บทความรายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน(ประจำเดือนธันวาคม2564)
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(๑ตำบล๑มหาวิทยาลัย)
ข้าพเจ้านางสาววรัญญา พิมพ์เชื้อ ประเภทกลุ่มประชาชนพื้นที่ที่รับผิดชอบบ้านแสลงพันหมู่ที่7ตำบลแสลงพันอำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานทีมU2Tได้เข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบรูณาการ1ตำบล1มหาวิทยาลัยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์2564จนถึงเดือนธันวาคม2564ข้าพเจ้าได้เรียนรู้การทำงานแบบจิตอาสาและมองเห็นความเป็นอยู่ของชาวบ้านตำบลแสลงพันอำเภอลำปลายมาศที่ประสพปัญหาโรคโควิด19ที่ระบาดซ้ำแล้วซ้ำเล่าตลอด2-3ปีที่ผ่านมาทำให้ประชากรส่วนใหญ่ประสพปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทำให้รายได้ไม่พอกับรายจ่าย
ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้นำโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการนี้เข้ามาเพื่อพัฒนาและสร้างอาชีพเสริมให้กับสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการเพื่อทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ให้สมาชิกไว้ใช้ในการทำเกษตรเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเ พียง
ในเดือนธันวาคม2564นี้ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานU2Tทุกคนพร้อมทั้งคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการร่วมประชุมวางแผนในการดำเนินงานและปฏิบัติงานทั้งแบบonlineและonsiteเพื่อให้ทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่อย่างพร้อมเพียงกัน
ซึ่งรายงานการประชุมมีดังนี้
ประชุมครั้งที่1
สรุปวาระการประชุมวันที่ 23พฤศจิกายน 2564
1.จัดทำรายงานการปฏิบัติงานรูปเล่มรายงาน บททีี่1-5
-จัดทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 17 ธันวาคม 2564
-มอบหมายให้พี่ศุภาณัน แบ่งกลุ่มจัดทำในแต่ละบท แจ้งอาจารย์ให้ทราบ
-ทุกคนต้องเตรียมลิ้งค์วีดีโอ ลิ้งค์บทความในแต่ละเดือนเพื่อนำใส่รายงาน
-แต่ละบทควรมีภาพประกอบ
2. การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น
-การทำน้ำหมักชีวภาพ
-กาะเพาะเห็ดและแปรรูปผลิตภัณฑ์
3.การส่งบทความและแบบรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคม 2564
-วันที่ 7-8 ธันวาคม ส่งบทความตรวจพร้อมแก้ไข
-วันที่ 8 ธันวาคม ส่งแบบรายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมแก้ไข
-วันที่ 9 ธันวาคม ส่งแบบรายงานผลการปฏิบัติงานที่สำนักงานคณะ ไม่เกิน 12:00น.
4.การลงพื้นที่เพื่อสำรวจความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของสมาชิกในชุมชน
5.การพัฒนาทำเว็ปเพจ (Facebook)
6.การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทำให้หลากหลายหลักสูตร
ประชุมครั้ง2
สรุปวาระการประชุมวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564
1. การจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานในแต่ละบท
– ทำได้ 80% ส่งข้อมูลให้อาจารย์ตรวจสอบเพิ่มเติม
– ใส่ภาพประกอบลงในแต่ละบท4-5 ภาพให้เข้ากับเนื้อหา
2. การลงพื้นที่บ้านหนองตาดตามุ่งวันที่ 30 พ.ย 2564 เป็นเรื่องการจัดทำปุ๋ยอินทรีย์จากก้อนเชื้อเห็ด
3. กิจกรรมการทำ TSI ทำสรุป มอบหมายให้เจษฎาเป็นหลัก ส่งภายในวันที่ 6 ธ.ค. 64
4.สำรวจผลการดำเนินการทำกิจกรรมน้ำหมักชีวภาพ การปลูกพืชผักสวนครัว เมล็ดพันธุ์ผักที่แจกให้ ว่าเป็นอย่างไร และสอบถามปัญหาในการลงมือทำ ความต้องการเมล็ดพันธุ์ผักเพิ่มเติม
5. สอบถามการลงพื้นที่จัดทำตาราง ให้แจ้งให้สมาชิกในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานให้ทราบ
