บทความสรุปผลการปฏิบัติงาน
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ
ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ.2564
บ้านหนองระนาม หมู่ 2 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
โดย นางสาวกาญจนาวดี เคหาห้วย กลุ่มนักศึกษา
***************************************************
- จัดทำโรงเรือนเพาะเห็ด บ้านบุก้านตง บุก้านตงพัฒนา ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ปฏิบัติงานร่วมกับผู้ปฏิบัติงานในทีมตำบลแสลงพัน จัดทำโรงเรือนให้แก่ชาวบ้านเพื่อ จัดเป็นแหล่งเรียนรู้ และสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านในช่วงสถานการณ์โควิด คือการลดรายจ่าย และการเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวบ้าน
- แนะนำการจัดทำบัญชีครัวเรือน (รายรับ รายจ่าย) สำหรับกลุ่มเพาะเห็ดบ้านหนองตาดตามุ่ง( 2 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านแสลงพัน บ้านแสลงพันพัฒนา ) กลุ่มเพาะเห็ดบ้านบุขี้เหล็ก (3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านบุขี้เหล็ก บ้านบุขี้เหล็กใหม่ และบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา ) และกลุ่มเพาะเห็ดบ้านบุก้านตง (2 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านบุก้านตง บ้านบุก้านตงพัฒนา ) โดยให้ชาวบ้านจดบันทึกลงในสมุดเพื่อให้ทราบถึงรายรับที่ได้จากการขายเห็ดนางฟ้า
- แนะนำการดูแล การรักษา การจำหน่าย และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด หลังจากที่ได้มีการจัดทำโรงเรือนเห็ดเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ชาวบ้านในชุมชนและหมู่บ้านใกล้เคียง และมีแนวทางในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดนางฟ้า เช่น การทำน้ำพริกเห็ดนางฟ้า การทำแหนมเห็ด เป็นต้น นอกจากนี้ยังแนะนำวิธีการดูแลรักษาเห็ด ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก คือการเปิดดอกเห็ด วิธีการเปิดดอกเห็ดก็จะเป็นการใช้ช้อนโดยผ่านการล้างจากแอลกอฮอล์เพื่อฆ่าเชื้อก่อน หลังจากนั้นก็ใช้หางช้อนแกะเอาเชื้อเห็ดที่อยู่ทางปากของก้อนเห็ดออก เพื่อให้เห็ดมีการเจริญเติมโตและออกดอก
- จัดทำคลิปวีดีโอแนะนำการเพาะเห็ดเพื่อสร้างอาชีพ ให้กับชาวบ้านตำบลแสลงพันที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้ชาวบ้านศึกษากระบวนการเพาะเห็ดและขั้นตอนการดูแลเห็ด
- จัดทำสรุปผลการดำเนินงานตามแบบ 01,02,06 ลงในแพลตฟอร์มของมหาวิทยาลัย ในรอบการประเมินครั้งที่ 1 (มีนาคม –กรกฎาคม 2564)
- ร่วมกับทีมสมาชิกผู้จ้างงานในโครงการ จัดทำโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า ที่บ้านบุก้านตง หมู่ 12 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ มีชาวบ้านกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 คน และประชาชนที่สนใจจำนวน 20 คน นอกจากนั้น ยังทีมมีผู้จ้างงานในโครงการจำนวน 18 คน เข้าร่วมในโครงการ กิจกรรมที่ดำเนินการมีดังนี้
1.1 ปรับปรุง ต่อเติมโรงเรือนให้มีความเหมาะสม มั่นคง มีสภาพอากาศที่เหมาะสม
1.2 ประสานขอไม้ไผ่ ไม้ยูคาลิปตัส จากสมาชิกชุมชนบ้านบุก้านตงและบ้านบุก้านตงพัฒนา
1.3 ประสานขอแรงงานจากทีมผู้จากงาน และสมาชิกในชุมชน
1.4 จัดทำและจัดวางก้อนเห็ดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อความสะดวกในดูแลและการเก็บผลผลิต
1.5 รับคำแนะนำจากวิทยากร
1.6 บันทึกคำแนะนำจากวิทยากร และนำเผยแพร่แก่สมาชิกชุมชนผู้ดูแลโรงเรือนเห็ดเพื่อนำไปปฏิบัติให้ถูกต้อง โดยเริ่มตั้งแต่การดูแลรักษาก้อนเชื้อเห็ด ตั้งแต่ระยะแรก คือ การเปิดดอกเห็ด ตลอดจนถึงการเก็บเห็ดขายและการแปรรูปเห็ด เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ในการเพิ่มรายได้
7. ผลผลิตที่เกิดขึ้น
- เห็ด จำนวนและการเกิดดอกเห็ด จำนวนเห็ดในการเกิด คือ 7 – 14 วัน โดยประมาณ
- ความร่วมมือของชุมชน ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีในการจัดกิจกรรม
- รายรับ รายจ่าย รายรับเกิดจากการขายเห็ดนางฟ้า ส่วนรายจ่ายจะเป็นค่าน้ำที่ใช้รดเห็ด และค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ค่าจัดซื้อถุงในการเพาะเห็ด
- การจ่ายจำหน่ายเห็ด จะแบ่งการขายออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่งตามร้านค้าต่างๆ และแพ็คขายในชุมชน โดยในการขายในชุมชนจะเป็นการชั่งขายเป็นขีด ในราคาขีดละ 20 บาท โดยประมาณ
- ปัญหาที่พบจากโรงเรือน คือ ปัญหาที่เกี่ยวกับสภาพอากาศของโรงเรือน ยังมีการควบคุมอุณภูมิยังไม่ค่อยได้
- วิธีแก้ไขปัญหา คือ ศึกษาหาความรู้เรื่องอุณหภูมิเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับโรงเรือน และจัดหาอุปกรณ์มาปิดล้อมช่องทางที่มีลมเข้า
- แนวทางต่อยอด จะเป็นการแปรรูปจากเห็ดนางฟ้า คือการทำแหนมเห็ด หรือใส้กรอกเห็ด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์
8. การจัดทำบัญชีครัวเรือน
โดยการจดบันทึกลงในสมุด เรื่องรายรับ – รายจ่าย ของการขายเห็ดในแต่ละครั้งโรงเรือนบ้านหนองตาดตามุ่งจำนวนก่อนเชื้อเห็ด 1000 ก้อน
จำนวนเห็ดที่เก็บได้ 46.25 กิโลกรัม
รวมเป็นเงิน 3946 บาท
รายจ่าย (ซื้อถุงหิ้ว) 35 บาท
คงเหลือ 3911 บาท
9. จัดทำคลิปวีดีโอเพื่อส่งเสริมการตลาด การท่องเที่ยวชุมชน เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้การสร้างอาชีพสำหรับชุมชน ในพื้นที่บ้านหนองตาดตามุ่ง บ้านบุขี้เหล็ก และบ้านบุก้านตง
10. ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกองงานเลขานุการทีมผู้จ้างงานตำบลแสลงพัน โดยทำหน้าที่ประสานงานกับชาวบ้านตามที่ทีมงานมอบหมายให้ และจัดทำโรงเรือนให้แก่ชาวบ้าน โดยประกอบด้วย โรงเรือนที่บ้านหนองตาดตามุ่ง บ้านบุขี้เหล็ก และบ้านบุก้านตง
ภาพกิจกรรมการสร้างโรงเรือนเห็ดนางฟ้าบ้านบุก้านตงพัฒนา
ื