โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
หลักสูตร HS06-การสร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
กิจกรรมในการลงพื้นที่ในเดือนพฤศจิกายน 2564 นี้ ทางทีมผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันประชุมออกความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นร่วมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้จะเป็นกิจกรรมการทำน้ำหมักชีวภาพ การเข้าอบรมการตลาดออนไลน์ และลงพื้นที่เก็บข้อมูลลงระบบเพิ่มเติม กิจกรรมมีดังนี้
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2564 ตัวแทนทีมผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ลงพื้นที่จัดอบรม ณ ศาลาอเนกประสงค์บ้านแสลงพัน หมู่ที่ 7 โดยจัดกิจกรรมอบรมการทำน้ำหมักชีวภาพร่วมกับตัวแทนชาวบ้านซึ่งแบ่งช่วงเวลาการอบรมเป็นเช้าและบ่าย โดยช่วงเช้าชาวบ้านที่เข้าร่วมอบรม ได้แก่ บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ที่5, บ้านแสลงพัน หมู่ที่ 7,บ้านบุก้านตง หมู่ที่ 12 ,บ้านแสลงพันพัฒนา หมู่ที่ 14 และบ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ที่ 16 การอบรมครั้งนี้ชาวบ้านได้รับความรู้ และวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อนำไปใช้ดูแลพืช ผัก ในครัวเรือน อย่างปลอดภัย อีกทั้งได้มอบวัสดุสำหรับปลูก เมล็ดพันธุ์ผัก ต้นกล้าผักสวนครัว และน้ำหมักชีวภาพที่ได้จากการอบรมครั้งนี้ด้วย ในช่วงบ่าย จัดการอบรม ณ ศาลาวัดโคกใหม่คงคาราม ชาวบ้านที่เข้าอบรม ได้แก่ ชาวบ้านบ้านโคกใหม่ หมู่ที่ 1 และบ้านโคกใหม่พัฒนา หมู่ที่ 15 เนื้อหาการอบรมเช่นเดียวกับช่วงเช้า มีการมอบวัสดุปลูก เมล็ดผัก และน้ำหมักชีวภาพเช่นกัน
- และในวันที่ 28 ตุลาคม 2564 ได้มีการจัดอบรมขึ้นเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพ ในช่วงเช้าจัดอบรม ณ ศาลาอเนกประสงค์ข้างอบต.แสลงพันและช่วงบ่ายจัดอบรม ณ ศาลากลางบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่ 17 โดยผู้เข้าอบรมครั้งนี้ได้แก่ ทีมผู้ปฏิบัติงาน อาจารย์ประจำหลักสูตร และตัวแทนชาวบ้านในชุมชนของตำบลแสลงพัน เนื้อหาการอบรมมีดังนี้
- หัวหน้ากลุ่มสอนการทำน้ำหมักชีวภาพ 2 สูตร ได้แก่
1. สูตรฮอร์โมนไข่ ประกอบด้วย
– น้ำมะพร้าวอ่อน 4 ลูก
– นมเปรี้ยว 1 ขวด
– ไข่ไก่ 1 กิโลกรัม.
