ผลการปฏิบัติงานประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
นางสาวธิดา คำหล้า
ประเภทประชาชน
พื้นที่ได้รับมอบหมาย บ้านบุก้านตง ม.12 ต.แสลงพัน
ข้าพเจ้านางสาวธิดา คำหล้า ประเภท HS06 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์สรุปผลการปฏิบัติผลการทำงานในรอบเดือนที่ผ่านมาและได้วางแผนปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายนดังนี้
ตามที่ข้าพเจ้าได้ทำการสำรวจข้อมูลพื้นฐานและสภาพบริบททั่วไปของหมู่บ้านบุก้านตงทั้งระดับบุคลและครัวเรือน โดยลงพื้นที่ปฏิบัติงานช่วงกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนพฤศจิกายน 2564 พบว่าผู้นำชุมชนและชาวบ้านในพื้นที่อยู่ในภาวะที่เฝ้าระวังและติดตามเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด 19 ระรอกที่ 4 ผู้นำและชาวบ้านมีการระมัดระวังและป้องกันคนในชุมชนมีการฉีดวัคซีนเกิน 80% ของคนในชุมชนเนื่องจากการระบาดที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้นทำให้ชุมชนได้รับผลกระทบมากกว่าเดิมส่งผลต่อการค้าขาย สินค้าทางการเกษตรเพราะชาวชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมมีรายได้ตกต่ำลงไปมากส่งผลกระทบทั้งทางตรงละทางอ้อมภายใต้สภาวะทีวิกฤตชาวชุมชน ม. 12 ได้มีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ของโรคโควิด 19
จากภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวกล่าวชาวบ้านหรือเกษตรกรต้องประกอบอาชีพต่อไปตามสถานการณ์ในช่วงนี้ชาวบ้านเริ่มทยอยเกี่ยวข้าว ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นเพราะชาวบ้านต้องใช้เงินทุนในการเก็บเกี่ยว ในสภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ
อย่างไรก็ตามภายใต้สภาวะเศรษฐกิจดังกล่าวทางด้านการพัฒนาชุมชนของโครงการยังคงต้องดำเนินต่อไปภายใต้สภาพปัญหา ซึ่งมีกระบวนการดำเนินการดังต่อไปนี้
1. เก็บข้อมูลตามแนวทางการจัดทำรายงานการดำเนินงานของโครงการในรอบแรก
สำหรับในช่วงในเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564
ได้มีการสรูปข้อมูลเพื่อจัดทำรูปเล่มและนำส่งรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สภาพทั่วไปของพื้นที่บ้านบุก้านตงหมู่ที่ 12ซึ่งมีข้อมูลการเก็บโดยภาพรวมดังนี้
1.1) เก็บข้อมูลตามแนวทางการจัดทำรายงานการดำเนินงานของโครงการในรอบแรก
1.2) ประวัติทั่วไปของชุมชนบ้านบุก้านตงหมู่ที่ 12
1.3) แผนที่ชุมชน บ้านบุก้านตงหมู่ที่ 12
1.4) ข้อมูลสำคัญรายหมู่บ้านบุก้านตงหมู่ที่ 12
1.5) ข้อมูลสมาชิกในชุมชน บ้านบุก้านตงหมู่ที่ 12
1.6) ข้อมูลอื่นๆที่สำคัญในชุมชน
2.ได้ลงสำรวจข้อมูลสภาพทั่วไปในพื้นที่ชุมชนบ้านบุก้านตงหมู่ที่ 12 ได้ลงไปสอบถามข้อมูลกับชาวชุมชน ผู้เฒ่าผู้แก่ประจำหมู่บ้านได้บอกเล่าประวัติของหมู่บ้าน และผู้นำชุมชนต่างให้ความร่วมมือส่วนชาวชุมชนได้เล่าถึงวิถีชีวิต ภูมิปัญญา อัตลักษณ์ของหมู่บ้านตนต่างเล่าด้วยความภาคภูมิใจในหมู่บ้านที่ตนอาศัย จึงทำให้ทราบว่าทุกชุมชนล้วนภูมิใจในเอกลักษณ์ของหมู่บ้านที่ตนอยู่อาศัย
