วไม่มีน้ำซึมออกมาจากง่ามมือ และเมื่อแบมืออก ปุ๋ยยังคงจับตัวกันเป็นก้อน และทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์ หรือสังเกตดูจนปุ๋ยหายร้อน ก็สามารถนำไปใช้ได้
ระหว่างการหมัก ถ้าเป็นไปได้ก็ควรคนสลับขึ้นลงคล้ายๆกับการกลับกองในตัวแต่ถ้าลองสังเกตหรือจับดูแล้วปุ๋ยที่หมักไม่ร้อนแสดงว่ากระบวนการหมักไม่เกิด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าเราปรับความชื้นไม่เหมาะสม หรือใส่สัดส่วนไม่พอดีระหว่างสิ่งที่ย่อยเร็วกับย่อยช้า

อื่นๆ

เมนู