หลักสูตร: HS06 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตําบลแบบบูรณาการ 1 ตําบล 1 มหาวิทยาลัย จาก มหาวิทยาลัยสูตรตําบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ประจําเดือน ธันวาคม 2564
ข้าพเจ้า นางศุภาณัน ริชาร์ดส ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทประชาชน รับผิดชอบการดําเนินงานในเขตพื้นที่บ้านหนองตาดตามุ่ง ตําบลแสลงพัน อําเภอลําปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
1. กิจกรรมประชุม Online และ Onsite ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 ดังนี้ ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดประชุมทีมผู้ปฏิบัติงานพื่อจัดทำรายงานการจัดทำหลักสูตรระยะสั้นในการประชุมในวันทึ่ 21 พฤศจิกายน 2564
13.30 ได้ประชุมทีมผู้ปฏิบัติงานทางไลน์เพื่อมอบให้แต่ละคนสรุปปัญหาและอุปสรรคในการ-ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดประชุมเพื่อจัดทำรายงานการจัดทำหลักสูตรระยะสั้นในการประชุม ดังนี้
1.ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการมีกี่หมู่บ้าน
2.ผลผลิตและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินโครงการ
3.ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินโครงการ
4.แนวทางและวิธีแก้ปัญหา/อุปสรรค ที่เกิดขึ้น
5.กิจกรรมที่ดำเนินการสามารถตอบโจทย์ BCG และ SCGs ข้อไหน จะต่อยอดกิจกรรมให้เกิดผลผลิต/นวัตกรรม อะไรและอย่างไรและทีมผู้ปฏิบัติงานได้นำเสนอปัญหาและหาข้อสรุปต่างๆให้ตรงประเด็นหัวข้อที่กำหนดพร้อมได้เสนอสูตรน้ำหมัก/สูตรปุ๋ยหมักต่างๆเพิ่มเติม และได้มอบหมายให้ทางเลขารวบรวมข้อสรุปในการประชุมเพื่อนำส่งอาจารย์ประจำหลักสูตร
21 พฤศจิกายน 2564ไดเข้าอบรมโครงานพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะเดิมเพิ่มทักษะใหม่และรายได้เสริมให้ประชาชนในพื้นที่บริการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ณ หอประชุมมนุษยสังคมวัฒนา อาคาร 2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
รายละเอียดของการประชุม คือ เสวนาการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการฯ ผู้ร่วมเสวนา มีดังนี้
1.นายสุทธิขัย สุดสวาท ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานบุรีรัมย์
2.คุณไขแสง ซอกรัมย์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน )
3.นายปฐม นิ่มหัตถา วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์
4.นายอาทิตย์ จำปาดุม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์
5.ผศ.ดร.ระพีพรรณ พงษ์อินทร์วงศ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
11.00-12.00 น.บรรยายตัวอย่างแบบฟอร์มการทำหลักสูตรระยะสั้น โดย รศ. ดร อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
-13.00-15.30 น. เป็นตัวแทนนำเสนอข้อมูลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งมีประเด็นที่ต้องนำเสนอดังนี้
1.ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการมีกี่หมู่บ้าน
2.ผลผลิตและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินโครงการ
3.ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินโครงการ
4.แนวทางและวิธีแก้ปัญหา/อุปสรรค ที่เกิดขึ้น
5.กิจกรรมที่ดำเนินการสามารถตอบโจทย์ BCG และ SCGs ข้อไหน จะต่อยอดกิจกรรมให้เกิดผลผลิต/นวัตกรรม อะไรและอย่างไร
ประเด็นนำเสนอการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นตำบลแสลงพัน
วันที่ 21 เดือนพฤศจิกายน 2564
ประเด็นนำเสนอ | ผลิตภัณฑ์จากเห็ด | น้ำหมักชีวภาพ สารปรับปรุงดิน |
1. ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ | 1.มีจำนวนหมู่บ้าน 17 หมู่บ้าน และจำนวนอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการ 85 คน
2.มีโรงเรือนเปิดดอกเห็ดจำนวน 3 โรงเรือน 1)บ้านหนองตาดตามุ่ง มี 3 ชุมชนเป็นผู้ดูแล 2)บ้านบุก้านตงพัฒนา มี 2 ชุมนุมเป็นผู้ดูแล 3)บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา มี 3 ชุมชนเป็นผู้ดูแล -อีกจำนวน 9 ชุมชน ทำน้ำหมักชีวภาพ/ปุ๋ยหมักอินทรีย์ |
1.มีจำนวน 9 หมู่บ้านทำน้ำหมักชีวภาพและปุํยหมักอินทรีย์
2.มีครัวเรือนต้นแบบเกษตรอินทรีย์ บางครัวเรือน |
2. ผลผลิต และนวัตกรรมจากการดำเนินโครงการ | 1.ขายดอกเห็ด
2.แปรรูปน้ำพริกปลาร้าอินเตอร์ 3.แปรรูปไส้กรอกเห็ด |
1.น้ำหมักEM
2.ฮอร์โมนไข่ 3.น้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย 4.ปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้ 5.ปุ๋ยหมักจากก้อนเห็ดเก่า 6.ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร |
3. ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินโครงการ | 1. การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าจากฟางข้าว ผลคืออาสาสมัครไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ ทำให้เห็ดโคนน้อยเกิดขึ้นทับเชื้อเห็ดฟาง จึงเปลี่ยนมาทำก้อนเชื้อเห็ดนางรมดำจากฟางข้าว
2. การเพาะเห็ดนางรมดำจากฟางข้าว ผลคืออายุก้อนเชื้อเห็ดมีอายุสั้น การทำก้อนเชื้อยุ่งยากกว่าการใช้ขี้เลื่อย จึงได้เปลี่ยนมาซื้อก้อนเชื้อนางฟ้าภูฏานแทน 3. ปัญหาโรงเรือนเปิดดอกเห็ด คือโรงเรือนมุงสังกะสีทำให้อากาศร้อนอบอ้าวในฤดูร้อนทำให้ก้อนเห็ดเกิดความชื้นเป็นสาเหตุให้เกิดเชื้อราในก้อน อีกประการหนึ่งคือแมลงหวี่เข้าไปในโรงเรือน และได้วางไข่ไว้ในก้อนเชื้อเห็ดทำให้เกิดตัวหนอนและเกิดราดำขึ้น 4. อาสาสมัครขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลโรงเรือนที่ถูกต้อง 5. กลุ่มขาดความสามัคคี ขาดความรับผิดชอบต่อส่วนรวม 6. ขาดการลงทุนซื้อก้อนเห็ดแบบต่อเนื่อง ทำให้การจำหน่ายดอกเห็ดไม่ต่อเนื่องทำให้รายได้จากการจำหน่ายดอกเห็ดลดลง 7. การแปรรูปเห็ดไม่ต่อเนื่องทำให้ไม่สามารถวางจำหน่ายได้ 8. การทำบัญชีรายรับรายจ่ายไม่สม่ำเสมอ 9. บางโรงเรือนไม่มีการเก็บทุนไว้ต่อทุน ทำให้ไม่มีการลงทุนต่อเนื่อง |
1.ขาดความเข้าใจในการใช้น้ำหมักชีภาพและปุ๋ยหมัก
2.ความใจร้อนต่อผลผลิตขาดความเอาใจใส่เรื่องสุขภาพ/ 3.ขาดความต่อเนื่องของโครงการต่างๆ และไม่มีการติดตามผล
|
4. แนวทางและวิธีแก้ปัญหา/อุปสรรคที่เกิดขึ้น | 1.คัดกรองคนที่สนใจทำอย่างจริงจัง
2.จัดตั้งจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน 3.มีกฎระเบียบปฏิบัติของกลุ่มตามมติของกลุ่ม 4.ลงพื้นที่ให้คำแนะนำติดตามบัญชีรายรับ-รายจ่ายสม่ำเสมอ |
