บทความสรุปผลการปฏิบัติงาน
เดือนธันวาคม
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ
การทำปุ๋ยจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและติดตามการปลูกผักสวนครัว
นางสาวรัตน์ชดาพร สร้อยจิต
ข้าพเจ้าและทีมงานได้ดำเนินงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการในวันที่20พฤศจิกายน2564ได้มีการประชุมออนไลน์นัดหมายโดยอาจารย์ที่ปรึกษาประจำโครงการเพื่อวางแผนแจกแจงงานในเดือนถัดไปจึงได้มีการมอบหมายงานดังนี้ให้ทีมผู้ปฎิบัติงานวางแผนการลงพื้นที่ปฎิบัติงานตามหมู่บ้านที่ตนเองได้รับผิดชอบมอบหมายเพื่อติดตามความคืบหน้าของการปลูกผักสวนครัวและการใช้น้ำหมักในการปลูกผักสวนครัว
ในวันที่ 4 ธันวาคม2564 ได้มีการประชุมออนไซร์นัดหมายโดยอาจารย์ที่ปรึกษาประจำโครงการเพื่ออธิบายถึงแนวทางในการเขียนบทความประจำเดือนธันวาคมโดยการแจกแจงงานกิจกรรมที่ทำออกมาเพื่อให้ง่ายต่อการนำมาเขียนบทความและกำหนดวันเวลาในการจัดส่งให้เรียบร้อย
ในวันที่ 5 ธันวาคม2564 ได้มีการประชุมออนไลน์อีกครั้งเพื่อทบทวนการทำกิจกรรมในเดือนธันวาคมและการจัดทำTSI และการปฏิบัติงานการลงพื้นที่ชุมคนกลุ่มครัวเรือนต้นแบบในการปลูกผักสวนครัวเพื่อติดตามงานและให้ความช่วยเหลือในกลุ่มชุมชนที่ได้รับผิดชอบ
ในวันที่ 21พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ไปยังชุมชนที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล บ้านหนองตาหล่า หมู่ที่8 ต.แสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ โดยได้มีการเข้าไปเยี่ยมชุมชนต้นแบบของผู้ใหญ่เอื้อน การัมย์ ผู้ใหญ่บ้าน โดยมีการปลูกผักสวนครัวไว้ในบริเวณบ้านซึ่งแต่ก่อนได้ปล่อยไว้ให้เป็นพื้นที่ว่างเปล่าและได้มีการนำวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่เหลือจากการใช้ประโยชน์มาดัดแปลงเป็นกระถางในการปลูกผักสวนครัวอีกด้วยข้าพเจ้าจึงได้ชื่นชมและให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการปลูกพืชแบบผสมผสานให้พืชนั้นสามารถพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันและได้แนะนำการใช้น้ำหมักจากไข่ว่าควรใช้ในอัตราที่เท่าไหร่ถึงเหมาะสมกับพืชที่ปลูกอยู่ในบริเวณรอบบ้านของผู้ใหญ่เอื้อน การัมย์ก็มีการปลูกผักผลไม้ไว้หลายอย่างการไปชุมชนในครั้งครั้งนี้จึงได้ผลไม้ติดไม้ติดมือกลับมาด้วยผู้ให้ก็มีความสุขผู้รับก็สุขใจทำให้เกิดการแบ่งปันจากสิ่งเล็กๆที่เรามีอยู่รอบบ้าน
ในวันที่4ธันวาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่ไปชุมชนบ้านบุขี้เหล็ก ต.แสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
เพื่อต่อยอดการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาทำให้เกิดมูลค่าโดยได้มีชาวบ้านมาเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้และได้สาธิตวิธีการทำดินปลูกจากสิ่งที่เรามีอยู่รอบตัวเช่น ดิน มูลวัว แกลบ เป็นต้น ซึ่งสามารถนำมาทำเป็นดินปลูกเพื่อเพิ่มมูลค่าของสิ่งที่เรามีอยู่รอบตัวไม่ให้สูญเปล่าหรือเรียกว่าการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
และเนื่องในวันที่5ธันวาคม2564เป็นวันพ่อแห่งชาติ จึงได้มีการจัดกิจกรรมจิตอาสา ทำดีด้วยหัวใจ ได้มีการแจกเมล็ดและพืชพันธุ์ผักสวนครัวให้กับชาวบ้านเพื่อนำไปปลูกเพื่อใช้ในการรับประทานในครัวเรือนและช่วยลดรายจ่ายในครัวเรือนซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พ่อหลวงทรงตรัสไว้ และได้มีการเยี่ยมชมครัวเรือนต้นแบบในการปลูกผักสวนครัวเพื่อให้คำแนะนำและให้กำลังใจในการปลูกผักสวนครัว
และในช่วงบ่ายได้ลงพื้นที่ไปยังชุมชนบ้านบุก้านตง ต.แสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ เพื่ออบรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากฟางที่ได้จากการเกี่ยวกับผลผลิตและเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรซึ่งมีชาวบ้านกลุ่มตัวแทนได้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เราได้นำฟาง ก้อนเห็ดเก่าที่ไม่สามารถให้ดอกเห็ดได้แล้ว มูลวัว มาเป็นส่วนผสมในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพในครั้งนี้ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพในครั้งนี้ให้ตระหนักถึงการใช้ประโยชน์จากสิ่งของที่เรามีอยู่รอบตัวจากสิ่งที่เราเคยมองข้ามให้ถูกนำกลับมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงได้เกิดเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพจากฟางข้าวขึ้นมาเพื่อใช้ในการดูแลผลผลิตในครัวเรือนและช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้อีกด้วย
ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้เป็นผู้สรุปกิจกรรมการประเมินกิจกรรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพตั้งแต่แรกเริ่มโครงการจนถึงปัจจุบันทข้าพเจ้าจึงสรุปได้ดังนี้ การประเมินก่อนเริ่มดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจรายตำบลแบบสังคมบูรณาการ
ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
จากการที่ได้ลงพื้นที่ชุมชนตำบลแสลงพันพบว่าในชุมชนส่วนใหญ่แล้วชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรและมีการปลูกผักสวนครัวแต่มีการใช้สารเคมีร่วมด้วยซึ่งค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมีมีราคาค่อนข้างสูงเมื่อนำมาหักค่าใช้จ่ายจากผลผลิตแล้วทำให้มีรายรับไม่เพียงพอต่อรายจ่ายและด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันมีการระบาดของโรคโควิด19ทำให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพทำให้มีรายได้ลดลงต่อการดำรงชีวิตประจำวันผู้ปฎิบัติงานทุกคนจึงได้ปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับปัญหาและสถานการณ์ในปัจจุบันว่าจะมีแนวทางในการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาอย่างไร
บ้างเพื่อให้ชาวบ้านมีรายรับที่มากกว่ารายจ่ายและการลดต้นทุนในการผลิตเพื่อให้เห็นผลกำไรที่มากขึ้นและให้มีความสอดคล้องกับโครงการการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจึงสรุปได้ว่าจะจัดทำโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้าและน้ำหมักชีวภาพ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายให้ชาวบ้านได้มีรายได้เสริมและสามารถใช้และรับประทานในครัวเรือนได้