โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
หลักสูตร HS06-การสร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
กิจกรรมในการลงพื้นที่ในเดือนกันยายนนี้ ทางทีมงานได้ร่วมกันประชุมเพื่ออกความเห็นถึงกิจกรรมที่จะทำ ได้ความเห็นว่าให้ทำกิจกรรมการแปรรูปเห็ดที่ได้จากการลงมือทำโรงเรือนจากผลงานที่ผ่านมา จึงก่อให้เกิดกิจกรรมพัฒนาชุมชน ดังนี้
โดยข้าพเจ้านางสาวดวงฤทัย อัมราสกุลสมบัติ ประเภทกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ประจำบ้านบุขี้เหล็ก หมู่ที่ 6 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่ชุมชนร่วมกับผู้ปฏิบัติงาน
วันที่ 30 สิงหาคม 2564 ลงพื้นที่อบรมการแปรรูปเห็ด ณ ศาลากลางหมู่บ้านบ้านแสลงพัน หมู่ที่ 7 โดยมีคณะผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 13 คนและตัวแทนชาวบ้านบ้านแสลงพัน และบ้านหนองตาดตามุ่ง ร่วมลงมือปฏิบัติงานจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการทำไส้กรอกเห็ดวุ้นเส้น
ไส้กรอกเห็ดวุ้นเส้น
วัตถุดิบ
1.เห็ดฉีกฝอยนึ่งสุก 600 กรัม
2.หมูบดปนมัน 400 กรัม
3.กระเทียม 50 กรัม
4.พริกไทยเม็ด 10 กรัม
5.รากผักชี 3 ราก
6.ผงปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะ
7.เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
8.ซอสหอย 2 ช้อนโต๊ะ
9.ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
10.น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
11.วุ้นเส้นตัด 500 กรัม
12.ไส้หมูสำหรับยัด 10 กรัม
13.เชือกมัดไส้หรอก 1 ม้วน
วิธีทำ
1.ฉีกเห็ดเป็นชิ้นเล็ก ล้างให้สะอาดนำไปนึ่งสุก 10 นาที ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วบีบน้ำออกพอหมาดด้วยผ้าขาวบาง
2.นำพริกไทย รากผักชี และกระเทียมโขลกพอละเอียด
3.นำหมูบดไปคลุกเคล้ากับเครื่องปรุงทั้งหมด คลุกเคล้าประมาณ 5 นาที ชิมรสตามใจชอบแล้วยัดใส่ไส้ที่เตรียมไว้แล้วมัดเป็นท่อนๆ
4.ทำความสะอาดไส้กรอกแล้วผึ่งลมให้แห้ง ประมาณ 3-4 ชั่วโมง สามารถนำมาทอดหรือย่างไดี
หลังจากนั้นคณะผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ที่ 5 เพื่อติดตามดูแลเห็ด และนำเห็ดที่ได้ตัดแต่งนำใส่ถุงเพื่อนำไปจำหน่าย พร้อมทั้งให้ความรู้การเพิ่มจำนวนเห็ดให้ได้ผลผลิต โดยให้บำรุงด้วยฮอร์โมนไข่ เป็นต้น
เดินทางไปโรงเรือนเพาะเห็ดหมู่บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่ 17 เพื่อติดตามดูแลความก้าวหน้าการจัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย พบว่าตัวแทนดูแลโรงเรือนได้ทำการจดบันทึกไว้ ดังนี้
21 สิงหาคม- 31 สิงหาคม 2564
วัน เดือน ปี จำนวนถุง จำนวนเงิน
21 |
1 |
20 |
22 |
– |
– |
23 |
3 |
60 |
24 |
2 |
40 |
25 |
2 |
40 |
26 |
5 |
100 |
27 |
3 |
60 |
28 |
7 |
140 |
29 |
9 |
180 |
30 |
2 |
40 |
31 |
– |
– |
รวม 34 680 |
