รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)
ประจำเดือนกันยายน 2564
ดิฉันนางสาวเพ็ญนภา ตาชูชาติ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ เจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
พื้นที่รับผิดชอบ หมู่ 15 บ้านโคกใหม่พัฒนา ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร : HS06 – สร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
ในการปฏิบัติงานของเดือนกันยายน สถานการณ์ของโรคโควิด -19 ยังมีการแพร่ระบาด และยังคงทำให้คนในชุมชนต้องเผชิญอยู่กับโรคโควิด -19 อย่างต่อเนื่อง และคนในชุมชนก็เริ่มได้รับการฉีดวัคซีนไปบ้างแล้ว โดยเริ่มจากผู้สูงอายุจะได้รับวัคซีนก่อน แต่สถานการณ์ก็ถือว่ายังอยู่ในสภาวะเฝ้าระวัง ทำให้การลงพื้นที่ ยังคงต้องเว้นระยะห่างไปด้วยเช่นเดิม
ด้วยสถานการณ์เช่นนี้ จึงทำให้ผู้ปฏิบัติงาน U2T ของตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ จึงต้องเร่งสร้างฐานการเสริมสร้างรายได้เข้าสู่ชุมชน จากเดิมคนในชุมชนมีอาชีพหลักคือ การทำนาเลี้ยงสัตว์ และทำสวน หลังจากการทำนาคนส่วนใหญ่จะว่างงาน นับว่าโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) เป็นเรื่องที่ดีที่จะเข้ามาส่งเสริมรายได้ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน โครงการที่พัฒนาชนชนเกี่ยวกับการเพาะเห็ดนางฟ้า และการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เนื่องจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ยากต่อการลงพื้นที่และทำให้โครงการล่าช้ากว่ากำหนดการ แต่ทางทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T และคณะอาจารย์ที่รับผิดชอบโครงการตั้งใจอย่างเต็มที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
1. จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการ รอบแรก (เดือนมีนาคม-กรกฎาคม) 2564 เพื่อจัดทำรูปเล่ม และนำส่งรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ดิฉันพร้อมด้วยทีมผู้ปฏิบัติงานในโครงการได้ลงพื้นเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแบบฟอร์ม 01, 02 และ 06 ปราชญ์ชาวบ้าน สัตว์ในท้องถิ่น พืชในท้องถิ่น อื่นๆ
2. กิจกรรมการส่งเสริมตลาดและการท่องเที่ยวบนฐานของผลิตภัณฑ์ชุมชน
ดิฉันได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบใน
ประจำตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ การทำตลาดออนไลน์ การจัดทำแผ่นพับ และการเผยแพร่สื่อต่างๆ ผ่านระบบ Facebook และสื่อออนไลน์ต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อให้มีการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
3. กิจกรรมติดตามและให้คำแนะนำประชาชนกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์
4. การแปรรูปผลิตภัณฑ์และการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2564 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ยังไม่ดีขึ้นจึงไม่สามารถรวมตัวกันได้ อาจารย์และกลุ่มผู้ปฏิบัติงานจึงได้มีการประชุมออนไลน์วางแผนงานประจำเดือนกันยายน ให้กลุ่มผู้ปฏิบัติงานออกแบบการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดนางฟ้า ได้มีการประชุมออนไลน์เพื่อชี้แจงและแบ่งหน้าที่การทำงาน แบ่งกลุ่มได้ 3 กลุ่ม โดยกลุ่มผู้ปฏิบัติทุกคนได้ร่วมกันออกความเห็น ระดมความคิดในการออกแบบการแปรรูปจากเห็ดนางฟ้าประจำตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ
1.กลุ่มบ้านหนองตาดตามุ่ง
เสนอ : 1. ไส้กรอกเห็ดวุ้นเส้น 2. น้ำพริกปลาร้าทรงเครื่อง(เห็ด)
สมาชิกในกลุ่ม
1. นางศุภาณัน ริชาร์ดส (หัวหน้าทีม)
2. นางสาววรัญญา พิมพ์เชื้อ
3. นางสาวศิรินันท์ ฝาสูงเนิน
4. นางสาววนิดา เชาวนกุล
5. นายอภิสิทธิ์ แสงสุข
6. นายหัสวัฒน์ งอยไธสง
2. กลุ่มบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา
เสนอ 1. แหนมเห็ด ส้มเห็ด 2. เห็ดชุบแป้งทอด จากส้มเห็ด
สมาชิกในกลุ่ม
1.นายเจษฎา กุลสุนทรรัตน์ (หัวหน้าทีม)
2.นางสาวดวงฤทัย อัมราสกุลสมบัติ
3.นายบุญเหนือ เครือตา
4.นางสาวเพ็ญนภา ตาชูชาติ
5.นางสาวพัชรี มณีเติม
6.นายศิริพงษ์ เครือจันทร์
3. กลุ่มบ้านบุก้านตงพัฒนา
เสนอ 1. ทอดกรอบเห็ด 2. เห็ดอบแห้งและข้าวเกรียบเห็ด
สมาชิกในกลุ่ม
1.นายนิสิต คำหล้า (หัวหน้าทีม)
2.นางสาวธิดา คำหล้า
3.นายสราญจิต อินทราช
4.นางสาวอารียา วิลาศ
5.นางสาวกาญจนาวดี เคหาห้วย
6.นางสาวรัตน์ชดาพร สร้อยจิต
หมายเหตุ : ในครั้งต่อไปจะมีการประชุมทีมงานเพื่อเสนอการแปรรูปผลิตภัณฑ์ และเป็นไปตามความต้องการของชุมชน
วันที่ 30 สิงหาคม 2564 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานในสถานการณ์โรคโควิด19 มีรายละเอียดดังนี้ เวลา 9.00-12.00 น.กลุ่มบ้านหนองตาดตามุ่งฝึกอบรมย่อย ณ ศาลากลางหมู่บ้าน หมู่ที่ 7 มีตัวอย่างการแปรรูปน้ำพริกเห็ดปลาร้าทรงเครื่อง และสาธิตการทำไส้กรอกวุ่นเส้นเห็ด
ไส้กรอกวุ่นเส้นเห็ด
วัตถุดิบ
1. เห็ดฉีกฝอยนึ่งสุก | 600 กรัม |
2. หมูบดปนมัน | 400 กรัม |
3. กระเทียม | 50 กรัม |
4. พริกไทยเม็ด | 10 กรัม |
5. รากผักชี | 3 ราก |
6. ผงปรุงรส | 1 ช้อนโต๊ะ |
7. เกลือ | 1 ช้อนโต๊ะ |
8. ซอสหอย | 2 ช้อนโต๊ะ |
9. ซีอิ๊วขาว | 1 ช้อนโต๊ะ |
10. น้ำตาลทาย | 2 ช้อนโต๊ะ |
11. วุ้นเส้นสด | 500 กรัม |
12. ไส้หมูสำหรับยัด | 10 กรัม |
13. เชือกมัดไส้หรอก | 1 ม้วน |
วิธีทำ
1. ฉีกเห็ดเป็นชิ้นเล็ก ล้างให้สะอาดนำไปนึ่งสุก 10 นาที ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วบีบน้ำออกพอหมาดด้วยผ้าชาวบาง
2. นำพริกไทย รากผักชี และกระเทียมโขลกพอละเอียด
3. นำหมูบดไปคลุกเค้ากับเครื่องปรุงทั้งหมด คลุกเคล้าประมาณ 5 นาที ชิมรสตามใจชอบแล้วยัดไส้ไส้ที่เตรียมไว้แล้วมัดเป็นท่อนๆ
4. ทำความสะอาดไส้กรอกแล้วผึ่งลมให้แห้ง ประมาณ 3-4 ชั่วโมง สามารถนำมาทอดหรือย่างได้
น้ำพริกปลาร้าทรงเครื่อง
วัตถุดิบ
1. พริกขี้หนูแห้งคั่วโขลกละเอียด | 100 กรัม |
2. หอมหัวเล็กซอยแล้วสับ | 75 กรัม |
3. กระเทียมสับละเอียด | 150 กรัม |
4. ข่าซอยเป็นเส้นฝอยแล้วสับละเอียด | 20 กรัม |
5. ตะไคร้ซอยตามขวางแล้วสับละเอียด | 20 กรัม |
6. กระชายซอยตามขวางแล้วสับละเอียด | 20 กรัม |
7. ใบมะกรูดซอยละเอียดตามขวาง | 20 กรัม |
8. น้ำมะขามเปียก | 200 กรัม |
9. ปลาร้าต้มสุกกรองก้างออก | 400 กรัม |
10. น้ำตาลทราย | 50 กรัม |
11. เห็ดป่น | 100 กรัม |
12. น้ำมันพืช | 200 กรัม |
วิธีทำ
1. นำน้ำมันใส่กระทะ ตั้งไฟกลาง พอร้อน นำหอมหัวเล็กซอยลงเจียวให้สุกเหลืองและกรอบ ตักขึ้นให้
สะเด็ดน้ำมัน พักไว้
2. เจียวกระเทียมให้สุกเหลืองและกรอบ ตักขึ้น พักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน
3. นำข่าซอย ตะไคร้ซอย กระชายซอย และใบมะกรูดซอยลงทอดรวมกันทั้งสี่ชนิด ทอดจนสุกเหลือง
และกรอบ ตักขึ้นพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน
4. นำน้ำมะชามเปียกและน้ำตาลทรายใส่กระทะ ที่มีน้ำมันที่เหลือจากการทอด ตั้งไฟอ่อน พอส่วนผสม
เดือดจึงใส่น้ำปลาร้า ผัดให้ส่วนผสมเดือดและงวดลงเล็กน้อย
5. ใส่หอมเจียว กระเทียมเจียว และส่วนผสมในข้อ 3 ลงผัดคลุกเคล้ากับส่วนผสมในข้อ 4 คนให้เข้ากัน
จึงใส่พริกและกุ้งแห้ง ผัดให้เข้ากันดี ตักขึ้นใส่ภาชนะ
และร่วมทำกิจกรรมเก็บเห็ด บรรจุภัณฑ์เห็ด และติดตามการจำหน่ายเห็ดกับกลุ่มสมาชิกโรงเรือนเพาะเห็ดบ้านหนองตาดตามุ่ง (บ้านผู้ใหญ่)
ช่วงบ่ายเวลา 13.00 น. กลุ่มบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา คณะทำงานได้นัดหมายทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มสมาชิกผู้รับผิดชอบโรงเรือนเพาะเห็ด ร่วมกันเก็บเห็ด ตัดแต่งคัดแยกเห็ด สาธิตการบรรจุภัณฑ์ การจำหน่ายในชุมชน ติดตามความก้าวหน้าการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย การบริหารจัดการภายในกลุ่ม และการดูแลโรงเรือน
วันที่ 11 กันยายน 2564 เวลา 9.00 น. ดิฉันและทีมผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมการประชุมแบบออนไลน์ การจัดทำแบบรายงานผลการปฏิบัติงานรายตำบลแสลงพันประจำปี โดยให้ผู้ปฏิบัติงานรวบรวมข้อมูลสภาพทั่วไปของพื้นที่ที่พัฒนาในหมู่บ้านที่ตนรับผิดชอบ
เวลา 10.00 น. ทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T มีกำหนดนัดหมายทำกิจกรรมกับกลุ่มโรงเรือนเพาะเห็ดบ้านบุก้านตงพัฒนา ติดตามความก้าวหน้า ร่วมเก็บเห็ด ตัดแต่งเห็ด ดูวิธีบรรจุภัณฑ์เห็ด สาธิตการน้ำพริกเห็ดปลาร้าทรงเครื่อง และติดตามชาวบ้านจำหน่ายเห็ดบัญชีรายรับ-รายจ่าย (ทดลองตลาดในชุมชน)
