1.บริบททั่วไปของชุมชน
เนื่องจากในฤดูกาลเพาะปลูกในชุมชนบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา ได้มีการทำเกษตรกรรม หว่านปุ๋ย เพาะปลูกและกำจัดวัชพืชในนาข้าว ซึ่งการทำนาเป็นอาชีพหลักของชุมชน นอกจากนี้ยังมีการปลูกพืชผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์ ควบคู่กันไปด้วย นอกจากนี้ยังมีสถานการณ์โรค covid-19 ที่ยังแพร่ระบาดอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ ทำให้ชุมชนมีการเฝ้าระวังสถานการณ์และตื่นตัวในการเข้า ออกของประชาชนในชุมชน ซึ่งทางผู้ปฏิบัติการและกลุ่มของผู้ปฏิบัติการได้เข้าไปติดตามความเคลื่อนไหวและบัญชีรายรับ รายจ่ายของโรงเพาะเห็ดที่ทางโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (U2T) ได้มอบให้ทางชุมชนเพื่อสร้างรายได้และสร้างชีพให้กับชุมชนบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา
- กิจกรรมการส่งเสริมตลาดและการท่องเที่ยวบนฐานของผลิตภัณฑ์ชุมชน
เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564 ได้มีการจัดกิจกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์และติดตามโรงเพาะเห็ดของซึ่งเป็นการวมกลุ่มของชุมชนบ้านหนองตาดตามุ่ง บ้านแสลงพัน และบ้านแสลงพันพัฒนา โดยกิจกรรมมนี้ได้มีการจัดขึ้นที่ ศาลากลางหมู่บ้านบ้านแสลงพัน และประชานในชุมชนบ้านแสลงพันและชุมชนใกล้เคียงให้ความสนใจเป็นอย่างมาก หมู่ที่ 7 โดยมีกิจกรรมดังนี้
2.1การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดนางฟ้าที่เพาะในโรงเพาะเห็ดของชุมชนบ้านหนองตาดตามุ่ง โดยการแปรรูปเป็นไส้กรอกเห็ดวุ้นเส้น โดยมีวิธีทำดังนี้
ไส้กรอกเห็ดวุ้นเส้น
วัตถุดิบ
1.เห็ดฉีกฝอยนึ่งสุก 600 กรัม
2.หมูบดปนมัน 400 กรัม
3.กระเทียม 50 กรัม
4.พริกไทยเม็ด 10 กรัม
5.รากผักชี 3 ราก
6.ผงปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะ
7.เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
8.ซอสหอย 2 ช้อนโต๊ะ
9.ซีอิ้วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
10.น้ำตาลทาย 2 ช้อนโต๊ะ
11.วุ้นเส้นสด 500 กรัม
12.ไส้หมูสำหรับยัด 10 กรัม
13.เชือกมัดไส้หรอก 1 ม้วน
วิธีทำ
1.ฉีกเห็ดเป็นชิ้นเล็ก ล้างให้สะอาดนำไปนึ่งสุก 10 นาที ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วบีบน้ำออกพอหมาดด้วยผ้าชาวบาง
2.นำพริกไทย รากผักชี และกระเทียมโขลกพอละเอียด
3.นำหมูบดไปตลุกเค้ากับเครื่องปรุงทั้งหมด คลุกเคล้าประมาณ 5 นาที ชิมรสตามใจชอบแล้วยัดไส้ไส้ที่เตรียมไว้แล้วมัดด้วยเชือกเป็นท่อนๆ
4.ทำความสะอาดไส้กรอกแล้วผึ่งลมให้แห้ง ประมาณ 3-4 ชั่วโมง สามารถนำมาทอดหรือย่างได้
2.2 วันที่ 30 สิงหาคม 2564 เวลา 13.00 น. ได้มีการเดินทางไปยังที่ว่าการผู้ใหญ่บ้านหนองตาดตามุ่งเพื่อติดตามโรงเพาะเห็ดเพื่อติดตามความก้าวหน้าการดูแล การเก็บเห็ด การบรรจุ และการจัดจำหน่ายของอาสาสมัคร พร้อมทั้งการจดบัญชีรายรับรายจ่ายของโรงเพาะเห็ด โดยจำหน่ายในราคา 2 ขีด ราคา 20 บาท ครึ่งกิโลกรัม ราคา 40 บาท ซึ่งรายได้ในการจำหน่ายจะจดลงบัญชีของโรงเพาะเห็ด
2.3 ติดตามความก้าวหน้าของกลุ่มโรงเรือนเพาะเห็ดบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา
เวลา14.00-16.00น. ข้าพเจ้าพร้อมด้วยทีมผู้ปฏิบัติงานได้เดินทางไปติดตามความก้าวหน้าของโรงเพาะเห็ด ติดตามผลการดำเนินโครงการของกลุ่มโรงเรือนเพาะเห็ดบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา เช่นบัญชีรายการจำหน่ายเห็ด การจดบัญชีรายรับ รายจ่ายเบื้องต้น ซึ่งกิจกรรมในการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ได้ร่วมเก็บเห็ด คัดแยกเห็ด ตัดแต่งเห็ด และบรรจุภัณฑ์ใส่ถุงเพื่อจัดจำหน่ายทั้งในชุมชนของตนเอง และหมู่บ้านใกล้เคียง นอกจากนี้ยังร่วมพูดคุยกับผู้ดูแลโรงเรือนเพาะเห็ดเพื่อหาแนวทางการเพิ่มผลผลิต เพื่อแปรรูปให้เห็ดนางฟ้าให้เป็นสินค้าที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของชุมชน สร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ และสามารถจำหน่ายได้หลากหลายช่องทางด้วยกัน
4.ติดตามความก้าวหน้าของกลุ่มโรงเรือนเพาะเห็ดบ้านบุก้านตงพัฒนา
วันที่11เดือนกันยายน เวลา9.00-12.00น. ทีมผู้ปฏิบัติงานU2Tตำบลแสลงพัน ได้ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้าของกลุ่มบ้านบุก้านตงพัฒนา ได้ร่วมทำกิจกรรม เก็บเห็ด ตัดแต่งคัดแยกเห็ด บรรจุภัณฑ์ใส่ถุงหิ้ว3ขีด20บาท และทดลองจำหน่ายภายในชุมชน นอกจากนี้ยังได้แปรรูปปลาร้าเห็ดอินเตอร์ โดยวิธีการทำมีดังนี้
น้ำพริกปลาร้าอินเตอร์
ส่วนผสม
พริกขี้หนูแห้งคั่วโขลกละเอียด 200 กรัม
หอมหัวเล็ก 150 กรัม
กระเทียม 150 กรัม
ข่าซอย คั่ว แล้วโขลกละเอียด 20 กรัม
ตะไคร้ซอย คั่ว แล้วโขลกละเอียด 20 กรัม
ใบมะกรูดซอย คั่ว แล้วโขลกละเอียด 20 กรัม
น้ำมะขามเปียก 50 กรัม
เนื้อปลาร้า 200 กรัม
น้ำตาลทราย 100 กรัม
วิธีทำ
1.คั่วกระเทียมให้สุกแล้วโขลกละเอียด พักไว้
2.คั่วหอมหัวเล็กให้สุกแล้วโขลกละเอียด พักไว้
3.นำปลาร้าใส่กระทะ ตั้งไฟอ่อน ผัดให้หอมและเดือด จึงใส่น้ำมะขามเปียกและน้ำตาลทราย ผัดให้ส่วนผสมเข้ากันดี
- ใส่หัวหอมเล็ก กระเทียม ตะไคร้ ข่า และใบมะกรูด ที่เตรียมไว้ ผัดให้เข้ากัน พอส่วนผสมเดือดจึงใส่
พริกป่น ผัดให้เข้ากันดี ตักขึ้นใส่ภาชนะ
ปัญหา อุปสรรค และข้อเสเนอแนะ
-สถานการณ์โรคโควิด19ที่แพร่ระบาดในปัจจุบัน ทำให้การลงพื้นที่ต้องแบ่งกลุ่มกันลงปฏิบัติการ
-การฝึกอบรมยังไม่ครอบคลุมหมู่บ้านในตำบลแสลงพัน จึงต้องเร่งจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในระยะเวลาที่เหลือ
-ควรแบ่งภาระหน้าที่ในการทำงานให้ครอบคลุมและชัดเจนในการปฏิบัติงาน
-ควรพัฒนาต่อยอดโครงการนี้ให้มีต่อไปในรูปแบบของครัวเรือนเมื่อสิ้นโครงการU2T
แนวทางส่งเสริมพัฒนาอาชีพประชาชน
-จัดกิจกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดนางฟ้า นำเสนอรายการสินค้าใหม่ๆให้กับกลุ่มสมาชิกเพื่อผลิตเป็นสินค้าของชุมชนแสลงพันอย่างแท้จริง
-เสนอร่วมออกแบบเพจขายสินค้าออนไลน์กับทีมงานเพื่อนำไปแนะนำให้กับกลุ่มสมาชิกเพื่อสร้างช่องทางการสื่อสารในยุคสมัยใหม่ให้ก้าวทันเทคโนโลยีทันในชุมชนและตลาดออนไลน์
-คิดสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ เพื่อเสนอกลุ่มทำเห็ดและทีมงานในการออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึงอัตลักณ์ชุมชน เข้าใจง่าย
-วางแผนการลงพื้นที่เพื่อแบ่งหน้าที่ให้ทีมงานทุกคนรับผิดชอบ เพื่อเก็บข้อมูลของชุมชนในด้านต่างๆนำมาสรุปเป็นรายงานของโครงการตลอดทั้งปี
-ลงพื้นที่ติดตามกลุ่มโรงเรือนเป้าหมายที่ยังไม่ได้จัดกิจกรรมแปรรูป เพื่อดำเนินการแปรรูปผลิตภัณฑ์สินค้าให้แล้วเสร็จ และทำน้ำหมักให้กับกลุ่มชุมชนที่ยังไม่มีความพร้อมด้านการทำโรงเรือนเพาะเห็ด