พร้อมทั้งช่วยกันเก็บเห็ดและตัดแต่งเห็ดนำใส่ถุงเพื่อนำไปจำหน่ายในชุมชน
วันที่ 11 กันยายน 2564 ลงพื้นที่ ณ บ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ที่ 15 เพื่อติดตามดูแลก้อนเห็ด พร้อมอบรมการทำน้ำพริกปลาร้าเห็ดอินเตอร์
น้ำพริกปลาร้าเห็ดอินเตอร์
ส่วนผสม
พริกขี้หนูแห้ง 200 กรัม
หอมแดง 150 กรัม
กระเทียม 150 กรัม
ข่าซอย 20 กรัม
ตะไคร้ซอย 20 กรัม
ใบมะกรูดซอย 20 กรัม
น้ำมะขามเปียก 50 กรัม
เนื้อปลาร้า 200 กรัม
น้ำตาลทราย 100 กรัม
เห็ดย่างฉีก
วิธีทำ
1.คั่วกระเทียมให้สุกแล้วโขลกละเอียด พักไว้
2.คั่วหอมแดงให้สุกแล้วโขลกละเอียด พักไว้
3.คั่วข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด แล้วโขลกละเอียด พักไว้
4.นำปลาร้าใส่กระทะตั้งไฟอ่อนผัดให้หอมและเดือดจึงใส่น้ำมะขามเปียกและน้ำตาลทราย ผัดให้ส่วนผสมเข้ากันดี
5.ใส่หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ ข่า และใบมะกรูด ที่เตรียมไว้ ผัดให้เข้ากัน ใส่เห็ดย่างที่ฉีกไว้พอส่วนผสมเดือดจึงใส่พริกป่น ผัดให้เข้ากันดี ตักขึ้นใส่ภาชนะ
เทคนิคและข้อเสนอแนะ
1.ควรเลือกพริกขี้หนูแห้งจินดา เพราะจะมีสีสวยและไม่เผ็ดมาก
2.น้ำมะขามเปียก : ใช้อัตราส่วน มะขามเปียก 1 ส่วน : น้ำ 4 ส่วน
3.เลือกซื้อปลาร้าชนิดเนื้อ จะไม่มีก้าง สามารถนำมาปรุงน้ำพริกได้โดยไม่ต้องต้ม
4.หั่น ซอย สับ หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ ใบมะเกรูด ข่า ควรเตรียมให้แต่ละชนิดมีขนาดชิ้นใกล้เคียงกัน เมื่อนำไปคั่วจะได้สุกเหลืองในเวลาเดียวกันทุกชิ้น
5.การผัดน้ำพริก ควรใช้ไฟอ่อน
6.เก็บน้ำพริกใส่ในภาชนะมีฝาปิด เมื่อเย็นสนิท จะเก็บไว้ได้นาน
จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ พบว่าชาวบ้านในชุมชนร่วมกันดูแลติดตามเห็ดอยู่ตลอด ช่วยกันเก็บเพื่อนำไปจำหน่าย มีการจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายทุกๆเดือนทำให้ทราบถึงรายได้ที่ได้รับในแต่ละครั้ง และนำความรู้ที่ได้จากการอบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดไปทำไว้รับประทานภายในครอบครัว และสามารถนำไปจำหน่ายแจกจ่ายให้ชาวบ้านในชุมชนได้รับประทาน อีกทั้งจากการลงพื้นที่พบว่า เนื่องจากสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ส่งผลให้จำนวนเห็ดมีจำนวนไม่มากพอ จึงได้เสนอแนะ ให้มีการรดน้ำ/คุมอุณหภูมิ และรดด้วยฮอร์โมนไข่ เพื่อช่วยบำรุง และเพิ่มผลผลิตให้มากพอต่อความต้องการ หลังจากลงพื้นที่ทำกิจกรรมเรียบร้อยได้มีการเข้าประชุมกับอาจารย์ประจำโครงการเพื่อวางแผนงานที่จะทำในครั้งถัดไป โดยการหาข้อมูลทั่วไปในชุมชน ประวัติชุมชน เป็นต้นเพื่อทำเป็นโครงการประจำตำบล นำไปจัดทำรูปเล่มเพื่อมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมอบหมายงานให้ทำจัดทำเพจนำเสนอสินค้าและผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม เพื่อใช้ในการพัฒนาเป็นตลาดออนไลน์