บทความรายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน (เดือนพฤศจิกายน)
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1ตำบล 1มหาวิทยาลัย)
ข้าพเจ้านางสาววนิดา เชาวนกุล ประเภทบัณฑิตจบใหม่ หลักสูตร HS06 – การสร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมสมาชิกผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรประจำพื้นที่
พื้นที่รับผิดชอบ บ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้าได้ทำการลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับสมาชิกผู้ปฏิบัติงานตำบลแสลงพัน ในการปฏิบัติงานเดือนพฤศจิกายน เนื่องด้วยยังมีการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ตำบลแสลงพัน ส่งผลทำให้การลงพื้นที่จัดกิจกรรมร่วมกับทีมสมาชิกชุมชน ในตำบลแสลงพันเป็นไปได้ยาก จึงได้มีการแบ่งโซนในการลงพื้นที่จัดกิจกรรม เพื่อทำตามมาตรการของทางรัฐบาลจึงได้จำกัดจำนวนคนในการลงพื้นที่เข้าร่วมจัดกิจกรรม และในการลงจัดกิจกรรมได้ลงพื้นที่ดูแลความปลอดภัยและระมัดระวังอย่างเคร่งครัด เนื่องด้วยเดือนพฤศจิกายน เป็นฤดูหนาว ชาวนาเริ่มมีการเก็บเกี่ยวข้าว ตากข้าวเป็นจำนวนมาก เกษตรกรชาวบ้านได้มีความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกัน ตากข้าวเก็บเกี่ยวขึ้นยุ้งฉาง เก็บไว้บริโภคในครัวเรือนและจำหน่าย ส่วนฟางข้าวนำไปใช้ทางเกษตรกรรม การปฏิบัติงานลงพื้นที่นี้ ชาวบ้านมีความร่วมมือกันช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี
1.กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ) และมอบอุปกรณ์แจกเมล็ดพันธุ์พืชสมาชิกชุมชน
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 09:00 น. ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ ศาลากลางหมู่บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ที่ 10 ร่วมด้วยสมาชิกชุมชน บ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3 บ้านหนองผักโพด หมู่ที่ 4 บ้านสามเขย หมู่ที่ 13 และบ้านสี่เหลี่ยมน้อยหมู่ที่ 9 รวมทั้งหมด 5 หมู่บ้าน เพื่อทำการมอบอุปกรณ์ถุงดำ เมล็ดพันธุ์พืช เบี้ยพริก พันธุ์ผัก ถัง น้ำหมักชีวภาพ ฮอร์โมนไข่ ได้มีการทำสูตรน้ำหมักชีวภาพ ฮอร์โมนไข่ เพื่อทำการฝึกฝนให้กับสมาชิกชุมชนได้เรียนรู้ทำกิจกรรมร่วมกัน ได้มีการปั่นไข่ไก่ปอกน้ำมะพร้าว เทกากน้ำตาลส่วนผสมต่างๆ คนให้เข้ากัน และบรรจุแจกจ่ายน้ำหมักชีวภาพให้กับสมาชิกชุมชน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ร่วมกัน
ช่วงเวลา 13:00 น. ได้เดินทางไปที่ศาลากลางบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่ 17 ร่วมด้วยสมาชิกชุมชน บ้านหนองระนาม หมู่ที่ 2 บ้านหนองตาหล่า หมู่ที่ 8 บ้านบุขี้เหล็ก หมู่ที่ 6 และบ้านบุขี้เหล็กพัฒนา หมู่ที่ 11 การจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาได้มีการลงพื้นที่ปฏิบัติเหมือนช่วงเช้า ข้าพเจ้าได้มีการแจกพันธุ์พืชผัก เบี้ยพริกที่จัดเตรียมไว้ให้กับสมาชิกชุมชน เพื่อปลูกพืชผักไว้กินในครัวเรือนและเป็นต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงและการใช้น้ำหมักชีวภาพโดยไม่สารเคมีเพื่อเป็นต้นแบบของชุมชนต่อไป
2.การอบรมการพัฒนาตลาดออนไลน์
