1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS06 - ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ
  4. HS06-กิจกรรมส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์เห็ดนางฟ้าจาก 3 โรงเรือนต้นแบบ และติดตามความก้าวหน้าโรงเรือนเห็ด ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนกันยายน 2564

HS06-กิจกรรมส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์เห็ดนางฟ้าจาก 3 โรงเรือนต้นแบบ และติดตามความก้าวหน้าโรงเรือนเห็ด ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนกันยายน 2564

 

รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)

ประจำเดือนกันยายน 2564

ดิฉันนางสาวพัชรี มณีเติม ประเภทบัณฑิตจบใหม่  เจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ  จังหวัดบุรีรัมย์

พื้นที่รับผิดชอบ บ้านหนองผักโพด หมู่ที่ 4  ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : HS06 – สร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

1.จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการ รอบแรก (เดือนมีนาคม-กรกฎาคม) 2564 เพื่อจัดทำรูปเล่ม และนำส่งรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปได้คร่าวๆ ดังนี้

        สภาพทั่วไปของพื้นที่พัฒนา เขตพื้นที่รับผิดชอบ คือ บ้านหนองผักโพด หมู่ 4 ต.แสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน ในช่วงเดือนมีนาคม-กรกฏาคม สภาพแวดล้อมภายในหมู่บ้านบรรยากาศดี ผู้คนเป็นมิตร เป็นหมู่บ้านที่ขนาดใหญ่ ข้อมูลทั้วไปในชุมชนบ้านหนองผักโพด

             -ปราชญ์ชาวบ้าน คือ นายจันทา โลนุชิด พระอาจารย์ประสูตร บุญญานันต์ (พระอาจารน้อย) เป็นผู้นำพาชาด้านปฏิบัติธรรม

             -ร้านค้าชุมชน

             -วัดหนองผักโพด-สามเขย

             -โรงเรียนบ้านหนองผักโพด

             -แหล่งน้ำหนองบ้านหนองผักโพด

             -อาชีพหลักคือทำนาและเลี้ยงสัตว์

             -เส้นทางคมนาคมเส้นทางหลักเส้น 226 บุรีรัมย์-ลำปลายมาศ ประชากรโดยรวม 692 คน

             -ประเพณี เช่น ประเพณีออกพรรษา บุญกฐิน

             -ภูมิปัญญา เช่น ทอเสื่อกก และการสานกระติบข้าว

        โดยทราบกันดีว่า การแพร่ระบาดโรคควิด -19 ที่ผ่านมาในตำบลแสลงพันได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงอยู่หลายครั้งโดยบ้านหนองผักโพดก็ได้มีการป้องกัน เฝ้าระวังเข้าออกหมู่บ้านมีการติดป้ายประกาศชัดเจนว่าห้ามหาบเร่ คนนอก คนต่างถิ่นห้ามเข้าหมู่บ้านก่อนได้รับอนุญาติ หรือต้องกักตัวที่ส่วนกลางกำหนด จำนวน 14 วัน โดยทางดิฉันทีมงาน U2T มีการขอความร่วมมือทุกครั้งก่อนเข้าหมู่บ้านเพื่อที่จะไปขอข้อมูลของคนในชุมชน หรือทำกิจกรมมให้ความรู้ โดยชาวบ้านและทีมงานก็ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงของผู้นำหมู่บ้าน โดยสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา พกเจลล้างมือแอลกอฮอล์ และล้างมือบ่อยๆ ทางคณะอาจาย์ประจำหลักสูตรและทีมงาน U2T ต้องขอขอบคุณผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย และ อ.ส.ม. ที่อนุญาตให้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในทุกๆครั้ง

 

  1. กิจกรรมการส่งเสริมตลาดและการท่องเที่ยวบนฐานของผลิตภัณฑ์ชุมชน

          การแปรรูปผลิตภัณฑ์จะมีการ ทดลองตลาด การส่งเสริมด้านการตลาด มีการสร้างเพจประจำตำบลแสลงพัน โพสขายผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว ขายให้กับคนในหมู่บ้านหรือญาติ แล้วขยายตลาดออก เช่น ทำแผนพับ ใบปริว นำไปขายที่ตลาดประจำตำบลหรือประจำอำเภอ ด้านการท่องเที่ยว ให้มีการส่งเสริมเปิดการเรียนรู้โรงเห็ดนางฟ้าต้นแบบทั้ง 3 หมู่บ้าน