1.ให้องค์ความรู้ที่ถูกต้องและคอยเฝ้าติดตาม
2.ผลักดันให้เกิดชุมชนต้นแบบ 3.ให้องค์ความรู้การปลูกผักสวนครัวโดยทำเกษตรอินทรีย์ |
5. กิจกรรมที่ดำเนินการสามารถตอบโจทย์ BCG และ SDGs ข้อใด และจะต่อยอดให้เกิดผลผลิต/นวัตกรรมอะไร / อย่างไร |
กิจกรรม BCG ที่จะดำเนินการ
Creative Economy | การพัฒนารูปแบบการขนส่งและช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ในรูปแบบออนไลน์ และออฟไลน์ | พัฒนาและปรับปรุงบรรจุภัณฑ์สำหรับดินเกษตร-น้ำหมักชีวภาพ และสารปรับปรุงดินที่เหมาะสมและตรงตามความต้องการของตลาด | เพิ่มช่องทางจำหน่าย, ขยายกลุ่มลูกค้า, ส่งเสริมและเพิ่มวิธีการผลิตโดยบูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีสมัยใหม่ , ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบที่ปลอดภัย |
Green Economy | การพัฒนาเส้นทางและกิจกรรมทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางสังคม | พัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม | เพิ่มช่องทางจำหน่ายเกษตรปลอดสาร, จัดตั้งกลุ่มเกษตรปลอดสาร, พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรปลอดสาร , สร้างจิตสำนึกรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน |
Creative Economy (Cultural Heritage) | การยกระดับผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพและสารปรับปรุงดินด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นและศาสตร์สมัยใหม่ | บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นและศาสตร์สมัยใหม่เพื่อเพิ่มคุณภาพของน้ำหมักชีวภาพและสารปรับปรุงดิน | พัฒนาแหล่งเรียนรู้และเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
* SDGs 1. No Poverty ขจัดความยากจนทุกรูปแบบทุกสถานที่
þ SDGs 2. Zero Hunger ขจัดความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน
* SDGs 4. Quality Education รับรองการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน
* SDGs 6. Clean Water and Sanitation รับรองการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน
* SDGs 8. Decent Work and Economic Growth ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องครอบคลุมและยั่งยืนการจ้างงานที่มีคุณค่า
* SDGs 11. Sustainable Cities and Communities ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มีความปลอดภัยทั่วถึง พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
* SDGs 17. Partnerships for the Goals สร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วน ความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ได้ประชุมหารือกับทีมผู้ปฏิบัติงานวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 ในเรื่องการออกแบบสินค้าของชุมชน โดยนายอนุชา กำลังรัมย์ และนายเจษฎา กุลสุนทรรัตน์ เป็นผู้ช่วยออกแบบสลากผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีสลากผลิตภัณฑ์ดังนี้คือ 1.สลากฮอร์โมนไข่ 2.สลากจุลินทรีย์หน่อกล้วย 3.สลากฮอร์โมนผลไม้ 4.สลากน้ำหมักEM และสลากน้ำพริกปลาร้าอินเตอร์
เข้าประชุมออนไลน์ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 เพื่อรับฟังแนวทางในการทำงานของเดือนธันวาคม 2564 มีวาระการประชุมดังนี้
1) กำหนดการปิด job
2) การ จัดทำหลักสูตรระยะสั้น
3) การจัดทำเล่มรายงานโครงการ
4) การจัดแสดงสินค้า-ผลิตภัณฑ์ และจำหน่ายงาน BRICC festival
-ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตรให้จัดแบ่งกลุ่มทีมผู้ปฏิบัติงานเพื่อจัดทำรายงานการปฏิบัติงานรูปเล่มรายงานบทที่ 1-5ให้แล้วเสร็จ
2. กิจกรรมลงพื้นที่บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ที่ 5
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าได้ติดตามสอบถามโรงเรือนเปิดดอกเห็ด บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ 5 ได้ทราบว่าเห็ดยังออกดอกได้เก็บตลอดแต่ไม่ออกเยอะ ก้อนที่เป็นราดำจะขนแยกออกมาไว้ทำปุ๋ยหมักต่อไปและข้าพเจ้าได้นัดวันเวลาลงพื้นที่ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564เพื่ออบรมการทำปุ๋ยหมักจากก้อนเห็ดเก่าและการทำน้ำหมัดจุลินทรีย์หน่อกล้วยสูตรขยายหัวเชื้อและติดตามการปลูกผักสวนครัวอาสาสมัครรายบุคคล ซึ่งมีจำนวน 6 คน
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าได้จัดเตรียมวัสดุฝึก อาทิเช่น ต้นกล้วย น้ำหมักชนิดต่างๆ เพื่อทำน้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย และวัสดุฝึกทำปุ๋ยหมักจากก้อนเห็ดเก่า
เวลา 09.00 น.วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ได้ลงพื้นที่บ้านผู้ใหญ่ วีระชัย แซกรัมย์ เพื่อใช้พื้นที่ในการฝึกอบรมอาสาสมัครในครั้งนีั ซึ่วมีตัวแทนเข้าร่วมอบรมทั้งหมด 5 หมู่บ้าน คือ 1)บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ 5 2)บ้านแสลงพัน หมู่ 7 3)บ้านแสลงพันพัฒนา หมู่ 14 4)บ้านบุก้านตง หมู่ 12 และ 5) บ้านบุกบ้านตงพัฒนา หมู่ 16 โดยมีตัวแทนเข้าอบรมหมู่บ้านละ 2 คน กิจกรรมในครั้งนี้มีกิจกรรมการแจกเมล็ดพันธุ์พักเพิ่มให้กับอาสาสมัคร กิจกรรมติดสลากผลิตภัณฑ์น้ำหมัก กิจกรรมการทำเชื้อขยายน้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย กิจกรรมการทำปุ๋ยหมักจากก้อนเห็ดเก่า และกิจกรรมติดตามสวนผักครัวเรือนอาสาสมัครในชุมชน เป็นต้น กิจกรรมแรกคือการทำปุ๋ยหมักก้อนเห็ดเก่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ช่วยฝึกอบรมให้แก่อาสาสมัครและได้รับความสนใจเป็นอย่างดี มีการสอบถามเป็นระยะๆ ในกระบวนการทำปุ๋ยหมักและระยะเวลาหมักปุ๋ยจนเข้าใจ และต่อด้วยการทำเชื้อขยายจุลินทรีย์หน่อกล้วยไว้ใช้ในครัวเรือนของอาสาสมัครเพื่อการต่อยอดไปสู่ชุมชนต้นแบบต่อไป
กิจกรรมที่สามคือการติดสลากน้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย และน้ำหมักฮอร์โมนไข่ ทีมผู้ปฏิบัติงานได้ช่วยกันกรองน้ำหนักฮอร์โมนไข่เพื่อใส่แกลลอนบรรจุภัณฑ์ให้สวยงามและไว้จำหน่ายต่อไป หลังจากเสร็จภาระกิจดังกล่าวแล้วข้าพเจ้าได้ไปติดตามดูโรงเรือนเปิดดอกเห็ดบ้านหนองตาดตามุ่ง ได้สำรวจดูก่อนเชื้อเห็ดพบส่วนมากทีสีดำของราขึ้นเต็มแต่จากการบอกเล่าของผู้ดูแลโรงเรือนว่าเห็ดยังออกดอกอยู่ สามารถจำหน่ายได้บางเวลาและคัดก้อนที่ดำสนิทออกมาไว้ทำปุ๋ยหมักต่อไป และคุยกับทีมอาสาสมัครด้วยกันไว้ว่าจะซื้อก้อนเชื้อเห็ดมาเพิ่มในเร็วๆนี้ จากนั้นข้าพเจ้าได้ไปดูสถานที่โคกหนองนา พร้อมทั้งติดตามสวนผักของผู้ใหญ่วีระชัย แซกรัมย์ บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ 5 และสวนผักของอาสาสมัครอีก 3 คน พบผักหลายชนิดที่ได้มอบให้ครั้งก่อนกำลังเติบโตเขียวชะอุ่มน่ารับประทาน
