สภาพบริบททั่วไปของชุมชน
ประชาชนในตำบลแสลงพันนั้นส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก ตัดหญ้าเลี้ยงวัวควาย ในช่วงหน้าฝนเมื่อหว่านปุ๋ยใส่ข้าวเสร็จ ทำให้ชาวบ้านนั้นมีเวลาว่างจากการทำนา และชาวบ้านบุก้านตงพัฒนาก็เป็นหนึ่งในหมู่บ้านนั้น จึงทำให้ต้องมีการส่งเสริม และพัฒนาอาชีพให้กับประชาชน เพื่อให้มีอาชีพเสริม สร้างรายได้เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการรวมกลุ่มกันของคนในชุมชน และทีมผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้าขึ้นได้รับการสนับสนุนจาก อาจารย์ประจำหลักสูตรHS06 และทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ของตำบลแสลงพันที่ปฏิบัติงานในพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายทั้ง18ท่าน
1.สร้างโรงเรือนเพาะเห็ดบ้านบุก้านตงพัฒนา
วันที่ 4 สิงหาคม 2564 เวลา 9.30 น. ข้าพเจ้าพร้อมด้วยทีมผู้ปฏิบัติงาน และ อ.ดร.สุธีกิติ์ ฝอดสูงเนินได้ลงพื้นที่เพื่อสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้าให้กับชาวบ้านบุก้านตงพัฒนา ชาวบ้านนั้นได้ร่วมกันกับทีมงานทุกคนได้ช่วยสร้างโรงเรือน นำไม้ไผ่มาสร้างเป็นชั้นๆเพื่อวางเห็ด ใช้ตะปูตียึดเพื่อให้ได้ความแข็งแรง กางผ้าสแลนรอบๆโรงเรือนเพื่อพรางแสงแดดให้กับเห็ด และร่วมกันขนเห็ดเพื่อจัดวางเรียงเข้าชั้นต่างๆจำนวน800-1,000ก้อน ทำความสะอาดโรงเรือน ตรวจดูความเรียบร้อยต่างๆ ได้ส่งมอบให้กับตัวแทนชาวบ้านที่รับผิดชอบในการดูแลโรงเรือน การบริหารจัดการด้านต่างๆ อาทิ การพ่นน้ำให้เห็ดในแต่ละช่วงเวลา การดูแลศัตรูพืชไม่ให้เข้าในก้อนเชื้อเห็ด การขายผลผลิตจากเห็ด และการทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม นอกจากนี้เมื่อเสร็จสิ้นภาระกิจสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดแล้วได้รับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน ชาวบ้าน ทีมงาน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีแก่ชุมชน สมาชิกทีมผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน และผลการปฏิบัติงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
2.เปิดดอกเห็ดโรงเรือนบ้านหนองตาดตามุ่ง
เวลา13.00น. ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่บ้านหนองตาดตามุ่ง ประกอบด้วยกลุ่มชาวบ้านได้ให้ความร่วมมือช่วยกันกางผ้าสแลนเพื่อพรางแสงแดดเพิ่มเติม โดยนำหญ้าคามาปิดด้านบนของโรงเรือนเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี หลังจากนั้นได้ร่วมกับชาวบ้านเปิดดอกเห็ดนางฟ้าที่เชื้อเดินเต็มก้อนแล้ว ซึ่งสังเกตุได้จากเส้นใยสีขาวในก้อนเชื้อเห็ด นำสเปรย์แอลกอฮอล์พ่นฆ่าเชื้อทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้แคะหน้าก้อนเชื้อเห็ด หลังจากนั้นใช้ช้อนที่เตรียมไว้ค่อยๆแคะสำลีสีขาว นำเส้นใยฝ้ายออกด้วยความระมัดระวัง ด้วยการแคะก้อนเชื้อเห็ดไปเรื่อยๆทั้งหมดที่วางแต่ชั้นของโรงเรือนจนแล้วเสร็จ ควรระมัดระวังไม่ให้น้ำเข้าเพราะจะทำให้เกิดเชื้อราได้ ซึ่งทีมผู้ปฏิบัติงานได้บันทึกภาพร่วมกับตัวแทนกลุ่มชาวบ้านในการลงพื้นที่ปฏิบัติงานในครั้งนี้อีกด้วย
3.เปิดดอกเห็ดโรงเรือนบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา
วันที่ 7 สิงหาคม2564 เวลา 10.00น. ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นโรงเรือนบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่17 เพื่อร่วมกันกับทีมงานเปิดดอกเห็ดนางฟ้า ทำความสะอาดโรงเรือน รดน้ำให้กับเห็ดได้มีอุณหภูมิที่เหมะสมแก่การเจริญเติมโตด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดเชื้อราในเห็ดได้ และได้ช่วยกันน้ำช้อนที่ฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์มาแคะก้อนเชื้อเห็ดจำนวน1,000ก้อนจนแล้วเสร็จ หลังจากนั้นได้ปรึกษาหารือกับสมาชิกในกลุ่มถึงแนวทางการดำเนินโครงการในสถานการณ์โรคโควิด19ที่แพร่ระบาดเพื่อไม่ให้โครงการนั้นเกิดการล่าช้า และมีการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง และเกิดการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของชุมชน
4.ปัญหา อุปสรรค แนวทางการส่งเสริม และพัฒนาอาชีพให้กับประชาชน
– ประชาชนบางคนยังไม่ค่อยให้ความสนใจในการรวมกลุ่มเท่าที่ควร เพราะว่าอาจเกิดการบริหารจัดการในด้านต่างๆไม่เป็นไปตามความต้องการ มีความคิดเห็นในกลุ่มไม่ตรงกัน
– สมาชิกบางหมู่บ้านมีเพศหญิงส่วนมาก จึงเป็นปัญหาอุปสรรคบ้างเวลาใช้แรงงาน เช่น ตัดไม้ไผ่ มุงสังกะสี ตีตะปู ฯลฯ แต่อย่างไรทุกคนก็ไม่ย่อท้อร่วมมือกันสร้างโรงเรือนจนแล้วเสร็จ
- ส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ของตำบลแสลงพันมีการทำเห็ดนางฟ้าเพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในกลุ่มสมาชิกเป้าหมายเพิ่มเติม
- จัดให้กลุ่มสมาชิกในชุมชนมีการจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่ายเพิ่มเติม เมื่อขายเห็ดนางฟ้าได้
- ขยายโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้าเพิ่มเติมในกลุ่มหมู่บ้านที่มีศักยภาพ และมีการรวมกลุ่มกันได้
- แปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดนางฟ้าให้เป็นสินค้าของชุมชนที่มีความโดดเด่น
- มีช่องทางการขายสินค้า ทั้งในชุมชน ตลาด และหน่วยงานต่างๆ
5.ผลผลิตเห็ดนางฟ้าและจำหน่ายในชุมชน
6.วีดีโอสรุปรายงานผลการปฏิบัติงาน