บทความสรุปผลการปฏิบัติงาน

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ

ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2564

ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

โดย นางสาวกาญจนาวดี เคหาห้วย กลุ่มนักศึกษา

***************************************************

1.​ กิจกรรมประชุม​ Online และ​ Onsite การประชุมในวันที่​ 23​ พฤศจิกายน​ 2564

        1.จัดทำรายงาน​ผลการปฏิบัติ​งาน​เป็นรูปเล่มรายงาน บทที่ 1-5

        2.​ การพัฒนา​หลักสูตร​ระยะสั้น​

           – การทำน้ำ​หมัก​ชีวภาพ

           – การเพาะเห็ด​และแปรรูป​ผลิตภัณฑ์

       3.​การส่งบทความและแบบรายงานผล​การปฏิบัติ​งาน​ประจำ​เดือนธัน​วาคม​ 2564

      4.การลงพื้นที่เพื่อสำรวจความต้องการพัฒนา​ผลิตภัณฑ์​ของสมาชิก​ในชุมชน

      5.การพัฒนาทำเว็ปเพจ​ (Facebook)

     6.การพัฒนา​บรรจุภัณฑ์​ทำให้หลากหลายหลักสูตร​

การประชุม วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564

  1. การจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานในแต่ละบท
  2. การลงพื้นที่บ้านหนองตาดตามุ่งวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 เรื่องการทำปุ๋ยอินทรีย์จากก้อนเชื้อเห็ด
  3. กิจกรรมการทำ TSI แบบสรุป มอบหมายให้เจษฎาเป็นผู้ดำเนินการหลัก ส่งภายในวันที่ 6 ธันวาคม 2564

    4.สำรวจผลการดำเนินการกิจกรรมการทำน้ำหมักชีวภาพ การปลูกพืชผักสวนครัว เมล็ดพันธุ์ผักที่แจกให้ ว่าเป็นอย่างไร และสอบถามปัญหาในการลงมือทำ ความต้องการเมล็ดพันธุ์ผักเพิ่มเติม

  1. สอบถามการลงพื้นที่จัดทำตาราง ให้แจ้งให้สมาชิกในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานให้ทราบ
  2. การจัดทำหลักสูตรระยะสั้น

ทักษะการอบรมทั้ง 4 หลักสูตร เฉพาะสมาชิกใหม่

การประชุม​ วันที่​ 4​ ธันวาคม​ 2564

        วันที่​  5 – 6​  ธันวาคม จัดทำบทความและแบบรายงานผลการปฏิบัติ​งาน​ประจำ​เดือน​ธันวาคม

       วันที่​  7 – 8​  ธันวาคม ส่งให้อาจารย์​ตรวจสอบและลงบทความในระบบให้เรียบร้อย

       วันที่​  9​  ธันวาคม ส่งแบบใบรายงานผล​การปฏิบัติ​งานประจำเดือนธันวาคมที่คณะ​ ไม่เกิ​น​ 12:00​ น.

การประชุม วันที่ 5 ธันวาคม 2564

        1.น้ำหมักชีวภาพที่เราได้ทำ มีการสั่งซื้อสินค้า และวางแผนการจัดทำบัญชีธนาคารของตำบลแสลงพัน

        2.การจัดทำ TSI

       3.การเขียนบทความและแผนแบบรายงานผลการปฏิบัติงานให้เร่งจัดทำส่งให้อาจารย์ที่รับผิดชอบตรวจสอบ

       4.วันที่12 ธันวาคม เป็นต้นไป ยังต้องมีการลงพื้นที่ปฏิบัติงานตามปกติจนถึงวันที่ 20 ธันวาคม

                 -เรื่องลงเวลาเข้า-ออกการปฏิบัติงานให้ทำการลงถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2564

       5.การเบิกค่าตอบแทนของกลุ่มแสลงพันจำนวน 10,000.-

2.​ กิจกรรม​ลงพื้นที่บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ที่ 5 ลงพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมการทำปุ๋ยหมักจากก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าที่ไม่มีเชื้อเห็ดแล้ว หรือใช้ก้อนที่ขึ้นลา นำมาทำเป็นดินปุ๋ย หรือทำมาเป็นน้ำหมักชีวภาพ เพื่อนำไปใช้ในการรดน้ำพืชผักสวนครัว ส่งมอบน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้ ส่งมอบ EM และส่งมอบพืชเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัวให้แก่ชาวบ้าน ยังการให้คำแนะนำการทำน้ำหมักชีวภาพ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้น้ำหมักแต่ละชนิดที่มีวิธีการใช้ที่แตกต่างกัน

3. กิจกรรมบ้านบุขี้เหล็ก​ใหม่​พัฒนา หมู่ที่ 17 ได้มีการลงพื้นที่ที่บ้านบุขี้เหล็กในวันที่ 4 ธันวาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 09:00 – 12:00 น. ในส่วนของกิจกรรมที่ลงพื้นที่ คือ มีการส่งมอบเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัวให้กับชาวบ้านเพื่อนำไปเพราะปลูกไว้กรับประทานภายในครัวเรือนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 และยังมีการนำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าที่ขึ้นราดำนำมาทำเป็นดินปลูกเพื่อนำดินที่ได้ไปใช้ในการเพราะปลูกผักสวนครัว ในส่วนของกิจกรรมที่ติดตามแต่ละหมู่บ้านของตนเองที่รับผิดชอบ คือ ได้มีการประสานงานร่วมกับชาวบ้านของบ้านหนองระนาม มีการติดตามผลผลิตที่ส่งมอบในเดือนก่อนว่าผักที่นำไปปลูกนั้นได้ผลผลิตอย่างไรบ้าง

