รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)

ประจำเดือนสิงหาคม 2564

 

ดิฉันนางสาวเพ็ญนภา  ตาชูชาติ ประเภทบัณฑิตจบใหม่  เจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ  จังหวัดบุรีรัมย์ 

พื้นที่รับผิดชอบ หมู่ 15 บ้านโคกใหม่พัฒนา ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : HS06 – สร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

         ในการปฏิบัติงานของเดือนสิงหาคม  สถานการณ์ของโรคโควิด -19 มีการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้นและยังไม่มีวี่แววว่าการระบาดของเชื้อจะลดน้อยลง  ในพื้นที่ตำบลแสลงพันมีผู้ติดเชื้อโรคโควิด -19 เนื่องจากสถานการณ์ของโรคที่กำลังระบาดในพื้นที่ที่จะทำกิจกรรมของตัวแทนผู้ปฏิบัติงานเป็นไปได้ยาก แต่ผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ก็ทำการแบ่งงานและประชุมกันเพื่อหาวันที่จะลงพื้นที่ทำกิจกรรมกันอย่างระมัดระวังตัว เพื่อเป็นการเซฟความปลอดภัยของทีมงานที่ลงพื้นที่ ดิฉันพร้อมด้วยทีมผู้ปฏิบัติงานได้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์และป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค

1.การจัดทำโรงเรือนเพาะเห็ด

            ดิฉันพร้อมด้วยทีมผู้ปฏิบัติงานในโครงการได้ลงพื้นที่ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 เพื่อจัดทำโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้าที่บ้านบุก้านตง หมู่ 12 ร่วมกับชาวบ้านบ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ 16 ตำบลแสลงพัน  อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ มีชาวบ้านกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 คน และประชาชนที่สนใจจำนวน 10 คน  นอกจากนั้น ยังทีมผู้ปฏิบัติงานในโครงการจำนวน 18 คน เข้าร่วมในโครงการ  กิจกรรมที่ดำเนินการมีดังนี้

            -จัดทำโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า ที่บ้านบุก้านตง หมู่ 12

            -ปรับปรุง/ต่อเติมโรงเรือนให้มีความเหมาะสม แข็งแรง มั่นคง มีสภาพอากาศที่เหมาะสม

            -ประสานงานขอไม้ไผ่ ไม้ยูคาลิปตัส จากสมาชิกในชุมชนบ้านบุก้านตง และบ้านบุก้านตงพัฒนา

            -ประสานขอแรงงานจากทีมผู้ปฏิบัติงาน และสมาชิกในชุมชน

            -จัดทำและจัดวางก้อนเห็ดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อความสะดวกในดูแลและการเก็บผลผลิต

            -รับคำแนะนำจากวิทยากรการเพาะเห็ด จากคุณภัทร ภูมรา

            -บันทึกคำแนะนำจากวิทยากร และนำเผยแพร่แก่สมาชิกชุมชนผู้ดูแลโรงเรือนเห็ดเพื่อนำไปปฏิบัติให้ถูกต้อง

 

 

 

   

            ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ เป็นการร่วมแรงร่วมใจระหว่างผู้ปฏิบัติงานและสมาชิกในชุมชนในการสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า และรับคำแนะนำการดูแลเห็ดโดยตรงจากวิทยากรการเพาะเห็ด จากคุณภัทร ภูมรา ซึ่งเป็นการเสริมทักษะความรู้ในการดูแลเห็ด เมื่อเห็ดออกผลผลิต สามารถนำไปขายในชุมชม สร้างรายได้ให้กับกลุ่มต้นแบบ นอกจากนี้ยังสามารถนำเห็ดมาแปรรูปผลิตภัณฑ์ เป็นไส้กรอกเห็ดนางฟ้า แหนมเห็ดนางฟ้า  เพื่อเพิ่มแนวทางการต่อยอดของรายได้ให้ดีขึ้น

            ปัญหาที่พบระหว่างดำเนินกิจกรรม คือเนื่องจากปัญหาโรคโควิด -19 ระบาด  แนวทางแก้ไขการทำงาน คือแบ่งกลุ่มการทำงานให้มีขนาดเล็กลง ใช้เครือข่ายสมาชิกชุมชนใกล้เคียงช่วยกันทำงานภาคสนาม

            แนวทางการพัฒนาโรงเรือนเพาะเห็ดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ คือการสร้างความเข้มแข็ง การเอาใจใส่ผลิต ให้กับกลุ่มเป้าหมายโดยผู้ปฏิบัติงานต้องสร้างความมั่นใจให้แก่ชุมชน ด้วยการพัฒนาการแปรรูปผลิภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค และหาแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้แก่ชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจในชุมชนให้เกิดขึ้นเพื่อสร้างงานสร้างอาชีพ และเกิดรายได้ให้กับครัวเรือนและคนในชุมชนได้อย่างยั่งยืนตลอดไป 

 

 

 

 

 

 

 

2.การจัดทำบัญชีครัวเรือน

          แนะนำการทำบัญชีรายรับ รายจ่าย ให้กับโรงเรือนทั้ง 3 แหล่ง ได้แก่

1). กลุ่มเพาะเห็ดบ้านหนองตาดตามุ่ง มี 3 หมู่บ้านที่เข้าร่วม ได้แก่ บ้านหนองตาดตามุ่ง บ้านแสลงพัน และบ้านแสลงพันพัฒนา  

2).กลุ่มเพาะเห็ดบ้านบุขี้เหล็ก มี 3 หมู่บ้านที่เข้าร่วม ได้แก่ บ้านบุขี้เหล็ก บ้านบุขี้เหล็กใหม่ และบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา

3).กลุ่มเพาะเห็ดบ้านบุก้านตง มี 2 หมู่บ้านที่เข้าร่วม ได้แก่ บ้านบุก้านตง และบุก้านตงพัฒนา

            การทำบัญชีโรงเรือนเป็นการจดบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวันของโรงเรือน และสามารถนำข้อมูลมาวางแผนการใช้จ่ายเงินในอนาคตได้อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการออม การใช้จ่ายเงินอย่างประหยัดคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ดังนั้นการทำบัญชีของโรงเรือนมีความสำคัญดังนี้

-ทำให้ตนเองและสมาชิกในกลุ่มเพาะเห็ดทราบรายรับ รายจ่าย และเงินคงเหลือในแต่ละวัน

-นำข้อมูลการใช้จ่ายเงินภายในโรงเรือนมาจัดเรียงลำดับความสำคัญของรายจ่าย และวางแผนการใช้จ่ายเงิน โดยพิจารณาแต่ละรายการในแต่ละวันมีรายจ่ายใดที่มีความสำคัญมาก และรายจ่ายใดไม่จำเป็นให้ตัดออก เพื่อให้การใช้จ่ายเงินภายในโรงเรือนมีพอใช้และเหลือเก็บเพื่อการออมทรัพย์สำหรับใช้จ่ายสิ่งที่จำเป็นในอนาคต บัญชีครัวโรงเรือนถือเป็นส่วนสำคัญในการปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยยึดหลัก 3 ข้อคือ การพอประมาณ ถ้ารู้รายรับรายจ่าย ก็จะใช้แบบพอประมาณ แต่ มีเหตุผล รู้ว่ารายจ่ายใดจำเป็นไม่จำเป็น และเมื่อเหลือจากใช้จ่ายก็เก็บออม นั่นคือภูมิคุ้มกัน ที่เอาไว้คุ้มกันตัวเราและสมาชิกในกลุ่มเพาะเห็ด

      

 

 

 

 

 

ตัวอย่างบัญชีโรงเรือนกลุ่มเพาะเห็ดบ้านหนองตาดตามุ่ง

3). แนะนำการดูแล การรักษา การจำหน่าย และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด

            โดยธรรมชาติในการเจริญเติบโตของเห็ดนางฟ้า นับตั้งแต่เกิดดอก จนพร้อมที่จะเก็บได้ จะใช้เวลาประมาณ 5 – 7 วัน เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมผลผลิตและคุณภาพของดอกเห็ดจะดี ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

    1. อุณหภูมิ
    2. อากาศ
    3. ความชื้น
    4. แสง
    5. ความสะอาด

การเปิดดอก : เมื่อเชื้อเห็ดเดินเต็มถุงแล้ว ให้ถอดสำลีแล้วแคะเอาเมล็ดข้าวหน้าก้อนเชื้อออก จากนั้นวางก้อนเชื้อเห็ดในแนวนอน  ทำการรดน้ำบนก้อนเห็ดและที่พื้นโรงเรือนทุกเช้า-เย็น โดยในวันที่มีอากาศชื้นหรือฝนตกอาจจะไม่ต้องรดน้ำก็ได้ ระยะเวลาประมาณ 3-5 วันเห็ดก็จะเริ่มออกดอก

การให้น้ำ : เมื่อเห็ดเริ่มออกดอกให้รดน้ำโดยสเปรย์น้ำเป็นฝอยๆ ให้ถูกดอกเห็ดและก้อนเชื้อ แต่ควรระมัดระวังอย่าให้เข้าไปในถุงก้อนเชื้อเพราะว่าจะทำให้ก้อนเชื้อเห็ดเน่าได้ ทำการรดน้ำให้รดน้ำทุกเช้า-เย็น ทุกวัน

การเก็บดอก : เมื่อเห็ดเริ่มแทงดอกใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน จึงสามารถเก็บดอกเห็ดได้ โดยวิธีการใช้มือจับโคนดอกเห็ดทั้งหมดแล้วดึงออกทั้งช่อ อีกประมาณ 7-10 วันเห็ดจะเริ่มออกดอกอีกครั้งจึงจะสามารถเก็บอีกได้ เห็ดนางฟ้า-นางรมสามารถเก็บดอกเห็ดได้ในระยะเวลา 5 เดือน มีผลผลิตต่อก้อนเชื้ออยู่ประมาณ 0.25-0.4 ขีดต่อก้อน

4). จัดทำคลิปวีดีโอแนะนำการเพาะเห็ดเพื่อสร้างอาชีพ

            ลิงก์ไฟล์วิดีโอปฏิบัติงาน HS06-EP.8 ต.แสลงพัน ประจำเดือนสิงหาคม 2564

https://youtu.be/YlFG42Z8wG8

5). จัดทำสรุปผลการดำเนินงานตามแบบ 01,02,06 ลงในแพลตฟอร์มของมหาวิทยาลัย ในรอบการประเมินครั้งที่ 1 (มีนาคม –กรกฎาคม 2564)

            เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2564 ได้รับมอบหมายงานจากอาจารย์ประจำตำบล ให้จัดทำรายงานสรุปภาพรวมการดำเนินการไตรมาสที่ 2  ดิฉันและทีมผู้ปฏิบัติงานในโครงการ U2T ได้ทำการประชุมหารือผ่านทางออนไลน์ เพื่อเตรียมข้อมูลตามแบบ 01, 02 และ 06 ในตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ แนวทางแก้ไข และส่งเสริมพัฒนาอาชีพประชาชน

            จากการที่ดิฉันได้ลงพื้นที่นั้นทำให้ทราบถึงปัญหาต่างๆมากมายในการทำงาน แม้ว่าสถานการณ์โรคโควิด-19 แพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องก็ตาม ซึ่งบางชุมชนนั้นยังขาดการให้ความร่วมมือกันในการทำงานเป็นทีมหรือทำงานเป็นกลุ่มเท่าที่ควร ขาดการเอาใส่ใจในการพัฒนาอาชีพของตนเอง หากชุมชนหรือกลุ่มบุคคลใดไม่สามารถที่รวมกลุ่มกันได้ควรมีการออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนนั้นๆ อาจจะส่งเสริมในรูปแบบที่ไม่ยากมากหนัก เช่น การทำน้ำหมักชีวภาพจุลินทรีย์ การให้เชื้อเห็ดรายครัวเรือน เป็นต้น 

            สำหรับกลุ่มสมาชิกที่มีความเข้มแข็ง มีความมุ่งมั่นรวมกลุ่มกันได้ก็จะมีการพัฒนาต่อยอดเพื่อสนับสนุนปัจจัยการผลิต วัสดุอุปกรณ์ต่างให้อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างเป็นโรงเรือนต้นแบบให้กับชุมชน การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การจำหน่ายสินค้า การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่มโรงเรือน รวมถึงการต่อยอดเป็นสินค้าชุมชนสามารถจำหน่ายได้ มีระบบด้านการตลาด สามารถสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ได้ ทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน และสร้างรายได้สู่ชุมชน

สรุปการปฏิบัติประจำเดือนสิงหาคม

            เป็นช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ที่รุนแรงมาก ในพื้นที่ตำบลแสลงพันมีผู้ติดเชื้อและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเดินทางเข้ามาในพื้นที่จำนวนมากจึงทำให้เป็นอุปสรรคในการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ในบางหมู่บ้านมีความเข้มงวดในการควบคุมดูแลผู้ที่เข้าออกหมู่บ้าน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานและเพื่อการปฏิบัติให้เป็นไปตามเป้าหมายผู้ปฏิบัติงานต้องติดตามข่าวสารและปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการติดเชื้อของโรคอย่างเข้มงวด

 

ภาพกิจกรรม

 

 

 

 

 

 

 

แคะเอาเมล็ดข้าวหน้าก้อนเชื้อ ณ บ้านบุขี้เหล็ก

 

 

 

 

โรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า ณ บ้านบุก้านตง

 

วิดีโอประจำเดือนสิงหาคม

 

อื่นๆ

เมนู