1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS06 - ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ
  4. HS06-กิจกรรมจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ ถวายเป็นพระราชกุศล วันพ่อแห่งชาติ กิจกรรมปุ๋ยหมักอินทรีย์จากก้อนเชื้อเห็ด ติดตามดูน้ำหมักชีวภาพ และติดตามครัวเรือนต้นแบบด้านเศรษฐกิจพอเพียง

HS06-กิจกรรมจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ ถวายเป็นพระราชกุศล วันพ่อแห่งชาติ กิจกรรมปุ๋ยหมักอินทรีย์จากก้อนเชื้อเห็ด ติดตามดูน้ำหมักชีวภาพ และติดตามครัวเรือนต้นแบบด้านเศรษฐกิจพอเพียง

รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)

ประจำเดือนธันวาคม 2564

 

ดิฉันนางสาวเพ็ญนภา  ตาชูชาติ ประเภทบัณฑิตจบใหม่  เจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่ตำบลแสลงพัน

อำเภอลำปลายมาศ  จังหวัดบุรีรัมย์ 

พื้นที่รับผิดชอบ หมู่ 15 บ้านโคกใหม่พัฒนา ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : HS06 – สร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

           โครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) เข้าสู่ช่วงสุดท้ายของการทำงานในเดือนธันวาคมนี้ มีงานหลายอย่างต้องเร่งมือทำให้แล้วเสร็จเพราะจะต้องปิดโครงการช่วงต้นของเดือนธันวาคมมีประชุมออนไลน์ชี้แจงรายละเอียดงานอาจารย์ประจำหลักสูตรโครงการบอกกำหนดการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ว่าต้องทำอะไรบ้าง ทั้งงานเอกสาร การลงพื้นที่ การอบรม และการปิดโครงการ แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้ประชาชนเกิดการว่างงาน และส่งผลให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมา จึงมีนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจในการสร้างงาน การพัฒนาอาชีพในชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ ชาวบ้านทุกคนให้ความร่วมมือพูดคุยเป็นกันเอง และได้รับความรู้ในการจัดอบรมในครั้งนี้ เพื่อไปพัฒนาและต่อยอดชุมชนให้ดียิ่งขึ้น

 

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

1.​ กิจกรรมประชุม​ Online และ​ Onsite        

           วันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่านระบบไลน์ (Line) โดยการประชุมครั้งนี้ได้มอบหมายงานทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ทุกคนแบ่งกลุ่มการทำรายงานผลปฏิบัติงาน ซึ่งในแต่ละกลุ่มช่วยกัน พร้อมกับแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อที่จะนำข้อมูลที่ได้ไปเขียนลงในแบบรายงาน

 

 

 

 

 

 

 

           วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564  อาจารย์ประจำหลักสูตรนัดประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet โดยการประชุมครั้งนี้ได้มอบหมายงานทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ดังนี้

           1. จัดทำรายงาน​การปฏิบัติ​งาน​รูปเล่มรายงาน บทที่ 1-5

                        -จัดทำให้แล้วเสร็จ​ภายใน​วันที่​ 17​ ธันวาคม 2564

                        -มอบหมายให้พี่ศุภาณัน​ แบ่งกลุ่มจัดทำในแต่ละบท​ แจ้งอาจารย์​ให้ทราบ

                        -ทุกคนต้องเตรียมลิ้งค์วีดีโอ ลิ้งค์บทความในแต่ละเดือนเพื่อนำใส่รายงาน

                        -แต่ละบทควรมีภาพประกอบ

            2.​ การพัฒนา​หลักสูตร​ระยะสั้น​

                        -การทำน้ำ​หมัก​ชีวภาพ

                        -การเพาะเห็ด​และแปรรูป​ผลิตภัณฑ์

            3. ​การส่งบทความและแบบรายงานผล​การปฏิบัติ​งาน​ประจำ​เดือนธัน​วาคม​ 2564

                        -วันที่​ 7-8​ ธันวาคม​ ส่งบทความตรวจพร้อมแก้ไข

                        -วันที่​ 8​ ธันวาคม​ ส่งแบบรายงาน​ผล​การปฏิบัติ​งาน​พร้อมแก้ไข

                        -วันที่​ 9​ ธันวาคม​ ส่งแบบรายงาน​ผล​การปฏิบัติ​งานที่สำนักงานคณะ​ ไม่เกิน​ 12:00น.​

            4. การลงพื้นที่เพื่อสำรวจความต้องการพัฒนา​ผลิตภัณฑ์​ของสมาชิก​ในชุมชน

            5. การพัฒนาทำเว็ปเพจ​ (Facebook)

            6. การพัฒนา​บรรจุภัณฑ์​ทำให้หลากหลายหลักสูตร​

 

 

 

 

 

 

 

           วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรนัดประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet โดยการประชุมครั้งนี้ได้มอบหมายงานทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ดังนี้

           1. การจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานในแต่ละบท

                        – ทำได้ 80% ส่งข้อมูลให้อาจารย์ตรวจสอบเพิ่มเติม

                        – ใส่ภาพประกอบลงในแต่ละบท 4-5 ภาพให้เข้ากับเนื้อหา

           2. การลงพื้นที่บ้านหนองตาดตามุ่งวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 เป็นเรื่องการจัดทำปุ๋ยอินทรีย์จากก้อนเชื้อเห็ด

           3. กิจกรรมการทำ TSI ทำสรุป มอบหมายให้เจษฎาเป็นหลัก ส่งภายในวันที่ 6 ธันวาคม 2564

           4. สำรวจผลการดำเนินการทำกิจกรรมน้ำหมักชีวภาพ การปลูกพืชผักสวนครัว เมล็ดพันธุ์ผักที่แจกให้ ว่าเป็นอย่างไร และสอบถามปัญหาในการลงมือทำ ความต้องการเมล็ดพันธุ์ผักเพิ่มเติม

           5. สอบถามการลงพื้นที่จัดทำตาราง ให้แจ้งให้สมาชิกในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานให้ทราบ

           6. การจัดทำหลักสูตรระยะสั้น

           7. ทักษะการอบรมทั้ง 4 หลักสูตร เฉพาะสมาชิกใหม่

 

           วันที่ 5 ธันวาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรนัดประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet โดยการประชุมครั้งนี้ได้มอบหมายงานทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ดังนี้

            1.น้ำหมักชีวภาพที่เราได้ทำ มีการสั่งซื้อสินค้า และวางแผนการจัดทำบัญชีธนาคารของแสลงพัน

            2.การจัดทำ TSI

            3.การเขียนบทความและแผนแบบรายงานผลการปฏิบัติงานให้เร่งจัดทำส่งให้อาจารย์ที่รับผิดชอบตรวจสอบ

            4.วันที่12 ธันวาคม เป็นต้นไป ยังต้องมีการลงพื้นที่ปฏิบัติงานตามปกติจนถึงวันที่ 20 ธันวาคม

                        -เรื่องลงเวลาเข้า-ออกปฏิบัติงานให้ทำการลงถึงวันที่ 30ธันวาคม

            5.การเบิกค่าตอบแทนของกลุ่มแสลงพันจำนวน 10,000.-

2.​ กิจกรรม​ลงพื้นที่บ้านหนองตาดตามุ่ง ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์       

            วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ได้ร่วมลงพื้นที่กับผู้ปฏิบัติงานในทีมที่บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ 5 ร่วมกันทำปุ๋ยหมักอินทรีย์จากก้อนเชื้อเห็ด ร่วมติดฉลากบรรจุภัณฑ์ ติดตามดูน้ำหมักชีวภาพ และได้มีการติดต่อประสานงาน สอบถามความต้องการเมล็ดพันธุ์ทางการเกษตรครัวกับตัวแทนจิตอาสา/ครอบครัวต้นแบบ ซึ่งเมล็ดพันธุ์พืชทางการเกษตรที่ตัวแทนต้องการ ได้แก่ ผักชีลาว ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักคะน้า ผักชี ผักบุ้งจีน และผักคื่นช่าย ซึ่งในการทำกิจกรรมครั้งนี้มีการให้ความรู้กับตัวแทนจิตอาสาเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมักอินทรีย์จากก้อนเชื้อเห็ด และประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพด้านการเกษตร ที่ใช้ฉีดพ่นหรือเติมในดินหรือน้ำ ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ในดินและน้ำ ช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี ช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ในดิน ช่วยเพิ่มอัตราการย่อยสลายสารอินทรีย์ในดินและน้ำ ใช้รดต้นพืชหรือแช่เมล็ดพันธุ์ ท่อนพันธุ์เพื่อเร่งการเกิดราก และการเจริญเติบโตของพืช เป็นสารที่ทำหน้าที่เหมือนฮอร์โมนพืชกระตุ้นการเกิดราก ใช้ฉีดพ่นในแปลงเกษตรช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช ช่วยในการแตกตาดอก เพิ่มความแข็งแรง ช่วยต้านแมลงศัตรูพืช และลดจำนวนแมลงศัตรูพืช

 

 

 

 

-ช่วงบ่ายลงพื้นที่ติดตามครัวเรือนต้นแบบด้านเศรษฐกิจพอเพียงที่สวนยายนงค์ที่บ้านบุก้านตง และติดตามครัวเรือนต้นแบบบ้านโคกใหม่พัฒนา

   

   

   

   

 

3. กิจกรรมบ้านบุขี้เหล็ก​ใหม่​พัฒนา ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

            วันที่ 4 ธันวาคม 2564 ได้ร่วมลงพื้นที่กับผู้ปฏิบัติงานในทีมที่บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ 17 ร่วมกันทำปุ๋ยหมักอินทรีย์จากก้อนเชื้อเห็ด ร่วมติดฉลากบรรจุภัณฑ์ ติดตามดูน้ำหมักชีวภาพ และผู้ปฏบัติงานได้มีการติดต่อประสานงาน สอบถามความต้องการเมล็ดพันธุ์ทางการเกษตรครัวกับตัวแทนจิตอาสา/ครอบครัวต้นแบบ ซึ่งเมล็ดพันธุ์พืชทางการเกษตรที่ตัวแทนต้องการ ได้แก่ ผักชีลาว ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว มะเขือ พริกแดง หอมแดง ผักเขียวปลี ผักคะน้า ผักชี ผักบุ้งจีน และผักคื่นช่าย ซึ่งในการทำกิจกรรมครั้งนี้มีการให้ความรู้กับตัวแทนจิตอาสาเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพEM ปุ๋ยหมักอินทรีย์จากก้อนเชื้อเห็ด และประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพด้านการเกษตร ที่ใช้ฉีดพ่นหรือเติมในดินหรือน้ำ ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ในดินและน้ำ ช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี ช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ในดิน ช่วยเพิ่มอัตราการย่อยสลายสารอินทรีย์ในดินและน้ำ ใช้รดต้นพืชหรือแช่เมล็ดพันธุ์ ท่อนพันธุ์เพื่อเร่งการเกิดราก และการเจริญเติบโตของพืช เป็นสารที่ทำหน้าที่เหมือนฮอร์โมนพืชกระตุ้นการเกิดราก ใช้ฉีดพ่นในแปลงเกษตรช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช ช่วยในการแตกตาดอก เพิ่มความแข็งแรง ช่วยต้านแมลงศัตรูพืช และลดจำนวนแมลงศัตรูพืช

   

   

   

   

   

 

4.​ กิจกรรมบ้านบุก้านตง ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

            วันที่ 4 ธันวาคม 2564 ช่วงบ่ายได้ร่วมลงพื้นที่กับผู้ปฏิบัติงานในทีมที่บ้านบุก้านตง ร่วมกันทำปุ๋ยหมักอินทรีย์จากก้อนเชื้อเห็ด ติดตามดูน้ำหมักชีวภาพ และติดตามครัวเรือนต้นแบบด้านเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งในการทำกิจกรรมครั้งนี้มีการให้ความรู้กับตัวแทนจิตอาสาเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพสูตรต่างๆ ปุ๋ยหมักอินทรีย์จากก้อนเชื้อเห็ด และประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพด้านการเกษตร ที่ใช้ฉีดพ่นหรือเติมในดินหรือน้ำ ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ในดินและน้ำ ช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี ช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ในดิน ใช้ฉีดพ่นในแปลงเกษตรช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช ช่วยในการแตกตาดอก เพิ่มความแข็งแรง ช่วยต้านแมลงศัตรูพืช และลดจำนวนแมลงศัตรูพืช

   

   

   

   

 

5. การจัดทำรายงานผลการปฏิบัติ​งานฉบับสมบูรณ์​  ผู้ปฏิบัติงานได้ทำการแบ่งกลุ่มการจัดทำในแต่ละบทข้อดังนี้

           บทที่ 1 สภาพทั่วไปของพื้นที่พัฒนา ผู้รับผิดชอบได้แก่

อุมาพร

พรมณี สราญจิต สาวิกา อภิสิทธิ์

           บทที่ 2 วิเคราะห์ศักยภาพชุมชน (เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลก่อนพัฒนาผลิตภัณฑ์)

ในหัวข้อนี้จะเป็นการอธิบายจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค ปัญหาและความต้องการพัฒนาชุมชน และข้อเสนอแนะ ผู้รับผิดชอบได้แก่

นิสิต ธิดา ศิริพงษ์ เพ็ญนภา วนิดา พัชรี ดวงฤทัย

           บทที่ 3 ผลการดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบได้แก่

ศุภาณัน วรัญญา เจษฎา อนุชา อารียา

           บทที่ 4 ประเมินผลโครงการ ผู้รับผิดชอบได้แก่

บุญเหนือ

นำชัย ศิรินันท์ หัสวัฒน์ กาญจนาวดี

รัตน์ชดาพร

 

6.การจัดทำกิจกรรม​หลักสูตร​ระยะสั้น

                  เป็นการศึกษาทำสูตรปุ๋ยหมักชีวภาพและอื่นๆเพิ่มเติม และจะลงพื้นที่ทำกิจกรรมภายในเดือนธันวาคมให้แล้วเสร็จก่อนโครงการปิด

7. การจัด​ TSI สรุป​ภาพรวมของโครงการตำบลแสลงพัน

 

8. กิจกรรมจิตอาสา ​ทำความดีด้วยหัวใจ ถวายเป็นพระราชกุศล วันพ่อแห่งชาติ 5​ ธันวาคม​ 2564

         ร่วมกันทำกับผู้ปฏิบัติงานในทีมตำบลแสลงพันทำน้ำหมักชีวภาพ แจกเมล็ดพันธุ์ผักและต้นกล้าพืชแจกจ่ายชาวบ้านให้กับผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม

   

   

   

 

9. การจัดทำตลาดออนไลน์​

            สร้างเพจบน face book และเขียนเนื้อหา Content ผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจ

   

 

10. ติดต่อประสานงาน ติดตามและให้คำแนะนำ สมาชิกเป้าหมายหมู่บ้านโคกใหม่พัฒนา หมู่ที่ 15 คือนางเสด็จ ผาน้อยวงศ์ เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาดำรงชีพด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

11. ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้ช่วยเลขานุการและเป็นผู้ประสานงาน ประจำหมู่บ้านโคกใหม่พัฒนา ตำบลแสลงพัน ในทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T พื้นที่รับผิดชอบตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ช่วยเหลือดูแลเกี่ยวกับการประสานงานไปยังชุมชน ช่วยเหลือกับผู้ปฏิบัติงานในตำบลแสลงพัน

 

วิดีโอประจำเดือนธันวาคม

 

อื่นๆ

เมนู