บทความสรุปผลการปฏิบัติงาน

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ

ประจำเดือนกันยายน พ.ศ.2564

ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

โดย นางสาวกาญจนาวดี เคหาห้วย กลุ่มนักศึกษา

***************************************************

  1. จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ รอบแรก (เดือนมีนาคม – เดือนกรกฎาคม) พ.ศ. 2564 เพื่อจัดทำรูปเล่ม และนำส่งรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่เดือนมีนาคมได้มีการจัดกิจกรรมอบรมร่วมกับชาวบ้านในส่วนของรูปแบบโครงการ ตลอดจนวิธีการและมาตรการในการป้องกันโควิด คือ จัดกิจกรรมในการทำเจลแอลกอฮอล์ และจัดบรรยายในการรับมือกับโควิด -19 และวิธีการป้องกันโรค อีกทั้งยังมีการรวบรวมข้อมูลทั่วไปของชุมชน เช่น ประวัติของชุมชน สมุนไพรในชุมชน และประชากรทั้งหมดในชุมชน เป็นต้น และนำข้อมูลเหล่านี้มาสรุป รวบรวม และวิเคราะห์ผลเพื่อใช้ในการทำรูปเล่ม โดยได้ลงพื้นที่ ที่บ้านหนองระนามเพื่อสอบถามข้อมูลกับทางผู้ใหญ่บ้าน ในส่วนของข้อมูลพื้นฐานของชุมชน
  2. กิจกรรมการส่งเสริมตลาดและการท่องเที่ยวบนฐานของผลิตภัณฑ์ชุมชน มีการจัดกิจกรรม โดยการจัดอบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้าน ที่บ้านหนองตาดตามุ่ง วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2564 รายละเอียดของการทำกิจกรรมในครั้งนี้ก็จะเป็นในเรื่องของการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดนางฟ้าเพื่อเพิ่มมูลค่าของเห็ด เช่น การแปรรูปเป็นไส้กรอกเห็ด และน้ำพริกปลาร้าจากเห็ดนางฟ้า และได้มีการอบรมเรื่องการทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากต้นกล้วย และจัดหาตลาดให้แก่ชาวบ้านเพื่อให้ได้มีการค้าส่งสู่ตลาดที่กว้างขวางขึ้น ผลที่เกิดขึ้นหลังจากการทำกิจกรรมพบว่าชาวบ้านได้ความรู้เรื่องการแปรรูป และสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับเห็ดได้มากขึ้น
  3. กิจกรรมติดตามและให้คำแนะนำประชาชนกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ได้มีการติดตามโดยการลงพื้นที่ในชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย คือ บ้านบุก้านตงพูดคุย แลกเปลี่ยน และสอบถามถึงปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงาน พบปัญหาที่เกิด คือ ปัญหาในเรื่องของการควบคุมอุณหภูมิของโรงเห็ดนางฟ้า และปัญหาในเรื่องของความเข้าใจสูตร วัตถุดิบ หรือสัดส่วนที่ใช้ในการแปรรูป ทั้งนี้ชาวบ้านยังมีความเข้าใจอยู่ในระดับปานกลาง ผู้ปฏิบัติงานก็ได้ให้คำแนะนำกับชาวบ้านในเรื่องนั้นๆ เช่น จัดพิมพ์สูตรหรือสัดส่วนที่ใช้ในการแปรรูปให้กับชาวบ้านอย่างละเอียดเพื่อแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้าน และแนะนำในเรื่องของการแปรรูปเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่ามากขึ้น
  4. การแปรรูปผลิตภัณฑ์และการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ โดยได้มีการนำเห็ดนางฟ้ามาแปรรูปเป็นไส้กรอกเห็ด และน้ำพริกปลาร้าจากเห็ดนางฟ้า โดยได้ลงพื้นที่ทำกิจกรรมที่บ้านบุก้านตง ในวันที่ 11 กันยายน 2564 คือ ได้มีการปฏิบัติงานกับชาวบ้าน คือ การแปรรูปน้ำพริกปลาร้าจากเห็ดนางฟ้าโดยรายละเอียดกิจกรรมร่วมกับชาวบ้าน จำนวน 5 คน ผลที่เกิดขึ้นคือ ชาวบ้านมีความรู้เพิ่มมากขึ้นและมีรายได้เพิ่มขึ้นมากจากการแปรรูปผลิตภัณฑ์
  5. การให้คำแนะนำด้านการตลาดกับกลุ่มผลิตภัณฑ์จากเห็ด และน้ำหมักชีวภาพ โดยผู้ปฏิบัติงานได้ให้คำแนะนำในเรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการทางด้านการตลาดที่มีความนิยมสูง โดยการลงพื้นที่ทำกิจกรรมในการจัดอบรมด้านการตลาดให้กับชาวบ้าน เพื่อแนะนำให้แปรรูปผลิตภัณฑ์ตรงตามความต้องการของตลาด
  6. จัดทำเพจนำเสนอสินค้าและผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม และพัฒนาตลาดออนไลน์ โดยใช้ชื่อเพจว่า “แสลงพันเข้มแข็ง” ได้มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางของเพจ เพื่อใช้เป็นช่องทางในการขายตลาดออนไลน์ให้มีความหลากหลายทางการตลาดมากขึ้น

                                                     รวมภาพกิจกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์เห็ดนางฟ้า

 

                 

 

                       

 

                   

 

                   

 

                              

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู