1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS06 - ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ
  4. HSO6- กิจกรรมการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพ มอบเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัวและกิจกรรมการอบรมตลาดออนไลน์ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564

HSO6- กิจกรรมการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพ มอบเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัวและกิจกรรมการอบรมตลาดออนไลน์ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564

บทความสรุปผลการปฏิบัติงาน

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ

ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2564

ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

โดย นางสาวกาญจนาวดี เคหาห้วย กลุ่มนักศึกษา

***************************************************

  1. การอบรมการพัฒนาตลาดออนไลน์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม 2564 รวมทั้งงานมอบหมายของแต่ละกลุ่ม ได้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมตลาดออนไลน์เพื่อรับฟังบรรยาย โดยท่านวิทยากร นายปัณณทัต สระอุบล ตำแหน่ง นักการตลาดออนไลน์ ( Digital  Marketer ) ได้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเว็บเพจ ( เพจหรือเว็บไซต์ ) โดยได้ใช้ชื่อเพจว่า “สินค้าขายดี ผลิตภัณฑ์แปรรูปแสลงพัน”  เพื่อเป็นช่องทางในการขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากชุมชนของตำบลแสลงพัน และยังเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารที่มีความทันสมัย สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
  2. การเขียนเนื้อหา content ผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจ องค์ประกอบของการสร้าง content ออนไลน์  คือ2.1. ตั้งหัวข้อให้มีความน่าสนใจ เป็นหัวข้อที่ทันสมัยและเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรากำลังทำ เช่น การแปรรูปเห็ด การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และการปลูกผักปลอดสารพิษตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น 2.2. กำหนดกลยุทธ์ของเนื้อหาให้เหมาะสม ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์ ที่บอกเล่าเรื่องราวลักษณะเฉพาะตัวของแบรนด์ ประวัติความเป็นมาว่าแบรนด์ของคุณผ่านอะไรมาบ้าง และแบรนด์นี้จะให้ประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างไร

     2.3. เลือกช่องทางกระจายเนื้อหาที่เหมาะสม คือ ในโลกโซเชียลมีเดีย  เช่น  Facebook Twitter Instagram เป็นต้น

     2.4. สร้าง Content อย่างสม่ำเสมอ เพราะทุกวันนี้ล้วนแล้วแต่มีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวันจึงจำเป็นต้องทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นสินค้าให้เกิดความน่าสนใจอยู่ตลอด โดยในการสร้างความน่าสนใจนั้นจะเป็นการโฆษณาเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพ การแปรรูปเห็ดนางฟ้า เช่น เห็ดสามรส แหนมเห็ด น้ำพริกปลาร้าอินเตอร์ โดยเราจะเน้นไปในทางเศรษฐกิจพอเพียง สามารถพึ่งพาตนเองได้ ปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและมีประโยชน์

  3. การติดตามการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพและสารปรับปรุงดิน และการปลูกผักสวนครัวเพื่อลดค่าใช้จ่าย บนฐานแนวคิดเกี่ยวกับการนำเศษวัสดุเหลือใช้ ได้ร่วมกับทีมงานลงพื้นที่ติดตามการทำน้ำหมักชีวภาพของชุมชนตำบลแสลงพัน ที่บ้านหนองระนามและบ้านหนองตาหล่า โดยมีการให้คำแนะนำกับชาวบ้าน เรื่องสภาพปัญหาที่พบในการเพาะปลูก ในการลงพื้นที่ติดตามนั้นก็ได้พบปัญหาในเรื่องของศัตรูพืชมารบกวนพืชผักสวนครัว และแนวทางแก้ไข คือ ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสูตรที่ใช้กำจัดศัตรูพืชแบบปลอดสารพิษ และหาวัสดุได้ตามครัวเรือน

                    สูตรที่ใช้กำจัดศัตรูพืช เช่น เพลี้ย มด เป็นต้น  ประกอบไปด้วย พริก พริกไทย ดีปลี

วิธีเตรียมและการใช้

                         1. บดพริกสด พริกไทยสดและดีปลีสดอย่างละ 1 กิโลกรัมให้ละเอียด 

                         2. นำส่วนผสมทั้งหมดไปผสมกับน้ำ 20 ลิตรหมักนาน 3 – 5 วัน

                         3. กรองเอาแต่น้ำหัวเชื้อโดยอัตราส่วนการใช้ให้ผสมน้ำหัวเชื้อปริมาณ 200 – 500 ซีซี/ต่อน้ำ 20 ลิตร

                         4. นำไปฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มต้นทุก 3 – 5 วัน

                    ประสิทธิภาพ  ผลพริกสุกมีคุณสมบัติในการฆ่าแมลงส่วนเมล็ดพริกมีสารฆ่าเชื้อรา พริกไทยมีน้ำมันหอมระเหยและแอลคาลอยด์มีสารรสเผ็ด (Chavicine) และสารที่มีกลิ่นฉุนเผ็ดร้อนคือPiper Acid ส่วนดีปลีมีน้ำมันหอมระเหยสูตรนี้มีฤทธิ์ฆ่าแมลงได้แก่ มด เพลี้ยอ่อน หนอนคืบ หนอนไชและไล่แมลงผีเสื้อรวมถึงช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากไวรัส

      4. การจัดเก็บข้อมูล BCG รายตำบล และพัฒนา plan point กรอกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำภาพกราฟิก ได้มีการลงพื้นที่เก็บขอมูลในส่วนของข้อมูลทั่วไปของตำบลแสลงพัน เพื่อมาทำการวิเคราะห์ขอมูลสรุปผลการวิเคราะห์เพื่อจัดทำรูปเล่มโครงการ ได้ให้คำแนะนำวิธีการเก็บข้อมูล BCG รายตำบล ให้กับสมาชิกใหม่ และได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มเติมให้ครบ 1,000 รายการ

5. การทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายเป็นรายบุคคล คือ ได้รับผิดชอบในส่วนของบ้านหนองระนาม ตำบลแสลงพัน มีการติดตามการทำน้ำหมักชีวภาพ ติดตามการเพาะปลูกผักปลอดสารพิษ โดยติดตามเป็นระยะๆ เพื่อสอบถามถึงปัญหาที่พบในการเพาะปลูก และคอยแนะนำให้คำปรึกษาในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ประสานงานกับชาวบ้านเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละครั้ง

       

 

   

 

     

 

     

 

       

 

 

อื่นๆ

เมนู