บทความรายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน (เดือนตุลาคม)
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1ตำบล 1มหาวิทยาลัย)
ข้าพเจ้านางสาววนิดา เชาวนกุล ประเภทบัณฑิตจบใหม่ หลักสูตร HS06 – การสร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมสมาชิกผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรประจำพื้นที่ พื้นที่รับผิดชอบ บ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรตำบลแสลงพัน ได้มีการนัดประชุมออนไลน์ร่วมกับทีมสมาชิกผู้ปฏิบัติงานตำบลแสลงพัน ดิฉันได้รับมอบหมายหน้าที่เลขานุการปฏิบัติงานประจำตำบลแสลงพัน สรุปแบ่งกลุ่มวางแผนชี้แจงงานจัดทำตารางรายชื่อสมาชิกผู้ปฏิบัติงาน มอบหมายลงพื้นที่เก็บข้อมูลในตำบลแสลงพัน แบบสอบถาม SROI
1.เก็บรวบรวมข้อมูล บันทึกข้อมูล ตามแบบสอบถาม SROI
เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่สำรวจแบบสอบถาม U2T-SROI โดยมีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 11 ด้าน ดังนี้
1.ตำบลเป้าหมาย
2.ลูกจ้างโครงการ
3.ครอบครัวลูกจ้าง
4.ชุมชนภายใน
5.ชุมชนภายนอก
6.อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ
7.เจ้าหน้าที่โครงการ USI
8.ผู้แทนตำบล
9.หน่วยงานภาครัฐ
10.อปท.
11.เอกชนในพื้นที่
โดยข้าพเจ้าได้รับมอบหมายลงพื้นที่สำรวจทำแบบสอบถาม เป้าหมายที่ 1 และ 2 ลงพื้นที่ขอข้อมูลสมาชิกชุมชน ลักษณะกลุ่มเป้าหมาย ประธานวิสาหกิจชุมชน/ผู้นำชุมชน/เกษตรกร หมู่ที่ 5 บ้านหนองตาด ตามุ่ง หมู่ที่ 16 บ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ที่ 17 บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา เป็นกลุ่มเป้าหมายในตำบลเป้าหมาย ชาวบ้านได้ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามออกความคิดเห็น ในการดำเนินกิจกรรม โครงการ U2T เกิดผลกระทบ/เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านศักยภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเงินอย่างไรเพื่อนำข้อมูลลง ในระบบต่อไปทั้งนี้ชุมชนได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการตอบแบบสอบถามข้อมูล SROI และข้าพเจ้าได้รับมอบหมายทำแบบสอบถาม ลูกจ้างโครงการ จัดทำข้อมูลส่วนตัว แบบสอบถามเชิงอภิปราย แสดงตอบ ด้านความคิดเห็น บทบาท และหน้าที่รับผิดชอบ การเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ และได้นำลงระบบต่อไป
2.จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการ HS06 บทที่ 1
ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ออกสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมในชุมชนเพื่อจัดทำรูปเล่ม และนำส่งรายงานเพิ่มเติมให้กับมหาวิทยาลัยซึ่งได้รับผิดชอบในส่วนของบ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เกี่ยวกับสภาพทั่วไปของพื้นที่พัฒนาซึ่งจะนำไปวิเคราะห์ข้อมูล และดำเนินการ ลงพื้นที่ในชุมชนต่อไป ข้อมูลที่จะสำรวจมีดังนี้
1.1 ประวัติทั่วไป
1.2 แผนที่ชุมชน
1.3 ข้อมูลสำคัญรายตำบล (หมู่บ้าน)
1) ปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญา
2) เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน
3) ร้านค้าชุมชน
4) วัด
5)โรงเรียน
6) แหล่งน้ำ
7) ป่าชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ
8) อาชีพ
9) กลุ่มวิสาหกิจชุมชน
10) ผลิตภัณฑ์ในชุมชน
11) เส้นทางคมนาคม
1.4 ข้อมูลสมาชิกชุมชน
1) ผู้สูงอายุ
2) ทารกแรกเกิด
3) เด็กและเยาวชน (อายุ 1 ขวบ -19 ปี)
4) สตรีมีครรภ์
5) ผู้พิการ
6) สมาชิก อสม.
1.5 ข้อมูลทุนทางวัฒนธรรม
1) จารีต (ข้อปฏิบัติของแต่ละชุมชน)
2) ประเพณี
3) ภูมิปัญญา
1.6 พืชสมุนไพรในชุมชน
ซึ่งในการเก็บข้อมูลต่างๆในบทที่ 1 ข้าพเจ้าได้สอบถามประวัติหมู่บ้านจากผู้ใหญ่บ้าน นายอำพร เรืองคำไฮ และชาวบ้านหนองสรวง โดยบ้านหนองสรวงก่อตั้งขึ้นเมื่อ 2475 มีครอบครัว คุณพ่อโข่-คุณแม่เจ๊ก โคตรสวัสดิ์ ได้อพยพมาจากบ้านธาตุ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทรึ โดยมีทั้งหมด 4 ครอบครัวได้อพยพมาจากถิ่นไกล และได้มาอาศัยอยู่ที่บ้านหนองสรวง ตั้งแต่ปี 2475 จนถึง 2564 มีจำนวนชาวบ้านอาศัยอยู่ประมาณ 583 คน ส่วนข้อมูล ผู้พิการผู้สูงอายุ เด็กอายุ 1-19 ปี อสม.ประจำหมู่บ้านเป็นผู้ให้ข้อมูล และข้อมูลต่างๆในชุมชนบ้านหนองสรวง เช่น ร้านค้า แหล่งน้ำ พืชสมุนไพร ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญา ประเพณี ข้าพเจ้าได้ลงสำรวจเก็บข้อมูลกับชุมชนได้ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลเป็นอย่างดีตลอดมาในการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน
3.พัฒนากิจกรรมผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
เมื่อวันที่ 16-17 ตุลาคม 2564 ณ บ้านแสลงพันและบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา ได้จัดกิจกรรมพัฒนาตำบลแสลงพัน ระยะที่ 2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ) ร่วมกับสมาชิกชุมชน โดยได้ทำการแบ่งกลุ่มเป็น 2 โซน ในการจัดกิจกรรม โซนที่ 1 บ้านแสลงพัน โดยจัดกิจกรรมที่ศาลา บ้านแสลงพัน หมู่ที่ 7 และมีชุมชน บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ที่ 5 บ้านแสลงพันพัฒนา หมู่ที่ 14 บ้านบุก้านตง หมู่ที่ 12 บ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ที่ 16 บ้านโคกใหม่ หมู่ที่ 1 บ้านโคกใหม่พัฒนา หมู่ที่ 15 และบ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3 โซนที่ 2 บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่ 17 บ้านบุขี้เหล็ก หมู่ที่ 6 บ้านบุขี้เหล็กหมู่ที่ 11 บ้านหนองระนาม หมู่ที่ 2 บ้านหนองตาหล่า หมู่ที่ 8 บ้านสามเขย หมู่ที่ 13 บ้านหนองผักโพด หมู่ที่ 4 บ้านสี่เหลี่ยมน้อย หมู่ที่ 9 บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ที่ 10
ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบชุมชนบ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3 ติดต่อประสานงานให้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมโดยมี 1.นางสาวณัฐจิตรา เสนานอก 2.นางประครอง สีหานู โดยได้มีการอบรม ชี้แจงขั้นตอนการทำกิจกรรม ชี้แจงปฏิทินติดตามงานทุกสัปดาห์ กิจกรรมประกวดครอบครัวและชุมชนต้นแบบการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ และมอบวัสดุอุปกรณ์แจกเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัว ถังหมัก ถุงปลุก บรรจุภัณฑ์ อื่นๆ ให้กับสมาชิกชุมชนทั้ง 17 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 2 ครัวเรือน
สูตรที่ 1 การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร
วัสดุและอุปกรณ์
1.เศษอาหารแห้ง เช่น เศษข้าว เศษขนมปัง ก้างปลา เปลือกไข่ เปลือกผลไม้ 1 ส่วน
2.มูลสัตว์ เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ ขี้ม้า 1 ส่วนป็น
3. ใบไม้ 1 ส่วน
4.ถังขนาด 20 ลิตร
5.ตาข่ายกันแมลง
วิธีทำ
1.นำถังขนาด 20 ลิตร มาเจาะรูไว้รอบถังแล้วใช้ตาข่ายกันแมลงพันให้รอบ เพื่อช่วยระบายอากาศและป้องกันแมลงรบกวน
2.ผสมเศษอาหารแห้งที่มีขนาดเล็กและไม่มีน้ำ เช่น เศษข้าว เศษขนมปัง ก้างปลา เปลือกไข่ และเปลือกผลไม้ เข้ากับมูลสัตว์ เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ ขี้ม้า และเศษใบไม้ ในอัตรา 1:1:1 ส่วน
3.คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วปิดฝาให้สนิท ถ้าหากวันต่อไปมีเศษอาหารเพิ่ม ก็นำมาเติมเข้าไปได้ แต่อย่าลืมผสมในอัตราส่วนเท่าเดิมด้วย
4.พลิกกลับส่วนผสมวันละ 1-2 ครั้ง เป็นประจำทุกวัน
หมายเหตุ: ในช่วงแรกไม่จำเป็นต้องเติมน้ำ เพราะเศษอาหารมีความชื้นอยู่แล้ว แต่เมื่อเห็นว่าส่วนผสมเริ่มแห้งลง ก็สามารถพรมน้ำเข้าไปได้เล็กน้อย โดยจะใช้เวลาในการหมักประมาณ 1 เดือน ก็จะได้ปุ๋ยหมักสีดำขนาดเล็ก ที่แห้งสนิทและไม่มีกลิ่นเหม็นไว้ใช้บำรุงต้นไม้แล้ว
สูตรทึ่ 2 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพแบบน้ำ
วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
1.ถุงกระสอบดินสำหรับใส่เศษอาหาร
2.ถังมีฝาปิด ขนาดที่สามารถใส่น้ำได้ 10 ลิตรขึ้นไป
3.น้ำตาล 1 กิโลกรัม
4.น้ำสะอาด 10 ลิตร ควรพักคลอรีนไว้สัก 1-2 คืน
วิธีทำ
1.นำน้ำสะอาด 10 ลิตร มาเติมลงในถัง ใส่กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม หรือใส่น้ำตาล 1 ส่วน ใช้ไม้กวนให้เข้ากัน
2.นำเศษอาหารใส่ลงในกระสอบ (กระสอบดินถุงที่พอจะมีช่องระบายอากาศ) มัดปากถุงแล้วแช่ลงไป โดยเเนะนำว่าไม่ควรใส่เศษอาหารเกิน 3 ส่วน
3.หมักทิ้งไว้ประมาณ 20-30 วัน โดยควรปิดฝาให้สนิท เพื่อให้แมลงจะได้ไม่มาไข่ เเละทำให้ถังหมักของเราไม่มีหนอน
วิธีนำมาใช้
1.เวลานำมาใช้รดน้ำต้นไม้ ก็ควรจะผสมให้เจือจาง เเนะนำว่าควรใช้ 2 ชัอนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 บัว (ประมาณ 20 ลิตร)
2.ส่วนกากที่เหลือก็สามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยต่อได้ โดยนำมาผสมกับใบไม้แห้ง เเละปุ๋ยคอก รดน้ำ ปรับความชื้น 60% คือ เมื่อบีบแล้วไม่มีน้ำไหลซึมออกจากง่ามมือ และเมื่อแบมือออก ปุ๋ยยังคงจับตัวกันเป็นก้อน และทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์ หรือสังเกตดูจนปุ๋ยหายร้อน ก็สามารถนำไปใช้ได้
หมายเหตุ: ระหว่างการหมัก ถ้าเป็นไปได้ก็ควรเทเข้าเทออกสักหน่อย คล้ายๆ กับเป็นการกลับกองไปในตัว เเต่ถ้าลองสังเกตหรือจับดูเเล้วปุ๋ยที่หมักไม่ร้อนแสดงว่ากระบวนการหมักไม่เกิด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าเราปรับความชื้นไม่เหมาะสม
สูตรที่ 3 การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารในครัวเรือนแบบฝังดิน
วัสดุอุปกรณ์
1.ถุงผ้าแยงเขียว 1 ใบ
2.เศษอาหารทึ่สะสมไว้หลายวัน 1 ถัง
3.น้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ขันพลาสติก หรือ จุลินทรีย์น้ำซาว
วิธีทำ
1.ขุดดินเป็นหลุมลึกพอประมาณกับถุงที่ใส่เศษอาหาร
2.หย่อนก้นถุงผ้าแยงลงไปในหลุมแล้วเศษอาหารลงไปให้เต็ม
3.เทน้ำหมักที่เตรียมไว้ให้และมัดปากถุงผ้าแยงให้แน่น แล้ววางถุงลงแนวนอน
4.เอาดินกลบให้ทั่วถึง ไม่ต้องกลบแน่น หาป้ายเขียนวันหมักไว้เพื่อกันลืม หมักไว้ประมาณ 30 วันก็ขุดเอามาใช้ประโยชน์ได้
## น้ำหมักน้ำซาวข้าว ##
1.น้ำซาวข้าว 1- 1.5 ลิตร
2.น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
3.นมเปรี้ยว 2 ช้อนโต๊ะ
4.ขวดพลาสติกขนาด 1- 1.5 ลิตร
วิธีทำ
เทน้ำซาวข้าวที่เตรียมไว้ลงขวด ตามด้วยน้ำตาลทราย และนมเปรี้ยว เขย่าให้น้ำตาลละลายปิดฝาหลวมๆหมักไว้ 1 อาทิตย์
ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก
1.ปุ๋ยหมักเป็นการนำขยะอินทรีย์มาใช้ประโยชน์ใหม่ จึงช่วยลดปริมาณขยะอินทรีย์เข้าระบบการจัดการขยะได้
2.ปุ๋ยหมักบางชนิดมีจุลินทรีย์ที่ช่วยยับยั้งและป้องกันจุลินทรีย์ที่ทำให้พืชเป็นโรคได้
3.ปุ๋ยหมักมีธาตุอาหารครบถ้วน ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม
4.ปุ๋ยหมักเป็นแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตในดินที่เป็นประโยชน์ จึงช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีขึ้น
5.ปุ๋ยหมักมักจะปล่อยธาตุอาหารให้พืชอย่างช้า ๆ ทำให้อยู่ในดินได้ค่อนข้างนาน จึงมีโอกาสเสียน้อยกว่าปุ๋ยเคมี
6.ปุ๋ยหมักช่วยปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดินให้เหมาะสมได้ ต่างจากปุ๋ยเคมีที่มีแอมโมเนียเป็นส่วนประกอบ จึงอาจจะทำให้ดินแปรสภาพเป็นกรด
7.ปุ๋ยหมักช่วยเพิ่มจุลินทรีย์และอินทรียวัตถุ ทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น เช่น ร่วนซุย ระบายน้ำดี ถ่ายเทอากาศสะดวก และรากแผ่กระจายหาอาหารง่ายขึ้น ในขณะที่ปุ๋ยเคมีไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงดินใด
8.ปุ๋ยหมักช่วยลดค่าใช้จ่ายและทำให้ประหยัดเงิน เพราะสามารถใช้แทนปุ๋ยเคมีได้ สามารถลดปริมาณการซื้อปุ๋ยเคมีลงได้ แถมยังไม่ต้องเสียเงินซื้อสารเคมีหรือยาป้องกันแมลงศัตรูพืชด้วย
4.ติดต่อประสานงาน ให้คำเเนะนำ สมาชิกกลุ่มเป้าหมายหมู่บ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 2 คน ได้ลงพื้นที่สอบถามติดต่อประสานงานไปยังสมาชิกชุมชน ให้คำแนะนำผู้สนใจจิตอาสาพัฒนา เพื่อเข้ารับการอบรมเป็นต้นแบบของชุมชนการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ) ในการเข้าร่วมกิจกรรมนี้สามารถประกวดครอบครัวและชุมชนต้นแบบการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ และยังนำความรู้ไปต่อยอดพัฒนาสู่ชุมชนยังเกิดการสร้างรายได้ลดรายจ่ายให้กับตนเองและพื้นที่ชุมชน
5.งานมอบหมายอื่นๆ งานเลขา ประสานงาน ได้รับมอบหมาย ให้ปฏิบัติงานหน้าที่เลขานุการ ประจำตำบลแสลงพัน เป็นผู้ติดต่อประสานงานทีมผู้ปฏิบัติงานเพื่อมอบหมายงานให้กับทีมสมาชิกผู้ปฏิบัติงาน ได้สรุปบันทึกวาระการประชุมออนไลน์ บันทึกภาพกิจกรรม การลงทะเบียนเข้าร่วมอบรม และเก็บรวบรวมเอกสารชี้แจงจัดทำตารางมอบหมายงานลงพื้นที่ทำแบบสอบถาม SROI นัดงานเพื่อร่วมกันลงปฏิบัติงานในพื้นที่ โดยพร้อมเพรียงกันจนประสบความสำเร็จในทีมผู้ปฏิบัติงาน และได้ติดต่อประสานไปยังชุมชนหมู่บ้านติดตามสถานการณ์โควิค-19 ประจำหมู่บ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3 รวมกับพื้นที่ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
6.ติดตามและให้คำแนะนำโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า บ้านบุก้านตงพัฒนา บ้านหนองตาดตามุ่ง และบ้านบุขี้เหล็กใหม่ลงพื้นที่ติดตามโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า บ้านหนองตาดตามุ่ง การเก็บผลผลิตนำไปจำหน่ายในชุมชน และเนื่องจากมีฝนตกอากาศชื้นแปรปรวนมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงนี้ เห็ดนางฟ้ามีผลผลิตที่น้อยลงเก็บผลผลิตได้ไม่มาก ซึ่งเห็ดได้เกิดเชื้อราแห้งดำ ทำให้บางส่วนเน่าเสียเชื้อตาย แมลงหวี่เริ่มระบาดทำลายก้อนเห็ด จึงได้ให้คำแนะนำกับสมาชิกชุมชนผู้ดูแลเห็ดนางฟ้า เคลื่อนย้ายเแคะหน้าเห็ดทำความสะอาดโรงเรือนเพาะเห็ด เก็บทำความสะอาดเชื้อหน้าเห็ดที่ได้ทำการแคะทิ้งลงพื้นที่ในโรงเรือนให้สะอาด และจุดยากันยุงไล่หรือ ใช้สารกำจัดแมลงที่ไม่เกิดผลเสียต่อเห็ดกำจัดในโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า ทั้งนี้สมาชิกผู้ปฏิบัติงาน ได้ทำการคิดออกแบบบรรจุภัณฑ์ แพคเกจจิ้ง การตลาดออนไลน์ เพื่อพัฒนาต่อยอดสร้างรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มมากขึ้นเราจึงได้เกิดการดำเนินงานพัฒนาต่อไป
ภาพกิจกรรม
วีดีโอประจำเดือนตุลาคม 2564