3.ทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่อบรมกับกับอาจารย์ประจำหลักสูตร วิทยากร และสมาชิกเข้าร่วมฝึกอบรมเรื่องการใช้เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มาใช้ทำปุ๋ยอินทรีย์ สารปรับปรุงดิน น้ำหมักชีวภาพ และมีการแจกเมล็ดพันธุ์ กระถาง ให้กับผู้ร่วมฝึกอบรมและ มีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมทั้งหมด 5 หมู่บ้าน คือบ้านแสลงพัน แสลงพันพัฒนา หนองตาดตามุ่ง บุก้านตง และบุก้านตงพัฒนา มีการการฝึกอบรมที่ บ้านแสลงพัน หมู่ 7 ในวันที่ 27 ตุลาคม 2564 และรอบบ่ายกได้ลงพื้นที่ฝึกอบรมภาคสนามการทำน้ำหมักชีภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ที่ทำจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมทั้งหมด 3 หมู่บ้านที่ วัดบ้านหนองสรวง การฝึกอบรมในวันนี้ผู้อบรมมีความสนใจในกิจกรรมเป็นอย่างมาก มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการทำน้ำหมักกับกลุ่มสมาชิกหมู่บ้านอื่น
4. ทีมผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมการเข้ารับการฝึกอบรมการใช้เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร อาทิเช่น การทำน้ำหมักชีวภาพ สารปรับปรุงดิน มีการอบรมเอาของเหลือใช้มาเพิ่มมูลค่า อาทิเช่นเศษอาหาร ผัก ผลไม้ ฝาง ปุ๋ยคอก เศษวัสดุต่างๆเหล่านี้สามารถนำมาทำน้ำหมักชีวภาพ และสารปรับปรุงดิน ช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีในชุมชน ชุมชนที่เข้ารับการเข้าร่วมการฝึกอบรมต่างให้ความสนใจในกิจกรรมเป็นอย่างต่างสอบถาม อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยากรถึงวิธีการทำ และมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับผู้เข้าร่วมฝึกอบรมเพื่อจะได้นำไปปฏิบัติในช่วงเช้าที่อบต.แสลงพัน และอบรมที่บ้านบุขี้เหล็ก ในช่วงบ่ายของวันที่ 28 ตุลาคม 2564
5. ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตรเข้าร่วมรับการอบรมการพัฒนาตลาดออนไลน์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในวันที่ 31 ตุลาคม 2564 วิทยากรผู้อบรมชื่อ คุณปัณณทัต สระอุบล นักการตลาดออนไลน์ การที่ข้าพเจ้าได้เข้าอบรมครั้งนี้ช่วยเพิ่มทักษะด้านสื่อโซเชียล การสร้างเพจ การสร้างเนื้อหา content ในผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจในการโฆษณา การวางแผนการตลาด ประชาสัมพันธ์ ทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้นเพื่อที่จะนำมาพัฒนาในกลุ่มสมาชิกของข้าพเจ้า
6. จากการติดตามผลการดำเนินงานในรอบเดือนมีนาคม-พฤศจิกายน ที่ผ่านมาทำให้ทราบว่าชาวชุมชนทั้งสองหมู่บ้านได้นำองค์ความรู้บนพื้นฐานความคิดเกี่ยวกับการใช้เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ทำน้ำหมักชีวภาพ หรือสารปรับปรุงดิน และการปลูกผักสวนครัวเพื่อลดค่าใช้จ่าย มีการร่วมมือร่วมแรงสามัคคีกันเป็นอย่างดีกลุ่มสมาชิกสามารถมีรายได้ในการจำหน่ายเห็ดลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนรวมถึงสร้างอาชีพการแปรรูปผลิตภัณฑ์ของบ้านบุก้านตงทั้งสองหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นโครงการที่สามารถสร้างเสริมอาชีพให้ชุมชนได้อย่างแท้จริงและเราได้ให้ตัวแทนทีมสมาชิกได้ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายจากการเก็บผลผลิตเห็ดนางฟ้า จึงทำให้ทราบว่าสมาชิกมีรายได้จากการจำหน่ายเห็ดและสามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ด้วย
