บทความสรุปผลการปฏิบัติงาน
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ
ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ.2564
บ้านโคกใหม่ หมู่ 1 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
โดย นาย สราญจิต อินทราช กลุ่ม ประชาชนทั่วไป
ลงพื้นที่เสนอโครงการต่อประชาชน บ้านโคกใหม่ หมู่ที่ 1 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
1.สภาพทั่วไป
จากการลงพื้นที่ บ้าน โคกใหม่ หมู่ที่ 1 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ สภาพทั่วไปนั้นชาวบ้านส่วนมากมี
อาชีพทางการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ส่วนมากจะ ทำสวน ทำไร่ ในส่วนสถานการณ์ โควิด19 นั้น ทางหมู่บ้านได้มีการคัดกรองบุคคลภายนอกที่เข้าออกหมู่บ้าน เพื่อป้องกันการ แพร่ระบาดของเชื้อโควิด19 ทำให้การค้าขายฝืดเคือง ส่งผลให้ชาวบ้านขาดรายได้พอสมควร
สภาพอากาศนั้นแล้วแต่ฤดุกาล
2.การประชาสัมพันธ์และการรณรงค์การป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด และ การเชิญชวนให้ชาวบ้านฉีดวัคซีน
ได้มีการประชุมกันในทีมงานในวันที่ 23 พฤษภาคม 2560 ในเรื่องของการเชิญชวนชาวบ้านร่วมกันฉีดวัคซีนและให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรการป้องกันโควิด 19 ทั้งนี้ได้ลงพื้นที่เพื่อรณรงค์ให้ชาวบ้านร่วมฉีดวัคซีนในวันที่ 17 พฤษภาคม 2554 ในการปฏิบัติงานครั้งนี้ก็จะประกอบไปด้วย การให้ความรู้เกี่ยวกับโควิดมาตรการป้องกันโรคโควิด ป้ายประชาสัมพันธ์ การมอบอุปกรณ์ในการป้องกันโรค เช่น เจลแอลกอฮอล์ สเปย์แอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัย และสบู่ การปฏิบัติงานจะมีการแบ่งงานกันออกเป็น 4 กลุ่มเพื่อให้การรณรงค์นั้นได้ครอบคลุมทั้งตำบล
3.การฝึกอบรมการสร้างอาชีพให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
อบรมโครงการหลักสูตรการส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรสำหรับประชาชนในเขตตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
สถานที่ ณ ศาลาหมู่บ้านหนองสรวง ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้รับเกียรติจากคุณภัทร ภูมรา วิทยากรการเพาะเห็ด โดยมีสมาชิกในชุมชนบ้านโคกใหม่ หมู่ 1 เพื่อร่วมเป็นจิตอาสาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 5 คน ได้แก่
1.นางสาว สมัย จันทรลักษณ์
2.นาย บุญเมือง ผาคำ
3.นาง นันทนา ขงรัมย์
4.นาง วิลัยลักษณ์ ขงรัมย์
5.นาย พิชิต ขอมา
การเพาะเห็ดจากฟางข้าว
อุปกรณ์
1. ตะกร้าไม้ไผ่ หรือพลาสติก ที่มีตาห่างกันประมาณ 1 นิ้ว | 2. ก้อนเชื้อเห็ดฟาง |
3. อาหารเห็ด | 4. รำข้าว |
5. แป้งข้าวเหนียว | 6. ฟาง |
7. พลาสติก สำหรับคลุม |
วิธีการทำ
- เริ่มจากแช่ฟางในน้ำทิ้งไว้ 1 คืน
- บี้ก้อนเชื้อเห็ดฟาง แล้วนำมาผสมอาหารเห็ด รำข้าว และแป้งข้าวเหนียว กะปริมาณให้พอดีกัน
- นำฟางที่แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน มาใส่รองก้นตะกร้า เป็นชั้นที่ 1 ที่สำคัญคือต้องกดให้แน่น และเก็บฟางให้เรียบร้อยอย่าให้ออกมาช่องตะกร้า อาจใช้กรรไกรช่วยเล็มออกก็ได้
- โรยเชื้อเห็ดฟางที่ผสมแล้ว โดยโรยบริเวณริมขอบตะกร้า เว้นตรงกลางไว้หากใครมีปุ๋ยคอก อาจใส่ปุ๋ยคอกลงตรงกลาง เพื่อบำรุงเห็ดให้เติบโตดีขึ้นก็ได้
- นำฟางมาคลุมปิด และทำสลับชั้นกันกับเชื้อเห็ดฟาง โดยใช้ฟางทั้งหมด 4 ชั้น และเชื้อเห็ด 3 ชั้น มีเคล็ดลับอยู่ว่า พอถึงเชื้อเห็ดชั้นที่ 3 ให้โรยไปให้ทั่ว ไม่ต้องเว้นตรงกลางไว้แล้วใช้ฟางคลุมปิดเป็นชั้นสุดท้าย
- จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม แล้วใช้พลาสติกใสคลุมทิ้งไว้ หากเพาะหลายตะกร้า อาจทำเป็นกระโจมพลาสติกคลุมก็ได้
วิธีการดูแล
- ตั้งไว้ในที่ร่ำไร คือได้แดดกับร่ม ประมาณ 50/50 เรียกว่าต้องไม่ร้อนและไม่เย็นเกินไป จากนั้นดูแลความชื้นให้ดี โดยสังเกตที่พลาสติกใส หากมีไอสีขาวๆ แสดงว่าความชื้นพอดี แต่ถ้าแห้ง ควรรดน้ำบริเวณรอบๆ ตะกร้า เพื่อเพิ่มความชื้นให้ตะกร้าเพาะ โดยไม่ต้องเปิดพลาสติกออกมารด
- ข้อควรรู้อีกประการคือ หากจะวางตะกร้าบนดิน ควรหาก้อนหินหรือก้อนอิฐ สำหรับวางตะกร้า เพื่อป้องกันแมลงอย่างมดหรือปลวกรบกวน
- รอประมาณ 5-10 วัน เห็ดรอบแรกก็จะออกมาให้ชื่นใจ เมื่อเก็บเห็ดแล้ว ให้รดน้ำให้ชุ่ม คลุมพลาสติกอีกครั้ง อีกประมาณ 7 วัน จะมีเห็ดออกมาให้เก็บอีกรอบ รวมแล้ว ถ้าดูแลดีๆ เชื้อเห็ด 1 ก้อน เพาะให้ตะกร้า 1 ใบ น่าจะได้เห็ดประมาณ 1 กิโลกรัม
การผลิตปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
สูตรฮอร์โมนไข่
วัสดุอุปกรณ์
1. ไข่ไก่ทั้งฟอง 6 กิโลกรัม | 2. กากน้ำตาล 6 กิโลกรัม |
3. แป้งข้าวหมาก 1 ก้อน | 4. ยาคูลท์หรือนมเปรี้ยว 1 ขวด |
5. ถังน้ำ 1 ถัง | 6. ไม้คน 1 อัน |
7. เครื่องปั่น 1 เครื่อง |
วิธีทำ
- นำไข่ไก่ไปปั่นให้ละเอียด เทใส่ถังที่เตรียมไว้
- นำกากน้ำตาลเทลงไป
- นำแป้งข้าวหมากบดให้ละเอียดเทลงไป
- นำยาคูลท์เทลง คนให้เข้ากัน ต้องคนไปในทางเดียวกัน ห้ามสลับทาง
***หมักไว้ 14 วัน เก็บไว้ในที่ร่ม***
ประโยชน์ฮอร์โมนไข่
- บำรุงใบเขียว
2.เร่งดอก ผลผลิต
วิธีใช้
-ใช้ 2-5 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร
-ฉีดพ่นตอนเช้าหรือตอนเย็น ทุกสัปดาห์
สูตรฮอร์โมนกล้วย
วัสดุอุปกรณ์
-ต้นกล้วย(ตัดในช่วงเช้า)
-กากน้ำตาล
วิธีการ
1.สับต้นกล้วยให้ละเอียด
2.นำกากน้ำตาลผสมกับต้นกล้วยที่สับแล้ว ในสัดส่วน 1/3 ผสมแล้วคนให้เข้ากันทิ้งไว้ 7 วัน จึงจะสามารถนำมาใช้ได้
ประโยชน์จุลินทรีย์หน่อกล้วย
- ป้องกันเชื้อรา
- รากเน่า
- โคนเน่า
4.ทำให้ดินร่วนซุย
วิธีใช้
2-5 แกง ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นตอนเช้าหรือตอนเย็น ทุกสัปดาห์
สูตรไตรโครเดอร์มา
วัสดุอุปกรณ์
1. ถังใส่น้ำ 1ถัง | 2. ไม้พาย 1อัน |
3. เชื้อไตรโครเดอร์มา 2ช้อนแกง | 4. น้ำตาลแดงธรรมชาติ 2 กิโลกรัม |
วิธีการทำ
1.นำน้ำ 20 ลิตรมาเทลงในถังภาชนะ
2.นำน้ำตาลแดง 2 กิโลกรัมมาเทลงใส่ถัง
3.นำเชื้อไตรโครโรมา 2 ช้อนแกง เทลงใส่ถัง
4.ผสมให้เข้ากันไปในทิดทางเดียวกันให้น้ำตาลละลาย
5.หมักไว้48ชั่วโมง หรือ2วันนำออกมาใช้ได้เลย
ประโยชน์ไตรโคเดอร์มา
- ป้องกันเชื้อรา
- รากเน่า
- โคนเน่า
- แดงเกอร์
วิธีใช้
2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นจอนเช้าหรือตอนเย็น ทุกสัปดาห์