บทความรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคม 2564

นายศิริพงษ์ เครือจันทร์ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่

ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

 

  1. การจัดทำรายงานผลการปฏิบัติ​งานฉบับสมบูรณ์​บทที่ 1-4 หน้าที่รับผิดชอบ

           ในการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานฉบับสมบูรณ์บทที่ 1 – 4 เป็นการสรุปผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มโครงการคือเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ถึงเดือนธันวาคม 2564 โดยได้รับมอบหมายหน้าที่จากทีมปฏิบัติงานตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ จัดทำและวิเคราะห์รายงานผลการปฏิบัติงานในบทที่ 2 ร่วมกับสมาชิกทีมคนอื่น โดยบทที่ 2 เป็นบทที่ว่าด้วยการวิเคราะห์ SWOT คือ จุดแข็ง จุดอ่อน ปัญหา และอุปสรรค พร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่าง โดยได้สรุปข้อมูลดังกล่าวและนำมาสรุปร่วมกับทีมผู้จัดทำในบททที่ 2 ซึ่งในการดำเนินโครงการตั้งแต่ต้นโครงการจนถึงปัจจุบัน ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ สามารถนำข้อมูลมาสรุปได้พอสังเขปว่า

          จุดแข็ง (Strength) ประชาชนในพื้นที่มีอาชีพเกษตรกรรม เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพหลักมี ความสนใจในการพัฒนาการเกษตรกรรมของตนเองโดยตลอด หลายครอบครัวสามารถปลูกพืชผักสวนครัวไว้รับประทานเองได้ การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้รับความร่วมมือด้วยดีจากประชาชนและชุมชน เด็กและเยาวชนในชุมชนได้รับการศึกษาภาคบังคับทุกคน และผู้นำแต่ละชุมชนมีความเข้มแข็ง

          จุดอ่อน (Weakness) ผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ทำให้เกิดการว่างงานของประชาชน ประชาชนที่ทำการเกษตรปลูกข้าวต้องใช้ต้นทุนที่สูงแต่ผลผลิตน้อย พื้นที่ทำการเกษตรบางแห่งเป็นพื้นที่เช่า ประชาชนในวัยทำงานออกไปทำงานนอกพื้นที่อาศัย การประชาสัมพันธ์ของโครงการยังไม่ทั่วถึง การดำเนินกิจกรรมในบางส่วนยังไม่ได้รับความร่วมมือและต่อยอดจากประชาชน

           โอกาส (Opportunity) ได้รับความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาโครงการได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย มีวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้และอบรมฝึกทักษะการจัดกิจกรรมทุกครั้งได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน วัสดุและอุปกรณ์ที่จะนำมาพัฒนาในท้องถิ่นนั้นมีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายในการจัดหามา

           อุปสรรค (Threat) ประชาชนยังขาดความเข้าใจในตัวโครงการที่นำมาพัฒนา ประชาชนบางส่วนยังไม่มีการต่อยอดการพัฒนาในโครงการ งบประมาณมีความจำกัด การฝึกอบรมและพัฒนาในบางครั้งจำกัดผู้ร่วมอบรมพัฒนา สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้การพัฒนาขาดช่วง และสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดปัญหาในผลผลิตบางส่วน

          ข้อเสนอแนะ

  • ส่งเสริมการพัฒนาและผลิตภัณฑ์ของชุมชน
  • จัดการฝึกอบรมทักษะและพัฒนาอาชีพให้กับเกษตรกร
  • ส่งเสริมการใช้เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
  • พัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ให้กับชุมชน
  • ส่งเสริมการจำหน่ายและการตลาดให้กับชุมชน   

          2. การจัด​ TSI สรุป​ภาพรวมของตำบล

           เป็นการสรุปการดำเนินงานรายภาพรวมของตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ในภาพรวมโดยได้มีการสรุปข้อมูลสำคัญภายในตำบลรวมถึงข้อมูลการดำเนินงานตลอดโครงการ พอสรุปได้ว่า ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง ประกอบไปด้วย 17 ตำบล 2,657 ครัวเรือน สภาพส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบโล่ง มีแหล่งน้ำสาธารณะ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร เลี้ยงสัตว์และทอผ้า ในส่วนผลลัพธ์จากการดำเนินงาน พบว่า

เชิงเศรษฐกิจ

1) รายได้ที่เพิ่มขึ้นประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้น 15 %

