1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS06 - ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ
  4. HS06-กิจกรรมการอบรมการทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และการอบรมพัฒนาตลาดออนไลน์ในระบบออนไลน์ยุคใหม่ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 ตำบลแสลงพัน

HS06-กิจกรรมการอบรมการทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และการอบรมพัฒนาตลาดออนไลน์ในระบบออนไลน์ยุคใหม่ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 ตำบลแสลงพัน

รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)

ประจำเดือน พฤศจิกายน 2564

ดิฉันนางสาวพัชรี มณีเติม ประเภทบัณฑิตจบใหม่  เจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ  จังหวัดบุรีรัมย์

พื้นที่รับผิดชอบ บ้านหนองผักโพด หมู่ที่ 4  ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : HS06 – สร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

          การปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน  ตำบลแสลงพัน มีการร่วมมือจากหลายฝ่าย ดิฉันและผู้ปฏิบัติงาน U2T มีการอบอมตลาดออนไลน์ ลงพื้นที่อบรมการทำปุ๋ยฮอร์โมนไข่ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และแจกเมล็ดพันธ์พืชให้แก่ชาวบ้านที่สนในการอมรม พร้อมทั้งเก็บข้อมูล BCD และเก็บข้อมูล BCG  เนื่องจากสถานการณ์โควิด -19 ทำให้การจัดกิจกรรมทุกครั้งมีการจำกัดจำนวนคน และมีการเว้นระห่าง และการลงพื้นที่แต่ละครั้งต้องระวังมากขึ้น ทั้งผู้อบรม และผู้เข้าร่วมอบรม

1) การอบรมการพัฒนาตลาดออนไลน์ 

          วันที่ 31 ตุลาคม 2564 ดิฉันและผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลแสลงพัน และตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์ ได้เข้ารับการอบรมกาพัฒนาตลาดออนไลน์ ณ ห้องประชุมมนุษย์สังคมวัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมี นายปัณณฑัต สระอุบล นักการตลาดออนไลน์ เป็นวิทยากร ซึ่งในวันนั้นมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาตลาดออนไลน์ในระบบออนไลน์ยุคใหม่ เพื่อนำสินค้า โปรโมทสินค้า เข้าสู่ระบบออนไลน์เพื่อเปิดช่องทางจำหน่าย สร้างผลิตภัฒฑ์สร้างแบรนด์เป็นของตนเองหรือชุมชน ซึ่งตลาดออนไลน์นั้นเป็นที่นิยมมากในยุคนี้ จึงทำให้สอดคล้องกับโครงการรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อนำมาต่อยอดสู่ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ภายในกลุ่มฝึกสร้างเพจ (Facebook) ชื่อเพจ “เรื่องของเห็ด” ทำโลโก้ ภาพหน้าปกเพจให้น่าดึงดูดและน่าสนใจต่อผู้คนที่เข้ามาดูสินค้า

 

ภาพประกอบการสร้างเพจ Facebook

 

2) การเขียนเนื้อหา content ผลิตภัณฑ์

          สมาชิกภายในกลุ่มคิดพัฒนา content เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อประชาสัมพันธ์ ให้เป็นที่รู้จักต่อผู้คน ว่าผลิตภัณฑ์มาจากชุมชน คนในชุมชนทำกันเอง และต่อยอดเข้าสู่ตลาดออนไลน์ ด้านการพัฒนาตลาดยุคดิจิทัล การจำหน่ายสินค้า ไม่ต้องมีหน้าร้าน ก็สามารถขายสินค้าได้ สามารถเจาะตลาดได้ง่าย เช่น เลือกหมวดเกษตกร ช่วงอายุ 30-60ปี ในส่วนของตัวแทนชุมชนผู้ที่สนใจ จะเป็นแรงพลักดันให้ชุมชนมีความเข็มแข็ง และสร้างความเชื่อมั่นต่อกลุ่มลูกค้า เกิดความมั่นใจในตัวผลิตภัณฑ์ของคนในชุมชน

3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพและสารปรับปรุงดิน และการปลูกผักสวนครัวเพื่อลดค่าใช้จ่าย บนฐานคิดเกี่ยวกับการนำเศษวัสดุเหลือใช้

          จัดกิจกรรมอบรมทำปุ๋ยหมักและแจกเมล็ดพันธ์ผัก ในวันที่ 27-28 ตุลาคม 2564ประชาสัมพันธ์กับหมู่บ้านที่ตัวเองรับผิดชอบ

          วันที่ 27 ตุลาคม 2564 ช่วงเช้ามีจำนวนหมู่บ้านที่เข้าอบรม 5 หมู่บ้าน คือ บ้านบุก้านตงพัฒนา บ้านหนองตาดมุ่ง บ้านบุก้านตง บ้านแสลงพัน บ้านแสลงพันพัฒนา จัดอบรมที่ ศาลาประชาคมบ้านแสลงพัน

 

 

