รายงานประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564

นิสิต คำหล้า ประเภทประชาชน HS06   ตำบลแสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

ข้าพเจ้านาย นิสิต คำหล้า ประเภทประชาชน HS06 ตำบลแสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ได้ทำการสำรวจข้อมูลพื้นฐานและวิเคราะห์หมู่บ้านบุก้านตงพัฒนาและวางแผนพัฒนาชุมชน โดยได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานในช่วงเวลา กลางเดือนกรกฎาคม ถึงกลางเดือนสิงหาคม พบว่าสภาพของประชาชนในพื้นที่ยังอยู่ในภาวะการเฝ้าระวังเรื่องโรคโควิดแพร่ระบาด ระลอกที่ 4 เช่นเดิม  ประกอบกับช่วงนี้สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างมาก เนื่องจากชาวบ้านอยู่ในสภาวะกค้าขายที่ฝืดเคืองรุนแรง เพราะะเนื่องจากว่าการหมุนของระบบเงินในท้องถิ่นขาดแคลน ที่มีผลมาจากโรคระบาด จึงทำให้ระบบเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะชะงักงัน ประกอบกับช่วงนี้เป็นช่วงการเพาะปลูกของเกษตรกร ทำให้ชาวบ้านต้องเตรียมดูแลแปลงปลูกข้าว พืชผัก และหญ้าอาหารสัตว์ เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ในสภาพเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรง ซึ่งกระบวนการเพาะปลูกกต่างๆทำได้จำกัด เช่น การเตรียมดิน การควบคุมวัชพืช การใช้ปุ๋ย เป็นต้น อย่างไรก็ตามในด้านการพัฒนาชุมชนของโครงการยังคงดำเนินการต่อไปภายใต้สภาพดังปัญหาดังกล่าว ซึ่งมีกระบวนการดำเนินงานในรอบเดือนคือ การอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพจากการเพาะเ การแปรรูป และการตลาดเห็ดนางฟ้า และครอบคลุมไปถึงแนวทางการสร้างโรงเรือนเพาะเห็ด โดยข้าพเจ้าทำหน้าที่เป็นผู้ร่วมศึกษาและรับการฝึกอบรมกับสมาชิกในกลุ่ม โดยมีรายละเอียดของกิจกรรมต่างๆในรอบเดือนมีดังนี้

1) การสร้างโรงเรือนต้นแบบการผลิตเห็ดนางฟ้าในชุมชนพื้นที่บ้านบุก้านตงและบ้านบุก้านตงพัฒนา (หมู่ 12 และ 16)

ได้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพจากการเพาะเห็ดที่วัดป่าบ้านแสลงพัน โดยมีสมาชิกที่เข้าร่วมจำนวน 10 คน จากตัวแทนสมาชิกครัวเรือนของบ้านบุก้านตงพัฒนาหมู่ที่ 16  และหมู่ที่ 12 ที่เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพจากการเพาะเห็ด โดยมีข้าพเจ้าร่วมทำหน้าที่เป็นผู้ร่วมศึกษาและรับการฝึกอบรมร่วมกับสมาชิกในกลุ่ม 10 คนดังนี้

  1. นางเภา เสือซ่อนโพรงบ้านเลขที่ 291 หมู่ที่ 16
  2. นางเสาร์ จันโสดาบ้านเลขที่ 290 หมู่ที่ 16
  3. นางสาวพัชรีพรภาคะบ้านเลขที่ 232     หมู่ที่ 16
  4. นางอัมพร โพนรัตน์บ้านเลขที่ 230  หมู่ที่ 16
  5. นางสาวพรจันทร์ บุญทองบ้านเลขที่ 16 หมู่ที่ 16
  6. นางไผ่ แสงสำโรง บ้านเลขที่ 133   หมู่ที่ 12
  7. นางวิไลรัตน์ เนียนสันเทียะ บ้านเลขที่ 6      หมู่ที่ 12
  8. นางอนงค์ ห้วยทอง บ้านเลขที่  9     หมู่ที่ 12
  9. นางประยูรภาคะบ้านเลขที่   29   หมู่ที่ 12
  10. นางสวรรค์เนียนสันเทียะบ้านเลขที่   14   หมู่ที่ 12

ผลการอบรมพบว่าชาวบ้านให้ความสนใจดี  วิทยากรที่จะนำไปสู่การปฏิบัติด้านการผลิตเห็ดนางฟ้าคือ คุณภัทร ภูมรา เมื่อบรมเสร็จสิ้น ชาวบ้านได้พากันสร้างโรงเรือนเห็ดนางฟ้าต้นแบบขึ้นในชุมชนซึ่งมีกิจกรรมดังนี้

1.1 รวมกลุ่มชาวบ้านเพื่อดำเนินการสร้างโรงเรือนต้นแบบในชุมชน

1.2 ทำการสร้างโรงเรือนให้มีความมั่นคงและหมาะสม และมีการระบายอากาศที่ดี

1.3 นำวัสดุในท้องถิ่นมาทำการสร้างโรงเรือน เช่น ไม้ยูคาลิปตัส ไม่ไผ่ สังกะสีมือสอง และวัสดุอื่นๆที่จำเป็นมาทำการสร้างโรงเรือน

1.4 ประสานกลุ่มสมาชิกมาช่วยกันสร้างโรงเรือน

1.5 ทำการลงก้อนเห็ดและจัดวางเห็ดให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อความสะดวกในการดูแลรักษาและเก็บผลผลิต

1.6 การจัดทำคลิปวีดีโอการผลิตเห็ดนางฟ้าเพื่อสร้างอาชีพในชุมชน

1.7 จัดทำผลการดำเนินงานตามแบบฟอร์ม 01, 02 และ 06 ลงในแพลตฟอร์มของมหาวิทยาลัย ในรอบการประเมินครั้งที่ 1 (มีนาคม – กรกฎาคม 2564)

สำหรับชุมชนบุก้านตงและบุก้านตงพัฒนาซึ่งเป็นพื้นที่ ที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบหลักได้ลงก้อนเห็ดจำนวน 800 ก้อน ขายได้ 1,840 บาท ในรอบ 8 วันที่ผ่านมาผลผลิตเห็ดได้ 23 กิโลกรัม ได้ผลผลิตเห็ดเฉลี่ย 2.9 กิโลกรัม/วัน/ 800 ก้อน  ช่วงนี้กลุ่มสมาชิกกำลังศึกษาและดำเนินการทำการผลิตเห็ดนางฟ้าในช่วงเริ่มต้น เรียนรู้แนวทางการตลาด การสร้างเครือข่ายกลุ่มผู้สนใจผลิตเห็ดนางฟ้า ตลอดจนการศึกษาการทำบัญชีการผลิตอย่างง่าย เพื่อที่จะประเมินถึงจุดอ่อนจุดแข็งในการต่อยอดการผลิตเห็ดนางฟ้าในชุมชนต่อไป

2) ติดตามระบบการผลิตและการตลาดในกลุ่มผลิตเห็ดนางฟ้าของพื้นที่ชุมชนบ้านบุขี้เหล็กและชุมชนบ้านแสลงพัน

กลุ่มชุมชนดังกล่าวได้ดำเนินการลงเห็ดไปเดือนที่แล้วเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2564 ซึ่งชุมชนดังกล่าวได้นำร่องไปก่อนแล้ว โดยมีผลผลิตเห็ดนางฟ้าในชุมชนบ้านบุขี้เหล็ก ซึ่งประกอบด้วยบ้านบุขี้เหล็ก หมู่ที่ 6 บ้านบุขี้เหล็กใหม่ หมู่ที่  11 และบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่ 17  สำหรับในส่วนของชุมชนบ้านแสลงพันประกอบด้วยบ้านแสลงพัน หมู่ที่ 7 และบ้านแสลงพันพัฒนา หมู่ที่ 14  ลงก้อนเห็ด 1,000 ก้อน ซึงได้รับข้อมูลว่าได้ผลผลิตรวม 46 กิโลกรัม ขายได้ 3,946 บาท โดยมีต้นทุนค่าถุง 35 บาท

