รายงานประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564
นิสิต คำหล้า ประเภทประชาชน HS06
ตำบลแสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
ข้าพเจ้านาย นิสิต คำหล้า ประเภทประชาชน HS06 ตำบลแสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ได้ทำการสำรวจข้อมูลพื้นฐานและวิเคราะห์หมู่บ้านบุก้านตงพัฒนาและวางแผนพัฒนาชุมชน โดยได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานในช่วงเวลา กลางเดือนกันยายนถึงกลางเดือนตุลาคม พบว่าสภาพของประชาชนในพื้นที่ยังอยู่ในภาวะการเฝ้าระวังเรื่องโรคโควิดแพร่ระบาด ระลอกใหม่เช่นเดิมแต่มีภาวะคลายตัวลงนิดหน่อย ประกอบกับช่วงนี้สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างมาก เนื่องจากชาวบ้านอยู่ในสภาวะการค้าขายฝืดเคืองรุนแรง เพราะเนื่องจากว่าการหมุนเวียน ระบบเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะชะงักงัน ประกอบกับช่วงนี้เป็นช่วงปลายของฤดูกาลของการเพาะปลูกของเกษตรกร ทำให้ชาวบ้านต้องเก็บเกี่ยวข้าวและวางแผนปลูกพืชผักช่วงฤดูหนาว และวางแผนเก็บฟางเพื่อเป็นอาหารสัตว์ เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูเก็บเกี่ยว ในสภาพเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรง เช่นนี้ด้านการพัฒนาชุมชนของโครงการยังคงดำเนินการต่อไปปภายใต้สภาพปัญหาดังกล่าว ซึ่งมีกระบวนการดำเนินงานในรอบเดือนคือ การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนากิจกรรมผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งครอบคลุมไปถึงแนวทางการทำเพจแนะนำสินค้าและผลิตภัณฑ์ของกลุ่มและพัฒนาตลาดออนไลน์ การทำแหล่งข้อมูลการท่องเที่ยวฐานวัฒนธรรมโดยข้าพเจ้าทำหน้าที่เป็นผู้ร่วมศึกษาและรับการฝึกอบรมร่วมกับสมาชิกในกลุ่ม โดยมีรายละเอียดของกิจกรรมต่างๆในรอบเดือนมีดังนี้
1) เก็บข้อมูลภาคสนามและส่งข้อมูลเพื่อทำฐานข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ร่วมปรึกษาทีมเพื่อทำเล่มรายงานสรุปเมื่อเสร็จสิ้นโครงการปี 64 โดยทำหน้าที่ในทีมเป็นผู้รับผิดชอบหลักในบทที่ 2 ของเล่มรายงาน ในประเด็นการวิเคราะห์ชุมชน ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อย่อยๆซึ่งมี 6 ประเด็นการวิเคราะห์ดังนี้คือ
1) การวิเคราะห์ถึงจุดอ่อนของชุมชนก่อนลงพัฒนาพื้นที่
2) การวิเคราะห์ถึงจุดแข็งของชุมชนก่อนลงพัฒนาพื้นที่
3) การวิเคราะห์โอกาสและศักยภาพ
4) การวิเคราะห์ถึงประเด็นปัญหาและข้อจำกัด
5) การวิเคราะห์ความต้องการของชุมชน
6) ข้อเสนอแนะในการพัฒนา
ซึ่งข้าพเจ้าสมาชิกตัวแทนกลุ่มได้ทำการเก็บข้อมูลภาคสนามที่ส่งข้อมูลของพื้นที่บ้านบุก้านตงพัฒฒนา หมู่ที่ 16 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
2) เก็บข้อมูลภาคสนามและส่งข้อมูลเพื่อทำรายงานตามกรอบ TSI
ร่วมปรึกษาในทีมเพื่อทำรายงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการปี 64 โดยทำหน้าที่ในทีมเป็นผู้ส่งข้อมูลในการวิเคราะห์ให้ทีมผู้ปฏิบัติงานตามกรอบของ TSI (Tambon system indicator) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดการทำงานระดับตำบลในชุมชน
3) การอบรมเชิงปฏิบัติการในการทำน้ำหมักชีวภาพและการผลิตผักปลอดสารพิษ
ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564; วันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 และ วันที่ 5 ธันวาคม 2564 ได้ทำการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับกลุ่มสมาชิกที่เข้าร่วมจำนวน 10 คน จากตัวแทนสมาชิกครัวเรือนของบ้านบุก้านตงพัฒนาหมู่ที่ 16 และหมู่ที่ 12 ที่เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ ปุ๋ยหมักชีวภาพและการผลิตผักปลอดสารพิษ ในัวนที่ 4 ธันวาคม 2564 โดยมีข้าพเจ้าร่วมทำหน้าที่เป็นผู้ร่วมติดตามกับสมาชิกในกลุ่ม 10 คนดังนี้
- นางเภา เสือซ่อนโพรงบ้านเลขที่ 291 หมู่ที่ 16