ตรวจเยี่ยมแปลงผักจิตอาสาสมัครบ้านหนองตาดตามุ่ง
เวลา 13.00 น. ได้ติดตามเยี่ยมสวนเกษตร ยายอนงค์ที่บ้านบุก้าบ้านตงพัฒนา คุณยายปลูกพืชผักหลากหลายชนิด เลี้ยงวัว และเลี้ยงปลาไว้ปรุงอาหารภายในครัวเรือน คุณยายเล่าว่าได้ปลูกผักเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ไม่ต้องซื้อผักร้านค้าและได้บริโภคอาหารปลอดสารพิษ นับได้ว่าอาสาสมัครในชุมชนนี้ทำสำเร็จได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ คืออาหารปลอดภัย น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยมูลสัตว์ และที่สำคัญคือลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ สามารถเป็นครัวเรือนต้นแบบได้ และถ่ายทอดองค์ความรู้แก่คนในชุมชนได้ต่อไป
3.กิจกรรมบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่ 17
วันที่ 3 ธันวาคม 2564 ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตรให้จัดเตรียมวัสดุฝึกและจัดซื้อกล้าผักเพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับอาสาสมัครในชุมชนเพื่อร่วมทำความดีถวายพ่อหลวง “จิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ”ถวายพระราชกุศลวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564 ในกิจกรรมวันที่ 4 ธันวาคม 2564 ซึ่งมี่รายการดังนี้ 1)ดินร่วน 2)แกลบดิบ 3)แกลบเก่า 4)รำหยาบ และ ต้นกล้าผัก เป็นต้น
กิจกรรมในวันที่ 4 ธันวาคม 2564 เริ่มเวลา 09.00 น. ณ ศาลาประชาคมบ้านบุขี้เหล็กพัฒนา หมู่ 17 โดยมีจำนวนอาสาสมัครเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้จำนวน 5 หมู่บ้าน มีต้วแทนเข้าร่วมหมู่บ้านละ 2 คน เริ่มการอบรมทำปุ๋ยหมักและการทำดินปลูกจากก้อนเห็ดเก่า โดยมีข้าพเจ้านางศุภาณัน ริชาร์ดส เป็นผู้ช่วยอบรมตลอดกิจกรรม อาสาสมัครได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมากเพราะ ทุกวันนี้ค่าปุ๋ยเคมีราคาค่อนข้างสูงทำให้การปลูกผักเพื่อจำหน่ายค่อนข้างใช้ต้นทุนสูงทำให้ได้กำไรน้อย ความรู้จากการอบรมครั้งนี้จะนำไปปรับเปลี่ยนใช้ในการดำรงชีวิตต่อไป จะหันมาใช้น้ำหมักชีวภาพและทดลองใช้ให้มากกว่าเดิมเพื่อใช้เปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยเคมี กับการใช้น้ำหมักชีวภาพ เพื่อจะได้เกิดประโยชน์สูงสุดกับตัวเองและสามารถขยายผลสู่ชุมชนให้มากขึ้น เพื่อความเป็นอยู่ทึ่มีคุณภาพชีวิตทึ่ปลอดสารพิษ ลดค่าใช้จ่ายลงได้ในวันข้างหน้า และจากจากสอบถามอาสาสมัคร4-5 คน กำลังเริ่มปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคเองและกำลังลองผิดลองถูกในการทำเกษตรอินทรีย์ ข้าพเจ้าได้ให้ข้อแนะนำการใช้น้ำหมักชีวภาพให้ถูกต้อง และแนะนำให้ฝึกทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้แห้ง/สด ฟางข้าว ไว้ใช้ในครัวเรือนเพื่อลดปัญหาการซื้อปุ๋ยคอกในกลุ่ที่ไม่ได้เลี้ยงสัตว์ในครัวเรือน ต่อจากนั้นก็ได้มอบเมล็ดพันธุ์ผักและต้นกล้า พร้อมทั้งน้ำหมักบางชนิดไว้ให้อาสาสมัครนำไปทดลองใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
