บทความสรุปผลการปฏิบัติงาน

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ

ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

โดยนางสาวพรมณี  เนียนสันเทียะ ประเภทบัณฑิตจบใหม่

1.การติดตามการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพและสารปรับปรุงดิน และการปลูกผักสวนครัวเพื่อลดค่าใช้จ่าย

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานใน ช่วงเช้า เวลา9.00-10.30น. ณ ศาลาเอนกประสงค์กลางบ้านแสลงพันหมู่ที่ 7 โดยในกิจกกรมมีการอบรมการพัฒนาน้ำหมักชีวภาพและสารปรับปรุงดินสูตรต่าง ๆ ให้กับชาวบ้านทั้ง 5หมู่บ้าน ได้แก่ หลักสูตรการทำน้ำหมักชีวภาพ อาทิเช่น การทำน้ำหมักชีวภาพฮอร์โมนไข่ พร้อมทั้งมอบเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัวชนิดต่าง ๆ เช่น ผักชี ผักบุ้ง เป็นต้น และต้นกล้าผักชนิดต่าง ๆ เช่น พริก มะเขือ เป็นต้น พร้อมกับถุงปลูก ดินปลูก และถังหมักให้กับชาวบ้านที่เข้าอบรม เพื่อช่วยให้ชาวบ้านลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ได้พืชผักปลอดสารเคมีและรู้จักวิธีทำน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เองภายในครัวเรือนเป็นการพึ่งพาตนเองแบบยั่งยืน

ภาพการปฏิบัติงาน

 

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานใน ช่วงบ่าย เวลา13.00-14.30. ณ ศาลาเอนกประสงค์กลางบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา โดยในกิจกกรมมีการอบรมการพัฒนาน้ำหมักชีวภาพและสารปรับปรุงดินสูตรต่าง ๆ ให้กับชาวบ้านทั้ง 5หมู่บ้าน ได้แก่ หลักสูตรการทำน้ำหมักชีวภาพ อาทิเช่น การทำน้ำหมักชีวภาพฮอร์โมนไข่ พร้อมทั้งมอบเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัวชนิดต่าง ๆ เช่น ผักชี ผักบุ้ง เป็นต้น และต้นกล้าผักชนิดต่าง ๆ เช่น พริก มะเขือ เป็นต้น พร้อมกับถุงปลูก ดินปลูก และถังหมักให้กับชาวบ้านที่เข้าอบรมเพื่อช่วยให้ชาวบ้านลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ได้พืชผักปลอดสารเคมีและรู้จักวิธีทำน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เองภายในครัวเรือนเป็นการพึ่งพาตนเองแบบยั่งยืน

ภาพการปฏิบัติงาน

 

ข้าพเจ้าได้ติดตามการใช้น้ำหมักชีวภาพในการปลูกผักสวนครัวต่าง ๆ กับชาวบ้านที่ได้เข้าร่วมอบรม ที่บ้านบุก้านตง หมู่ 12 พบว่า ยังไม่พบปัญหา ในการใช้น้ำหมักชีวภาพ โดยได้ทำการปลูกพืชผักที่ได้รับจากการเข้าร่วมอบรม

ภาพการปฏิบัติงาน

 2.การอบรมการตลาดออนไลน์ (Online Marketing)

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ 2564 ข้าพเจ้าพร้อมกับทีมผู้ปฏิบัติงานU2Tตำบลแสลงพันและตำบล     ทะเมนชัยได้เข้าร่วมการอบรมการตลาดออนไลน์ (Online Marketing) ที่ห้องประชุมมนุษย์สังคมวัฒนา            คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมีวิทยากร คือ คุณปัณณทัต สระอุบล นักการตลาดออนไลน์(Digital Marteter)  การอมรมในช่วงเช้าเป็นการฟังบรรยายพื้นฐาน การทำความเข้าใจการตลาดในยุคปัจจุบัน การสาธิตการทำเพจ FACEBOOK ในการทำการตลาดออนไลน์ขายสินค้า ช่วงบ่ายเป็นภาคปฏิบัติการทำเพจ FACEBOOK เพื่อขายสินค้าออนไลน์โดยแบ่งกลุ่มออกเป็นตำบลละ 5 – 6 กลุ่ม  โดยเน้นให้เพจ ดูน่าสนใจ มีความสวยงามและเหมาะสมกับสินค้าที่จะขาย มีความเข้าถึงง่ายติดต่อกลับได้สะดวกรวดเร็ว สร้างคอนเทนต์ให้น่าสนใจ เพื่อเปิดโอกาสให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่รู้จักในสื่อสังคมออนไลน์ได้เร็วยิ่งขึ้น เพิ่มโอกาสทางการค้าและบริการภายในชุมชนท้องถิ่น พร้อมทั้งมีการประกวดเพจ FACEBOOK แต่ละกลุ่ม สำหรับการเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ ทำให้ข้าพเจ้าสามารถเอาความรู้ที่ได้จากอมรมไปปรับใช้ในการขายสินค้าของชุมชนในท้องถิ่นและสามารถเอาไปปรับใช้ในธุรกิจของตัวเองได้อีกด้วย