6. การจัดทำหลักสูตรระยะสั้น
7.ทักษะการอบรมทั้ง 4 หลักสูตร เฉพาะสมาชิกใหม่
ประชุมครั้งที่3
สรุปวาระการประชุมประจำวันที่ 4 ธันวาคม 2564
**วันที่ 5-6 ธ.ค.จัดทำบทความและแบบรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคม
**วันที่ 7-8 ธ.ค. ส่งให้อาจารย์ตรวจสอบและลงบทความในระบบให้เรียบร้อย
**วันที่ 9 ธ.ค. ส่งแบบใบรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคมที่คณะ ไม่เกิน 12:00 น.
📌📌การเขียนบทความและรายงานผลการปฏิบัติงาน📌📌
1. กิจกรรมประชุม Online และ Onsite เรื่อง….
2. กิจกรรมลงพื้นที่บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ที่ 5 ลงพื้นที่จัดกิจกรรมอะไรบ้าง การให้คำแนะนำ
3.กิจกรรมบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่ 17
-กิจกรรมที่ติดตามแต่ละหมู่บ้านของตนเองที่รับผิดชอบ
4. กิจกรรมบ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ที่ 16
5. การจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานฉบับสมบูรณ์บทที่ 1-4 หน้าที่รับผิดชอบ
6. การจัดทำกิจกรรมหลักสูตรระยะสั้น
7. การจัด TSI สรุปภาพรวมของตำบล
8. กิจกรรมทำความดีด้วยหัวใจ 5 ธันวาคม 2564 การแจกเมล็ดพันธุ์ผัก ปุ๋ยหมัก
9. การจัดทำตลาดออนไลน์
10. หน้าที่เฉพาะของตนเอง
ในวันที่21พฤศจิกายน2564โดยส่งตัวแทนตำบลละ2คนพร้อมด้วยอาจารย์ประจำหลักสูตรHS06เข้าอบรมและพรีเซ้นต์งานให้กับทางคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่
โครงการนี้ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งกับการจัดสัมมนาการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงบูรณาการของคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้จัดอบรมที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์โดยมีงผู้ทรงคุณวุฒิจาก5หน่วยงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันคือสำนักพัฒนาฝีมือแรงงานบุรีรัมย์. กศน.วิทยาลัยชุมชน.วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์และสำนักส่งเสริมวิชาการและมีผู้เข้าร่วมสัมนาเป็นกรรมการหลักสูตรโครงการU2Tกรรมการโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและผู้ปฏิบัติงานโครงการU2Tจำนวน50คนซึ่งเป็นผู้พัฒนาหลักสูตรระยะสั้นของคณะมนุษยศาสตร์หลักสูตรทั้งหมดนี้ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
2)กิจกรรมลงพื้นที่ ที่บ้านหนองตาดตามุ่งหมู่ที่5ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ในวันที่30 ธันวาคม2564ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ที่บ้านหนองตาดตามุ่งหมู่5เพื่อสาธิตการทำปุ๋ยอินทรีย์จากก้อนเห็ดเก่าที่ไม่ใช้และทำน้ำหมักชีวภาพจุลินทรีย์หน่อกล้วยและแจกเมล็ดพันธ์ผักให้กับสมาชิกที่ต้องการพันธ์ผักเพิ่มพร้อมทั้งช่วยกันติดสติ๊กเกอร์ผลิตภัณฑ์น้ำหมักออร์โมนไข่และได้บรรจุภัณฑ์เพื่อเตรียมจำหน่ายให้กับชุมชน