3) ชุดความรู้และคำแนะนำของวิทยากร (คุณภัทร ภูมรา)

3.1 การทำโรงเรือนเห็ดนางฟ้า แข็งแรง มั่นคง สะอาด อากาศเหมาะสม

3.2 การเก็บเห็ดนางฟ้าและเทคนิคการทำ เมื่อบ่มเชื้อเห็ดแล้วจะทำการเปิดดอก และเก็บผลผลิต เทคนิดท่ให้ผลผลิตสม่ำเสมอคือเมื่อเก็บเห็ดแล้วต้องทำความสะอาดหน้าเชื้อก้อนเห็ด โดยเขี่ยเศษออกให้หมด แล้วงดให้น้ำประมาณ 2 ถึง 3 วัน ให้เชื้อพักตัวแล้วกลับมาให้น้ำตามปกติ ระวังโคนเห็ดที่เก็บค้างในถุง ก้อนเชื้อเพราะเป็นสาเหตตุของการเน่าของเชื้อเห็ดจากแมลงต่างๆ ที่จะเข้าไปวางไข่ ให้ระวังมดหรือปลวกขึ้นถุงก้อนเชื้อเห็ด

3.3 ปัญหาการผลิตเห็ดนางฟ้า มีหลักๆดังนี้คือ 1) เชื้อในถุงไม่เดินไม่ออกดอก 2) ปัญหาหนอนแมลงกินเส้นใย 3) ปัญหาเห็ดมีกลิ่นบูดมีน้ำเมือก 4) มีดอกแต่ขนาดเล็กมากหรือมีก้านดอกยาวเกินไป 5) มีจำนวนของการออกดกที่สั้นเกินไป ยกตัวอย่างเช่น ตามโครงนี้การออกดอกของเห็ดตั้งไว้ที่อย่างน้อยๆออกถึง 6 เดือน ถ้าสั้นกว่านี้ต้องเช็คว่าระบบการผลิตขั้นตอนใด ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาว่าการออกดอกของเห็ดสั้นลง

4) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการพัฒนาต่อยอด

– ปัญหาโรคโควิดระบาด  แนวทางแก้ไขทำงานด้วยกลุ่มขนาดเล็ก ใช้เครือข่ายสมาชิกชุมชนเดียวกันช่วยกันสร้างโรงเรือนและทำงานภาคสนาม

– ปัญหาแรงงานท้องถิ่นขาดแคลน สภาพสังคมผู้สูงอายุทำให้ขาดแคลนแรงงานในชุมชน ช่วยงานภาค

– ปัญหาจากการฝนตกบ่อยๆ แนวทางแก้ไขทำงานด้วยกลุ่มขนาดเล็กที่คล่องตัวทำงานในท้องถิ่น สนาม

– ปัญหาการทำบัญชีในกลุ่มสมาชิก ที่ยังไม่คล่องในการจัดการบัญชีกลุ่ม แก้ไขโดยการเข้าไปแลกเปลี่ยนแนวทางการบันทึกข้อมูล และการจัดการบันทึกแบบง่ายๆ เพื่อความสะดวกในการติดตามความก้าวหน้า

–  อยู่ในสภาวะที่เกษตรกรและผู้นำชุมชนยังคงกังวลใจในการระบาดของโควิด-19 เป็นอุปสรรคที่สำคัญในการทำงาน ภาคสนามและจัดกิจกรรม เราควรติดตาม ให้คำแนะนำการปฏิบัติ และการพัฒนากลุ่มสมาชิกเพื่อให้เกิดการทำงานอย่างสอดประสานในพื้นที่เป้าหมาย แนวทางแก้ไขคือ ขอความร่วมมือและดำเนินการตามแบบเฝ้าระวังการระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยความตระหนักรู้แบบรอบด้าน

 

 

อื่นๆ

เมนู