ข้าพเจ้า นางสาวอุมาพร โสภาค ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ  จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร : HS06 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณนาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย   

(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ)

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

             ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายงานประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 ได้มีการประชุมออนไลน์ทางวิดีโอจากผ่าน Google Meet ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการและผู้ปฏิบัติงาน U2T ในตำบลแสลงพันเพื่อวางแผนการปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 วัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมพัฒนาตำบลแสลงพัน การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ) เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนในตำบลแสลงพันเน้นการใช้น้ำหมักชีวภาพ แทนปุ๋ยเคมีในการปลูกผักปลอดสารพิษทานเองเพื่อช่วยลดรายจ่ายในครัวเรือน  ให้สามารถพึ่งตนเองได้ ซึ่งในการทำน้ำหมักยังเป็นการนำเศษอาหารที่เหลือจากการรับประทาน เศษใบไม้ เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาสร้างประโยชน์ให้ชุมชน และยังเป็นการช่วยลดขยะภายในชุมชน โดยมีแนวทางในการปฏิบัติงาน   ดังนี้

ภาพ การประชุมออนไลน์ทางวิดีโอจากผ่าน Google Meet

1.กำหนดกิจกรรมการลงพื้นที่พัฒนาตำบลแสลงพัน การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ) วันที่ 27-28 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 โดยแบ่งโซนในการจัดกิจกรรม ดังนี้

  • วันที่ 27 ตุลาคม ๒๕๖๔ แบ่งออกเป็นช่วงเช้า-ช่วงบ่าย มีหมู่บ้านที่เข้าร่วมการอบรม ดังนี้

           ช่วงเช้า 1.บ้านหนองตาดตามุ่ง 2.บ้านแสลงพัน 3.บ้านบุก้านตง 4.บ้านแสลงพันพัฒนา 5.บ้านบุก้านตงพัฒนา สถานทีจัดอบรม ศาลาเอนกประสงค์บ้านแสลงพัน หมู่ที่ 7

            ช่วงบ่าย 1.บ้านโคกใหม่ 2.บ้านหนองสรวง 3.บ้านโคกใหม่พัฒนา สถานทีจัดอบรม วัดบ้านโคกใหม่คงคาราม

  • วันที่ 28 ตุลาคม ๒๕๖๔ แบ่งออกเป็นช่วงเช้า-ช่วงบ่าย มีหมู่บ้านที่เข้าร่วมการอบรม ดังนี้

            ช่วงเช้า  1.บ้านหนองผักโพด 2.บ้านสี่เหลี่ยมน้อย 3.บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ 4.บ้านสามเขย สถานที่อบรมศาลาเอนกประสงค์บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ ข้างอบต.แสลงพัน หมู่ที่ 1

             ช่วงบ่าย 1.บ้านหนองระนาม 2.บ้านบุขี้เหล็ก 3.บ้านหนองตาหล่า 4.บ้านบุขี้เหล็กพัฒนา 5.บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา สถานที่อบรมศาลากลางบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่ 17
หมู่บ้านที่รับผิดชอบในการทำกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบหมู่บ้านหนองระนาม หมู่ที่ 2 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการติดต่อประสานงาน สอบถามความต้องการเมล็ดพันธุ์ทางการเกษตรครัวกับตัวแทนจิตอาสา/ครอบครัวต้นแบบ ซึ่งเมล็ดพันธุ์พืชทางการเกษตรที่ตัวแทนต้องการ ได้แก่  ผักชีจีน    ผักคะน้า  ผักคะน้า  ผักกาดขาว โหระพา  มะเขือเทศ  ผักกวางตุ้งฮ่องเต้ผักกาดหอม ผักบุ้ง พริกขี้หนู ขึ้นฉ่าย ผักชีลาว มะเขือเปราะ ผักกวางตุ้งดอก มะเขือเทศน้อย มะละกอ  การดำเนินกิจกรรมในวันที่ 27-28 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 มีการให้ความรู้กับตัวแทนจิตอาสาเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพสูตรต่าง ๆ และประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพด้านการเกษตร ที่ใช้ฉีดพ่นหรือเติมในดินหรือน้ำ ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ในดินและน้ำ ช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี ช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ในดิน ช่วยเพิ่มอัตราการย่อยสลายสารอินทรีย์ในดินและน้ำ ใช้รดต้นพืชหรือแช่เมล็ดพันธุ์ ท่อนพันธุ์เพื่อเร่งการเกิดราก และการเจริญเติบโตของพืช เป็นสารที่ทำหน้าที่เหมือนฮอร์โมนพืชกระตุ้นการเกิดราก ใช้ฉีดพ่นในแปลงเกษตรช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช ช่วยในการแตกตาดอก เพิ่มความแข็งแรง ช่วยต้านแมลงศัตรูพืช และลดจำนวนแมลงศัตรูพืช

สูตรการทำน้ำหมักชีวภาพฮอร์โมนไข่

วัสดุและอุปกรณ์

1. ไข่ไก่ 1 กก. ( 16ฟอง ) 2. หัวเชื้อจุลินทรีย์เหง้ากล้วย 1 ลิตร
3.กากน้ำตาล 1 ลิตร 4. น้ำมะพร้าวอ่อน 4 ลูก
5.นมเปรี้ยว 1 กล่อง

วิธีทำ  ตอกไข่ไก่ 1 กก. เอาเฉพาะเนื้อไข่ นำส่วนผสมทั้งหมด หัวเชื้อจุลินทรีย์เหง้ากล้วย 1 ลิตร กากน้ำตาล 1 ลิตร น้ำมะพร้าวอ่อน 2 ลูก นมเปรี้ยว 1 กล่อง มาผสมกันในถังหมัก หมักทิ้งไว้ 30 วัน เป็นอันใช้ได้

วิธีใช้

1. ผสมฮอร์โมนไข่ 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 5 ลิตร ฉีดรดต้นไม้ตอนที่ยังไม่ออกดอก
2. หากต้นไม้เริ่มออกดอกใช้เพียง 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 5 ลิตร หากใช้มากเกินไปจะทำให้ดอกร่วงได้

สูตรการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร
วัสดุและอุปกรณ์      

1.เศษอาหารแห้ง เช่น เศษข้าว เศษขนมปัง ก้างปลา เปลือกไข่ เปลือกผลไม้ 1 ส่วน  2.มูลสัตว์ เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ ขี้ม้า 1 ส่วน 
3. ใบไม้ 1 ส่วน 4.ถังขนาด 20 ลิตร  
5.ตาข่ายกันแมลง

วิธีทำ 

1.นำถังขนาด 20 ลิตร มาเจาะรูไว้รอบถังแล้วใช้ตาข่ายกันแมลงพันให้รอบ เพื่อช่วยระบายอากาศและป้องกันแมลงรบกวน
2.ผสมเศษอาหารแห้งที่มีขนาดเล็กและไม่มีน้ำ เช่น เศษข้าว เศษขนมปัง ก้างปลา เปลือกไข่ และเปลือกผลไม้ เข้ากับมูลสัตว์ เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ ขี้ม้า และเศษใบไม้ ในอัตรา 1:1:1 ส่วน
3.คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วปิดฝาให้สนิท ถ้าหากวันต่อไปมีเศษอาหารเพิ่ม ก็นำมาเติมเข้าไปได้ แต่อย่าลืมผสมในอัตราส่วนเท่าเดิมด้วย
4.พลิกกลับส่วนผสมวันละ 1-2 ครั้ง เป็นประจำทุกวัน

หมายเหตุ: ในช่วงแรกไม่จำเป็นต้องเติมน้ำ เพราะเศษอาหารมีความชื้นอยู่แล้ว แต่เมื่อเห็นว่าส่วนผสมเริ่มแห้งลง ก็สามารถพรมน้ำเข้าไปได้เล็กน้อย โดยจะใช้เวลาในการหมักประมาณ 1 เดือน ก็จะได้ปุ๋ยหมักสีดำขนาดเล็ก ที่แห้งสนิทและไม่มีกลิ่นเหม็นไว้ใช้บำรุงต้นไม้แล้ว

ภาพ กิจกรรมการทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

2. การอบรมการตลาดออนไลน์ วันที่ 31 ตุลาคม 2564 วิทยากรที่ให้ความรู้ นายปัณณทัต สระอุบล ตำแหน่ง นักการตลาดออนไลน์ (Digital Marketer) การตลาดออนไลน์ (Online Marketing)  คือ การทำการตลาดในสื่อออนไลน์ เช่น โฆษณา Facebook, โฆษณา Google, โฆษณา Youtube, โฆษณา Instagram มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำให้สินค้าของเราเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น โดยใช้วิธีต่างๆ ในการ โฆษณาเว็บไซต์ หรือ โฆษณาขายสินค้าที่จะนำสินค้าของเราไปเผยแพร่ตามสื่อออนไลน์ เพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้และเกิดความสนใจ จนกระทั่งเข้ามาใช้บริการหรือซื้อสินค้าของเราในที่สุด การอบรมวิทยากรได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้า, การสร้างเพจบนFacebook, การเขียนContent การสื่อสารข้อมูลผ่านคอนเทนต์ที่ดีจะต้องถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับเป้าหมาย คอนเท้นต์เป็นคำที่เราได้ยินบ่อยในการตลาดเพราะว่า คอนเท้นต์อย่าง ภาพ วิดีโอ การเขียน นั้นก็เป็นวิธีการสื่อสารกับลูกค้า และการตลาดก็คือการบริหารวิธีการสือสารให้กับลูกค้า เช่นการการไลค์วิดีโอ เพื่อโน้มน้าวให้ลูกค้านั้นทักเข้ามาซื้อของ