จากการที่ข้าพเจ้าได้ติดตามการสร้างเครือข่ายในการจำหน่ายเห็ดของกลุ่มสมาชิกบ้านบุก้านตงและบ้านบุก้านตงพัฒนามีรายละเอียดดังนี้
1. การจัดทำบัญชีครัวเรือน รายรับ –รายจ่าย ของโรงเรือนบ้านบุก้านตงพัฒนา และบ้านบุก้านตง กลุ่มสมาชิกมีการทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย แบบเข้าใจง่ายและตัวแทนที่ทำบัญชีจะมีการแจ้งเกี่ยวกับรายรับ รายจ่ายบัญชีให้สมาชิกกลุ่มทราบทุกๆเดือน
2. จากการที่ข้าพเจ้าได้ติดตามกลุ่มสมาชิกบ้านบุก้านตงและบ้านบุก้านตงพัฒนาที่ได้โรงเรือนเพาะเห็ดต้นแบบกลุ่มสมาชิกมีรายได้ลดค่าใช้จ่ายและได้เรียนรู้การแปรรูปอาหารจากเห็ด เพิ่มทักษะด้านการตลาดในชุมชน และระแวกใกล้เคียง รวมทั้งขายออนไลน์ สื่อโซเชียลต่างมีสมาชิกนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเพิ่มมูลค่า โดยการทำน้ำหมักชีวภาพ และสารปรับปรุงดิน จากเศษอาหารที่ชุมชนมีอยู่ทุกหลังคาเรือน พบว่ามีสมาชิกบ้านบุก้านตง ได้นำไปปฏิบัติจริงสามารถลดการใช้สารเคมี ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ย
ทางโครงการยังมอบต้นกล้าและเมล็ดพันธุ์พืชมาปลูก มาเพาะปลูก อาทิเช่น พริก มะเขือ ผักชี คะน้า ผักบุ้งจีน มะเขือเทศ และคื่นฉ่าย ผักเหล่าล้วนใช้ในชีวิต ใช้ในครัวเรือน สมาชิกได้นำไปปลูกไว้รับประทานในครัวเรือน จึงลดค่าใช้จ่ายในการต้องซื้อผักสวนครัว และพึ่งพาตัวเองได้ด้วย
8.ได้ลงเก็บข้อมูล CBD กับทีมสมาชิก ในหมู่บ้านต่างๆจนครบ และได้ติดตามให้คำแนะนำการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์
ติดตามและให้คำแนะนำกลุ่มสมาชิกที่เข้าร่วมจำนวน 10 คน
1.นางไผ่ แสงสำโรง
2.นางวิไลรัตน์ เนียนสันเทียะ
3.นางอนงค์ ห้วยทอง
4.นางประยูร ภาคะ
5.นางสวรรค์ เนียนสันเทียะ
6.นางเภา เสือซ่อนโพรง
7.นางเสาร์ จันโสดา
8.นางพัชรีพร ภาคะ
9.นางอัมพร โพนรัตน์
10.นางสาวพรจันทร์ บุญทอง
การส่งข้อมูลเพื่อจัดฐานข้อมูลตามโมเดล BCG (Bio-Circular-Green Econ0my)
โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นแนวคิดการนำวิทยาศาตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับอุสาหกรรมเป้าหมาย 1)เกษตรและอาหาร 2)พลังงานและวัสดุ 3) สุขภาพและการแพทย์ 4)การท่องเที่ยวและบริการ
โมเดล BCG เป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัญาเศรษฐกิจพอเพียงพอด้วย
โดยรัฐบาลมีแผนเพื่อนำพาประเทศไปสู่ Thailand 4.0 ซึ่งโมเดลนี้จะเข้ามาพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมให้เศรษฐกิฐแบบยั่งยืน
และมีการตั้งเป้าหมายภายใน 5 ปีที่สำคัญจะต้องสร้างสิ่งแวดล้อมของไทยให้สมบูรณ์ รวมถึงจะทำให้ไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ
ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาอาชีพในท้องถิ่นและเลือกสื่อโซเชียล ต้นแบบในการพัฒนาชุมชน
1.การติดตามให้คำแนะนำเชิงปฏิบัติ และการพัฒนากลุ่มสมาชิกหรือตัวแทนสมาชิกเพื่อให้การทำงานบรรลุเป้าหมายของโครงการ