ช่วงบ่ายได้ลงพื้นที่ติดตามสวนผักบ้านป้าอนงค์ซึ่งเป็นสวนผักต้นแบบที่บ้านบุก้านตงพัฒนาหมู่16แปลงผักกำลังเจริญเติบโตเพราะได้ใช้น้ำหมักชีวภาพรดเช้ารดเย็นทำให้ผักมีผลผลิตที่ใหญ่บพอเพียงปลูกผักปลูกผลไม้ไว้กินในครัวเรือนเหลือกินค่อยเก็บขายมีทั้งบ่อเลี้ยงปลามีปลาหลายชนิดเลี้ยงวัวอยู่กับท้องไร่ท้องนาใช้ชีวิตแบบพอเพียง
ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักจากก้อนเห็ดเก่า
1)ปุ๋ยหมักจากก้อนเห็ดเก่าในกระสอบ
วัสดุ
1.ขี้วัว 1 กระสอบ
2.รำหยาบ 1 กระสอบ
3.ก้อนเห็ดเก่าบี้ให้ละเอียด
4.น้ำหมัก (จุลินทรีย์น้ำซาวข้าว , จุลินทรีย์หน่อกล้วย ฮอร์โมนไข่ อย่างใดอย่างหนึ่ง 1 ขัน
4.บัวรดน้ำขนาด 5 ลิตร
5.น้ำเปล่า ประมาณ 25 ลิตร
วิธีทำ
1. เทน้ำหมักผสมในนัำที่เตรียมไว้ คนให้เข้ากัน
2.เทขี้วัวกับรำหยาบและก้อนเห็ดบี้ละเอียดลงในกะละมังผสมปูน
3.รดน้ำลงไป 1 บัว แล้วใช้จอบคลุกเคล้าให้ส่วนผสมให้เข้ากัน . ทำ (นับรอบที่ 1) คลุกเคล้าดินอีก 3 รอบ โดยแต่ละรอบให้รดน้ำ 1 บัวต่อรอบ เมื่อคลุกเคล้าเสร็จในรอบที่ 4 ให้ลองกำส่วนผสมดูก่อนว่าส่วนผสมมีความชื้นหรือยัง ถ้ายังให้รดน้ำรอบที่ 5 แล้วคลุกส่วนผสมให้เข้ากัน
5.ตักใส่กระสอบปุ๋ยครึ่งกระสอบ แล้วมัดด้วยเชือกเอาไปตั้งไว้ในที่ร่ม หมักไว้ 45-60 วัน
วิธีใช้ : ใช้รองหลุมปลูกพืชผักทุกชนิด และใส่พึชผักแทนปุํยได้เลย
ประโยชน์ : ปุ๋ยหมักสูตรนี้มีไนโตรเจนสูง ปลูกผักงามไว ปลูกอะไรก็เขียว เพิ่มผลผลิต
2)หมักดินปลูกจากก้อนเห็ดเก่าในกระสอบ
วัสดุ
1.ขี้วัว 1 ส่วน
2.รำหยาบ 1 ส่วน
3.แกลบเก่า 1 ส่วน
4.แกลบใหม่ 1 ส่วน
5.ดินร่วน 1 ส่วน
6.น้ำหมัก (จุลินทรีย์น้ำซาวข้าว , จุลินทรีย์หน่อกล้วย ฮอร์โมนไข่ อย่างใดอย่างหนึ่ง 1 ขัน
4.บัวรดน้ำขนาด 5 ลิตร
5.น้ำเปล่า ประมาณ 25 ลิตร
วิธีทำ
1. เทน้ำหมักผสมในนัำที่เตรียมไว้ คนให้เข้ากัน
2.เทส่วนผสมข้อ 1-5 ลงในกะละมังผสมปูน
3.รดน้ำลงไป 1 บัว แล้วใช้จอบคลุกเคล้าให้ส่วนผสมให้เข้ากัน . ทำ (นับรอบที่ 1) คลุกเคล้าดินอีก 3 รอบ โดยแต่ละรอบให้รดน้ำ 1 บัวต่อรอบ เมื่อคลุกเคล้าเสร็จในรอบที่ 4 ให้ลองกำส่วนผสมดูก่อนว่าส่วนผสมมีความชื้นหรือยัง ถ้ายังให้รดน้ำรอบที่ 5 แล้วคลุกส่วนผสมให้เข้ากัน
5.ตักใส่กระสอบปุ๋ยครึ่งกระสอบ แล้วมัดด้วยเชือกเอาไปตั้งไว้ในที่ร่ม หมักไว้ 30 วัน
วิธีใช้ : ใช้ปลูกพืชผักทุกชนิด
ประโยชน์ : ดินหมักสูตรนี้มีไนโตรเจนสูง ปลูกผักงามไว ปลูกอะไรก็เขียว เพิ่มผลผลิต