ในระหว่างการอบรมวิทยากรได้แบ่งกลุ่มผู้เข้าอบรมเพื่อให้ผู้อบรมได้ลองสร้างเพจFacebook ด้วยตนเองและให้เขียนคอนเทนต์เพื่อโน้มน้าวให้ลูกค้าสนใจสินค้า ของตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ภาพ การอบรมการตลาดออนไลน์

3. การออกแบบเนื้อหาคอนเทนต์ผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจ

ปุ๋ยหมักชีภาพจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (ปลอดสารเคมี)

**ปุ๋ยอินทรีย์คืนดิน**

ไม่ต้องมีพลังพิเศษ หรือเป็นซุปเปอร์ฮีโร่ แค่เลือกใช้ผลิตภัณฑ์คุณภาพจากปุ๋ยหมักชีวภาพได้ผลผลิตดีแน่นอน

………………………………………………………………………………………………………………

เราควรตอบแทนดิน ด้วยการเพิ่มแร่ธาตุดีๆให้กับดิน

ปุ๋ยอินทรีย์คืนดิน คืนดินดีให้ธรรมชาติ

#ปุ๋ยอินทีย์คืนดิน  #สินค้าปลอดภัย   #เน้นสินค้าคุณภาพ  #เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของชาวบ้าน

เพจ สินค้าขายดีผลิตภัณฑ์แปรรูปแสลงพัน

4. การติดตามการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพสารปรับปรุงดินและการปลูกผักสวนครัวเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนในตำบลแสลงพันเน้นการใช้น้ำหมักชีวภาพ แทนปุ๋ยเคมีในการปลูกผักปลอดสารพิษทานเองเพื่อช่วยลดรายจ่ายในครัวเรือน ให้สามารถพึ่งตนเองได้ ซึ่งในการทำน้ำหมักยังเป็นการนำเศษอาหารที่เหลือจากการรับประทาน เศษใบไม้ เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาสร้างประโยชน์ให้ชุมชน และยังเป็นการช่วยลดขยะ มีคำแนะนำเกี่ยวกับการปรับปรุงสภาพดินเนื่องจากดินเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของพืช โดยทั่วไปดินที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช คือ ดินที่อุดมสมบูรณ์ มีแร่ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช  ได้มีการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับปรุงบำรุงดิน ซึ่งเป็นการช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ การปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก ใช้เพื่อเพิ่มหรือยกระดับปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดินให้ดีขึ้น ทำให้ดินมีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชมากยิ่งขึ้น

ภาพ การติดตามการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพสารปรับปรุงดินและการปลูกผักสวนครัว

5. การเก็บข้อมูล CBD เพิ่มเติม ผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายบ้านหนองระนาม หมู่ 2 และบ้านหนองตาหล่า หมู่ 8 และได้ช่วยทีม U2T ตำบลแสลงพัน ดำเนินการทำ Data cleaning โดยเลือก Area-ตำบล เลือกข้อมูล top-3 ได้แก่ หมวดแหล่งเที่ยว แหล่งน้ำในท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ จาก 10 หมวด มาวิเคราะห์ปัญหารายพื้นที่หา Pain Point และการจัดทำภาพกราฟิก

 การจัดทำภาพกราฟิก

6. การทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายเป็นรายบุคคล อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานใหม่ทำ VTR วิถีชีวิตชาวบ้านและปุ๋ยหมักชีวภาพ ทำเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชน และทำการรวบรวมรูปเล่มบทที่ 1 เกี่ยวกับสภาพทั่วไปของพื้นที่พัฒนาซึ่งจะนำไปวิเคราะห์ข้อมูล และดำเนินการ ลงพื้นที่ในชุมชนต่อไป ข้อมูลที่จะสำรวจมีดังนี้

1.1 ประวัติทั่วไป

1.2 แผนที่ชุมชน

1.3 ข้อมูลสำคัญรายตำบล (หมู่บ้าน)

1) ปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญา 2) เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน
3) ร้านค้าชุมชน 4) วัด
5)โรงเรียน 6) แหล่งน้ำ
7) ป่าชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติ 8) อาชีพ
9) กลุ่มวิสาหกิจชุมชน 10) ผลิตภัณฑ์ในชุมชน
11) เส้นทางคมนาคม

1.4 ข้อมูลสมาชิกชุมชน

1) ผู้สูงอายุ 2) ทารกแรกเกิด
3) เด็กและเยาวชน (อายุ 1 ขวบ -19 ปี) 4) สตรีมีครรภ์
5) ผู้พิการ 6) สมาชิก อสม.

1.5 ข้อมูลทุนทางวัฒนธรรม

1) จารีต (ข้อปฏิบัติของแต่ละชุมชน) 2) ประเพณี
3) ภูมิปัญญา

1.6 พืชสมุนไพรในชุมชน

วิดิโอประจำเดือนพฤศจิกายน 2564

 

 

 

อื่นๆ

เมนู