1)ปุ๋ยหมักจากก้อนเห็ดเก่าในกระสอบ
วัสดุ
1.ขี้วัว 1 กระสอบ
2.รำหยาบ 1 กระสอบ
3.ก้อนเห็ดเก่าบี้ให้ละเอียด
4.น้ำหมัก (จุลินทรีย์น้ำซาวข้าว , จุลินทรีย์หน่อกล้วย ฮอร์โมนไข่ อย่างใดอย่างหนึ่งมา 1 ขัน
4.บัวรดน้ำขนาด 5 ลิตร
5.น้ำเปล่า ประมาณ 25 ลิตร
วิธีทำ
1.เทน้ำหมักผสมในนัำที่เตรียมไว้ คนให้เข้ากัน
2.เทขี้วัวกับรำหยาบและก้อนเห็ดบี้ละเอียดลงในกะละมังผสมปูน
3.รดน้ำลงไป 1 บัว แล้วใช้จอบคลุกเคล้าให้ส่วนผสมให้เข้ากัน . ทำ (นับรอบที่ 1) คลุกเคล้าดินอีก 3 รอบ โดยแต่ละรอบให้รดน้ำ 1 บัวต่อรอบ เมื่อคลุกเคล้าเสร็จในรอบที่ 4 ให้ลองกำส่วนผสมดูก่อนว่าส่วนผสมมีความชื้นหรือยัง ถ้ายังให้รดน้ำรอบที่ 5 แล้วคลุกส่วนผสมให้เข้ากัน
5.ตักใส่กระสอบปุ๋ยครึ่งกระสอบ แล้วมัดด้วยเชือกเอาไปตั้งไว้ในที่ร่ม หมักไว้ 45-60 วัน
วิธีใช้ : ใช้รองหลุมปลูกพืชผักทุกชนิด และใส่พึชผักแทนปุํยได้เลย
ประโยชน์ : ปุ๋ยหมักสูตรนี้มีไนโตรเจนสูง ปลูกผักงามไว ปลูกอะไรก็เขียว เพิ่มผลผลิต
2)หมักดินปลูกจากก้อนเห็ดเก่าในกระสอบ
วัสดุ
1.ขี้วัว 1 ส่วน
2.รำหยาบ 1 ส่วน
3.แกลบเก่า 1 ส่วน
4.แกลบใหม่ 1 ส่วน
5.ดินร่วน 1 ส่วน
6.น้ำหมัก (จุลินทรีย์น้ำซาวข้าว , จุลินทรีย์หน่อกล้วย ฮอร์โมนไข่ อย่างใดอย่างหนึ่ง 1 ขัน
4.บัวรดน้ำขนาด 5 ลิตร
5.น้ำเปล่า ประมาณ 25 ลิตร
วิธีทำ
1.เทน้ำหมักผสมในนัำที่เตรียมไว้ คนให้เข้ากัน
2.เทส่วนผสมข้อ 1-5 ลงในกะละมังผสมปูน
3.รดน้ำลงไป 1 บัว แล้วใช้จอบคลุกเคล้าให้ส่วนผสมให้เข้ากัน . ทำ (นับรอบที่ 1) คลุกเคล้าดินอีก 3 รอบ โดยแต่ละรอบให้รดน้ำ 1 บัวต่อรอบ เมื่อคลุกเคล้าเสร็จในรอบที่ 4 ให้ลองกำส่วนผสมดูก่อนว่าส่วนผสมมีความชื้นหรือยัง ถ้ายังให้รดน้ำรอบที่ 5 แล้วคลุกส่วนผสมให้เข้ากัน
5.ตักใส่กระสอบปุ๋ยครึ่งกระสอบ แล้วมัดด้วยเชือกเอาไปตั้งไว้ในที่ร่ม หมักไว้ 30 วัน
วิธีใช้ : ใช้ปลูกพืชผักทุกชนิด
ประโยชน์ : ดินหมักสูตรนี้มีไนโตรเจนสูง ปลูกผักงามไว ปลูกอะไรก็เขียว เพิ่มผลผลิต
4. กิจกรรมบ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ที่ 16
เวลา 13.00 น. ได้ไปลงพื้นที่โรงเรือนเปิดดอกเห็ด ณ บ้านบุก้านตองพัฒนา หมู่ 16 ร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงาน อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาสาสมัครในชุมชนจำนวน 2 หมู่บ้าน เพื่อช่วยกันทำปุ๋ยหมักจากเศษฟาง มูลสัตว์และก้อนเห็ดเก่า ได้รับความร่วมมือกับเป็นอย่างดี ส่วนก้อนเห็ดที่เหลือในโรงเรือนได้มอบหมายให้ทีมผู้ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบดูแล 2 หมู่บ้านนี้ได้พาอาสาสมัครฝึกทำปุ๋ยหมักและดินหมักจากก้อนเห็ดเก่าในครั้งถัดไป กิจกรรมดำเนินไปด้วยดีหลังจากนั้นได้นำทีมผู้ปฏิบัติงานบางส่วนกับอาจารย์ประจำหลักสูตรไปเยี่ยมสวนเกษตรคุณยายอนงค์ อีกครั้งเพื่อส่งเสริมกำลังใจและพูดคุยปัญหาในการดำเนินงานและผลลัพธ์ที่ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี คุณยายอนงค์บอกว่าใช้ดินในแปลงนาเอามาผสมกับมูลสัตว์เพื่อใช้เป็นดินปลูก หลังจากปลูกผักแล้วก็ใช้เชื้ออีเอ็มสูตรขยายที่ฝึกทำในครั้งก่อนมารด ราด และฉีดพ่นทุกอาทิตย์ ทำให้พืชเจริญเติบโตไวและใบเขียวงามตามที่เห็น จากนั้นได้กล่าวขอบคุณคุณปอนงค์และกล่าวลาก่อนที่จะแยกย้ายกันกลับบ้าน
5. การจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานฉบับสมบูรณ์บทที่ 1-4 หน้าที่รับผิดชอบคือบทที่ 3 ข้าพเจ้าได้แบ่งหัวข้อให้ทีมผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มได้ช่วยกันหาข้อมูลและพิมพ์ส่งเพื่อรวบรวมจัดเป็นรูปเล่มให้สมบูรณ์
6. การจัดทำกิจกรรมหลักสูตรระยะสั้น
ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันหารือการทำหลักสูตรระยะสั้นเพื่อให้ได้หลักสูตรที่มีประโยชน์ต่อกับชุมชนและบุคคลทั่วไปให้ได้มากที่สุด ซึ่งได้แนวทางคร่าวๆคือการทำหลักสูตรเกี่ยวกับปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพที่ได้องค์ความรู้แก่อาสาสมัครไปแล้ว อย่างไรก็ตามทีมผู้ปฏิบัติงานจะได้นำเสนออาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อหาข้อสรุปและร่วมกันทำหลักสูตรระยะสั้นให้แล้วเสร็จต่อไป
7. อาจารย์ประจำหลักสูตรได้ประชุมหารือกับทีมผู้ปฏิบัติงานเพื่อการจัดทำ TSI สรุปภาพรวมของตำบลเพื่อให้แล้วเสร็จตามกำหนด และไดัมอบหมายให้นายเจษฎา กุลสุนทรรัตน์ ดำเนินการให้แล้วเสร็จ
8. กิจกรรม” จิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ”ถวายพระราชกุศลวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564 ข้าพเจ้าร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันแพ็คเมล็ดพันธุ์ผักและต้นกล้าผักเพื่อแจกเมล็ดพันธุ์ผักต่างๆให้กับอาสาสมัครที่เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้
10. หน้าที่เฉพาะของตนเอง
-สำรวจราคาถุงใส่บรรจุภัณฑ์ดินปลูกและปุ๋ยหมักอินทรีย์ เพื่อนำข้อมูลเสนออาจารย์ประจำหลักสูตร
-เขียนสรรพคุณและวิธีใช้ของน้ำหมักชนิดต่างๆเพื่จัดทำสลากติดผลิตภัณฑ์
-เขียนสูตรปุ๋ยหมักและดินปลูกจากก้อนเห็ดเก่าเพื่อเผยแพร่กับชุมชน
-ให้คำแนะนำแก่อาสาสมัครเวลาที่อาสาสมัครติดต่อสอบถามมาทางโทรศัพท์
-งานอื่นๆอาทเช่นเตรียมวัสดุฝึกในช่วงจัดอบรม
ท้ายสุดนี้ข้าพเจ้าขอขอบ พระคุณอาจารย์ ดร.สุธีร์กิต ฝอดสูงเนิน เป็นอย่างสูงที่ได้ให้โอกาสเป็นผู้ช่วยฝึกอบรมตลอดทั้งโครงการนี้เพื่อได้ฝึกประสบการณ์ให้มีความสามารถมากขึ้นกว่าเดิม พร้อมทั้งได้ฝึกความกล้าแสดงออกมากขึ้น และขอขอบ คุณนายวีระชัย แซกรัมย์ และภริยา ผู้ใหญ่บ้านหนองตาดตามุ่ง ที่ได้อำนวยความสะดวกทุกกิจกรรม และผู้นำทุกหมู่บ้าน ที่ให้ความสำคัญกับทุกกิจกรรมของโครงการนี้ ข้าพเจ้าได้ใช้ความสามารถจากประสบการณ์ที่สะสมไว้มาเผยแพร่ให้กับชุมชมตำบลแสลงพันอย่างเต็มที่แล้ว หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับชุมชนตำบลแสลงพันได้ไม่มากก็น้อยและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าอาสาสมัครทุกหมู่บ้านสามารถเป็นครัวเรือนต้นแบบได้ และสามารถไปขยายผลสู่ชมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป