บทความประจำเดือนสิงหาคม 2564
หลักสูตร: HS06 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตําบลแบบบูรณาการ 1 ตําบล 1 มหาวิทยาลัย จาก มหาวิทยาลัยสูตรตําบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ประจําเดือน สิงหาคม 2564
ข้าพเจ้า นางศุภาณัน ริชาร์ดส ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทประชาชน รับผิดชอบการดําเนินงานในเขตพื้นที่บ้านหนองตาดตามุ่ง ตําบลแสลงพัน อําเภอลําปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ในสถานการณ์โควิด -19 กำลังแพร่กระจายไปทั่วทุกจังหวัด อาจารย์ประจำหลักสูตรจึงได้กำชับให้ระมัดระวังในการลงพื้นที่ใช้ชุมชนให้น้อยลง ข้าพเจ้าและทีมงานจึงได้ติดตามกลุ่มอาสาสมัครในแต่ละชุมชน เพื่อทราบการดูแลเห็ดและโรงเรือนเห็ดโดยการให้ถ่ายคลิปสั้นๆมาและรูปภาพมาให้ทางไลน์ ซึ่งอาสาสมัครได้ให้ความร่วมมือดีมากรวมทั้งได้จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย จากการขายเห็ดนางฟ้าโดยกลุ่มอาสาสมัครได้ขายให้ชาวบ้านในชุมชนตัวเองและชุมชนใกล้เคียงกัในราคากิโลกรัมละ 80 บาท ผลปรากฏว่าผลผลิตไม่พอจำหน่ายเพราะจากการเปิดหน้าเห็ดครั้งแรกจำนวน 250 ก้อน แรก อีก 750 ก้อนเชื้อเห็ดยังเดินไม่เต็มถุงจึงได้เก็บบ่มไว้ในโรงเรือนเดียวกัน จากการติดตามการทำงานของกลุ่มอาสาสมัครในชุมชนที่รับผิดชอบอยู่ทำให้ทราบว่า น.ส.สุพรรณี จันทะเมนชัย ได้ทำบัญชีรายรับรายจ่ายประจำโรงเรือนบ้านหนองตาดตามุ่ง ซึ่งมาสมาชิกทั้งหมด 3 หมู่บ้านที่รับผิดชอบดูและโรงเรือนด้วยกันโดยมีบ้านหนองตามุ่ง หมู่ 5 บ้านแสลงพัน หมู่ 7 และบ้านแสลงพันพัฒนา หมู่ 14 ซึ่งอาสาสมัครในกลุ่มได้ผลัดกันมาดูแลตามความสะดวกของแต่ละคน และราคาของผลิตภัณฑ์ไม่สูงเท่าราคาในท้องตลาด (ราคาในท้องตลาดจำน่ายกิโลกรัมละ 100 บาท) การที่อาสาสมัครจำหน่ายให้คนในชุมชนในราคากิโลกรัมละ 80 บาท ถือเป็นการช่วยเหลือคนในชุมชนได้ซื้อเห็ดนางฟ้าในราคาทคาถูกลง แถมด้วยความสะดวกสบายในการซื้อผลิตภัณฑ์เพราะอาสาสมัครได้แพ็คใส่ถุงเอาไปส่งถึงบ้านนับได้ว่าเป็นการลดภาวะความเสี่ยงการติดเชื้อโรคระบาดในชุมชนได้อย่างดี
ปัญหาที่พบในการดูแลเห็ดคือ มีแมลงหวี่มาตอมก้อนเชื้อเห็ด สน ส่วนปัญกาหน้าเห็ดแห้งข้าพเจ้าแนะนำให้รดน้ำเช้าและเย็น และเวลาเห็ดออกดอกเล็กๆให้ใช้ฮอร์โมนไข่ 1 ช้อนชาผสมน้ำเปล่าต่อขวดป๊อกกี้ฉีดพ่นเพื่อให้ดอกเห็ดเจริญเติบโตได้ดี ส่วนปัญหาโรงเรือนให้ค่อยๆแก้ไขไปตามความเหมาะสม