3)กิจกรรมบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนาหมู่ที่17
วันที่4ธันวาคม2564ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานพร้อมทีมU2Tที่บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนาหมู่ที่17ตำบลแสลงพันอำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์ทำกิจกรรมร่วมกันกับชาวบ้านทำปุ๋ยอินทรีย์หรือดินปลูกพร้อมมอบเมล็ดพันธ์ผักสวนครัวและต้นกล้าผักเช่นต้นพริกต้นมะเขือเป็นต้นพร้อมทั้งได้ร่วมทำกิจกรรมจิตอาสาเพื่อพัฒนาชกุศลแด่ในหลวงรัชกาลที่9เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ และช่วงบ่ายติดตามความก้าวหน้าเพื่อเยี่ยมเยือนสวนผักต้นแบบนางวงเดือนหมู่ที่17และทำกิจกรรมทำแปลงผักร่วมกับชาวบ้านและเพื่อให้ครัวเรือนต้นแบบสามารถนำทฤษฎีใหม่และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
-กิจกรรมติดตามแปลงผักที่บ้านแสลงพันธ์หมู่ที่7ที่ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบซึ่งสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการได้ปลูกผักที่ได้มอบให้แล้วผักกำลังเจริญเติบโตใกล้พร้อมเก็บรับประทานแล้วสมาชิกต้องการเมล็ดพันธ์ผักเพิ่มเพื่อที่จะขยายพื้นที่เพาะปลูกให้มากขึ้นเพื่อจำหน่ายจะได้มีรายได้เพิ่มขึ้น
4)กิจกรรมบ้านบุก้านตงพัฒนาหมู่ที่16ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ในวันที่4ธันวาคม2564ทำกิจกรรมที่บ้านบุขี้เหล็กเสร็จแล้วก็ได้ลงพื้นที่ทำปุ๋ยหมักจากฟางข้าวและก้อนเห็ดเก่าที่ไม่ออกดอกแล้วนำมาทำปุ๋ยหมักที่บ้านบุก้านตงพัฒนาหมู่ที่16พร้อมกับทีมผู้ปฏิบัติงานและคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรและสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการซึ่งทีมผู้ปฏิบัติงานได้ช่วยกันทำอย่างเต็มที่เพื่อให้ชาวบ้านมีปุ๋ยหมักไว้ใช้สอยในชุมชนและได้ติดตามสวนผักป้าอนงค์อีกครั้งพร้อมกับอาจารย์ดร.สุธีกิติ์ ฝอดสูงเนินเพื่อเยี่ยมชมสวนผักต้นแบบพร้อมทั้งได้ชิมพุทราสามรสผลไม้ปลอดสารพิษที่ป้าอนงค์ไม่ใส่สารเคมีใช้แต่ปุ๋ยคอกและน้ำหมักชีวภาพฮอร์โมนไข่เพื่อที่พุทราจะได้มีรสหวานกรอบอร่อยและมีผลใหญ่ยิ่งขึ้น
5)การจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานฉบับสมบูรณ์บทที่1-4
ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบบทที่3พร้อมผู้ปฏิบัติงานอีก4คนซึ่งมีรายชื่อดังต่อไปนี้
1.นางศุภาณัน ริชาร์ดส
2.นายเจษฎา กุลสุนทรรัตน์
3.นายอนุชา กำลังรัมย์
4.นางสาวศิรินันท์ ฝาสูงเนิน
บทที่3เกี่ยวกับน้ำหมักชีวภาพและสารปรับปรุงดิน
1)การฝึกอบรม
2)การพัฒนาผลิตภัณฑ์
3)การออกแบบบรรจุภัณฑ์
