โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
หลักสูตร HS06-การสร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
โดย
ข้าพเจ้านางสาวดวงฤทัย อัมราสกุลสมบัติ ประเภทกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ประจำบ้านบุขี้เหล็ก หมู่ที่ 6 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่ชุมชนร่วมกับผู้ปฏิบัติงานของโครงการ และอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ เพื่อทำการจัดทำโรงเรือนเพาะเห็ด ปจะจำเดือนสิงหาคม ได้ลงพื้นที่หมู่บ้าน ดังนี้
วันที่ 4 สิงหาคม 2564 ลงพื้นที่บ้านนางสาวพรจันทร์ บุญทอง หมู่บ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ที่ 16 โดยมีคณะผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 18 คนและตัวแทนชาวบ้าน ร่วมลงมือปฏิบัติงานจัดเตรียมอุปกรณ์ทำโรงเรือนสำหรับเพาะเห็ดนางฟ้า จัดหาไม้ไผ่ ยูคาลิปตัส อีกทั้งช่วยกันนำก้อนเห็ดจัดวางลงบนชั้นที่ได้ทำไว้ จำนวน 800 ก้อน และร่วมรับฟังการบรรยายจากครูพีช ภัทร ภูมรา จากฟาร์มเห็ดครูอ๋อย ถึงวิธีการดูแลก้อนเห็ด การเปิดหน้าเห็ดหลังจากที่เชื้อเดินเต็มก้อน การให้น้ำ และการเก็บเห็ด เป็นต้น
หลังจากนั้นคณะผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ที่ 5 เพื่อติดตามดูแลเห็ด พบว่าเชื้อเห็ดได้เดินเต็มทั่วถุงแล้ว จึงทำการเปิดหน้าก้อนเห็ดและล้อมไพหญ้าโรงเรือนให้พร้อมต่อการใช้งานอย่างเหมาะสม โดยมีตัวแทนชาวบ้านบ้านหนองตาดตามุ่งเดินทางมาช่วยในครั้งนี้ด้วย
วันที่ 7 สิงหาคม 2564 ลงพื้นที่ ณ ศาลากลางหมู่บ้าน บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่ 17 เพื่อติดตามดูแลก้อนเห็ด พร้อมสำรวจ/ตรวจสอบการเดินของเชื้อเห็ดว่าเดินทั่วถุงหือไม่ พบว่าก้อนเห็ดเชื้อได้บ่มจนเต็มถุงตั้งแต่ปากถุงจนถึงก้นถุงแล้ว จึงทำการเปิดหน้าก้อนเห็ด ดังนี้
- เปิดจุกพลาสติกออก
- ทำความสะอาดอุปกรณ์ ด้วยแอลกอฮอล์ ให้สะอาด
- นำช้อนมาแคะเศษข้าวฟ่างและสำลีออกให้หมด
- อย่าคว้านให้หน้าก้อนเป็นหลุมลึกลงไป
- หลังจากนั้น ทำการพ่นน้ำบริเวณผิวหน้าของก้อนเชื้อให้ชื้นก็พอ
- อย่าให้มีน้ำเข้าไปขังในก้อนเชื้ออย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้ก้อนเชื้อมีเชื้อราและเน่าเสียเร็ว
- การรดน้ำจะรดประมาณวันละ 3-4 รอบ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ
จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ พบว่า เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบัน ยังมีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิท-19 ทำให้การลงพื้นที่ในแต่ละครั้งนั้นต้องดำเนินการอย่างปลอดภัย แต่ได้คุณภาพ แก้ไข โดยลดจำนวนผู้ที่จะเข้าร่วมลงพื้นที่ ให้ลงพื้นที่เฉพาะตัวแทนชาวบ้านบ้านละ 1-2 คนเท่านั้น ทำให้ตัวแทนชาวบ้านที่ไม่ได้ลงพื้นที่ ได้รับความรู้ไม่พร้อมกัน/สนใจนน้อยลง แต่ทุกอย่างก็สำเร็จได้อย่างดี
หลังจากการทำโรงเรือนของในหมู่บ้านในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา พบว่าชาวบ้านในชุมชนไม่ค่อยสนใจดูแลเท่าไหร่นัก มีเพียงตัวแทน 1-2 คนเท่านั้นที่มาดูแล และเก็บผลผลิตที่ได้ไปจำหน่าย ไม่มีการจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย ทำให้ไม่ทราบถึงรายได้ที่ได้รับในแต่ละครั้ง แก้ไขได้โดยการแนะนำขั้นตอนการจดบันทึกให้ับผู้ดูแลโรงเรือนว่าต้องทำรายการจากการจำหน่ายเห็ดในแต่ละครั้ง หรือรายจ่ายที่เกิดขึ้นว่ามีอะไรบ้างเพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ และรู้ค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย