1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS06 - ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ
  4. HS06-กิจกรรมพัฒนาการทำปุ๋ยอินทรีย์จากก้อนเชื้อเห็ดเก่า การทำน้ำหมักชีวภาพ และการติดตามผลผลิตแปลงผักสวนครัว”ครัวเรือนต้นแบบ”ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนธันวาคม 2564

HS06-กิจกรรมพัฒนาการทำปุ๋ยอินทรีย์จากก้อนเชื้อเห็ดเก่า การทำน้ำหมักชีวภาพ และการติดตามผลผลิตแปลงผักสวนครัว”ครัวเรือนต้นแบบ”ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนธันวาคม 2564

บทความรายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน (เดือนธันวาคม)

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1ตำบล 1มหาวิทยาลัย)

            ข้าพเจ้านางสาววนิดา เชาวนกุล ประเภทบัณฑิตจบใหม่  หลักสูตร HS06 – การสร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมสมาชิกผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรประจำพื้นที่

 

 พื้นที่รับผิดชอบ บ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

 

           ข้าพเจ้าได้ทำการลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับสมาชิกผู้ปฏิบัติงานตำบลแสลงพัน พร้อมด้วยอาจารย์ประจำหลักสูตร ในการปฏิบัติงานเดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคม มีประชุม​ Online และ​ Onsite วางแผนการดำเนินงานเมื่อวันที่ 23,29 พฤศจิกายน 2564 และ วันที่ 4,5 ธันวาคม 2564 ซึ่งในการวางแผนประชุมออนไลน์ครั้งนี้เพื่อให้ดำเนินงานไปตามแนวทางเดียวกันจึงได้มีการมอบหมายงานและจัดกิจกรรมร่วมกัน การจัดทำหลักสูตรและพัฒนาสูตรระยะสั้น การจัดทำเล่มรายงานโครงการ บทที่ 1-5 แบ่งกลุ่มมอบหมายงาน การจัดทำปุ๋ยอินทรีย์ กิจกรรมการทำ TSI การทำกิจกรรมติดตามน้ำหมักและการปลูกพืชผักสวนครัวลงพื้นที่สอบถามความต้องการและปัญหา สำรวจและพัฒนาการทำน้ำหมักชีวภาพ การจัดทำตลาดออนไลน์ และการส่งบทความและแบบรายงานผลการปฏิบัติงาน

 

               

 

1. กิจกรรมลงพื้นที่บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ที่ 5

           เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09:00 น. ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เข้าร่วมจัดกิจกรรมการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์จากก้อนเห็ดเก่า และการติดตามน้ำหมักชีวภาพการติดสติ๊กเกอร์บรรจุภัณฑ์น้ำหมัก ซึ่งเรายังได้มีการจัดเตรียมแพ็คเมล็ดพันธุ์ผักให้กับสมาชิกชุมชน ร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงานและสมาชิกชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 3 หมู่บ้าน มีด้วยกันดังนี้

           1.บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ที่ 5 มีสมาชิก 6 คน ทีมผู้ปฏิบัติงานผู้รับผิดชอบ นางศุภาณัน ริชาร์ดส

           2.บ้านแสลงพัน หมู่ที่ 7 มีสมาชิก 5 คน ทีมผู้ปฏิบัติงานผู้รับผิดชอบ นางสาววรัญญา พิมพ์เชื้อ

           3.บ้านแสลงพันพัฒนา หมู่ที่ 14 มีสมาชิก 3 คน ทีมผู้ปฏิบัติงานผู้รับผิดชอบ นางสาวศิรินันท์ ฝาสูงเนิน

การนำก้อนเชื้อเพาะเห็ดเก่ามาทำปุ๋ยหมักชีวภาพมีขั้นตอนดังนี้

  1.ปุ๋ยหมักจากก้อนเห็ดเก่าในกระสอบ

 วัสดุ

            1.ขี้วัว    1  กระสอบ

            2.รำหยาบ    1  กระสอบ

            3.ก้อนเห็ดเก่าทุบให้ละเอียด

            4.น้ำหมัก (จุลินทรีย์น้ำซาวข้าว, จุลินทรีย์หน่อกล้วย ฮอร์โมนไข่ อย่างใดอย่างหนึ่ง 1 ขัน)

            5.บัวรดน้ำขนาด 5  ลิตร

            6.น้ำเปล่า ประมาณ 25 ลิตร

                  วิธีทำ

             1.เทน้ำหมักผสมน้ำที่เตรียมไว้ คนให้เข้ากัน

             2.เทขี้วัวกับรำหยาบและก้อนเห็ดบี้ละเอียดลงในกะละมังผสมปูน 

             3.รดน้ำลงไป 1 บัว แล้วใช้จอบคลุกเคล้าให้ส่วนผสมให้เข้ากัน . ทำ (นับรอบที่ 1) คลุกเคล้าดินอีก 3 รอบ โดยแต่ละรอบให้รดน้ำ 1 บัวต่อรอบ เมื่อคลุกเคล้าเสร็จในรอบที่ 4 ให้ลอง                  กำส่วนผสมดูก่อนว่าส่วนผสมมีความชื้นหรือยัง ถ้ายังให้รดน้ำรอบที่ 5 แล้วคลุกส่วนผสมให้เข้ากัน

             5.ตักใส่กระสอบปุ๋ยครึ่งกระสอบ แล้วมัดด้วยเชือกเอาไปตั้งไว้ในที่ร่ม หมักไว้ 45-60 วัน

                   วิธีใช้ : ใช้รองหลุมปลูกพืชผักทุกชนิด และใส่พืชผักแทนปุ๋ยได้เลย

            

                   ประโยชน์ : ปุ๋ยหมักสูตรนี้มีไนโตรเจนสูง ปลูกผักงามไว ปลูกอะไรก็เขียว เพิ่มผลผลิต

 

                  2.หมักดินปลูกจากก้อนเห็ดเก่าในกระสอบ

                   วัสดุ

             1.ขี้วัว    1      ส่วน

             2.รำหยาบ    1  ส่วน

             3.แกลบเก่า  1  ส่วน

             4.แกลบใหม่  1 ส่วน

             5.ดินร่วน   1 ส่วน

             6.น้ำหมัก (จุลินทรีย์น้ำซาวข้าว,จุลินทรีย์หน่อกล้วย ฮอร์โมนไข่ อย่างใดอย่างหนึ่ง 1 ขัน)

             7.ก้อนเห็ดเก่าทุบให้ละเอียยด

             8.บัวรดน้ำขนาด   5 ลิตร

             9.น้ำเปล่า ประมาณ   25 ลิตร

                 

                   วิธีทำ     

             1.เทน้ำหมักผสมในน้ำที่เตรียมไว้ คนให้เข้ากัน

             2.เทส่วนผสมข้อ 1-5 ลงในกะละมังผสมปูน 

             3.รดน้ำลงไป 1 บัว แล้วใช้จอบคลุกเคล้าให้ส่วนผสมให้เข้ากัน . ทำ (นับรอบที่ 1) คลุกเคล้าดินอีก 3 รอบ โดยแต่ละรอบให้รดน้ำ 1 บัวต่อรอบ เมื่อคลุกเคล้าเสร็จในรอบที่ 4 ให้ลอง                  กำส่วนผสมดูก่อนว่าส่วนผสมมีความชื้นหรือยัง ถ้ายังให้รดน้ำรอบที่ 5 แล้วคลุกส่วนผสมให้เข้ากัน

             4.ตักใส่กระสอบปุ๋ยครึ่งกระสอบ แล้วมัดด้วยเชือกเอาไปตั้งไว้ในที่ร่ม หมักไว้ 30 วัน

                     วิธีใช้ : ใช้ปลูกพืชผักทุกชนิด 

 

                    ประโยชน์ : ดินหมักสูตรนี้มีไนโตรเจนสูง ปลูกผักงามไว ปลูกอะไรก็เขียว เพิ่มผลผลิต

 



 

 


 

 


 


ภาพประกอบ

 

และในช่วงบ่ายได้ลงพื้นที่ติดตามแปลงผักสวนเกษตรยายอนงค์ ที่ได้นำเมล็ดพันธุ์ผัก กล้าพริกนำมาปลูกและใช้น้ำหมักชีวภาพของเราที่ได้จัดกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา


ภาพประกอบ

 