4)การส่งเสริมการตลาด
5)การจัดทำบัญชีครัวเรือน
6)การรวมกลุ่มของสมาชิก
ข้าพเจ้าได้ช่วยงานในกลุ่มทำหน้าที่ช่วยหารูปประกอบกิจกรรมต่างๆเพื่อแบ่งเบาภาระงานในกลุ่มและทำตามคำแนะนำของประธานเพื่อหาข้อมูลบ้างบางส่วนช่วยซัพพอร์ตงานในกลุ่มให้เสร็จทันเวลา
6)การจัดทำกิจกรรมหลักสูตรระยะสั้น
การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงบูรณาการ
-การทำน้ำหมักชีวภาพ
-การเพาะเห็ดและแปรรูปผลิตภัณฑ์
7)การจัดทำTSIสรุปภาพรวมของตำบล
ซึ่งอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ให้ผู้ปฏิบัติงานของU2Tคือนายเจษฎา กุลสุนทรรัตน์ ได้จัดทำเป็นการสรุปการดำเนินงานรายภาพรวมของตำบลแสลงพันอำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์โดยมีข้อมูลสำคัญภายในตำบลแสลงพันข้อมูลดำเนินงาน
ตลอดโครงการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-ธันวาคม2564
8)กิจกรรมทำความดีด้วยหัวใจ5ธันวาคม2564และการแจกเมล็ดพันธ์ผักและการทำปุ๋ยหมัก
ในวันที่4ธันวาคม2564ได้ทำความดีด้วยหัวใจพร้อมสมาชิกที่บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนาหมู่ที่17ตำบลแสลงพันอำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์เพื่อเป็นการอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่ในหลวงรัชกาลที่9เนื่องในโอกาสวันพ่อแห่งชาติเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่พระองค์ท่านได้สั่งสอนให้ประชาชนใช้ชีวิตอย่างมีสติและนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ทำให้อยู่ดีมีสุขและใช้จ่ายอย่างประหยัดสืบต่อไป
9)การจัดทำตลาดออนไลน์
ได้จัดการและอบรมการทำตลาดออนไลน์ออกแบบเพจขายสินค้าออนไลน์กับทีมผู้ปฏิบัติงานเพื่อนำไปสร้างช่องทางการสื่อสารในยุคเทคโนโลยีใหม่ๆซึ่งก็ได้ผลตอบรับเป็นที่น่ายินดีมีลูกค้าสนใจผลิตภัณฑ์ในชุมชนเป็นอย่างมากและได้สั่งซื้อน้ำหมักฮอร์โมนไข่ของตำบลแสลงในFacebookเพื่อให้ง่ายต่อการขายและยังเข้าถึงการตลาดได้หลากหลายรวมทั้งคนที่รักสุขภาพนิยมรับประทานผักปลอดสารพิษได้นำน้ำหมักชีวภาพไปใช้ทางชุมชนแสลงพันได้ให้สมาชิกเร่งทำน้ำหมักเพิ่มเพราะมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค
10)หน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายงานในการลงพื้นที่ในทุกๆครั้งได้มีการติดต่อประสานงานกับผู้นำชุมชนและสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการเพื่อให้ได้รับรู้ถึงขั้นตอนปฏิบัติงานและได้ประสานงานกับประธานเพื่อช่วยกันจัดซื้อต้นกล้าผักต่างๆเพื่อนำไปแจกให้กับสมาชิกในวันที่4ธันวาคม2564ในชุมชนตำบลแสลงพันตามที่ได้รับมอบหมายกับอาจารย์ประจำหลักสูตร