2) ต้นทุนในการใช้สารเคมีลดลง 15% เหลือใช้มากขึ้นลดรายจ่ายภายในครัวเรือนลดลง 10%

3) สร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชน

เชิงสังคม

1) ลดการใช้สารเคมีในการเกษตร

2) ชุมชนเห็นคุณค่าและใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุเหลือใช้เพิ่มมากขึ้น

3) ลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของชุมชน

4) ประชาชนในชุมชนพึ่งพาตนเองและพึ่งพากันเองบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง

ข้อเสนอแนะ

  1. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้งการเพาะเห็ด แปรรูปเห็ด และการผลิตนำหมักชีวภาพ
  2. ส่งเสริมและพัฒนาตลาดออนไลน์อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น มีการบริหารจัดการ การพัฒนาทีม และการฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
  3. ส่งเสริมกิจกรรมสร้างจิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการพึ่งพาตนเองและพึ่งพากันเองในชุมชน ลดการพึ่งพาแบบทุนนิยม
  4. พัฒนาต่อยอดและสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก ปรับปรุงแปรรูปให้เกิดประโยชน์สูงสุดบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น
  5. พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบนฐานของเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และยกเป็นเส้นทางท่องเที่ยวออนไลน์

         3. กิจกรรมทำความดีด้วยหัวใจ 5 ธันวาคม 2564

           วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม 2564 ทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ร่วมกับชุมชนจัดกิจกรรมทำความดีด้วยหัวใจ เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564 โดยได้มีการให้ความรู้กับชุมชนการทำการเกษตรแบบปลอดสารเคมีโดยใช้น้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ และการการอบรมการทำปุ๋ยและดินด้วยเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรกับชุมชนบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนาและชุมชนข้างเคียง เพื่อส่งเสริมการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางเกษตรมาใช้ในครัวเรือนเพื่อลดต้นทุนในการใช้จ่ายในครัวเรือน และเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรที่ดีและปลอดภัยกับชุมชน ทั้งนี้ได้มีการแจกเมล็ดพันธุ์พืชผักกับชุมชนเพื่อเป็นต้นแบบในการทดลองใช้น้ำหมักชีวภาพสำหรับชุมชน

           4. กิจกรรมบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่ 17

             วันที่ 4 ธันวาคม 2564 ทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ร่วมกับชุมชนบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนาและชุมชนใกล้เคียง พัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนภายหลังจากการหมดเชื้อของก้อนเห็ดของกลุ่มโรงเรือนเห็ดบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา ซึ่งได้มีการนำก้อนเห็ดที่หมดอายุการออกผลผลิตนำมาผลิตเป็นดินเกษตรเพื่อใช้ในการเกษตรของชุมชน ซึ่งได้มีการร่วมกันระหว่างทีมผู้ปฏิบัติงานและสมาชิกอาสาของชุมชนต่าง ๆ ร่วมกันทำดินเกษตรจากเห็ดและปุ๋ยหมักชีวภาพ ซึ่งการนำปุ๋ยหมักชีวภาพและดินเกษตรไปใช้ในการเพาะปลูกนั้น จะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนเกิดผลที่ดีมีคุณภาพและปลอดภัยจากสารเคมี ซึ่งเป็นการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ในการผลิตดินปลุกและปุ๋ยหมักชีวภาพ จะทำให้ลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและได้ผลผลิตที่ดีในการเกษตรของชุมชนด้วย

 

 

         5. กิจกรรมบ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ที่ 16

           วันที่ 4 ธันวาคม 2564 ในช่วงบ่ายภายหลังจากเสร็จกิจกรรมพัฒนาปุ๋ยหมักชีวภาพและดินเกษตรบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา ได้มีการลงพื้นที่จัดกิจกรรมพัฒนาปุ๋ยหมักชีวภาพของชุมชนบ้านบุก้านตงพัฒนา ซึ่งเป็นอีกชุมชนที่ได้มีการรวมตัวของกลุ่มชุมชนจัดตั้งโรงเรือนเพาะเห็ด และเห็ดได้หมดอายุการออกผลผลิตแล้ว ทีมผู้ปฏิบัติงานและกลุ่มประชาชนจิตอาสาโรงเรือนบ้านบุก้านตงพัฒนา ได้ร่วมการพัฒนาปุ๋ยหมักชีวภาพซึ่งเกิดจากเชื้อเห็ดฟางที่หมดอายุการออกผลผลิตแล้ว โดยนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้ภายในชุมชนมาใช้ในการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ ซึ่งประกอบด้วย

  • ก้อนเชื้อเห็ดที่หมดอายุการใช้งานแล้ว
  • ฟางข้าว
  • ปุ๋ยคอกวัว/ควาย
  • น้ำหมักชีวภาพ (เพื่อช่วยในการหมัก)

โดยนำวัสดุอุปกรณ์หมักด้วยกันเป็นชั้น ๆ ละรดน้ำหมัดชีวภาพให้ชุ่มเพื่อเพิ่มอุณหภูมิในการหมัก และนำผ้าปิดไว้ จากนั้นหมักไว้ในระยะเวลา 1 เดือน ทั้งนี้ปุ๋ยหมักชีวภาพเป็นการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และปุ๋ยหมักชีวภาพจะช่วยลดต้นทุนในการใช้สารเคมีพร้อมทั้งเพิ่มผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพในการเกษตรอีกด้วย

          6. กิจกรรมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการใช้น้ำหมักชีวภาพของชุมชน

            ในเดือนธันวาคมภายหลังจากเสร็จกิจกรรมพัฒนาดินเกษตรและปุ๋ยหมักชีวภาพของแต่ละชุมชนแล้ว ทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลแสลงพันได้มีการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมครัวเรือนต้นแบบที่มีการใช้น้ำหมักชีวภาพกับพืชผลทางการเกษตร ซึ่งน้ำหมักชีวภาพนี้เกิดจากการพัฒนาและผลิตร่วมกันระหว่างทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลแสลงพันและแต่ละชุมชน และได้มีการแจกจ่ายให้กับประชาชนในแต่ละตัวแทนของชุมชนพร้อมทั้งเมล็ดพันธุ์ทางเกษตรให้ชุมชนได้ทดลองใช้กับพืชพันธุ์ทางการเกษตรของตนเอง โดยผลจากการลงพื้นที่สวนเกษตรของชุมชนบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนาและบ้านบุก้านตงพัฒนา พบว่าประชาชนได้นำน้ำหมักชีวภาพที่ได้จากการผลิตร่วมกันไปใช้ในแปลงพืชนผักทางการเกษตรของตน ทำให้ผลผลิตพืชพันธุ์ทางการเกษตรออกผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพ สวยงาม และปลอดภัยจากสารเคมี เพราะเป็นสิ่งที่หาได้ภายในชุมชนมาหมักเป็นน้ำหมักชีวภาพ ในบางชุมชนก็ได้มีการผลิตน้ำหมักไว้ใช้เองภายในครัวเรือนของตนเองเพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ได้มีการสอบถามความต้องการเมล็ดพันธุ์ทางการเกษตรของชุมชนเพิ่มเติมด้วย

         7. การจัดทำตลาดออนไลน์

            ภายหลังจากการพัฒนาและผลิตน้ำหมักชีวภาพร่วมกับชุมชนและทีมผู้ปฏิบัติงานขึ้นแล้ว ทีมผู้ปฏิบัติงานได้มีการวางแผนและจัดทำการพัฒนาตลาดออนไลน์ สำหรับการจำหน่ายและเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากชุมชนของชุมชนตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งได้มีการจัดทำเพจออนไลน์สำหรับเป็นตัวแทนจำหน่ายให้กับชุมชน และพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ในการจำหน่ายสินค้าสำหรับออกสู่ท้องตลาดในรูปแบบของตลาดออนไลน์

     

           8. การจัดทำกิจกรรมหลักสูตรระยะสั้น

               ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ทีมผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ผู้รับผิดชอบประจำโครงการได้ร่วมกันประชุมเพื่อพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นประจำโครงการ เช่น หลักสูตรการพัฒนาน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งเกิดจากการนำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในชุมชนหรือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เศษอาหาร หรืออื่น ๆ เพื่อนำมาหมักเพื่อเป้นน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้ในภายในครัวเรือนของตนเอง เพื่อลดต้นทุนในการใช้สารเคมีในครัวเรือน เพื่อความปลอดภัยในการบริโภคและผลิตที่จะได้ความสะอาดและคุณภาพที่ดี ซึ่งจะได้มีการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นในระยะต่อไปเพื่อให้เกิดหลักสูตรที่มีความพร้อม เกิดประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมมากที่สุดสำหรับผู้ที่จะได้เข้ามาศึกษาในหลักสูตรนี้