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564 เวลา 09:00 – 15:00น. ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงาน ตำบลแสลงพันได้เข้าร่วมอบรมตลาดออนไลน์ ที่ห้องประชุมมนุษย์สังคมวัฒนา คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ โดยมีวิทยากร นายปัณณทัต สระอุบล ตำแหน่ง นักการตลาดออนไลน์ (Digital Marketer) ซึ่งได้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์มากมายได้มาบรรยายสอนด้านการตลาดออนไลน์ จัดทำเพจเปิดตลาดออนไลน์มอบความรู้แก่ทีมผู้ปฏิบัติงานโดยมีการแบ่งเป็นกลุ่ม เพื่อสร้างเพจทำตลาดออนไลน์จำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชน เช่น เห็ดนางฟ้า น้ำหมักชีวภาพ ดินปลูก ในการเข้าร่วมอบรมได้มีการประกวดทำเพจบน Facebook เพื่อกระตุ้นออกแบบเพจให้น่าสนใจ และการเขียนเนื้อหาสร้าง content ให้น่าสนใจ ประกวดมอบรางวัลให้แก่ทีมผู้ปฏิบัติงาน
การสร้างเพจบน Facebook
3.การติดตามการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพและสารปรับปรุงดิน และการปลูกผักสวนครัวเพื่อลดค่าใช้จ่าย บนฐานคิดเกี่ยวกับการนำเศษวัสดุเหลือใช้ มีคำแนะนำ สภาพปัญหา แนวทางแก้ไขอย่างไรบ้าง
เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ติดตามสมาชิกชุมชนบ้านหนองสรวง ชาวบ้านได้มีการขุดลอกดินทำแปลงผักสวนครัว เพื่อเป็นครัวเรือนต้นแบบและลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนยังได้มีการประกวดชิงรางวัลจัดทำแปลงผักสวนครัวสวยงามนำตะกร้า กะละมังแตกหักมาดัดแปลงใช้ปลูกพืชผักให้สวยงาม การผสมดิน หว่านเมล็ดพันธุ์พืช นำเบี้ยกล้าพริก มะเขือเทศ ปลูกในถุงดำรดน้ำ ชาวบ้านให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น และได้มีการบันทึกภาพติดตามการเจริญเติบโตของพืชผัก ทุกๆสัปดาห์ สภาพพื้นที่บางครัวเรือน ยังมีปัญหา ดินปลูกเป็นดินเหนียว ไม่สามารถปลูกพืชผักสวนครัวได้ ชาวบ้านยังต้องการดินปลูกเพิ่ม และบางครัวเรือนยังมีปัญหาไก่เข้าไปในแปลงผักสวนครัว แต่เราได้มีการดัดแปลงรดน้ำบางพื้นที่ผักยังขึ้นยังทำให้มีผลผลิตอยู่ซึ่งในการปลูกพืชผักนี้ข้าพเจ้ายังติดตามและดูแลสอบถามชาวบ้านอย่างสม่ำเสมอ
4.การจัดเก็บข้อมูล BCG รายตำบล และพัฒนา plan point กรอกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล
จัดเก็บข้อมูลรายตำบลเพิ่มเติมในพื้นที่รับผิดชอบบ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3 และพื้นที่ใกล้เคียงในตำบลแสลงพันเพื่อให้ครบ 1,000 รายการตามที่มหาวิทยาลัยได้แจ้งกำหนดมา และทำการวิเคราะห์ข้อมูลรายปัญหาพื้นที่ต่างๆ ในตำบลแสลงพันโดยมีการร่วมด้วยช่วยกันวิเคราะห์รายปัญหาหาข้อมูลร่วมกัน และวิเคราะห์สถานที่แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในตำบลแสลงพัน ลงในโปรแกรม Power Point ส่งมอบให้กับอาจารย์ตรวจสอบและอัพโหลดลงในระบบตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ทั้งนี้การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพและการติดตามการปลูกพืชผักสวนครัวในครัวเรือนได้มีการติดตามความก้าวหน้าต่อไป เพื่อเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายในครัวเรือนเป็นต้นแบบของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ตำบลแสลงพัน และยังได้มีการออกแบบแพ็คเกจจิ้ง โลโก้ผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพ ในเดือนถัดไป
วีดีโอประจำเดือนพฤศจิกายน