- นางเสาร์ จันโสดาบ้านเลขที่ 290 หมู่ที่ 16
- นางสาวพัชรีพรภาคะบ้านเลขที่ 232 หมู่ที่ 16
- นางอัมพร โพนรัตน์บ้านเลขที่ 230 หมู่ที่ 16
- นางสาวพรจันทร์ บุญทองบ้านเลขที่ 16 หมู่ที่ 16
- นางไผ่ แสงสำโรง บ้านเลขที่ 133 หมู่ที่ 12
- นางวิไลรัตน์ เนียนสันเทียะ บ้านเลขที่ 6 หมู่ที่ 12
- นางอนงค์ ห้วยทอง บ้านเลขที่ 9 หมู่ที่ 12
- นางประยูรภาคะบ้านเลขที่ 29 หมู่ที่ 12
- นางสวรรค์เนียนสันเทียะ บ้านเลขที่ 14 หมู่ที่ 12
โดยมีการแนะนำและการอบรมเชิงปฏิบัติการดังนี้คือ 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการและการให้คำแนะนำในการทำปุ๋ยหมักใช้เองแบบง่ายๆ 2) การอบรมเชิงปฏิบัติการและการให้คำแนะนำในการดูแลการผลิตผักปลอดสารพิษ 3) ปัญหาและข้อควรระวังในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ และการผลิตผักปลอดสารพิษ ผลการอบรมพบว่าชาวบ้านให้ความสนใจดี และนำไปปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาพบว่าชาวบ้านให้การนำไปปฏิบัติด้วยดี
4) ติดตามให้คำแนะนำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
สมาชิกที่เข้าร่วมจำนวน 5 คน จากตัวแทนสมาชิกครัวเรือนของบ้านบุก้านตงพัฒนาหมู่ที่ 16 คือ 1) นางอัมพร โพนรัตน์ 2) นางเสาร์ จันโสดา 3) นางสาวพัชรีพร ภาคะ 4) นางเภา เสือซ่อนโพรง และ 5)นางสาวพรจันทร์ บุญทอง ที่นำผลการอบรมเชิงปฏิบัติการ การส่งเสริมอาชีพในการทำผลิตภัณฑ์ การพัฒนากิจกรรมผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ โดยมีเป้าหมายและหลักแนวคิดในกรอบของการทำงานดังนี้
1) การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับครัวเรือนหรือชุมชนเกษตรกร
2) การผลิตน้ำหมักชีวภาพใช้เองในครัวเรือนเพื่อการพึงพาตนเอง
3) การผลิตผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภคในครัวเรือน
4) สร้างแนวคิดการพัฒนาครัวเรือนแห่งความพอเพียงหรือสร้างชุมชนแห่งความพอเพียงเพื่อเพียงพอ
5) จัดทำสูตรน้ำหมักประเภทต่างๆให้กับชุมชนเกษตรกร เพื่อเป็นแนวทางในการพึ่งพาตนเอง
5) การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นร่วมกับชุมชน
ได้มีการปรึกษาหารือในทีมผู้ปฏิบัติงานเพื่พัฒนาหลักสูตรระยะสั้นให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ โดยมีประเด็นเรื่องที่ทำในตำบลแสลงพันซึ่งมี 2 เรื่องดังนี้ คือ 1) การทำน้ำหมักชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ 2) การผลิตเห็ดนางฟ้าและการแปรรูปเห็ดนางฟ้า ซึ่งการพัฒนาหลักสูตรดังกล่าว ได้กล่าวถึงผลผลิตและนวัตกรรมของโครงการ ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ แนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นภายใต้การดำเนินงานของโครงการ การพัฒนากิจกรรมที่สามารถตอบโจทย์ประเทศตามกรอบโมเดล BCG-Economy และ กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ SDGs (Sustainable development goals)
6) การทำเพจประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบออนไลน์
การให้คำแนะนำเกี่ยวกับด้านการตลาดให้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์จากเห็ด ผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพ ผักปลอดดสารพิษโดยการทำเพจแนะนำสินค้าและผลิตภัณฑ์ของกลุ่มและพัฒนาตลาดออนไลน์ ทั้งในเฟสบุ๊คและกลุ่มไลน์ รวมทั้งมีการสร้างเพจเพื่อประชาสัมพันธ์การทำงานของกลุ่มชื่อว่า “กลุ่มแสลงพันเข้มแข็ง” และ “ผลิตภัณฑ์น้ำหมักและเห็ดนางฟ้าพื้นที่แสลงพัน”
7) กิจกรรรมการทำดีด้วยหัวใจในวันพ่อแห่งชาติ
สำหรับกิจกรรมการทำดีด้วยหัวใจในวันพ่อแห่งชาติในวันที่ 5 ธันวาคมนั้น เป็นการเสริมสร้างการทำงานจิตอาสาร่วมกับชุมชนให้แน่นแฟ้น ด้วยการแจกเมล็ดพันธุ์และการทำน้ำหมักชีวภาพ โดยสมาชิกในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีในทีมงานจิตอาสาพัฒนาชุมชน กับคนในชุมชน ผู้นำท้องถิ่นให้ดียิ่งขึ้น