ในด้านการดูแลเห็ดให้หมั่นรดน้ำผ่านก้อนเเห็ดทั้งเช้าและเย็น ให้หคอยดูแลไม่ให้แมลงเข้ามารบกวน คอยพลิกก้อนเห็ดให้ได้เดือนละครั้งเพื่อกระตุ้นเชื้อให้เดินและออกดอกไว ส่วนการจำหน่ายอาสาสมัครกำหนดราคาเองราคากิโลกรัมละ 80 บาท โดยจำหน่ายให้แก่เพื่อนบ้านในชุมชน ส่วนการแปรรูปจากเหล็กข้าพเจ้าได้เรียนรู้อละฝีกทำหลายเมนู ถ้าสถานการณ์โรคระบาดดีขึ้นข้าพเจ้าจะถ่ายทอดให้กลุ่มอาสาสมัครอย่างละเอียด ในขั้นตอนต่อไป
ข้าพเจ้าได้ร่วมประชุมหารือเพื่อจัดทำสรุปผลการดำเนินงานตามแบบ 01 02 และ 06 ร่วมกับทีมผู้จ้างงานเพื่อแบ่งหน้าทึ่ความรับผิดชอบต่อหัวข้อที่กำหนดไว้ เพื่อลงในแพลตฟอร์มของมหาวิทยาลัย ในรอบการประเมินครั้งที่ 1 (มีนาคม -กรกฎาคม 2564)
วัน ที่ 4 สิงหาคม 2564 โรงเรือนที่บ้านบุก้านตง หมู่ 12 และบ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ 16 ได้มีความพร้อมี่จะเอาก้อนเห็ดลงอีก 1000 ก้อน ข้าพเจัาและทีมงานจึงไดพร้อมใจและพร้อมกำลังลงพื้นที่ช่วยอาสาสมัครในชุมชนบุก้านตงอรกครั้งโดยโรงเรือนนี้เกิดขึ้นจากกลุ่มอาสาสมัครในชุมชน 2 หมู่บ้าน มีสมาชิก 10 คน ได้ร่วมแรงแข็งขันก่อสร้างโรงเรือนจนแล้วเสร็จ และพร้อมด้วยทีมผู้จ้างงานจำนวน 18 คน ของตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีกิจกรรมที่ได้ดำเนินการดังต่อไปนี้ ช่วยแก้ไขปรับปรุง ต่อเติมจุดที่บกพร่องและเสริมจุดที่ชาดบางจุดให้โรงเรือนมีความเหมาะสม มั่นคง และมีสภาพอากาศที่เหมามต่อการออกดอกของเห็ด พร้อมทั้งจัดเรียงก้อนเห็ดและแคะหน้าก้อนเห็ดจนแล้วเสร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ และรับฟังคำแนะนำจากวิทยากร พร้อมทั้งบันทึกคำแนะนำจากวิทยากร และนำเผยแพร่แก่สมาชิกชุมชนผู้ดูแลโรงเรือนเห็ดเพื่อนำไปปฏิบัติให้ถูกต้อง
เสร็จสิ้นภารกิจที่โรงเรือนบ้านบุบ้านตงข้าพเจ้าและทีมงานได้ไปต่อที่โรงเรือนบ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ 5 เพื่อต่อเติม ปรับปรุงแก้ไขโรงเรือนให้มิดชิดกว่าเดิม พร้อมทั้งได้เช็คก้อนเชื้อเห็ดที่บ่มไว้ 750 ก้อน ว่าพร้อมที่จะทำการเปิดดอกได้หรือยัง สรุปคือก้อนเชื้อเดินเต็มถุงจึงได้ทำการเปิดหน้าเห็ดและแคะก้อนเชื้อเพื่อเตรียมการให้เห็ดได้ออกดอกเต็มที่ ข้าพเจ้าและทีมงานต้องขอขอบคุณ นายวีระชัย แซกรัมย์ ผู้ใหญ่บ้านหนองตาดตามุ่ง ซึ่งเป็นผู้ดูแลหลักของโรงเรือนแห่งนี้ รวมถึงภริยาผู้ใหญ่บ้านและน.ส. สุพรรณี จันทะเมนชัย ที่ได้ให้ความอำนวยสะดวกทุกครั้งที่ได้ลงปฏิบัติงานในพื้นที่ และข้าพเจ้าพร้อมทีมผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมถ่ายรูปกับอาสาสมัครใชขุมชนแล้วแยกย้ายกันกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ
ผลผลิตที่เกิดขึ้น อาสาสมัครเก็บเห็ดได้จำนวน 46.25 กิโลกรัม โดยเกิดจากความร่วมมือของอาสาสมัครในชุมชนทึ่ช่วยกันดูแลและช่วยกันเก็บเห็ดไปจำหน่ายในชุมชนของตนเองและชุมชนใกล้เคียง แต่จากการสอบถามอาสาสมัครบอกว่าส่วนมากลูกค้าจะมาสั่งจองไว้ล่วงหน้า จึงทำให้จำหน่ายเฟ็ดหมดทุกครั้ง
แนวทางต่อยอดผลิตภัณฑ์ อาสาสมัครจะเก็บสะสมเงินที่ขายเห็ดได้ไว้ซื้อก้อนเชื้อเห็ดมาเพิ่มเพื่อสร้างยอดขายให้สูงขึ้น และจะยอดการแปรรูปเห็ดเป็นผลิตภัณฑ์ให้หลากหลาย เพื่อให้มีผลิตภัณฑ์หลากหลายและตรงความต้องการของลูกค้า และป้องกันไม่ให้เห็ดสดล้นตลาดในอนาคตข้างหน้า
ส่วนการจัดทำบัญชีครัวเรือนข้าพเจ้าแนะนำให้เขียนลงสมุดเป็นรายวันที่ขายได้ เช่นจำนวนกิโลกรัม ขายได้เป็นเงินกี่บาท ดังนี้
รายรับ-รายจ่าย โรงเรือนบ้านหนองตาดตามุ่ง
จำนวนก่อนเชื้อเห็ด 1000 ก้อน
วันที่ กิโลกรัม บาท
16 กค. 64 0.7 60
17 กค. 64 0.5 40
18 กค. 64 3 260
19 กค. 64 3 240
20 กค. 64 2 160
21 กค 64 0.7 60
27 กค. 64 1.8 144
28 กค. 64 1.2 96
30 กค. 64 3.2 284
5 สค. 64 0.5 40
6 สค. 64 0.25 20
7 สค. 64 0.5 40
12 สค.64 0.5 40
13 สค. 64 1.4 112
14 สค. 64 8.8 850
15 สค. 64 12.2 1010
16 สค. 64 6 490
รวม 46.25 3946
ซื้อถุงหิ้ว 35
คงเหลือ 3911
สุดท้ายนี้ข้าพเจ้าต้องขอบคุณทีมอาสาสมัครทุกท่าน และทีมผู้จ้างงานทุกท่านที่ได้ให้ความร่วมมืออย่างเข้มแข็ง และคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่านทีได้ช่วยผลักดันให้เกิดกิจกรรมดีๆต่อชุมชนจนก่อให้เกิดรายได้ในกลุ่มอาสามัครขึ้นมา ข้าพเจ้าหวังว่าคนในชุมชนจะสามารถพาครัวเรือนและชุมชนให้พี่งพาตนเองได้อย่างมั่นคงอย่างภาคภูมิใจ
การติดตามอาสาสมัครดูแลโรงเรือนเพาะเห็ดบ้านหนองตาดตามุ่ง และการเก็บผลผลิต
กิจกรรมสร้างโรงเรือนและลงก่อนเชื้อเห็ด ณ บ้านบุก้านตงและบุกบ้านตงพัฒนา
กิจกรรมปรับปรุงแก้ไขโรงเรือนบ้านหนองตาดตามุ่ง
การฝึกปฏิบัติการแปรรูปไส้กรอกเห็ดวุ้นเส้น ด้วยตัวเองจำนวนฝึก 2 ครั้ง
คลิปวีดีโอประจำเดือนสิงหาคม 2564