2. เนื่องจากสภาวะโควิด 19 ระบาดเป็นอุปสรรคทั้งการฝึกอบรมและการลงพื้นที่ภาคสนาม ทีมผู้ประสานงานจึงติดตามผ่านกลุ่มไลน์ สื่อโซเชียลต่างๆกับทีมสมาชิกบ้านบุก้านตงหมู่ที่ 12
3.ปัญหาการทำบัญชีในกลุ่มสมาชิกโรงเรือนบ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ 1ได้รับ แก้ไขโดยการทำบัญชีแบบเรียบง่ายให้เข้าใจในกลุ่มสมาชิก และสรุปรายได้และค่าใช้จ่ายให้กลุ่มสมาชิกทราบในแต่ละเดือน
สูตรน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหาร
อุปกรณ์
1.ถังหมักมีฝา 1 ถัง
2.น้ำสะอาด 3 ลิตร
3.เศษผัก ผลไม้และอาหาร 3 กิโลกรัม
4. EM แบบขยาย 100 ซีซี
5.ไม้คน
6.จุลินทรีย์หน่อกล้วย 100 ซีซี
(ไม่ใส่ก็ได้)
วิธีทำ
1.เทน้ำสะอาดลิตร 3 ลงถัง
2.เทน้ำตาลทรายลงถังคนให้น้ำตาลละลายจากนั้นเท EM และจุลินทรีย์หน่อกล้วยคนให้เข้ากัน
3.เทเศษผักผลไม้ และเศษอาหารลงไปในถังแล้วกดให้ท่วม
4.เศษอาหารได้มาจากการเทใส่ตะกร้าสะสมไว้ตอนเช้าถึงตอนเย็นล้างน้ำให้สะอาดปล่อยให้สะเด็ดน้ำ สามารถเทเศษอาหารได้ทุกวัน เทไปเรื่อยๆจนพอใจ แล้วหมักไว้ 20-30 วัน กรองน้ำหมักเอาใส่ขวดออกมาไว้ใช้
กรณีเศษอาหารเยอะน้ำหมักจะข้นเหลวสามารถตักน้ำหมักตักราดพืชผักได้เลย (ไม่ต้องกรอง)
วิธีใช้
1.น้ำหมัก 5 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร
2.รดพืชผักอาทิตย์ละ 2 ครั้ง
3.น้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 5 ลิตร ฉีดพ่นทางใบอาทิตย์ละครั้ง
4.ข้อควรระวัง หากหมักยังไม่สมบูรณ์ ปริมาณกรดและน้ำตาลยังสูงอยู่จะส่งผลเป็นพิษต่อพืช
ประโยชน์
1.ช่วยให้ดินร่วนซุย
2.ช่วยกระตุ้นการเกิดรากและให้พืชเจริญเติบโตได้ดี
3.ป้องกันแมลงและศัตรูพืช
ข้อแนะนำหากผสมสมุนไพร เช่นสะเดา ตะไคร้หอม ยาสูบ ดีปลี หรือพริกขี้หนูโดยใส่สมุนไพร 2-5 ช้อนตะลงไปในส่วนผสมของขั้นตอนการหมักปุ๋ยอินทรีย์น้ำแต่แรกจะสามารถใช้เป็นสารไล่แมลงได้ด้วย
ไม่ควรเก็บปุ๋ยอินทรีย์น้ำไว้ในที่ที่โดนแดด ควรเก็บไว้ที่อุหภูมอห้องประมาณ 20-30 องศาเซลเซียสจะเก็บได้นาน 6 เดือน
สูตรการทำฮอร์โมนไข่
ส่วนผสม
1.นมเปรียวขนาด 1 ขวด (หรือจุลินทรีย์หน่อกล้วย 1ลิตร)
2.ไข่ไก่หรือไข่เป็ด 1 กิโลกรัม หรือประมาณ 15 ฟอง (ไข่เบอร์ 1)
3.กากน้ำตาล 1 ลิตร
4.น้ำมะพร้าวอ่อน 2 ลูก
5.ลูกแป้ง 1 ลูก
6.เครื่องปั่น
วิธีทำ
1.ตอกไข่ให้แตกปั่นทั้งเปลือก
นำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมในถังหมัก
2.หมักทิ้งไว้ 1 เดือน แล้วนำเอามากรองเอาแต่น้ำเพื่อไม่ให้หัวฉีดอุดตัน
วิธีใช้
1.เวลานำมาใช้ให้ผสมฮอร์โมนไข่ 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 5ลิตร ฉีดรดต้นไม้ที่ยังไม่ออกดอก 1ครั้งต่อสัปดาห์
2.หากต้นไม้เริ่มออกดอกแล้ว แนะนำให้ลดปริมาณฮอร์โมนไข่ลดลงเหลือเพียง 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 5 ลิตรหากใช้มากเกินไปจะทำให้ดอกร่วงได้
3.ส่วนเปลือกไข่ที่เหลือ แนะนำ ไปใส่ต้นไม้จะช่วยเพิ่มแคลเซียมให้พืชอย่างดี
ประโยชน์
ฮอร์โมนไข่นี้เหมาะสำหรับบำรุงใบและต้น เร่งดอก ให้ติดดอกได้เร็วและดีเพิ่มผลผลิต
ภาพประกอบกิจกรรม