รายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม 2564

นางสาวธิดา คำหล้า
ประเภทประชาชน
พื้นที่ได้รับมอบหมาย บ้านบุก้านตง ม.12 ต.แสลงพัน

ข้าพเจ้านางสาวธิดา คำหล้า ประเภท HS06 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์สรุปผลการปฏิบัติผลการทำงานในรอบเดือนที่ผ่านมาและได้วางแผนปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายนดังนี้ประชาชน
ตามที่ข้าพเจ้าได้ทำการสำรวจข้อมูลพื้นฐานและสภาพบริบททั่วไปของหมู่บ้านบุก้านตงทั้งระดับบุคลและครัวเรือน โดยลงพื้นที่ปฏิบัติงานช่วงกลางเดือนกันยายนถึงกลางเดือนตุลาคม 2564 พบว่าผู้นำชุมชนและชาวบ้านในพื้นที่อยู่ในภาวะที่เฝ้าระวังและติดตามเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด 19 ระรอกที่ 4 ผู้นำและชาวบ้านมีการระมัดระวังและป้องกันคนในชุมชนมีการฉีดวัคซีนเกิน 80% ของคนในชุมชนเนื่องจากการระบาดที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้นทำให้ชุมชนได้รับผลกระทบมากกว่าเดิมส่งผลต่อการค้าขาย สินค้าทางการเกษตรเพราะชาวชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมมีรายได้ตกต่ำลงไปมากส่งผลกระทบทั้งทางตรงละทางอ้อมภายใต้สภาวะทีวิกฤตชาวชุมชน ม. 12 ได้มีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ของโรคโควิด 19
จากภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวกล่าวชาวบ้านหรือเกษตรกรต้องประกอบอาชีพต่อไปตามสถานการณ์ในช่วงเดือนที่ผ่านชาวบ้านได้ใส่ปุ๋ยดูแลนาข้าว ควบคุมวัชพืช ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นเพราะชาวบ้านต้องใช้เงินทุนในการทำเกษตร ในสภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ
อย่างไรก็ตามภายใต้สภาวะเศรษฐกิจดังกล่าวทางด้านการพัฒนาชุมชนของโครงการยังคงต้องดำเนินต่อไปภายใต้สภาพปัญหา ซึ่งมีกระบวนการดำเนินการดังต่อไปนี้
1. เก็บข้อมูลตามแนวทางการจัดทำรายงานการดำเนินงานของโครงการในรอบแรก
สำหรับในช่วงในเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564
ได้มีการสรูปข้อมูลเพื่อจัดทำรูปเล่มและนำส่งรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สภาพทั่วไปของพื้นที่บ้านบุก้านตงหมู่ที่ 12ซึ่งมีข้อมูลการเก็บโดยภาพรวมดังนี้
1.1) เก็บข้อมูลตามแนวทางการจัดทำรายงานการดำเนินงานของโครงการในรอบแรก
1.2) ประวัติทั่วไปของชุมชนบ้านบุก้านตงหมู่ที่ 12
1.3) แผนที่ชุมชน บ้านบุก้านตงหมู่ที่ 12
1.4) ข้อมูลสำคัญรายหมู่บ้านบุก้านตงหมู่ที่ 12
1.5) ข้อมูลสมาชิกในชุมชน บ้านบุก้านตงหมู่ที่ 12
1.6) ข้อมูลอื่นๆที่สำคัญในชุมชน
2. ผู้ปฏิบัติงาน และทีม กลุ่ม สมาชิกจะนำเห็ดไปขายในชุมชนหรือระแวกใกล้เคียง เช่นตลาดนัดใกล้หมู่บ้านและกลุ่มสมาชิกรวมกลุ่มแปรรูปเห็ดนางฟ้า คือการทำเห็ดสวรรค์กับทีมสมาชิกโครงการบ้านบุก้านตงทั้งสองหมู่บ้าน