ภาพการปฏิบัติงาน

 

3.การจัดเก็บข้อมูล CBD รายตำบลและพัฒนา Plan point การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำภาพกราฟิก

ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายลงพื้นที่เก็บข้อมูล CBD ที่บ้าน สี่เหลี่ยมเจริญ หมู่10 และบ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่16  พร้อมทั้งร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงานU2Tตำบลแสลงพันจัดทำวิเคราะห์ปัญหารายพื้นที่ด้านต่าง ๆ ในตำบลเพื่อจัดทำ pain point และทำไฟล์ในโปรแกรมPowerPoint อัพโหลดลงในระบบของมหาวิทยาลัย

ภาพการปฏิบัติงาน

 

4.งานมอบหมายอื่น ๆ

ได้รับมอบหมายให้จัดทำสื่อการตลาดออนไลน์ ศูนย์การเรียนรู้ออนไลน์ งานตัดต่อภาพ/วีดีโอ บันทึกภาพกิจกรรมต่างๆ ตัวแทนในการประสานงานประจำหมู่บ้านบุก้านตง หมู่ที่ 12 รวมกับพื้นที่ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ และงานมอบหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

5.กิจกรรมประชุมทั้งออนไลน์และออนไซต์

5.1 เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่านระบบ google meet เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2564 ร่วมกับสมาชิก U2T และ อ.ดร.สุธีกิติ ฝอดสูงเนิน

สรุปวาระการประชุม แจ้งกิจกรรมการลงพื้นที่ การพัฒนาน้ำหมักชีวภาพ ระหว่างวันที่ 27-28 ตุลาคม 2564 มีการมอบหมายงานให้กับสมาชิก เตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมและลงพื้นที่

5.2 เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่านระบบ google meet เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ร่วมกับสมาชิก U2T และ อ.ดร.สุธีกิติ ฝอดสูงเนิน

สรุปวาระการประชุม การติดตามการปลูกผักอินทรีย์และการติตามการทำน้ำหมักชีวภาพเองของแต่ละชุมชนที่ได้รับผิดชอบ และการพัฒนาการทำเพจออนไลน์ของคนแสลงพัน เช่น เพจของเห็ด เพจดินดีแสลงพัน และเพจน้ำหมักชีวภาพ

6.สภาพปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะจากการพัฒนากิจกรรม

          จากการพัฒนากิจกกรมพบว่าด้วยปัญหาในปัจจุบันเป็นช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ต้องลดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเป็นไปตามมาตรการการป้องกันโรคโควิด-19 ประกอบกับเป็นช่วงฤดูฝนทำให้การเดินทางไม่สะดวก

          การพัฒนากิจกรรมควรเข้าถึงผู้ที่ยังไม่ได้เข้ารับการอบรม โดยทำการประชาสัมพันธ์กับผู้นำชุมชนหรือทางสื่อออนไลน์เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงความรู้ พร้อมลงพื้นที่เจาะจงผู้ที่สนใจในการทำน้ำหมักชีวภาพ สารปรับปรุงดิน เมื่อได้ความรู้แล้วจะทำให้เกิดเป็นครอบครัวต้นแบบและจะได้กระจายความรู้ต่างๆ ภายในชุมชนของตนเอง เพื่อทำให้ชุมชุนรู้จักการพึ่งพาตนเอง ลดการใช้สารเคมี ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนกลายเป็นชุมชนต้นแบบที่ยั่งยืนต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู