โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย
เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
หมู่บ้านแสลงพันพัฒนา ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ประจำเดือน สิงหาคม 2564
หลักสูตร HS06- การสร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
ข้าพเจ้านายเจษฎา กุลสุนทรรัตน์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ HS06 ตำบลแสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ได้ทำการสำรวจข้อมูลพื้นฐานและวิเคราะห์หมู่บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนาและวางแผนพัฒนาชุมชน โดยได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานในช่วงเวลา กลางเดือนกรกฎาคม ถึงกลางเดือนสิงหาคม พบว่าสภาพของประชาชนในชุมชนยังอยู่ในระยะการเฝ้าระวังเรื่องโรคโควิด-19 ระลอกที่ 4 ประกอบกับช่วงนี้เป็นช่วงการเพาะปลูกของเกษตรกร ทำให้ชาวบ้านต้องเตรียมดูแลพืช สวน ไร่ นา พืชผัก อย่างไรก็ตามในด้านการพัฒนาชุมชนของโครงการยังคงดำเนินการต่อไปภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งมีกระบวนการดำเนินงานในรอบเดือนคือ การอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพจากการเพาะเห็ดนางฟ้า การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การสร้างตลาดเห็ดนางฟ้า และครอบคลุมไปถึงแนวทางการสร้างโรงเรือนเพาะเห็ด โดยมีรายละเอียดของกิจกรรมต่างๆในรอบเดือนมีดังนี้
วันที่ 4 สิงหาคม 2564 มีการสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้าร่วมกับทีมสมาชิกผู้ปฏิบัติงานในโครงการ จัดทำโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า ที่บ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ที่ 16 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการนำไม้ไผ่เสริมชั้นวางและใช้ลวดมัดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและมีความมั่นคงต่อการรับน้ำหนักของก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า จากนั้นทำการยึดตาข่ายกรองแสงล้อมรอบโรงเรือนโดยใช้การตอกตะปูยึดเพื่อให้แสงที่เข้ามามีปริมาณแสงให้น้อยลงและป้องกันแมลงต่างๆ พร้อมกับป้องกันลมที่เข้ามาในโรงเรือนที่จะทำให้เห็ดฝ่อลง และได้จัดเรียงก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าจำนวน 800 ก้อนโดยเป็นก้อนเชื้อเห็ดที่พร้อมให้ผลผลิตในอีก 2-3 วัน จากนั้นทำความสะอาดโรงเรือนและตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนส่งมอบให้กับชุมชน
ช่วงตอนบ่ายวันที่ 4 สิงหาคม 2564 ได้เดินทางไปยังโรงเรือนเพาะเห็ดที่บ้านหนองตาดตามุ่ง เพื่อล้อมตาข่ายกรองแสงเพิ่ม เนื่องจากมีการต่อเติมโรงเรือนให้มีความแข็งแรงมากขึ้น จากนั้นได้มีการเปิดหน้าเห็ด หลังจากการรอเชื้อเห็ดนางฟ้าเดินเต็มก้อนในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยวิธีการคือ สังเกตุได้จากเส้นใยสีขาวในก้อนเชื้อเห็ด จากนั้นนำแอลกอฮอร์พ่นฆ่าเชื้อทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้แคะหน้าก้อนเชื้อเห็ด หลังจากนั้นใช้ช้อนที่เตรียมไว้ค่อยๆแคะสำลีสีขาวและเม็ดข้าว นำเส้นใยฝ้ายออกด้วยความระมัดระวัง ด้วยการทำไปเรื่อย ๆทั้งโรงเรือนจนแล้วเสร็จ จากนั้นแนะนำการรดน้ำคือ รดจากด้านบนก้อนเห็ดนางฟ้าระมัดระวังไม่ให้น้ำเข้าไปก้อนเห็ด เมื่อน้ำเข้าก้อนเห็ดจะทำให้ก้อนเห็ดนางฟ้าเน่าเสียได้
3.เปิดหน้าเห็ดโรงเรือนบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา
วันที่ 7 สิงหาคม2564 เวลา 10.00น. ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นโรงเรือนบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่17 เพื่อร่วมกันกับทีมงานเปิดดอกเห็ดนางฟ้า ทำความสะอาดโรงเรือนโดยการเอาผ้าใบออกเพื่อให้ลมเข้า เนื่องจากภายในโรงเรือนมีอากาศอบอ้าวเกินไป จะทำให้ก้อนเห็ดนางฟ้าเป็นเหงื่อและเสียได้ พร้อมกับรดน้ำให้กับเห็ดได้มีอุณหภูมิที่เหมาะสมแก่ก้อนเห็ดเพื่อไม่ให้เกิดเชื้อราในเห็ดได้ และได้ช่วยกันนำช้อนที่ฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์มาแคะก้อนเชื้อเห็ดจำนวน750ก้อนจนแล้วเสร็จ หลังจากนั้นได้ปรึกษาหารือกับสมาชิกในกลุ่มถึงแนวทางการดำเนินโครงการในสถานการณ์โรคโควิด19ที่แพร่ระบาดเพื่อไม่ให้โครงการนั้นเกิดการล่าช้า และมีการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง
ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ แนวทางแก้ไข และส่งเสริมพัฒนาอาชีพประชาชน
ปัญหาโรคโควิด-19 ระบาด แนวทางแก้ไขแบ่งกลุ่มผู้ปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกชุมชนเดียวกันและใกล้เคียงช่วยกันสร้างโรงเรือนและทำงานภาคสนาม
– ปัญหาการทำบัญชีในกลุ่มสมาชิก ที่ยังไม่คล่องในการจัดการบัญชีกลุ่ม โดยใช้จดบันทึกแบบง่ายๆ เพื่อความสะดวกในการติดตามรายรับ รายจ่ายได้ง่ายขึ้น
4.แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ
ส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ของตำบลแสลงพันมีการทำเห็ดนางฟ้าเพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในกลุ่มสมาชิกเป้าหมายเพิ่มเติม
จัดให้กลุ่มสมาชิกในชุมชนมีการจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่ายเพิ่มเติม เมื่อเกิดผลผลิตและจัดหน่าย
ขยายโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้าเพิ่มเติมในกลุ่มหมู่บ้านที่มีศักยภาพ และมีการรวมกลุ่มกันได้
แปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดนางฟ้าให้เป็นสินค้าของชุมชนที่มีความเอกลักษณ์
มีช่องทางการขายสินค้า ทั้งในชุมชน นอกชุมชนและตลาดออนไลน์