3.ผู้ปฏิบัติงานได้ติดตามกิจกรรมของกลุ่มสมาชิกและให้คำแนะนำด้านการรดน้ำดูแลก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าได้พบปัญหาคือเห็ดเกิดเชื้อราแนะนำให้สมาชิกงดน้ำ และแยกก้อนเชื้อเห็ดออกจากก้อนปกติ หลังจากงดน้ำก้อนเชื้อเห็ดได้ 3-4 วัน ก้อนเชื้อเห็ดก็สามารถกลับมาออกดอกได้เหมือนเดิม
4.ได้ลงสำรวจข้อมูลสภาพทั่วไปในพื้นที่ชุมชนบ้านบุก้านตงหมู่ที่ 12 ได้ลงไปสอบถามข้อมูลกับชาวชุมชน ผู้เฒ่าผู้แก่ประจำหมู่บ้านได้บอกเล่าประวัติของหมู่บ้าน และผู้นำชุมชนต่างให้ความร่วมมือและความรู้ภูมิปัญญาของหมู่บ้านที่ตนอาศัยเป็นอย่างดีจึงทำให้ทราบว่าทุกชุมชนล้วนภูมิใจในเอกลักษณ์ของหมู่บ้านที่ตนอยู่อาศัย
5.ได้ลงพื้นที่ทำกิจกรรมกับทีมผู้ปฏิบัติงานเรื่องการมอบหมายเก็บข้อมูล SROI ที่ศาลาประชาคมบ้านแสลงพันหมู่ที่ 7 และได้ไปติดตามโรงเรือนเพาะเห็ดที่บ้านหนองตาดตามุ่งและได้รับมอบหมายจากประธานกลุ่มให้ดำเนินการติดต่อประสานงานตัวแทนกลุ่มสมาชิกบ้านบุก้านตงหมู่ที่ 12 เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม
6. ส่งเสริม การตลาดแบบออนไลน์กับกลุ่มสมาชิกเช่นขายในเฟสบุ้ค กลุ่มไลน์ และแนะนำ ให้สมาชิกใช้เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่สมาชิกมีอยู่ทุกครัวเรือนมาประยุกต์เป็นสารปรับปรุงดิน น้ำหมักชีวภาพ มาปลูกผักใส่นาข้าวลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตได้ด้วย
6. ได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรมแปรรูปเห็ด ออกแบบผลิตภัณฑ์ จัดทำตลาดออนไลน์รวมทั้งการอบรมการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาประยุกต์เป็นปุ๋ยอินทรีย์ สารปรับปรุงดิน น้ำหมักชีวภาพ รวมทั้งมอบ EM กากน้ำตาล ถัง เมล็ดพันธุ์พืช ให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรมในโครงการ ในวันที่ 16 ตุลาคม ที่ศาลาประชาคมหมู่ที่ 7 บ้านแสลงพันและได้ไปอบรมและติดตามการดำเนินงานที่โรงเรือนบ้านบุขี้เหล็ก

7.ข้าพเจ้าได้ถ่ายภาพนิ่งและเคลื่อนไหวของกลุ่มสมาชิกบ้านบุก้านตงหมู่ที่ 12 เวลาปฏิบัติงานให้ให้ผู้รับ ผิดชอบ ประธานกลุ่มทีมผู้ปฏิบัติงาน และแนะนำทีมสมาชิกได้นำเสนอสินค้าผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ
จากการติดตามผลการดำเนินงานในรอบเดือนมีนาคม-ตุลาคมที่ผ่านมาทำให้ทราบว่าชาวชุมชนทั้งสองหมู่บ้านมีการร่วมมือร่วมแรงสามัคคีกันเป็นอย่างดีกลุ่มสมาชิกสามารถมีรายได้ในการจำหน่ายเห็ดลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนรวมถึงสร้างอาชีพการแปรรูปผลิตภัณฑ์ของบ้านบุก้านตงทั้งสองหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นโครงการที่สามารถสร้างเสริมอาชีพให้ชุมชนได้อย่างแท้จริงและเราได้ให้ตัวแทนทีมสมาชิกได้ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายจากการเก็บผลผลิตเห็ดนางฟ้า จึงทำให้ทราบว่าสมาชิกมีรายได้จากการจำหน่ายเห็ดและสามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ด้วย
จากการที่ข้าพเจ้าได้ติดตามการสร้างเครือข่ายในการจำหน่ายเห็ดของกลุ่มสมาชิกบ้านบุก้านตงและบ้านบุก้านตงพัฒนามีรายละเอียดดังนี้
1. การจัดทำบัญชีครัวเรือน รายรับ –รายจ่าย
รายรับ –รายจ่าย ประจำเดือนกันยายนของโรงเรือนเพาะเห็ดบ้านบุก้านตงพัฒนา ม.16
วัน/เดือน/ปี รายการ รายรับ (บาท ) รายจ่าย(บาท ) คงเหลือ

