1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS06 - ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ
  4. การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยอินทรีย์ ลงพื้นที่ติดตามผลผลิตของชาวบ้าน และร่วมกิจกรรมจิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ ถวายเป็นพระราชกุศล วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยอินทรีย์ ลงพื้นที่ติดตามผลผลิตของชาวบ้าน และร่วมกิจกรรมจิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ ถวายเป็นพระราชกุศล วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.  

หลักสูตร HS06-การสร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

       กิจกรรมในการลงพื้นที่ในเดือนธันวาคม 2564 นี้ ทางทีมผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันประชุมออกความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นร่วมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้จะเป็นกิจกรรมการทำน้ำหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยอินทรีย์ ลงพื้นที่ติดตามผลผลิตของชาวบ้าน และร่วมกิจกรรมจิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ ถวายเป็นพระราชกุศล วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564 กิจกรรมมีดังนี้ 

          เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2564 สมาชิกในทีมปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ลงพื้นที่จัดอบรม ณ บ้านผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ที่ 5 โดยจัดกิจกรรมอบรมการทำน้ำหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับตัวแทนชาวบ้านโดยชาวบ้านที่เข้าร่วมอบรม ได้แก่ บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ที่ 5 บ้านแสลงพัน หมู่ที่ 7 และบ้านแสลงพันพัฒนา หมู่ที่ 14 การอบรมครั้งนี้ชาวบ้านและสมาชิกในทีมร่วมกันทำน้ำหมักชีวภาพจากหน่อกล้วย และทำปุ๋ยอินทรีย์จากก้อนเชื้อเห็ด โดยมีวิธีการทำ ดังนี้ 

  1. น้ำหมักชีวภาพจุลินทรีย์หน่อกล้วย 

          วัสดุอุปกรณ์

          1.1 หน่อกล้วยสับละเอียด

          1.2 น้ำ

          1.3 กากน้ำตาล

          1.4 ถังน้ำ

          1.5 ไม้สำหรับคน

          วิธีทำ

           นำน้ำใส่ถัง ตามด้วยกากน้ำตาล และหน่อกล้วยสับละเอียด คนให้ส่วนผสมเข้ากัน หมักในถังมีฝาปิด เก็บไว้ในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก เป็นเวลา 7 วัน 

          วิธีใช้

             กรองเอาแต่น้ำมาใช้ โดยมีอัตราส่วนจุลินทรีย์หน่อกล้วย 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร นำไปราดรด/ฉีดพ่น 3-7 วันครั้ง ใช้ป้องกันและกำจัดโรคพืช เชื้อรา รากเน่า โคนเน่า เร่งการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ทำให้ดินร่วนซุย

  1.  ปุ๋ยอินทรีย์จากก้อนเชื้อเห็ดเก่า

          วัสดุอุปกรณ์

           2.1 ก้อนเชื้อเห็ดเก่า
           2.2 ปุ๋ยคอก
2.3 กากน้ำตาล
2.4 รำละเอียด
2.5 ฮอร์โมนไข่
2.6 หัวเชื้อEM
2.7 ถังผสม
2.8 ถุงปุ๋ย/ผ้าสำหรับคลุม

           วิธีทำ 

          นำก้อนเชื้อเห็ดมาทุบให้ละเอียด ใส่ลงไปในถังผสม  ตามด้วยปุ๋ยคอก กากน้ำตาล รำละเอียด หัวเชื้อ EM ผสมให้เข้ากัน และฮอร์โมนไข่  ผสมให้เข้ากันอีกครั้ง เพียงหมาดๆ นำใส่ถุง/ตั้งกองไว้ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก คลุมด้วยผ้า หมักทิ้งไว้ 30 – 45 วัน กลับกองทุก 7 วัน 

            วิธีใช้

            ใช้ในอัตราส่วนขึ้นอยู่กับต้นไม้ที่ปลูก ได้ทั้งไม้ดอก ไม้ประดับ หรือพืชผักผลไม้ทั่วไป

          หลังจากนั้นเดินทางติดตามผลผลิตของตัวแทนชาวบ้านร่วมกับสมาชิกในทีมโดยลงพื้นที่บ้านสวนเกษตร ยายอนงค์  บ้านบุก้านตง หมู่ที่ 12 ภายในสวนมีการเลี้ยงปลา ปลูกผักสวนครัว ได้แก่ คื่นฉ่าย ผักชี ต้นหอม มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว และผลไม้ เป็นต้น พืชผักในสวนใช้ผลิตภัณฑ์น้ำหมักที่ได้จากการอบรมมาบำรุงดูแล ไม่ใช้สารเคมี ทำให้มีคุณภาพ ปลอดภัย และลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 

          วันที่ 4 ธันวาคม 2564 ได้มีการจัดอบรมขึ้นเกี่ยวกับการทำปุ๋ยอินทรีย์จากก้อนเชื้อเห็ดเก่าเช่นเดียวกัน โดยจัดขึ้น ในช่วงเช้า ณ ศาลากลางบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่ 17 โดยผู้เข้าอบรมครั้งนี้ได้แก่ ทีมผู้ปฏิบัติงาน อาจารย์ประจำหลักสูตร และตัวแทนชาวบ้านในชุมชนของตำบลแสลงพัน 8 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 2-3 คน 

