โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย
เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
หมู่บ้านแสลงพันพัฒนา ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ประจำเดือน สิงหาคม 2564
หลักสูตร HS06- การสร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
ข้าพเจ้านางสาว ศิรินันท์ ฝาสูงเนิน ประเภท บัณฑิตจบใหม่ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ พื้นที่รับผิดชอบ หมู่ 14 บ้านแสลงพันพัฒนา ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ทั้งนี้ในเดือนสิงหาคม ข้าพเจ้าและทีมงานทุกท่านพร้อมด้วยอาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการนัดประชุมวางแผนเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคมและ 8 สิงหาคม 2564 เป็นการประชุมทั้งแบบออนไลน์และออนไซต์ เพื่อวางแผนในการทำโรงเพาะเห็ดนางฟ้าให้กับทีมสมาชิกบ้านบุก้านตง หมู่ 12 และบุก้านตงพัฒนา หมู่ 16 ทั้งเฝ้าระวังป้องกันโควิด 19 ในชุมชน กิจกรรมที่ดำเนินการประจำเดือนสิงหาคมมีดังนี้
- ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันจัดเตรียมทำโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า ในการทำกิจกรรมในวันที่ 4 สิงหาคม 2564 ให้กับทีมสมาชิกบ้านบุก้านตง หมู่ 12 และบุก้านตงพัฒนา หมู่ 16 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ มีชาวบ้านกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 คน และประชาชนที่สนใจจำนวน 10 คน นอกจากนั้น ยังทีมผู้จ้างงานในโครงการจำนวน 18 คน เข้าร่วมในโครงการ กิจกรรมที่ดำเนินการมีดังนี้
– ได้ร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติติงานประสานขอไม้ไผ่ ไม้ยูคาลิปตัส จากสมาชิกชุมชนในการต่อเติม ปรับปรุงโรงเรือนให้มีความเหมาะสม มั่นคง โรงเรือนเพาะเห็ดมีสภาพอากาศที่เหมาะสมให้เหมาะแก่การเพาะเห็ด
-ร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงาน สมาชิกในชุมชนจัดทำและจัดวางก้อนเห็ดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อความสะดวก
ในดูแลและการเก็บผลผลิต
-รับฟังคำแนะนำ วิธีการดูแล วิธีการเก็บจากวิทยากรที่นำเห็ดมาส่งคือ นายภัทร ภูมรา จาก สวนเห็ดครูอ๋อยและนำเผยแพร่แก่สมาชิกชุมชนผู้ดูแลโรงเรือนเห็ดเพื่อนำไปปฏิบัติให้ถูกต้อง
2) แนะนำการจัดทำบัญชีครัวเรือน (รายรับ รายจ่าย) สำหรับกลุ่มเพาะเห็ดบ้านหนองตาดตามุ่ง (3 หมู่บ้าน) ได้แก่ บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ 5 บ้านแสลงพัน หมู่ 7 บ้านแสลงพันพัฒนา หมู่ 14 ลงเห็ด 1000 ก้อน กลุ่มเพาะเห็ดบ้านบุขี้เหล็ก (3 หมู่บ้าน) ได้แก่ บ้านบุขี้เหล็ก บ้านบุขี้เหล็กใหม่ บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา ลงเห็ด 1000 ก้อนและกลุ่มเพาะเห็ดบ้านบุก้านตง (2 หมู่บ้าน) ได้แก่ บ้านบุก้านตง หมู่ 12 และบ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ 16 ลงเห็ด 800 ก้อน ทั้งนี้ขอแสดงรายรับรายจ่ายของโรงเรือนบ้านหนองตาดตามุ่ง
รายรับ-รายจ่าย โรงเรือนบ้านหนองตาดตามุ่ง
|
||
วันที่ | กิโลกรัม | บาท |
16 กค. 64 | 0.7 | 60 |
17 กค. 64 | 0.5 | 40 |
18 กค. 64 | 3 | 260 |
19 กค. 64 | 3 | 240 |
20 กค. 64 | 2 | 160 |
21 กค 64 | 0.7 | 60 |
27 กค. 64 | 1.8 | 144 |
28 กค. 64 | 1.2 | 96 |
30 กค. 64 | 3.2 | 284 |
5 สค. 64 | 0.5 | 40 |
6 สค. 64 | 0.25 | 20 |
7 สค. 64 | 0.5 | 40 |
12 สค.64 | 0.5 | 40 |
13 สค. 64 | 1.4 | 112 |
14 สค. 64 | 8.8 | 850 |
16 สค. 64 | 6 | 490 |
รวม | 46.25 | 3946 |
ซื้อถุงหิ้ว | 35 | |
คงเหลือ | 3911 |
3) ได้ทำการแนะนำการดูแล การรักษา การจำหน่าย และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดให้กับสมาชิกในกลุ่มตามแบบที่ได้รับฟังจากวิทยากรที่มาเผยแพร่ความรู้ให้
4) ร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติติงานจัดทำคลิปวีดีโอแนะนำการเพาะเห็ดเพื่อสร้างอาชีพและจัดทำสรุปผล การดำเนินงานตามแบบ 01,02,06 ลงในแพลตฟอร์มของมหาวิทยาลัย ในรอบการประเมินครั้งที่ 1 (มีนาคม –กรกฎาคม 2564)
จัดทำโรงเพาะเห็ดเพิ่มเติมร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงานที่บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ 5 ในการล้อมผ้าสแลนและล้อมไพรหญ้าปิดแสงเพิ่มเติมรอบโรงเรือนเพื่อให้สภาพอากาศในโรงเรือนเหมาะสมแก่การเพาะเห็ด ในบ่ายของวันที่ 4 สิงหาคม 2564 กิจกรรมที่ดำเนินการมีดังนี้
– ปิดล้อมผ้าสแลนและไพรหญ้ารอบโรงเรือน-ทำการแยกเชื้อเห็ดที่เชื้อเดินยังไม่เต็มแยกกับเห็ดที่เชื้อเดินเต็มแล้วให้เป็นระเบียบ
– ทำการแคะเปิดหน้าเห็ดนางฟ้าที่เชื้อเดินเต็มถุงหมดแล้วให้เรียบร้อยเตรียมรดน้ำออกดอกเก็บผลผลิตต่อไป
ทีมผู้ปฏิบัติงานและสมาชิกในชุมชนได้ทำการแคะเปิดหน้าเห็ดเชื้อที่เดินเต็มถุงแล้วเพิ่มเติมที่ บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา
ผลผลิตที่เกิดขึ้น….
– เกิดจากความร่วมมือ ความเอาใจใส่ดูแลเห็ดของสมาชิกในชุมชนจึงเกิดเกิดเห็ดออกดอกเก็บผลผลิต จำนวนมาก
– ด้วยผลผลิตที่มากขึ้น การจ่ายหน่ายเห็ดที่เพิ่มขึ้นทำให้สมาชิกในชุมชนมีการทำรายรับรายจ่ายกันในสมาชิกโดยการจดบันทึกลงสมุดบัญชีกลุ่ม
– การวิธีการดูแลของสมาชิกในกลุ่มคือการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันในกลุ่มทำหน้าที่กันดูแลโรงเรือนเห็ด รดน้ำ เก็บผลผลิตและช่วยกันจำหน่ายเห็ด
– แนวทางต่อยอดของสมาชิกในชุมชนคือการนำผลผลิตที่มากขึ้นไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆที่สร้างรายได้ที่มากขึ้นมาบริหารจัดการในสมาชิกชุมชน
ข้อเสนอแนะอื่นๆ
1.ติดตามงานสม่ำเสมอเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่รับผิดชอบ
2.ยอมรับและรับฟังข้อเสนอแนะของสมาชิกในทีมเพื่อความสามัคคีของทีมผู้ปฏิบัติงาน
3.สร้างความเชื่อมั่นและเป็นหนึ่งอันเดียวกันให้กับสมาชิกในชุมชนว่าจะประสบผลสำเร็จ