2.กิจกรรมลงพื้นที่บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่ 17

 

           เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2564 เวลา 09:00 น. ทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลแสลงพันร่วมกับสมาชิกชุมชนการจัดกิจกรรมลงพื้นที่อบรมการทำปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์ (ดินปลูก) จากก้อนเชื้อเห็ดเก่าเห็ดเน่าหรือเรียกได้ว่าก้อนเห็ดหมดอายุที่ไม่สามารถออกดอกได้แล้วซึ่งเราได้นำก้อนเห็ดเก่านี้มาจากโรงเรือนเพาะเห็ดของแต่ละชุมชนนำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามมาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของถุงพลาสติกหรือตัวขี้เลื่อยเองที่ย่อยสลายช้า ซึ่งเราได้จัดกิจกรรมในส่วนนี้ยังเชื่อมโยงและต่อยอดในการใช้เป็นดินปลูกพืชผักสวนครัวในครัวเรือนต้นเหมาะกับครัวเรือนต้นแบบสู่ความพอเพียง สร้างรายได้ลดรายจ่ายในชุมชนและครัวเรือนของสมาชิกชุมชน และยังได้มอบเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัวให้กับสมาชิกชุมชน เช่น ผักชี,กวางตุ้ง,คะน้า,ผักบุ้ง,ผักชีลาว,ผักกาดเขียว,กล้าพริก,มะเขือ,ผักคอส เป็นต้น พืชผักที่เราได้แจกเพื่อนำไปเป็นต้นแบบปลูกพืชผักสวนครัวกินเก็บได้ง่ายลดการใช้สารเคมี โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ ฮอร์โมนไข่,จุลินทรีย์หน่อกล้วย,ฮอร์โมนผลไม้ ซึ่งได้ใช้ในการบำรุง เร่งราก เร่งดอก เร่งผลการเจริญเติบโตของพืช เป็นต้น ซึ่งในส่วนของน้ำหมักชีวภาพนี้เราได้จัดกิจกรรมดังกล่าวไปแล้ว





ภาพประกอบ

 

3.​ กิจกรรมลงพื้นที่บ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ที่ 16

 

          เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2564 เวลา 13:00 น. ทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลแสลงพันและสมาชิกชุมชนการจัดกิจกรรมอบรมลงพื้นที่การทำปุ๋ยหมักจากเศษฟางจากก้อนเห็ดเก่า และให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยหมักซึ่งจะสามารถเปิดได้อีก 45 วัน และให้คำแนะนำโรงเรือนเพาะเห็ดการดูแลเห็ดช่วงฤดูหนาวซึ่งมีลมพัดผ่านทำให้อากาศเข้าไปในโรงเรือนเพาะเห็ดทำให้ก้อนเห็ดแห้งการเก็บผลผลิตดอกเก็บซึ่งเป็นไปได้ยากจึงต้องมีผ้าคลุมที่หนาแน่นกว่าเดิมเพื่อปกปิดลมเข้าสู่โรงเรือนเพาะเห็ด เสร็จภาระกิจการจัดกิจกรรมแล้วทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลแสลงพันมีการประชุมออนไชต์ชี้แจงการปฏิบัติงานต่อไปการส่งงานในเดือนธันวาคมนี้





 ภาพประกอบ

 

4.​การจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานฉบับสมบูรณ์บทที่ 1-4

 

           หน้าที่รับผิดชอบร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงานได้มีการแบ่งกลุ่มให้กับทีมผู้ปฏิบัติงาน ในบทที่ 1-4 นี้ เพื่อทำแบบรายงานรวบรวมข้อมูลในเข้ากับการปฏิบัติงาน ซึ่งข้าพเจ้าได้รับผิดชอบ บทที่ 2 วิเคราะห์ศักยภาพชุมชน ซึ่งมีหัวข้อในการจัดทำข้อมูลคือ 1.จุดอ่อน 2.จุดแข็ง 3.โอกาส 4.อุปสรรค 5.ปัญหาและความต้องการพัฒนา 6.ข้อเสนอแนะ โดยบทที่ 2 มีผู้รับผิดชอบร่วมกันคือ

           1.นางสาวธิดา คำหล้า

           2.นายนิสิต คำหล้า

           3.นางสาวดวงฤทัย อัมราสกุลสมบัติ

           4.นายศิริพงษ์ เครือจันทร์

           5.นางสาวพัชรี มณีเติม

           6.นางสาวเพ็ญนภา ตาชูชาติ

           7.นางสาววนิดา เชาวนกุล

            ซึ่งเราได้มีการเขียนรวบรวมหาข้อมูลรูปภาพกลุ่มผู้ปฏิบัติงานทำงานร่วมกันและเรียบเรียงหัวข้อ จัดทำเป็นไฟล์ในบทที่ 2

 

5. การจัดทำกิจกรรมหลักสูตรระยะสั้น

 

           เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 ณ ห้องประชุมมนุษยสัมคมวัฒนา อาคาร ๒๕ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ข้าพเจ้าและประธาน อาจารย์ประจำหลักสูตรตำบลแสลงพัน ได้เป็นตัวแทนเข้าร่วมโครงการการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการ เพื่อพัฒนาทักษะเดิม เพิ่มทักษะใหม่และรายได้เสริมให้ประชาชนในพื้นที่บริการวิชาการ ซึ่งในการจัดกิจกรรม มีหน่วยงานภาครัฐเครือข่ายต่างๆเข้าร่วมเสวนาการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการคือ 1.ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานบุรีรัมย์ 2.สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน) 3.วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์ 4.วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ และ 5.รองผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ซึ่ง รศ. ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณะบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ อาจารย์ประจำหลักสูตรตำบลและผู้ปฏิบัติงานโครงการ U2T จำนวน 11ตำบล เข้าร่วมอบรม และในช่วงบ่ายได้มีการนำเสนอข้อมูลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้มีการนำเสนอสรุปประเด็นทั้งหมด เพื่อสามารถตอบโจทย์ BCG และ SDGs จะต่อยอดกิจกรรมนวัตกรรมอย่างไรต่อไป




 ภาพประกอบ

 

6. การจัด TSI สรุปภาพรวมของตำบล


7. กิจกรรมทำความดีด้วยหัวใจ วันที่ 5 ธันวาคม 2564

 

           การแจกเมล็ดพันธุ์ผัก ปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์ ให้กับสมาชิกชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรม “จิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ” ถวายพระราชกุศล วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564 และลงพื้นที่ติดตามแปลงผักมอบเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว




ภาพประกอบ

 

8. หน้าที่เฉพาะของตนเอง

           ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ติดตามแปลงผักสวนครัวบ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3 สำรวจความต้องการเมล็ดพันธุ์ผักเพิ่มเติมและสอบถามปัญหาในการจัดทำแปลงผัก ซึ่งชาวบ้านได้ปลูกพืชผักสวนครัวไว้หน้าบ้าน และเลี้ยงไก่ไว้ทำให้ไก่เขี่ยแปลงผักในช่วงแรกทำให้เกิดผลผลิตยากและผลผลิตลดน้อยลง ดินปลูกซึ่งเป็นดินเหนียวการขยับขยายแปลงผักทำให้กว้างใหญ่ขึ้นเป็นไปได้ยาก ชาวบ้านจึงจัดทำพื้นที่ที่สามารถปลูกพืชผักสวนครัวไว้พอกินและเป็นครัวเรือนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง และยังใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเร่งการเจริญเติบโต เร่งผล เร่งดอก และทำให้ผักมีสีเขียวที่สวยงาม ซึ่งในทั้งนี้ สมาชิกได้นำเมล็ดพันธุ์ผักที่ได้ให้เพิ่มเติม นำไปทำแปลงผักที่ทุ่งนาเพื่อเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้นและได้มีการปลูกหอม กระเทียมไว้กินและขายบางส่วนในยามหน้าแล้ง





สวนแปลงผักที่ได้มอบเมล็ดพันธุ์ผักเพิ่มเติมให้แก่สมาชิกชุมชนและการปลูกหอมกระเทียมหลังจากเก็บเกี่ยวข้าว ปลูกไว้กินและขายเป็นบางส่วน


ภาพประกอบการติดตามแปลงผักสวนครัว

                                                                       

 

วีดีโอประจำเดือนธันวาคม

อื่นๆ

เมนู