  1. กิจกรรมติดตามและให้คำแนะนำประชาชนกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์

        ดิฉันและทีมงาน U2T ได้ลงพื้นที่ติดตามโรงเพาะเห็ดต้นแบบ วันที่ 30 สิงหาคม 2564 ช่วงเช้าลงพื้นที่ศาลาประชาคม บ้านแสลงพัน ประธานกลุ่มพร้อมสมาชิก U2T ได้ฝึกทักษะการทำใส้กรอกเห็ดให้กับชาวบ้านเพื่อพัฒนาในด้านประกอบอาชีพ และสามารถทำกินในครัวเรื่อนเพื่อตอบโจทย์ต่อโครงการที่กำลังทำอยู่ ฝึกอบรมเสร็จทางทีมงาน U2T ได้ลงพื้นที่ทำกิจกรรมกับชาวบ้าน ที่บ้านหนองตาดตาม้งได้ไปเก็บเห็ดที่โรงเรือนเห็ดต้นแบบพร้อมทั้งบรรจุใส่ถุงจำหน่าย ช่วงบ่ายสมาชิก U2T ได้ลงพื้นที่ทำกิจกรรมเก็บเห็ดที่โรงเรือนต้นแบบที่บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนาพร้อมนำบรรจุถุงจำหน่าย

        ในวันที่ 11 กันยายน 2564 ดิฉันและทีมงานU2T ได้ลงพื้นทำกิจกรรมเก็บเห็ดที่โรงเรือนต้นแบบที่บ้านบุก้านตงพร้อมบรรจุถุงจำหน่ายพร้อมทั้งสอนทักษะการทำน้ำพริกปลาร้าอินเตอร์ให้กับชาวบ้านเพื่อเกิดประโยชน์ในด้านประกอบอาชี และทำกินในครัวเรือน

  1. การแปรรูปผลิตภัณฑ์และการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์

        ยังไม่สรุปแน่ชัดว่าทั้ง 3 กลุ่มหมู่บ้านที่สร้างโรงเห็ดนางฟ้าต้นแบบจะเลือกแปรรูปเห็ดอะไร โดยทางทีมงาน U2T ได้มีการนำเสนอเห็ดนางฟ้าแปรรูปอยู่ 3 อย่างคือ ไส้กรอกเห็ดวุ้นเสัน น้ำพริกปลาร้าทรงเครื่อง และน้ำพริกปลาร้าอินเตอร์ ในครั้งต่อไปจะมีการสรุปอีกครั้งว่าตัวแทนชาวบ้านจะเลือกแปรรูปเมนูไหน ทางคณะอาจาย์ประจำหลักสูตรและทีมงาน U2T จะลงไปช่วยและให้คำแนะนำกับชาวบ้านอย่างเต็มที่ วิธีการทำเห็ดแปรรูปมี ดังนี้

ไส้กรอกเห็ดวุ้นเสัน

วัตถุดิบ

  1. เห็ดฉีกฝอยนึ่งสุก
600 กรัม
  1. หมูบดปนมัน
400 กรัม
  1. กระเทียม
50 กรัม
  1. พริกไทยเม็ด
10 กรัม
  1. รากผักชี
3 ราก
  1. ผงปรุงรส
1 ช้อนโต๊ะ
  1. เกลือ
1 ช้อนโต๊ะ
  1. ซอสหอย
2 ช้อนโต๊ะ
  1. ซีอิีวขาว
1 ช้อนโต๊ะ
  1. น้ำตาลทาย
2 ช้อนโต๊ะ
  1. วุ้นเส้นสด
500 กรัม
  1. ไส้หมูสำหรับยัด
10 กรัม
  1. เชือกมัดไส้หรอก
1 ม้วน

วิธีทำ

  1. ฉีกเห็ดเป็นชิ้นเล็ก ล้างให้สะอาดนำไปนึ่งสุก 10 นาที ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วบีบน้ำออกพอหมาดด้วยผ้าชาวบาง
  2. นำพริกไทย รากผักชี และกระเทียมโขลกพอละเอียด
  3. นำหมูบดไปตลุกเค้ากับเครื่องปรุงทั้งหมด คลุกเคล้าประมาณ 5 นาที ชิมรสตามใจชอบแล้วยัดไส้ไส้ที่เตรียมไว้แล้วมัดเป็นท่อนๆ
  1. ทำความสะอาดไส้กรอกแล้วผึ่งลมให้แห้ง ประมาณ 3-4 ชั่วโมง สามารถนำมาทอดหรือย่างได้

