- 1. การอบรมการพัฒนาตลาดออนไลน์
การอบรมในการพัฒนาตลาดออนไลน์ในวันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม 2564 ได้มีการเข้ารับการอบรมเรื่อง การพัฒนาตลาดออนไลน์ ณ ห้องประชุมมนุษย์สังคมวัฒนา อาคาร 25 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมี นายปัณณฑัต สระอุบล นักการตลาดออนไลน์ ให้เกียรติเป็นวิทยากร ซึ่งได้มีการให้ความรู้และกลยุทธ์เกี่ยวกับการพัฒนาการตลาดในระบบออนไลน์ยุคใหม่ เพื่อนำสินค้าและบริการจำหน่ายในระบบออนไลน์ หรือเพิ่มมูลค่าสินค้าให้กับผลิตภัณฑ์ของตนเองหรือชุมชน สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ซึ่งสอดคล้องกับโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) โดยตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนเพื่อเป็นการยกระดับเศรษฐกิจของชุมชน ที่จะได้นำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของชุมชนเข้าสู่ระบบออนไลน์ เพื่อสร้างช่องทางการค้าขายหรือช่องทางการตลาดออนไลน์อย่างกว้างขวางให้กับชุมชน ได้นำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายสู่ภายนอก นอกเหนือจากการจำหน่ายภายในชุมชน ซึ่งการอบรมการพัฒนาตลาดออนไลน์ในครั้งนี้ได้มีการสร้างเพจ (Facebook) เรื่องของเห็ด เพื่อประชาสัมพันธ์ถึงเรื่องราวและเป็นช่องทางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชนตำบลแสลงพัน
2. การเขียนเนื้อหา content ผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจ
มีการร่วมกับสมาชิกภายในกลุ่มพัฒนา content ของผลิตภัณฑ์ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อมาประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากชุมชน วิถีชุมชนออกสู่ตลาดออนไลน์ สำหรับสร้างและพัฒนาต่อยอดการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ของชุมชน ทั้งนี้เป็นไปตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจของชุมชน ในส่วนของการช่วยเหลือชุมชนในด้านการพัฒนาตลาดยุคดิจิทัล ตลอดจนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคเพื่อให้มั่นใจในตัวสินค้าและผลิตภัณฑ์ของชุมชน อีกทั้งยังเป็นความประทับใจให้กับพี่น้องในชุมชนและได้เห็นความสามัคคีในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆในชุมชนเพื่อต่อยอดนำไปพัฒนาได้อีกด้วย
3. การติดตามการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพและสารปรับปรุงดิน และการปลูกผักสวนครัวเพื่อลดค่าใช้จ่าย บนฐานคิดเกี่ยวกับการนำเศษวัสดุเหลือใช้
ในระหว่างวันที่ 27 – 28 ตุลาคม 2564 ได้มีการอบรมการพัฒนาน้ำหมักชีวภาพและสารปรับปรุงดิน ร่วมกับสมาชิกกลุ่มอาสาสมัครตำบลแสลงพันทั้ง 17 ตำบลและสมาชิกทีมตำบลแสลงพัน ซึ่งได้มีการให้ความรู้กับชุมชนในเรื่องของน้ำหมักชีวภาพและสารปรับปรุงดิน พร้อมทั้งคิดค้น พัฒนาน้ำหมักชีวภาพและสารปรับปรุงดิน เพื่อเป็นต้นแบบให้กับชุมชนได้นำไปใช้ในครัวเรือนของตนเอง เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีที่มีอันตรายและอาจเกิดผลกระทบได้ในระยะยาว แต่หากเป็น น้ำหมักชีวภาพที่ชุมชนผลิตขึ้นในครัวเรือนของตนเองและนำมาใช้ ผลิตผลทางการเกษตรก็จะได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพปลอดสารพิษ มีความปลอดภัย และลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของตนเอง ซึ่งการพัฒนาน้ำหมักชีวภาพหรือสารปรับปรุงดินนั้น อุปกรณ์และวัตถุดิบสามารถที่จะหาได้ภายในท้องถิ่นของตนเอง เช่น ไข่ไก่ น้ำมะพร้าว กากน้ำตาล เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่เป็นอันตรายและส่งผลกระทบทั้งในระยะสั้น และระยะยาวต่อผู้คนและผลผลิต เพราะเป็นวัตถุดิบตามธรรมชาติที่มีความปลอดภัย ทั้งนี้นอกจากการพัฒนาน้ำหมักชีวภาพและสารปรับปรุงดินแล้ว ยังได้มีการมอบเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัวให้กับชุมชนได้นำไปทดลองใช้กับน้ำหมักชีวภาพและสารปรับปรุงดินที่มีการพัฒนาขึ้นด้วย
4. การจัดเก็บข้อมูล BCG รายตำบล และพัฒนา plan point กรอกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำภาพกราฟิก
ร่วมกับสมาชิกทีมตำบลแสลงพัน ร่วมกันจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานสำคัญรายตำบลเพิ่มเติมให้ครบ 1,000 ข้อมูล เพื่อนำมาประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยภาพรวมของตำบล ได้มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานวิเคราะห์ปัญหารายพื้นที่ของตำบล และนำมาจัดทำเป็นแผนที่สถานที่สำคัญของชุมชนที่รับผิดชอบ เพื่อแสดงถึงวิถีชีวิต ประเพณี และอารยธรรมท้องถิ่นของชุมชน ทั้งนี้ข้อมูลจะได้นำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาชุมชนในระยะต่อไป
5. การทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายเป็นรายบุคคล
- เก็บข้อมูลสำคัญรายตำบลเพิ่มเติมร่วมกับสมาชิกทีมให้ครบ 1,000 ข้อมูล
- พัฒนาเพจตลาดออนไลน์ (Page Facebook : เรื่องของเห็ด)
- คิดค้นและพัฒนา Content ของผลิตภัณฑ์ของชุมชนตำบลแสลงพัน
- ติดตามผลการดำเนินการทดลองและใช้น้ำหมักชีวภาพและสารปรับปรุงดินของชุมชน
- ประชุมรับมอบหมายงานประจำเดือนจากอาจารย์โครงการและสมาชิกทีม
ภาพกิจกรรมประกอบ