ตัวอย่างสูตรน้ำหมักชีวภาพและดินเกษตร

  • ปุ๋ยหมักจากก้อนเห็ดเก่าในกระสอบ

วัสดุ

  1. ขี้วัว 1 กระสอบ
  2. รำหยาบ 1 กระสอบ
  3. ก้อนเห็ดเก่าบี้ให้ละเอียด
  4. น้ำหมัก (จุลินทรีย์น้ำซาวข้าว , จุลินทรีย์หน่อกล้วย ฮอร์โมนไข่ อย่างใดอย่างหนึ่ง 1 ขัน
  5. บัวรดน้ำขนาด 5 ลิตร
  6. น้ำเปล่า ประมาณ 25 ลิตร

วิธีทำ

  1. เทน้ำหมักผสมในน้ำที่เตรียมไว้ คนให้เข้ากัน
  2. เทขี้วัวกับรำหยาบและก้อนเห็ดบี้ละเอียดลงในกะละมังผสมปูน
  3. รดน้ำลงไป 1 บัว แล้วใช้จอบคลุกเคล้าให้ส่วนผสมให้เข้ากันคลุกเคล้าดินอีก 3 รอบ โดยแต่ละรอบให้รดน้ำ 1 บัวต่อรอบ เมื่อคลุกเคล้าเสร็จในรอบที่ 4 ให้ลองกำส่วนผสมดูก่อนว่าส่วนผสมมีความชื้นหรือยัง ถ้ายังให้รดน้ำรอบที่ 5 แล้วคลุกส่วนผสมให้เข้ากัน
  4. ตักใส่กระสอบปุ๋ยครึ่งกระสอบ แล้วมัดด้วยเชือกเอาไปตั้งไว้ในที่ร่ม หมักไว้ 45-60 วัน

วิธีใช้ : ใช้รองหลุมปลูกพืชผักทุกชนิด และใส่พืชผักแทนปุ๋ยได้เลย

ประโยชน์ : ปุ๋ยหมักสูตรนี้มีไนโตรเจนสูง ปลูกผักงามไว ปลูกอะไรก็เขียว เพิ่มผลผลิต

  • หมักดินปลูกจากก้อนเห็ดเก่าในกระสอบ

วัสดุ

1.ขี้วัว    1  ส่วน

2.รำหยาบ    1  ส่วน

3.แกลบเก่า  1 ส่วน

4.แกลบใหม่   1 ส่วน

5.ดินร่วน   1 ส่วน

6.น้ำหมัก (จุลินทรีย์น้ำซาวข้าว , จุลินทรีย์หน่อกล้วย ฮอร์โมนไข่ อย่างใดอย่างหนึ่ง  1 ขัน

4.บัวรดน้ำขนาด   5  ลิตร

5.น้ำเปล่า ประมาณ   25 ลิตร

วิธีทำ

  1. เทน้ำหมักผสมในน้ำที่เตรียมไว้ คนให้เข้ากัน
  2. เทส่วนผสมข้อ 1-5 ลงในกะละมังผสมปูน
  3. รดน้ำลงไป 1 บัว แล้วใช้จอบคลุกเคล้าให้ส่วนผสมให้เข้ากัน . ทำ (นับรอบที่ 1) คลุกเคล้าดินอีก 3 รอบ โดยแต่ละรอบให้รดน้ำ 1 บัวต่อรอบ เมื่อคลุกเคล้าเสร็จในรอบที่ 4 ให้ลองกำส่วนผสมดูก่อนว่าส่วนผสมมีความชื้นหรือยัง ถ้ายังให้รดน้ำรอบที่ 5 แล้วคลุกส่วนผสมให้เข้ากัน
  4. ตักใส่กระสอบปุ๋ยครึ่งกระสอบ แล้วมัดด้วยเชือกเอาไปตั้งไว้ในที่ร่ม หมักไว้ 30 วัน