– กากน้ำตาล 1 ลิตร
– แป้งข้าวหมาก 1 ก้อน
วิธีทำ
- นำไข่ไก่ไปปั่นให้ละเอียดทั้งเปลือกเทลงถังหมัก
- เทกากน้ำตาล นมเปรี้ยว น้ำมะพร้าวอ่อน และนำแป้งข้าวหมากบดละเอียด ใส่ลงถังหมัก คนให้เข้ากัน
- ปิดฝาให้สนิท หมักทิ้งไว้ 14 วัน เก็บรักษาในที่ร่มอากาศถ่ายเทได้สะดวก
4.คนทุกวันเช้า-เย็น หลังจากครบ 14 วัน สามารถนำไปใช้ได้
การนำไปใช้
ผสมฮอร์โมนไข่ 20-30 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้ฉีดพ่นในช่วงที่พืชออกดอกให้เปียกชุ่ม ในช่วงเวลาเย็น สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ประโยชน์ทีได้
ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช ให้พืชสมบูรณ์แข็งแรง ให้ดอกออกผล
- สูตรขยายหัวเชื้อ EM
- EM 1 ส่วน
- กากน้ำตาล 1 ส่วน
- น้ำสะอาด 20 ส่วน
วิธีทำ
- นำน้ำสะอาดใส่ถังหมัก
- เทกากน้ำตาลและEM ลงถังหมัก คนให้เข้ากัน
- ปิดฝาให้สนิท หมักทิ้งไว้ 7 วัน เก็บรักษาในที่ร่มอากาศถ่ายเทได้สะดวก
การนำไปใช้
อีเอ็ม 1ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร ฉีดพ่นรดพืชผักสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง แทนปุ๋ยเคมี
อีเอ็มขยายใส่บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 1 ลิตร ต่อน้ำในบ่อ 10 ลูกบาศก์เมตร ทุก ๆ 7-10 วัน เพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย
- เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564 ได้เข้าร่วมอบรมการตลาดออนไลน์ร่วมกับสมาชิกในทีมตำบลแสลงพัน ณ ห้องประชุมมนุษย์สังคมวัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยวิทยากรผู้ให้ความรู้ในครั้งนี้ คือ นายปัณณทัต สระอุบล โค้ชเอส ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการตลาด การเชื่อมโยงสินค้าสู่การตลาด ได้แก่ ตลาดนัดชุมชน ร้านค้าประชารัฐสุขใจ shop ตลาดท้องถิ่น 4 ร ความสำคัญของการตลาด และวิวัฒนาการตลาดยุคแรก – ยุคปัจจุบัน พร้อมทั้งแบ่งกลุ่มเพื่อจัดทำเว็บเพจ โดยการให้ออกแบบเว็บเพจ โลโก้ผลิตภัณฑ์ เขียนสโลแกนผลิตภัณฑ์ และcontent marketing เพื่อดึงดูดให้ผู้ที่เข้ามาชมเว็บเพจเกินความสนใจในผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น
- ลงพื้นที่ชุมชนบ้านบุขี้เหล็ก หมู่ที่ 6 เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลBCGรายตำบล และพัฒนา plan point กรอกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลลงในระบบเพิ่มเติมให้ครบตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก/โรงแรม ร้านอาหารในท้องถิ่น อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น เกษตรกรในท้องถิ่น พืชในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นและผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด เป็นต้น
จากการลงพื้นที่ร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงานเพื่อจัดกิจกรรมร่วมกันในครั้งนี้พบปัญหาและมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
- การแจกวัสดุให้แก่ตัวแทนชาวบ้านนั้น บางหมู่บ้าน ได้รับ เมล็กผักสวนครัว และต้นกล้าผัก ไม่เท่ากัน เนื่องจากทางทีมผู้ปฏิบัติงานจัดหาไม่เพียงพอต่อจำนวนชาวบ้านที่เข้าอบรม ดังนั้น ทางทีมผู้ปฏิบัติงานที่ดูแลแต่ละชุมชนที่รับผิดชอบ ได้นำเมล็ดผักไปมอบให้ชาวบ้านแต่ละชุมชนภายหลัง พร้อมทั้งติดตามดูแลต้นกล้าผัก ให้เกิดผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัย เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
- จากการอบรมร่วมกับชาวบ้าน ชาวบ้านทุกรายยังมีความต้องการการสนับสนุนจากโครงการฯ โดยเฉพาะการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพ ที่สามารถนำไปปรับใช้ในงานเกษตรกรของตนได้ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน กระตุ้นให้เกิดความสนใจ ทำให้เกิดการสร้างอาชีพขึ้นได้ และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัย
- การอบรมการตลาดออนไลน์ เนื่องจากทีมผู้ปฏิบัติงานยังไม่ได้จัดทำแบรนด์ผลิตภัณฑ์และตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ในตำบล ทำให้พบปัญหาในการตั้งชื่อ และทำสติกเกอร์ผลิตภัณฑ์ว่าจะออกมาในรูปแบบใด แต่การอบรมครั้งนี้ผ่านไปด้วยดีเพราะทีมผู้ปฏิบัติงานร่วมกันออกความคิดเห็น และจะนำความรู้ที่ได้จากการอบรมนำไปปรับใช้ในเว็บเพจประจำตำบลให้เกิดประโยชน์ที่สุด