 

 

 

 

 

 

 

 

น้ำพริกปลาร้าทรงเครื่อง

ส่วนผสม

1. พริกขี้หนูแห้งคั่วโขลกละเอียด 100กรัม
2. หอมหัวเล็กซอยแล้วสับ 75 กรัม
3. กระเทียมสับละเอียด (150 กรัม) 150 กรัม
4. ข่าซอยเป็นเส้นฝอยแล้วสับละเอียด  20 กรัม
5. ตะไคร้ชอยตามขวางแล้วสับละเอียด 20 กรัม
6. กระชายซอยตามขวางแล้วสับละเอียด 20 กรัม
7. ใบมะกรูดซอยละเอียดตามขวาง 20 กรัม
8. น้ำมะขามเปียก 200 กรัม
9. ปลาร้าต้มสุกกรองก้างออก 400 กรัม
10. น้ำตาลทรายย 50 กรัม
11. เห็ดป่น 100 กรัม
12. น้ำมันพืช 200 กรัม

วิธีทำ

  1. นำน้ำมันใส่กระทะ ตั้งไฟกลาง พอร้อน นำหอมหัวเล็กซอยลงเจียวให้สุกเหลืองและกรอบ ตักขึ้นให้

สะเด็ดน้ำมัน พักไว้

  1. เจียวกระเทียมให้สุกเหลืองและกรอบ ตักขึ้น พักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน
  2. นำข่าซอย ตะไคร้ซอย กระชายซอย และใบมะกรูดชอยลงทอดรวมกันทั้งสี่ชนิด ทอดจนสุกเหลือง

และกรอบ ตักขึ้นพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน

  1. นำน้ำมะชามเปียกและน้ำตาลทรายใส่กระทะ ที่มีน้ำมันที่เหลือจากการทอด ตั้งไฟอ่อน พอส่วนผสม

เดือดจึงใส่น้ำปลาร้า ผัดให้ส่วนผสมเดือดและงวดลงเล็กน้อย

  1. ใส่หอมเจียว กระเทียมเจียว และส่วนผสมในข้อ 3 ลงผัดคลุกเคล้ากับส่วนผสมในข้อ 4 คนให้เข้ากัน
  2. ใส่พริกและกุ้งแห้ง ผัดให้เข้ากันดี ตักขึ้นใส่ภาชนะ

น้ำพริกปลาร้าอินเตอร์

ส่วนผสม

1. พริกขี้หนูแห้งคั่วโขลกละเอียด 200 กรัม
2. หอมหัวเล็ก 150 กรัม
3. กระเทียม 150 กรัม
4. ข่าซอย คั่ว แล้วโขลกละเอียด 20 กรัม
5. ตะไครัซอย คั่ว แล้วโขลกละเอียด 20 กรัม
6. ใบมะกรูดซอย คั่ว แล้วโขลกละเอียด 20 กรัม
7. น้ำมะขามเปียก 50 กรัม
8. เนื้อปลาร้า 200 กรัม
9. น้ำตาลทราย 100 กรัม

วิธีทำ

  1. คั่วกระเทียมให้สุกแล้วโขลกละเอียด พักไว้
  2. คั่วหอมหัวเล็กให้สุกแล้วโขลกละเอียด พักไว้
  3. นำปลาร้ใส่กระทะ ตั้งไฟอ่อน ผัดให้หอมและเดือด จึงใส่น้ำมะขามเปียกและน้ำตาลทราย ผัดให้ส่วนผสมเข้ากันดี
  4. ใส่หัวหอมเล็ก กระเทียม ตะไคร้ ข่า และใบมะกรูด ที่เตรียมไว้ ผัดให้เข้ากัน พอส่วนผสมเดือดจึงใส่

พริกป่น ผัดให้เข้ากันดี ตักขึ้นใส่ภาชนะ

เทคนิคและข้อเสนอแนะ

1 .ควรเลือกพริกขี้หนูแห้งจินดา เพราะจะมีสีสวยและไม่เผ็ดมาก

  1. น้ำมะขามเปียก : ใช้อัตราส่วน ะขามเปียก 1 ส่วน : น้ำ 4 ส่วน
  2. เลือกซื้อปลารัาชนิดเนื้อ จะไม่มีก้าง สามารถนำมาปรุงน้ำพริกได้โดยไม่ต้องต้ม

     4.หั่น ซอย สับ หอมหัวเล็ก กระเทียม ตะไคร้ ใบมะเกรูด ข่า ควรเตรียมให้แต่ละชนิดมีขนาดชิ้นใกล้เคียงกัน เมื่อนำไปคั่วจะได้สุกเหลืองในเวลาเดียวกันทุกชิ้น

  1. การผัดน้ำพริก ควรใช้ไฟอ่อน
  2. เก็บน้ำพริกใส่ในภาชนะมีฝาปิด เมื่อเย็นสนิท จะเก็บไว้ได้นาน

ประมาณการราคาทุน

  1. ส่วนผสมสูตรนี้ จะได้น้ำพริกปลาร้าอินเตอร์ 600 กรัม
  2. ราคาทุน 75 – 80 บาท (รวมบรรจุภัณฑ์)
  3. ราคาขาย 35 บาท : 100 กรัม

 

  1. การให้คำแนะนำด้านการตลาดกับกลุ่มผลิตภัณฑ์จากเห็ด และน้ำหมักชีวภาพ

        ด้านการบรรจุภัณฑ์เห็ดส่วนมากจะเก็บแล้วนำไปใส่ถุงขายแถวบ้านหรือตลาดประจำตำบล ส่วนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ควรออกแบบแพคเกจจิ้งให้ดูโดดเด่น ส่วนการขายให้ขยายการขายโดยปากต่อปาก ใบปริว โพสในเฟสบุ๊กส่วนตัวเพื่อให้มีฐานลูกค้าใกล้ตัวก่อน แล้วค่อยขยายออกไปเรื่อยๆ

        ด้านน้ำหมักชีวภาพ  การทำปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลังเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตจากการฝึกอบรมการผลิตปุ่ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ การติดตามชาวบ้านได้ลองทำที่บ้านและนำไปใช้ได้จริง เช่นนำไปรดน้ำผัก ยังไม่มีการบรรจุภัณฑ์ขาย

 

  1. จัดทำเพจนำเสนอสินค้าและผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม และพัฒนาตลาดออนไลน์

           –    เสริมสร้างตลาดออนไลน์ และตลาดชุมชน หรือเป็นตลาดใกล้บ้านเพื่อเป็นการขยายการขายสู่ท้องตลาด

           –    ออกแบบผลิตภัณฑ์ แปรรูปเห็ดเพื่อให้มีการกระจายกลุ่มเป้าหมาย เกิดความหลากหลายต่อกลุ่มผู้ชื้อ 

ปัญหาและอุปสรรค

       -ปัญหาด้านการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

แนวทางแก้ไข ต้องจดบัญชีทุกครั้งที่มีการใช้จ่าย ต้องให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำบัญชีรายรับรายจ่ายของแต่ละโรงเรือน

       -ปัญหาการการแปรรูปเห็ด ชาวบ้านตัวแทนยังตกลงกันไม่ได้ว่าจะแปรรูปเป็นอะไรจึงยากต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ในครั้งถัดไป แนวทางแก้ไข ทีมงานU2Tและชาวบ้านช่วยกันระดมความคิดในการแปรรูปเห็ด และทดลองการแปรรูปเลือกอันที่ดีที่สุด

       -ปัญหาในการดูแลโรงเพาะเห็ดนางฟ้า กลุ่มชาวบ้าน 2-3 หมู่บ้านที่รวมกลุ่มกัน ทำให้ยากต่อการมาดูแลรักษาโรงเพาะเห็ด ไม่ได้มีการแบ่งเวณดูแลกันแบบจริงจัง แนวทางแก้ไข ควรพูดคุยแบ่งหน้าที่อย่างจริงจังเพราะจะได้ช่วยกันพัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้กับหมู่บ้านและครัวเรือน เพราะโยชน์ที่ได้ก็เกิดจากชาวบ้านเอง

  

วีดีโอประจำเดือนกันยายน

อื่นๆ

เมนู