วิธีใช้ : ใช้ปลูกพืชผักทุกชนิด 

ประโยชน์ : ดินหมักสูตรนี้มีไนโตรเจนสูง ปลูกผักงามไว ปลูกอะไรก็เขียว เพิ่มผลผลิต

       9. ภารกิจรับผิดชอบเฉพาะตนเอง

          ภารกิจรับผิดชอบเฉพาะตนเอง ในฐานะผู้รับผิดชอบชุมชนหมู่ที่  13 บ้านสามเขย ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการประสานกับผู้นำชุมชน เพื่อสอบถามและตรวจเยี่ยมผลผลิตทางการเกษตร ของตัวแทนชุมชนบ้านสามเขยที่เข้าร่วมโครงการทั้งนี้ ผลจากการใช้น้ำหมักชีวภาพที่ชุมชนบ้านสามเขยและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลแสลงพันได้ร่วมกันผลิตเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ชุมชนได้นำผลผลิตจากกิจกรรมในครั้งนั้นไปใช้ในแปลงผักการเกษตรของตนเอง พบว่าเกิดผลผลิตที่เจริญงอกงาม พืชผักใบเขียว ปลอดสารพิษ และลดค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีในครัวเรือน ทั้งนี้จากการติดตามผลผลิตของชุมชน พบว่าชุมชนมีความต้องการพัฒนาเศษอาหารในครัวเรือนเพื่อทำเป็นน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในการเกษตรของตน

       10. กิจกรรมประชุม Online และ Onsite เรื่องต่าง ๆ

 สรุปวาระการประชุมวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564

  1. การจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานในแต่ละบท

– ทำได้ 80% ส่งข้อมูลให้อาจารย์ตรวจสอบเพิ่มเติม

– ใส่ภาพประกอบลงในแต่ละบท 4-5 ภาพให้เข้ากับเนื้อหา

  1. การลงพื้นที่บ้านหนองตาดตามุ่งวันที่ 30 พ.ย 2564 เป็นเรื่องการจัดทำปุ๋ยอินทรีย์จากก้อนเชื้อเห็ด
  2. กิจกรรมการทำ TSI ทำสรุป มอบหมายให้เจษฎาเป็นหลัก ส่งภายในวันที่ 6 ธ.ค. 64
  3. สำรวจผลการดำเนินการทำกิจกรรมน้ำหมักชีวภาพ การปลูกพืชผักสวนครัว เมล็ดพันธุ์ผักที่แจกให้ ว่าเป็นอย่างไร และสอบถามปัญหาในการลงมือทำ ความต้องการเมล็ดพันธุ์ผักเพิ่มเติม
  4. สอบถามการลงพื้นที่จัดทำตาราง ให้แจ้งให้สมาชิกในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานให้ทราบ
  5. การจัดทำหลักสูตรระยะสั้น
  6. ทักษะการอบรมทั้ง 4 หลักสูตร เฉพาะสมาชิกใหม่

สรุปวาระการประชุมประจำวันที่ 4 ธันวาคม 2564

  1. วันที่​ 5-6​ ธ.ค.จัดทำบทความและแบบรายงานผลการปฏิบัติ​งาน​ประจำ​เดือน​ธันวาคม
  2. วันที่​ 7-8​ ธ.ค. ส่งให้อาจารย์​ตรวจสอบและลงบทความในระบบให้เรียบร้อย
  3. วันที่​ 9​ ธ.ค. ส่งแบบใบรายงานผล​การปฏิบัติ​งานประจำเดือนธันวาคมที่คณะ​ ไม่เกิ​น​ 12:00​ น.

สรุปวาระการประชุม วันที่ 5 ธันวาคม 2564

  1. น้ำหมักชีวภาพที่เราได้ทำ มีการสั่งซื้อสินค้า และวางแผนการจัดทำบัญชีธนาคารของแสลงพัน
  2. การจัดทำ TSI
  3. การเขียนบทความและแผนแบบรายงานผลการปฏิบัติงานให้เร่งจัดทำส่งให้อาจารย์ที่รับผิดชอบตรวจสอบ
  4. วันที่12 ธันวาคม เป็นต้นไป ยังต้องมีการลงพื้นที่ปฏิบัติงานตามปกติจนถึงวันที่ 20 ธันวาคม

  – เรื่องลงเวลาเข้า – ออกปฏิบัติงานให้ทำการลงถึงวันที่ 30 ธันวาคม 

  1. การเบิกค่าตอบแทนของกลุ่มแสลงพันจำนวน 10,000 บาท

 

 

อื่นๆ

เมนู