น้ำพริกเห็ดปลาร้าทรงเครื่อง
วัตถุดิบ
1. พริกขี้หนูป่น | 150 กรัม |
2. หอมหัวเล็ก | 150 กรัม |
3. กระเทียม | 150 กรัม |
4. ข่าซอย คั่ว แล้วโขลกละเอียด | 20 กรัม |
5. ตะไคร้ซอย คั่ว ล้วโขลกละเอียด | 20 กรัม |
6. ใบมะกรูดซอย คั่ว แล้วโขลกละเอียด | 20 กรัม |
7. น้ำมะขามเปียก | 50 กรัม |
8. เนื้อปลาร้า | 200 กรัม |
9. น้ำตาลทราย | 100 กรัม |
10. เห็ดป่น | 50 กรัม |
วิธีทำ
1. คั่วกระเทียมให้สุกแล้วโขลกละเอียด พักไว้
2. คั่วหอมหัวเล็กให้สุกแล้วโขลกละเอียด พักไว้
3. นำปลาร้าใส่กระทะ ตั้งไฟอ่อน ผัดให้หอมและเดือด จึงใสน้ำมะขามเปียกและน้ำตาลทราย ผัดให้ส่วนผสมเข้ากันดี
4. ใส่หอมหัวเล็ก กระเทียม ตะไคร้ ข่า และใบมะกรูด ที่เตรียมไว้ ผัดให้เข้ากัน พอส่วนผสมเดือดจึงใส่พริกป่น ผัดให้เข้ากันดี ตักขึ้นใส่ภาชนะ
เทคนิคและข้อเสนอแนะ
1. ควรเลือกพริกขี้หนูแห้งจินดา เพราะจะมีสีสวยและไม่เผ็ดมาก
2. น้ำมะขามเปียก : ใช้อัตราส่วน มะขามเปียก 1 ส่วน : น้ำ 4 ส่วน
3. เลือกซื้อปลาร้าชนิดเนื้อ จะไม่มีก้าง สามารถนำมาปรุงน้ำพริกได้โดยไม่ต้องต้ม
4. การหั่น ซอย สับ หอมหัวเล็ก กระเทียม ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า ความเตรียมให้แต่ละชนิดมีขนาดของชิ้นใกล้เคียง เมื่อนำไปคั่วจะได้สุกเหลืองในเวลาเดียวกัน
5. การผัดน้ำพริก ควรใช้ไฟอ่อน
6. เก็บน้ำพริกใส่ในภาชนะที่มีฝาปิด เมื่อเย็นสนิท จะเก็บไว้ได้นาน
ประมาณการราคาทุน
1. ส่วนผสมสูตรนี้ จะได้น้ำพริกเห็ดปลาร้าอินเตอร์ 600 กรัม
2. ราคาทุน 75-80 บาท (รวมบรรจุภัณฑ์)
3. ราคาขาย 35 บาท : 100 กรัม
วันที่ 15 กันยายน 2564 เวลา 12.30 น. อาจารย์และกลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้มีการประชุมออนไลน์ ในหัวข้อการจัดทำบทความ U2T เดือนกันยายน แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน เดือนกันยายน แจ้งกำหนดส่งงานลงในระบบภายในวันที่ 18-19 กันยายน และปริ้นส่งในวันที่20กันยายน ก่อนเวลา 11.00 น.
5. การให้คำแนะนำด้านการตลาดกับกลุ่มผลิตภัณฑ์จากเห็ด และน้ำหมักชีวภาพ
ในเดือนนี้ได้มีการเสนอให้พัฒนาและต่อยอดการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือคนในชุมชนให้มีรายได้ที่มั่นคงและได้ผลักดันให้คนในพื้นที่มีกิจกรรมทำร่วมกันส่งเสริมในหลายๆด้าน ซึ่งช่วงนี้ทุกคนในชุมชนพบเจอวิกฤตของโรคโควิด-19 ระบาดอย่างหนัก ซึ่งอาจทำให้กระทบกับการสร้างรายได้ในบางครอบครัวและทางเราอยากจะขอช่วยให้ทุกๆคนในชุมชนได้มีรายได้และผ่านพ้นช่วงวิกฤตนี้ไปด้วยกัน
6. จัดทำเพจนำเสนอสินค้าและผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม และพัฒนาตลาดออนไลน์