เนื้อหาการอบรมร่วมกันกับชาวบ้านในการทำปุ๋ยอินทรีย์จากก้อนเชื้อเห็ดเก่า และติดตามผลผลิตที่ได้จากการอบรมในครั้งก่อนที่ได้มีการมอบต้นกล้าพันธุ์ผัก และเมล็ดผัก โดยติดตามแปลงผักของนางวงเดือน บุญธรรม บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่ 17 หลังจากนั้นในช่วงบ่าย ได้อบรม ณ บ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ที่ 16 โดย กิจกรรมร่วมกับชาวบ้านทำปุ๋ยอินทรีย์โดยใช้ฟางข้าวที่ได้หลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวและก้อนเชื้อเห็ดเก่ามาทำเป็นปุ๋ยบำรุงดิน
2.ปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าว

          วัสดุอุปกรณ์

           1.ฟางข้าว
           2.มูลสัตว์
           3. น้ำ
           4.จุลินทรีย์หน่อกล้วย
5.ก้อนเชื้อเห็ดเก่า

          วิธีทำ

           นำฟางข้าวแบ่งออกเป็นส่วน ชั้นแรกว่าฟางตามด้วยมูลสัตว์ ก้อนเชื้อเห็ดที่ทุบละเอียด ตามด้วยน้ำ จุลินทรีย์หน่อกล้วย ทำแบบนี้จนครบตั้งเป็นไว้ แล้วรดน้ำ หลังจากนั้นวางไว้ในโรงเรือนที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก กลับกองทุก 7 วัน พร้อมเช็คความชื้นของกองปุ๋ยถ้าแห้งไปให้รดน้ำ ทำจนครบ 60 วัน จะได้ปุ๋ยอินทรีย์ไว้บำรุงดิน

          ได้ร่วมกิจกรรมจิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ ถวายเป็นพระราชกุศล วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564 ร่วมกับสมาชิกในทีม และอาจารย์ประจำหลักสูตร ร่วมกันแจกต้นกล้าพันธุ์ผัก และเมล็ดผัก ได้แก่ ผักสลัดคอส ผักกาดเขียว คะน้า ผักชี ผักชีลาว กวางตุ้ง และผักบุ้งเป็นต้น 

             จากการลงพื้นที่ร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อจัดกิจกรรมร่วมกันในครั้งนี้พบปัญหาและมีข้อเสนอแนะ ดังนี้  

           การแจกวัสดุให้แก่ตัวแทนชาวบ้านครั้งนี้ เป็นการแจกเพิ่มเติมจากครั้งก่อน เนื่องจากได้สอบถามชาวบ้านถึงความต้องการเมล็ดผัก ไว้สำหรับเพาะปลูก ดังนั้นครั้งนี้ ชาวบ้านได้รับเมล็ดผักตรงตามความต้องการของชาวบ้านแล้ว 

         ทีมผู้ปฏิบัติงานได้มีการประชุมเพื่อแบ่งหน้าที่การจัดทำรูปแบบการทำโครงการรายตำบล โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ในการจัดทำโครงการ 4 บท บทที่ 1 บทนำ (สภาพทั่วไปของตำบลแสลงพัน) บทที่ 2 วิเคราะห์ศักยภาพชุมชน บทที่ 3 ผลการดำเนินงานและบทที่ 4 ประเมินผลโครงการ พร้อมทั้งช่วยกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปติดไว้ในบรรจุภัณฑ์ จากการทำโครงการรายตำบลของตำบลแสลงพัน พบว่า

       จุดแข็ง ประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชนประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก ทั้งไว้เพื่อจำหน่าย และบริโภคภายในครัวเรือน ประชาชนปลูกผักไว้บริโภคเอง บางครัวเรือนมีการจำหน่าย และสมาชิกในชุมชนให้ความสำคัญกับศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีต่างๆ ของชุมชน

      จุดอ่อน หลังจากหมดช่วงฤดูกาลทำนา ชาวบ้านจะว่างงาน มีหนี้สิน ,ทำนาแล้วได้ผลผลิตน้อยใช้ต้นทุนสูง จึงไม่จำหน่าย ,ประชาชนวัยทำงานไปทำงานโรงงานหรือนอกพื้นที่ชุมชน และการรวมกลุ่มทำผลิตภัณฑ์ในชุมชนไม่เข็มแข็งไม่มีตลาดรองรับ 

     โอกาส มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.) โดยตรงที่ให้การสนับสนุนร่วมแก้ปัญหาในชุมชน และมีโครงการจากภาครัฐเข้ามาพัฒนาชุมชน 

     อุปสรรค หน่วยงานภาครัฐมีการสนับสนุนแต่ไม่ทั่วถึง และมีการปฏิบัติงานในพื้นที่น้อย ไม่มีงบประมาณทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง

     การจัดทำเว็บเพจประจำตำบล เพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขณะนี้ได้มีผู้สนใจสั่งซื้อสินค้าเรียบร้อยแล้ว และพบว่ายังไม่มีการจัดทำบัญชีธนาคารของตำบลขึ้น ซึ่งจะดำเนินการในครั้งต่อไป เพื่อให้เป็นระบบง่ายต่อการตรวจเช็ครายได้ของตำบล

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 

          ควรมีโครงการพัฒนาชุมชนแบบนี้อีก เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยังมีชาวบ้านที่สนใจเข้าร่วมโครงการนี้อีกจำนวนนึง ส่งเสริมการนำสินค้าในตำบลออกจำหน่ายผ่านระบบออนไลน์ เพื่อเพิ่มยอดขายให้ชุมชน ครัวเรือน ทำให้พื้นที่ภายนอกได้เห็นสินค้าที่ดีมีคุณภาพ และรู้จักชุมชนมากยิ่งขึ้น 

 

         

    

 

 

 

 

 

 

               

 

อื่นๆ

เมนู