บทความรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคม 2564
นางสาวอารียา วิลาศ กลุ่มนักศึกษา
ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
**************************************************************************************************
1.การจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานฉบับสมบูรณ์บทที่ 1-4 หน้าที่รับผิดชอบ
ในการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานฉบับสมบูรณ์บทที่ 1 – 4 เป็นการสรุปผลการดำเนินงาน จัดทำและวิเคราะห์รายงานผลการปฏิบัติงานในบทที่บทที่ 3 เป็นบทที่ว่าด้วยผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งการส่งเสริมการตลาดเป็นต้น
2.การจัด TSI สรุปภาพรวมของตำบลเป็นการสรุปการดำเนินงานรายภาพรวมของตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ สรุปได้ว่า ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 17 ตำบล 2,657 ครัวเรือน สภาพส่วนใหญ่ มีแหล่งน้ำสาธารณะ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร รับจ้างทั่วไป เลี้ยงสัตว์ ในส่วนผลลัพธ์จากการดำเนินงาน
พบว่าเชิงเศรษฐกิจ รายได้ที่เพิ่มขึ้นประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้น 15 % เป็นต้น
เชิงสังคม ลดการใช้สารเคมีในการเกษตร ชุมชนเห็นคุณค่าและใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุเหลือใช้เพิ่มมากขึ้น
ข้อเสนอแนะ
- ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้งการเพาะเห็ด แปรรูปเห็ด และการผลิตนำหมักชิวภาพ
- ส่งเสริมและพัฒนาตลาดออนไลน์อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น มีการบริหารจัดการ การพัฒนาทีม และการฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
- ส่งเสริมกิจกรรมสร้างจิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการพึ่งพาตนเองและพึ่งพากันเองในชุมชน ลดการพึ่งพาแบบทุนนิยม
- พัฒนาต่อยอดและสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก ปรับปรุงแปรรูปให้เกิดประโยชน์สูงสุดบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น
พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบนฐานของเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และยกเป็นเส้นทางท่องเที่ยวออนไลน์
สรุปภาพรวม
1.กิจกรรมทำความดีด้วยหัวใจ 5 ธันวาคม 2564 วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม 2564 ทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ร่วมกับชุมชนจัดกิจกรรมทำความดีด้วยหัวใจ เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564ได้มีการให้ความรู้กับชาวบ้นในเรื่องการใช้น้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์พร้อมทั้งอบรมการการทำปุ๋ยและดินด้วยเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมีชาวบ้านที่ร่วมได้แก่บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนาและชุมชนข้างเคียงจำนวน 4 หมู่บ้าน เพื่อส่งเสริมการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางเกษตรมาใช้ในครัวเรือนเพื่อลดต้นทุนในการใช้จ่ายในครัวเรือน พร้อมทั้งได้มีการแจกเมล็ดพันธุ์พืชผักกับชุมชนเพื่อเป็นต้นแบบในการทดลองใช้น้ำหมักชีวภาพสำหรับชุมชนได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบหมู่ที่ 8 ตำบลแสลงพัน ได้นำเม็ดผักไปแจกชาวบ้านที่หมู่บ้านเนื่องจากชาวบ้านไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม
3.กิจกรรมบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่ 17วันที่ 4 ธันวาคม 2564 ทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ร่วมกับชุมชนบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนาและชุมชนใกล้เคียง พัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนภายหลังจากการหมดเชื้อของก้อนเห็ดของกลุ่มโรงเรือนเห็ดบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา
มีขั้นตอนดังนี้
1)ปุ๋ยหมักจากก้อนเห็ดเก่าในกระสอบ
วัสดุ
1.ขี้วัว 1 กระสอบ
2.รำหยาบ 1 กระสอบ
3.ก้อนเห็ดเก่าบี้ให้ละเอียด
4.น้ำหมัก (จุลินทรีย์น้ำซาวข้าว , จุลินทรีย์หน่อกล้วย ฮอร์โมนไข่ อย่างใดอย่างหนึ่ง 1 ขัน
4.บัวรดน้ำขนาด 5 ลิตร
5.น้ำเปล่า ประมาณ 25 ลิตร
วิธีทำ
1.เทน้ำหมักผสมในนัำที่เตรียมไว้ คนให้เข้ากัน
2.เทขี้วัวกับรำหยาบและก้อนเห็ดบี้ละเอียดลงในกะละมังผสมปูน
3.รดน้ำลงไป 1 บัว แล้วใช้จอบคลุกเคล้าให้ส่วนผสมให้เข้ากัน . ทำ (นับรอบที่ 1) คลุกเคล้าดินอีก 3 รอบ โดยแต่ละรอบให้รดน้ำ 1 บัวต่อรอบ เมื่อคลุกเคล้าเสร็จในรอบที่
4. ให้ลองกำส่วนผสมดูก่อนว่าส่วนผสมมีความชื้นหรือยัง ถ้ายังให้รดน้ำรอบที่ 5 แล้วคลุกส่วนผสมให้เข้ากัน
5.ตักใส่กระสอบปุ๋ยครึ่งกระสอบ แล้วมัดด้วยเชือกเอาไปตั้งไว้ในที่ร่ม หมักไว้ 45-60 วัน
วิธีใช้ : ใช้รองหลุมปลูกพืชผักทุกชนิด และใส่พึชผักแทนปุํยได้เลย
ประโยชน์ : ปุ๋ยหมักสูตรนี้มีไนโตรเจนสูง ปลูกผักงามไว ปลูกอะไรก็เขียว เพิ่มผลผลิต
2)หมักดินปลูกจากก้อนเห็ดเก่าในกระสอบ
วัสดุ
1.ขี้วัว 1 ส่วน
2.รำหยาบ 1 ส่วน
3.แกลบเก่า 1 ส่วน
4.แกลบใหม่ 1 ส่วน
5.ดินร่วน 1 ส่วน
6.น้ำหมัก (จุลินทรีย์น้ำซาวข้าว , จุลินทรีย์หน่อกล้วย ฮอร์โมนไข่ อย่างใดอย่างหนึ่ง 1 ขัน
4.บัวรดน้ำขนาด 5 ลิตร
5.น้ำเปล่า ประมาณ 25 ลิตร
วิธีทำ
1.เทน้ำหมักผสมในนัำที่เตรียมไว้ คนให้เข้ากัน
2.เทส่วนผสมข้อ 1-5 ลงในกะละมังผสมปูน
3.รดน้ำลงไป 1 บัว แล้วใช้จอบคลุกเคล้าให้ส่วนผสมให้เข้ากัน . ทำ (นับรอบที่ 1) คลุกเคล้าดินอีก 3 รอบ โดยแต่ละรอบให้รดน้ำ 1 บัวต่อรอบ เมื่อคลุกเคล้าเสร็จในรอบที่
4.ให้ลองกำส่วนผสมดูก่อนว่าส่วนผสมมีความชื้นหรือยัง ถ้ายังให้รดน้ำรอบที่ 5 แล้วคลุกส่วนผสมให้เข้ากัน
5.ตักใส่กระสอบปุ๋ยครึ่งกระสอบ แล้วมัดด้วยเชือกเอาไปตั้งไว้ในที่ร่ม หมักไว้ 30 วัน
วิธีใช้ : ใช้ปลูกพืชผักทุกชนิด
ประโยชน์ : ดินหมักสูตรนี้มีไนโตรเจนสูง ปลูกผักงามไว ปลูกอะไรก็เขียว เพิ่มผลผลิต
ซึ่งได้มีการนำก้อนเห็ดที่หมดอายุการออกผลผลิตนำมาผลิตเป็นดินเกษตรเพื่อใช้ในการเกษตรของชุมชน ซึ่งได้มีการร่วมกันระหว่างทีมผู้ปฏิบัติงานและสมาชิกอาสาของชุมชนต่าง ๆ
5.กิจกรรมบ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ที่ 16 วันที่ 4 ธันวาคม 2564 ในช่วงบ่ายภายหลังจากเสร็จกิจกรรมพัฒนาปุ๋ยหมักชีวภาพและดินเกษตรบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา ได้มีการลงพื้นที่จัดกิจกรรมพัฒนาปุ๋ยหมักชีวภาพของชุมชนบ้านบุก้านตงพัฒนา
6.กิจกรรมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการใช้น้ำหมักชีวภาพของชุมชน
ทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลแสลงพันได้มีการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมครัวเรือนต้นแบบที่มีการใช้น้ำหมักชีวภาพกับพืชผลทางการเกษตรได้ลงพื้นที่หมู่ที่ 8 ตำบลแสลงพันพร้อมจัดทำสวนครัวให้กับชาวบ้านใหม่เพื่อเป็นแปลงตัวอย่างในการทอดลองน้ำยหมักชีวภาพ และหมู่ที่ 17
7.การจัดทำตลาดออนไลน์
มีการวางแผนและจัดทำการพัฒนาตลาดออนไลน์ ได้มีการจัดทำเพจออนไลน์สำหรับตำบลเพื่อจำหน่ายอีกช่องทางให้กับชุมชน จำหน่ายสินค้าสำหรับออกสู่ท้องตลาดในรูปแบบของตลาดออนไลน์
7.การจัดทำกิจกรรมหลักสูตรระยะสั้น
เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ผู้ปฏิบัติงานกิจกรรมหลักสูตรระยะสั้น เช่น หลักสูตรการพัฒนาน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งเกิดจากการนำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในชุมชนหรือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เศษอาหาร หรืออื่น ๆ เพื่อนำมาหมักเพื่อเป้นน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้ในภายในครัวเรือนเพื่อให้เกิดหลักสูตรที่มีความพร้อม เกิดประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมมากที่สุดสำหรับผู้ที่จะได้เข้ามาศึกษาในหลักสูตรนี้
8.ภารกิจรับผิดชอบเฉพาะตนเอง
ภารกิจรับผิดชอบเฉพาะตนเอง รับผิดชอบหมู่ที่ 8 บ้านหนองตาหล่า ตำบล แสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการประสานกับผู้นำชุมชน เพื่อประสานลงพื้นที่เยี่ยมชมผลผลิตทางการเกษตร ในวันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พบว่าพืชผักชาวบ้านมีใบที่สวยงามไม่มีแมลงตามลำต้น ในวันที่ 4 ธันวาคม ได้นเม็ดผักไปมอบให้ชาวบ้านหมู่ที่ 8 ตำบลแสลงพันและได้ลงพื้นที่ตามที่อาจารย์มอบหมายทุกครั้ง