รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)
ประจำเดือนสิงหาคม 2564
ดิฉันนางสาวพัชรี มณีเติม ประเภทบัณฑิตจบใหม่ เจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
พื้นที่รับผิดชอบ บ้านหนองผักโพด หมู่ที่ 4 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร : HS06 – สร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
การเสริมสร้างรายได้เข้าสู่ชุมชนตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ จากเดิมชาวบ้านในตำบลแสลงพันอาชีพหลักคือ การทำนาเลี้ยงสัตว์ และทำสวน สภาพแวดล้อมโดยรวมดี หลังจากการทำนาชาวบ้านส่วนใหญ่ว่างงาน นับว่าโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) เป็นเรื่องที่ดีที่จะเข้ามาส่งเสริมรายได้ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน โครงการที่พัฒนาชนชนเกี่ยวกับการเพาะเห็ดนางฟ้า และการทำปุ๋ยหมัก เนื่องจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ยากต่อการลงพื้นที่และทำให้โครงการล่าช้ากว่ากำหนดการ แต่ทางทีมงานU2T และคณะอาจาย์ที่รับผิดชอบโครงการตั้งใจอย่างเต็มที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
- การลงพื้นที่สร้างโรงเพาะเห็ดนางฟ้า ดิฉันและทีมสมาชิกผู้จ้างงานในโครงการ U2T ได้ลงพื้นที่ ในวันที่ 4 สิงหาคม 2564 จัดทำโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า ที่บ้านบุก้านตง หมู่ 12 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ มีชาวบ้านกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 ครัวเรือน นอกจากนั้น ยังทีมผู้จ้างงานในโครงการ U2T จำนวน 18 คน เข้าร่วมในโครงการ กิจกรรมที่ดำเนินการมีดังนี้
- สร้าง และต่อเติมโรงเรือนให้มีความเหมาะสม มั่นคง มีสภาพอากาศที่เหมาะสม
- ประสานขอแรงงานจากทีมผู้จ้างงานU2T และสมาชิกในชุมชน
- จัดทำชั้นวางเห็ด และจัดวางก้อนเห็ดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อความสะดวกในดูแล และการเก็บผลผลิต
- นำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้ามาลงจำนวน 1,000 ก้อนและได้เชิญวิทยกรมาให้คำแนะนำ
- บันทึกคำแนะนำจากวิทยากร และนำเผยแพร่แก่สมาชิกชุมชนผู้ดูแลโรงเรือนเห็ดเพื่อนำไปปฏิบัติให้ถูกต้อง
ผลผลิตที่เกิดขึ้น การเกิดดอกเห็ดรอบแรกพอได้จำหน่าย
- ความร่วมมือของชุมชนชาวบ้านที่ดูแลโรงเห็ด ได้นำเห็ดไปจำหน่ายในชุมชน และที่วัดในวันที่ชาวบ้านไปทำบุญ
- เรื่องรายรับรายจ่าย ชาวบ้านที่ดูแลโรงเห็ดจะจดในสมุด จดพอความเข้าใจว่ารายได้แต่ละครั้งได้กี่บาท ขายรอบแรกได้ 1,840 บาท
1.2 ในวันเดียวกันทีมงาน U2T ได้ไปต่อเติมโรงเรือนเพาะเห็ด และเปิดหน้าเห็ด ที่หมู่บ้าน หนองตาดตามุ่ง เมื่อเชื้อเห็ดโตเต็มที่แล้วจะมีการปิดหน้าเห็ดเพื่อให้เห็ดออกตามกำหนด ในวันนั้น จะมีชาวบ้านและทีมงาน U2T ร่วมมือกัน การต่อเติมได้นำผ้าใบไปล้อมโรงเรือน และมุงหญ้าคา มีการจดบัญชีรายรับ-รายจ่าย ในสมุดแต่พอความเข้าใจของชาวบ้าน ยังไม่ได้ทำสมุดบัญชีอย่างจริงจัง รายรับในการขายเห็ดจำนวน 3,911 บาท
1.3 ในวันที่ 7 สิงหาคม 2564 ดิฉันและสมาชิกในทีม U2T และชาวบ้านได้ ไปเปิดหน้าเห็ดที่โรงเรือนเห็ด ในส่วนที่เหลือของเดือนที่แล้ว เพื่อให้เห็ดเกิดทันกำหนดทัน เพื่อนำไปขาย และทำลองเห็ดแปรรูปและทำผลิตภัณฑ์ขายในลำดับขั้นต่อไป และรดน้ำให้มีความชุมชื่น หมู่บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา เพื่อให้เห็ดเกิดตามกำหนดและให้มีการจ่ายหน่ายเห็ดในรอบต่อไป
2) การสร้างโรงเรือนเห็ดนางฟ้าต้นแบบมี 3 ที่ ในตำบลแสลงพัน และการทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย
ดิฉันและทีมงาน U2T รวมทั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ลงพื้นที่ทั้ง 3 ที่ได้แก่
– กลุ่มเพาะเห็ดบ้านหนองตาดตามุ่ง 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านแสลงพัน บ้านแสลงพันพัฒนา และบ้านหนองตาดตามุ่ง
– กลุ่มเพาะเห็ดบ้านบุขี้เหล็ก 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านบุขี้เหล็ก บ้านบุขี้เหล็กใหม่ และบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนาและ
– กลุ่มเพาะเห็ดบ้านบุก้านตงพัฒนา 2 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านบุก้านตง และบ้านบุก้านตงพัฒนา
การทำบัญชีรายรับรายจ่ายชาวบ้านที่รับผิดชอบจะเขียนใส่สมุดจดเพื่อความเข้าใจของตนเอง ยังไม่มีการจำบันทึกอย่างจริงจัง จะมีการจดบัญทึกแบบจังในครั้งถัดไป
3) แนะนำการดูแล การรักษา การจำหน่าย และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด
ก่อนการเปิดดอกควรนำก้อนเชื้อเห็ดมาวางไว้ประมาณ 3-4 วัน เห็ดนางฟ้าจะเปิดถุง โดยเอาจุกสำลีออก นำก้อนไปเรียงซ้อนกัน รดน้ำ รักษาความชื้นให้มากในโรงเรือน วันละ 2-6ครั้ง ขึ้นอยู่กับ สภาพอากาศ โดยสเปรย์น้ำเป็นฝอย ระวังอย่ารดน้ำเข้าในถุง เพราะถุงจะเน่าและเสียเร็ว หลังจากบ่มเชื้อครบ 30-35 วัน นำก้อนเชื้อเข้าสู่โรงเรือนเปิดดอก โดยแกะกระดาษเขี่ยข้าวฟ่างและสำลีออกให้หมด ทำความสะอาดพื้นโรงเรือนรดน้ำให้ชุ่ม วันละ 3 เวลา คือ เช้า เที่ยง เย็นเห็ดจะออกดอก ได้ดี เก็บไปจำหน่าย และนำไปแปรรูปผลิตภัณฑ์
4) จัดทำคลิบวีดีโอแนะนำการเพาะเห็ดเพื่อสร้างอาชีพ ดิฉันและทีมงาน U2T จัดทำคลิปวิดีโอแนะนำการเพาะเห็ดเพื่อสร้างอาชีพที่ศูนย์การเรียนรู้ที่สวนเห็ดครูอ๋อย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โรงเรือนต้นแบบ 3 หมู่บ้าน และนำเผยแพร่เพื่อเป็นสื่อเรียนรู้แก่ผู้ที่มีความสนใจการจัดทำโรงเรือนเพาะเห็ด หรือการสร้างอาชีพจากการเพาะเห็ด
5) จัดทำรวบรวมการดำเนินงานตามแบบ แบบฟอร์ม 01,02,06 ลงในแพลตฟอร์มของมหาวิทยาลัย ในรอบการประเมินครั้งที่ 1 (มีนาคม – กรกฎาคม 2564) เพื่อจัดทำผลสรุปการดำเนินงานพร้อมทั้งจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน
ปัญหาจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์
4.1 ปัญหาการหาสถานที่ทำโรงเรือนคือ คับแคบ และการควบคุมอุณหภูมิค่อนข้างยาก
แนวทางแก้ไข อาจจะทำใกล้ร่มไม้ หรือที่อากาศถ่ายเทไม่ร้อนจนเกินไป
4.2 ปัญหาการเชิญชาวบ้านมาให้ความรู้ด้านเพาะเห็ด ทำให้เกิดการอบรมอาชีพหลายครั้งจนเกินความจำเป็น จำกัดจำนวนคน เนื่องจากโรคระบาดโควิด 19
แนวทางแก้ไข จิตอาสาที่สนใจด้านอาชีพเพาะเห็ดจริงๆ เป็นบุคคลต้นแบบมาอบรม เพื่อที่จะลดจำนวนคน
4.3 ปัญหางบที่ใช้ในการอบรม และทำโรงเรืองในแต่ละครั้งบานปลาย
แนวทางแก้ไข การอบรมในแต่ละครั้งต้องการคนที่สนใจจริงๆ มาอบรม การทำโรงเห็ดอยากให้ชาวบ้านช่วยออกค่าใช้จ่ายบางส่วนเพราะจะช่วยให้เกิดความกระตือรือร้นในการสร้างอาชีพมากขึ้น
4.4 ปัญหาด้านการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
แนวทางแก้ไข ต้องจดบัญชีทุกครั้งที่มีการใช้จ่าย ต้องให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำบัญชีรายรับรายจ่ายของแต่ละโรงเรือน
แนวทางส่งเสริมพัฒนาอาชีพ
- เลือกตัวแทนกลุ่มมีการรักพัฒนาหมู่บ้านจริงๆ ของแต่ละโซนของหมู่บ้านในตำบลแสลงพันมาดูแลรักษาโรงเรือนเห็ด
- มีการจัดทำรายรับ-รายจ่าย อย่างจริงจังเพื่อเป็นการพัฒพาอาชีพและขยายเป็นผลิตภัณฑ์ในครั้งถัดไป
- เสริมสร้างตลาดออนไลน์ และตลาดชุมชน หรือเป็นตลาดใกล้บ้านเพื่อเป็นการขยายการขายสู่ท้องตลาด
- ออกแบบผลิตภัณฑ์ แปรรูปเห็ดเพื่อให้มีการกระจายกลุ่มเป้าหมาย เกิดความหลากหลายต่อกลุ่มผู้ชื้อ
- ขยายโรงเรือนเห็ดเพิ่มในตำบลแสลงพัน เพื่อกระจายรายได้เข้าสู่ชมชน และครัวเรือน
วิดีโอประจำเดือนสิงหาคม