          ช่วงบ่าย จัดอบรมที่ศาลาวัดบ้านโคกใหม่ จำนวนหมู่บ้านที่เข้าอบรม 2 หมู่บ้าน บ้านโคกใหม่ และบ้านโคกใหม่พัฒนา

       

          วันที่ 28 ตุลาคม 2564 ช่วงเช้าจัดอบรมที่ศาลาประชาคมบ้านที่เหลี่ยมเจริญ จำนวนหมู่บ้านที่เข้ามาอบรม 5 หมู่บ้าน บ้านสามเขย บ้านหนองผักโพด บ้านหนองสรวง บ้านสี่เหลี่ยมน้อย บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ

       

           ช่วงบ่ายจัดอบรมที่ศาลาประชาคมบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา จำนวนหมู่บ้านที่เข้ามาอบรม 5 หมู่บ้าน คือ บ้านหนองตาเหล่า บ้านหนองระนาม บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา บ้านบุขี้เหล็กใหม่ บ้านบุขี้เหล็ก

สูตรการทำน้ำหมักปุ๋ยอินทรีย์

 

  • จากการสอบถามผู้ที่เข้าร่วมอบรม หลังจากการอบรมเสร็จ ชาวบ้านนำเมล็ดพันธ์ผักไปปลูกในแปลงผัก ส่วนปุ๋ยหมักอินทรีย์รอหมักแล้วค่อยนำมาผสมน้ำรดผักที่ปลูกไว้
  • สภาพปัญหาฮอร์โมนไข่ยังรอแบ่งกับอีกหมู่บ้านเพราะถังหมักไม่เพียงพอ ยิ่งยากไปกว่านั้นในหมู่บ้านพบผู้ติดเชื้อโควิด -19 ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเข้าพื้นที่เพื่อไปเอาฮอร์โมนไข่ที่หมักไว้
  • ปัญหาการให้อุปกรณ์ถังหมักไม่เพียงพอกับหมู่บ้านที่เข้าร่วมอบรมในครั้งถัดไป และเมล็ดพันธ์ผักไม่เพียงพอ
  • แนวทางแก้ปัญหา การให้อุปกรณ์หมักควรให้เฉพาะผู้ที่เข้าร่วมอบรมก่อน ไม่อย่างนั้นจะเกิดช่องโหว่กลับคนที่ไม่มา และในครั้งต่อไปหากมีการอบรมอีก ชาวบ้านอาจไม่เข้าร่วมอบรม เนื่องจากไม่เข้าร่วมอบรมก็ได้อุปกรณ์ครบเหมือนกันกับคนที่เข้าอบรม

4) การจัดเก็บข้อมูล BCG รายตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ดิฉันและผู้ปฏิบัติงาน U2T ได้จัดทำแผนสถานที่สำคัญของชุมชนที่รับผิดชอบว่าภายในชุมชนมีสถานที่สำคัญอะไรบ้าง ที่แสดงวิถีชีวิต การท่องเที่ยว ศูนย์การเรียนรู้ แหล่งน้ำ และขาดความพร้อมอะไรบ้าง

  • ในส่วนของดิฉันช่วยหาข้อมูลเกี่ยวกับ ประเภทที่พัก หนองน้ำ แหล่งเรียนรู้ เพื่อสรุปให้กับผู้ที่จัดทำกราฟิก เขตพื้นที่ บ้านหนองผักโพด หมู่ 4 ข้อมูลที่สำคัญของจำตำบลแสลงพัน มีดังภาพ ต่อไปนี้

ปัญหาและอุปสรรค

  • ปัญหาสถานการณ์โควิด -19 ทำให้ยากต่อการลงพื้นที่ ยากต่อการขอข้อมูลกับชาวบ้าน การอบรมในแต่ละครั้งไม่สามารถเชิญชาวบ้านมาอบรมตามจำนวนที่ต้องการได้
  • ปัญหาสภาพอากาศฝนตกตรงกับวันที่อบรม ทำให้ยากต่อการลงพื้นที่มากขึ้น ชาวบ้านส่วนหนึ่งไม่สามารถมาอบรมตามที่กำหนดได้
  • ปัญหาการลงพื้นที่เก็บข้อมูล BCD และเก็บข้อมูล BCG คนที่ต้องการข้อมูลที่จำเป็นไม่ได้อยู่ในพื้นที่ และช่วงนี่อยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวข้าวจึงทำให้ยากต่อการขอข้อมูล บางท่านต้องโทรสอบถามข้อมูล

ข้อเสนอแนะ

          ชาวบ้านที่มาอบรมต้องการคนที่มีจิตอาสาจริงๆ มาอบรมและนำไปปฏิบัติทันที ให้เกิดผลผลิตและเป็นรูปร่างเพื่อที่จะต่อยอดโครงการที่ทำ ให้เกิดการลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ต่อครอบครัวขยายสู่ชมชน เสริมสร้างผลิตภัณฑ์ในตำบลให้เข้มแข็งสู่อนาคต

วีดีโอประจำเดือนพฤศจิกายน

 

อื่นๆ

เมนู