1/9 ขายเห็ด 350 – –
3/9 ขายเห็ดและซื้อถุง 70 –
8/9 ขายเห็ด และซื้อวัสดุแปรรูป 350 55 –
11/9 ขายเห็ด ซื้อวัสดุต่างๆ 490 65 –
12/9 ขายเห็ด 105 – –
13/9 ขายเห็ด 70 – –
25/9 ขายเห็ด 210 – –
26/9 ขายเห็ด 105 – –
27/9 ขายเห็ด 140 10 –
28/9 ขายเห็ด 140 – –
29/9 ขายเห็ด 210 – –
30/9 ขายเห็ด 140
รวมยอดรายได้ในการขายเห็ด -ยอดรวมรายจ่ายในการซื้อวัสดุแปรรูป 2380 130
2250

การจัดทำบัญชีครัวเรือนข้าพเจ้าแนะนำกลุ่มสมาชิกให้ทำแบบเรียบง่ายตามความเข้าใจและรับรู้ทุกคนในทีมสมาชิก

ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาอาชีพในท้องถิ่นและเลือกสื่อโซเชียล ต้นแบบในการพัฒนาชุมชน
1.การติดตามให้คำแนะนำเชิงปฏิบัติ และการพัฒนากลุ่มสมาชิกหรือตัวแทนสมาชิกเพื่อให้การทำงานบรรลุเป้าหมาย
2. เนื่องจากสภาวะที่โควิด 19 ระบาดค่อนข้างหนักเป็นอุปสรรคทั้งการฝึกอบรมและการลงพื้นที่ภาคสนาม ทีมผู้ประสานงานจึงติดตามผ่านกลุ่มไลน์ สื่อโซเชียลต่างๆกับทีมสมาชิกบ้านบุก้านตงหมู่ที่ 12
3.ปัญหาการทำบัญชีในกลุ่มสมาชิกโรงเรือนบ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ 16 แก้ไขโดยการทำบัญชีแบบเรียบง่ายให้เข้าใจในกลุ่มสมาชิก และสรุปรายได้และค่าใช้จ่ายให้กลุ่มสมาชิกทราบในแต่ละเดือน

4.ได้พัฒนาส่งเสริมอาชีพของกลุ่มสมาชิกบ้านบุก้านตงทั้งสองหมู่บ้านโดยการแปรรูปเห็ดเป็นแหนมและเห็ดสวรรค์พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เพิ่มสมุนไพรและข้าวไรซ์เบอรี่ในส่วนผสมของแหนมและเห็ดสวรรค์

สูตรการทำเห็ดสววรค์ (วัตถุดิบ)
เห็ดนางฟ้า 2 กิโลกรัม
กระเทียม 50 กรัม
พริกไทยป่น 1 ช้อนชา
น้ำตาลปี๊บ 200 กรัม
เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ
ซีอิ้วขาว 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำ 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันพืช(สำหรับทอด) 3 ถ้วยตวง
งาขาวคั่วสุก 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1.ทำความสะอาดเห็ด ล้างเห็ดแล้วปล่อยให้แห้งจากน้ำ
2.ฉีกเห็ดเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปนึ่งให้สุกผึ่งให้แห้ง
3.ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันพืช ไฟปานกลางใส่เห็ดเรียงกันพอดีชั้นเดียวเต็มกระทะ ทอดสุกเหลืองพอดี กับเห็ดที่เดียว (อย่าคนจะทำให้เห็ดห่อตัว)ใช้ตะแกรงตักขึ้นวางบนกระดาษซับน้ำมัน
4. ตักน้ำมันออกจากกระทะเหลือไว้ประมาณ 1ช้อนโต๊ะใส่กระเทียม พริกไทย เจียวให้เหลืองตักขึ้น
5. เอากระทะตั้งไฟอีกครั้ง ใส่น้ำตาลปี๊บ ซี