4.​ กิจกรรมบ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ที่ 16 ได้มีการลงพื้นที่ติดตามผลผลิตที่บ้านบุก้านตงพัฒนา ในวันที่ 4 ธันวาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 13:00 – 14:30 น. กิจกรรมที่ทำในวันลงพื้นที่ คือ ได้มีการจัดทำปุ๋ยหมักจากก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า ฟางข้าว ขี้วัว และ EM ผสมผสานให้เข้ากันแล้วนำผ้ามาคลุมให้เกิดความร้อน และได้มีการเยี่ยมชมพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษของชาวบ้านอีกด้วย อีกทั้งยังมีการส่งมอบกล้าผักให้ชาวบ้านเพื่อใช้ในการเพราะปลูกไว้รับประทานภายในครัวเรือนของตนเอง ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้แกครอบครัวของตน

5.​ การจัดทำรายงานผลการปฏิบัติ​งานฉบับสมบูรณ์​บทที่ 1-4 มีหน้าที่รับผิดชอบ คือ ได้รับมอบหมายในส่วนของบทที่ 4  เรื่องการประเมินผลโครงการ ในส่วนของหัวข้อเห็ดและเห็ดแปรรูป ได้มีการจัดทำรายงานเรื่องของการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดนางฟ้า เช่น ได้มีการแปรรูปเห็ดนางฟ้าเป็นไส้กรอกเห็ดนางฟ้า แหนมเห็ดนางฟ้า เป็นต้น และได้มีการประเมินผลโครงการโดยการทำแบบสอบจากสมาชิกตัวแทนของชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ

6.​ การจัดทำกิจกรรม​หลักสูตร​ระยะสั้น คือ ได้มีการประชุมร่วมกันกับทีมงานเพื่อวางแผนกิจกรรมการทำหลักสูตรระยะสั้น

7.​ การจัด​ TSI สรุป​ภาพรวมของตำบล คือ ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลทำแบบสอบถามที่บ้านหนองระนามเพื่อทราบถึงรายละเอียดข้อมูลของบทที่ 1 เช่น ประวัติชุมชน ร้านค้าภายในชุมชน จำนวนสมาชิก ชาย – หญิงของชุมชน เป็นต้น เพื่อนำมาสรูปภาพรวมรายตำบล

8.​ กิจกรรม​ทำความดีด้วยหัวใจ​ 5​ ธันวาคม​ 2564 ส่งมอบเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัว ทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าที่ขึ้นราดำ ติดตามเยี่ยมชมสวนผักต้นแบบของชาวบ้าน ที่บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา

9.​ การจัดทำตลาดออนไลน์​ ได้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมตลาดออนไลน์เพื่อรับฟังบรรยาย โดยท่านวิทยากร นายปัณณทัต สระอุบล ตำแหน่ง นักการตลาดออนไลน์ ( Digital  Marketer ) ได้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเว็บเพจ ( เพจหรือเว็บไซต์ ) โดยได้ใช้ชื่อเพจว่า “สินค้าขายดี ผลิตภัณฑ์แปรรูปแสลงพัน”  เพื่อเป็นช่องทางในการขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากชุมชนของตำบลแสลงพัน และยังเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารที่มีความทันสมัย สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

10.​ หน้าที่เฉพาะของตนเอง คือ ได้รับผิดชอบประสานงานร่วมกับสมาชิกภายในชุมชนที่บ้านหนองระนาม คอยติดตาม สอบถาม ให้คำแนะเกี่ยวกับการใช้น้ำหมักชีวภาพ ประสานงานให้สมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมอบรมในแต่ละครั้ง และได้รับมอบหมายให้สรุปข้อมูลบทที่ 4 ในเรื่องของการประเมินผลโครงการ ภายใต้หัวข้อเห็ดและการแปรรูปเห็ด และยังได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล TSI สรุปภาพรวมของตำบล ที่บ้านหนองระนามและบ้านหนองตาหล่า เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์จัดทำบทที่ 1

11. กิจกรรมประเมินผลสิ้นสุดโครงการ

          1. การประเมินช่วงก่อนสิ้นสุดโครงการ

ได้มีการลงพื้นที่ติดตามผลิตภัณฑ์เห็ดนางฟ้าประจำทุกๆเดือน เพื่อพิจารณาทบทวนปัญหาอุปสรรค ขั้นสุดท้ายและแนวทางแก้ไขปัญหาข้อเสนอแนะ เพื่อให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จตามแผนและเป้าหมายที่กำหนดไว้

         2. การประเมินหลังจบโครงการ

เป็นการพิจารณาถึงผลกระทบและความยั่งยืนของโครงการเป็นหลัก มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะเสนอบทเรียนและข้อเสนอแนะ ผลการประเมินโครงการ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ ข้อมูล และส่วนที่ 2 ผลการประเมินความสำเสร็จตามตัวชี้วัดของโครงการฯ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามประเมินโครงการฯ มีลักษณะดังนี้

          ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้เข้าร่วมโครงการ เช่น เพศ อายุ อาชีพ

          ตอนที่ 2 ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดโครงการที่เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ให้ผู้เข้าร่วมโครงการเลือกตอบตามความคิดเห็น

         ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะอื่นๆ และคำถามปลายเปิด

 

   

 

     

 

 

 

     

 

     

 

 

อื่นๆ

เมนู