สูตรการทำน้ำหมักชีวภาพ จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร(เศษอาหารในครัวเรือน)
วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมมีดังนี้
ถังสำหรับใส่เศษอาหาร
ถังมีฝาปิด ขนาดที่สามารถใส่น้ำได้ 10 ขึ้นไป
น้ำตาล 1 กิโลกรัม
น้ำสะอาด 10 ลิตร ควรพักคลอรีนไว้ 1-2คืน

วิธีทำ
1. นำน้ำสะอาด 10 ลิตร มาเติมลงในถัง ใส่กากน้ำตาลหรือน้ำตาล 1 กิโลกรัม ใช้ไม้กวนให้เข้ากัน
2. จากนั้นนำเศษอาหารหรือเศษวัสดุที่เหลือใช้ทางเกษตรมาเทใส่ถัง โดยแนะนำว่าไม่ควรใส่เศษอาหารเกิน 3 ส่วน
3. หมักทิ้งไว้ประมาณ 20-30 วัน โดยควรปิดฝาให้สนิท เพื่อให้แมลงจะได้ไม่มาไข่ และถังหมักของเราไม่มีหนอน
วิธีนำมาใช้
เวลานำมารดต้นไม้ ก็ควรผสมให้เจือจางแนะนำควรใช้ 2 ฝา ต่อน้ำ 1บัว (หรือประมาณ 20 ลิตร)
ส่วนกากที่เหลือก็สามารถนำไปหมักเป็นต่อได้โดยนำมาผสมกับใบไม้แห้ง และปุ๋ยคอก รดน้ำ ปรับความชื้น 60% เมื่อบีบแล้วไม่มีน้ำซึมออกมาจากง่ามมือ และเมื่อแบมืออก ปุ๋ยยังคงจับตัวกันเป็นก้อน และทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์ หรือสังเกตดูจนปุ๋ยหายร้อน ก็สามารถนำไปใช้ได้
ระหว่างการหมัก ถ้าเป็นไปได้ก็ควรคนสลับขึ้นลงคล้ายๆกับการกลับกองในตัวแต่ถ้าลองสังเกตหรือจับดูแล้วปุ๋ยที่หมักไม่ร้อนแสดงว่ากระบวนการหมักไม่เกิด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าเราปรับความชื้นไม่เหมาะสม หรือใส่สัดส่วนไม่พอดีระหว่างสิ่งที่ย่อยเร็วกับย่อยช้า
โดยมีสมาชิกที่เข้าร่วมจำนวน 5 คน

จากตัวแทนสมาชิกครัวเรือนของบ้านบุก้านตง หมู่ที่12
ที่เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพจากการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง

รายชื่อสมาชิกในชุมชนที่เข้าร่วมจำนวน 5 ครัวเรือนดังนี้
1.นางไผ่ แสงสำโรง ม. 12
2.นางวิไลรัตน์ เนียนสันเทียะ ม. 12
3.นางอนงค์ ห้วยทอง ม. 12
4.นางประยูร ภาคะ ม. 12
5.นางสวรรค์ เนียนสันเทียะ ม. 12
6.นางพรจันทร์ บุญทอง ม. 16
7.นางประยูร ภาคะ ม. 16
8.นางพัชรีพร ภาคะ ม. 16
9.นางอัมพร โพนรัตน์ ม.16
10.นางเสาร์ จันโสดา ม. 16

อื่นๆ

เมนู