1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS06 - ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ
  4. HS06-กิจกรรมส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์เห็ดนางฟ้าและติดตามความก้าวหน้าของ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนกันยายน 2564

HS06-กิจกรรมส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์เห็ดนางฟ้าและติดตามความก้าวหน้าของ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนกันยายน 2564

บทความรายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน (เดือนกันยายน)

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1ตำบล 1มหาวิทยาลัย)

                      ข้าพเจ้านางสาววนิดา เชาวนกุล ประเภทบัณฑิตจบใหม่ HS06 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมสมาชิกผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรประจำพื้นที่บ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

                ข้าพเจ้าได้ทำการลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับทีมสมาชิกผู้ปฏิบัติงานตำบลแสลงพัน ในการปฏิบัติงานเดือนกันยายน เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดโคโรนา 2019 ยังมีเพิ่มขึ้นในตำบลแสลงพันและบริเวณใกล้เคียง ทำให้พื้นที่ที่จัดทำกิจกรรมของทีมสมาชิกผู้ปฏิบัติงานร่วมกับทีมสมาชิกชุมชนเป็นไปได้ยาก แต่ทางอาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ประชุมและมอบหมายงานเพื่อลงพื้นที่จัดทำกิจกรรม โดยการแบ่งโซน แบ่งกลุ่มลงพื้นที่เพื่อความปลอดภัยและระมัดระวังกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

1.จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการ รอบแรก (เดือนมีนาคม-กรกฎาคม) จัดทำรูปเล่ม และนำส่งรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เพิ่มเติม)

              ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ออกสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมในชุมชนเพื่อจัดทำรูปเล่ม และนำส่งรายงานเพิ่มเติมให้กับมหาวิทยาลัยซึ่งได้รับผิดชอบในส่วนของบ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เกี่ยวกับสภาพทั่วไปของพื้นที่พัฒนาซึ่งจะนำไปวิเคราะห์ข้อมูล และดำเนินการ ลงพื้นที่ในชุมชนต่อไป ข้อมูลที่จะสำรวจมีดังนี้

         1.1ประวัติทั่วไป

         1.2แผนที่ชุมชน

         1.3ข้อมูลสำคัญรายตำบล (หมู่บ้าน)

            1.ปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญา

            2.เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน

            3.ร้านค้าชุมชน

            4.โรงเรียน

            5.แหล่งน้ำ

            6.ป่าชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ

            7.อาชีพ

            8.กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

            9.ผลิตภัณฑ์ในชุมชน

           10.เส้นทางคมนาคม

        1.4 ข้อมูลสมาชิกชุมชน

           1) ผู้สูงอายุ

           2) ทารกแรกเกิด

           3) เด็กและเยาวชน (อายุ 1 ขวบ -19 ปี)

           4) สตรีมีครรภ์

           5) ผู้พิการ

           6) สมาชิก อสม.

        1.5 ข้อมูลทุนทางวัฒนธรรม

           1) จารีต (ข้อปฏิบัติของแต่ละชุมชน)

           2) ประเพณี

           3) ภูมิ

        1.6 พืชสมุนไพรในชุมชน

                 

                       

                               

2.กิจกรรมการส่งเสริมตลาดและการท่องเที่ยวบนฐานของผลิตภัณฑ์ชุมชน

           ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้าให้กับชุมชนทั้ง 3 ชุมชน บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ที่ 5 บ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ที่ 16 บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่ 17 เพื่อนำผลผลิตเข้าสู่การตลาดในชุมชนให้สมาชิกชุมชน พัฒนาอาชีพสร้างรายได้ลดรายจ่ายของครัวเรือน และยังสามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวเข้าชมโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้าในแต่ละชุมชน

                                         

ส่งเสริมอาชีพสมาชิกชุมชนเพื่อสร้างรายได้แก่ครัวเรือนและได้มีการให้คำแนะนำผลิตภัณฑ์

                         

3. กิจกรรมติดตามและให้คำแนะนำประชาชนกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์

           เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมสมาชิกผู้ปฏิบัติงานตำบลแสลงพันได้ดำเนินการลงพื้นที่ติดตามและให้คำแนะนำเกี่ยวกับบัญชีรายรับ-รายจ่ายของโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ที่ 5 และบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่ 17 ซึ่งสมาชิกชุมชนได้ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี

 

ภาพกิจกรรมการติดตามให้คำแนะนำการพัฒนาผลผลิต

 

             

             

                

               

                   

               

             

4.การแปรรูปผลิตภัณฑ์และการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์

           เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ร่วมกับทีมสมาชิกผู้ปฏิบัติงานตำบลแสลงพันติดตามให้คำแนะนำและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน แล้วเรายังจัดกิจกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเห็ดนางฟ้าในเบื้องต้น โดยมีสมาชิกชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 14 คน โดยจัดกิจกรรมที่ศาลาประชาคมบ้านแสลงพัน หมู่ที่ 7 ซึ่งในการแปรรูปผลิตภัณฑ์มีสมาชิกชุมชน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ที่ 5 บ้านแสลงพัน หมู่ที่ 7 บ้านแสลงพันพัฒนา หมู่ที่ 14 ได้มีการแปรรูป คือ

ไส้กรอกเห็ดวุ้นเส้น

วัตถุดิบ

1.เห็ดฉีกฝอยนึ่งสุก       600     กรัม

2.หมูบดปนมัน             400     กรัม

3.กระเทียม                   50      กรัม

4.พริกไทยเม็ด              10      กรัม

5.รากผักชี                     3        ราก

6.ผงปรุงรส                   1        ช้อนโต๊ะ

7.เกลือ                        1        ช้อนโต๊ะ

8.ซอสหอย                   2        ช้อนโต๊ะ

9.ซีอิ๋วขาว                    1        ช้อนโต๊ะ

10.น้ำตาลทราย            ­­ 2       ช้อนโต๊ะ)

11.วุ้นเส้นสด              500     กรัม

12.ไส้หมูสำหรับยัด       10      กรัม

13.เชือกมัดไส้หรอก        1        ม้วน

 

วิธีทำ

1.ฉีกเห็ดเป็นชิ้นเล็ก ล้างให้สะอาดนำไปนึ่งสุก 10  นาที ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วบีบน้ำออกพอหมาดด้วย        ผ้าขาวบาง

2.นำพริกไทย รากผักชี และกระเทียมโขลกพอละเอียด

3.นำหมูบดไปคลุกเค้ากับเครื่องปรุงทั้งหมด คลุกเคล้าประมาณ 5 นาที ชิมรสตามใจชอบแล้วยัดไส้           ที่เตรียมไว้แล้วมัดเป็นท่อนๆ

4.ทำความสะอาดไส้กรอกแล้วผึ่งลมให้แห้ง ประมาณ 3-4 ชั่วโมง สามารถนำมาทอดหรือย่างได้

                 

                 

                                  

                 

นำเครื่องปรุงทั้งหมดคลุกเคล้าให้เข้ากัน

                   

               

                    

                   

น้ำพริกปลาร้าทรงเครื่อง

ส่วนผสม

1.พริกขี้หนูแห้งคั่วโขลกละเอียด 100กรัม

2.หอมหัวเล็กซอยแล้วสับ 75 กรัม

3.กระเทียมสับละเอียด 150 กรัม

4.ข่าซอยเป็นเส้นฝอยแล้วสับละเอียด 20 กรัม

5.ตะไคร้ซอยตามขวางแล้วสับละเอียด   20 กรัม

6.กระชายซอยตามขวางแล้วสับละเอียด 20 กรัม

7.ใบมะกรูดซอยละเอียดตามขวาง 20 กรัม

8.น้ำมะขามเปียก 200 กรัม

9.ปลาร้าต้มสุกกรองก้างออก 400 กรัม

10.น้ำตาลทราย 50 กรัม

11.เห็ดป่น 100 กรัม

12.น้ำมันพืช 200 กรัม

วิธีทำ

1.นำน้ำมันใส่กระทะ ตั้งไฟกลาง พอร้อน นำหอมหัวเล็กซอยลงเจียวให้สุกเหลืองและกรอบ ตักขึ้นให้

สะเด็ดน้ำมัน พักไว้

2.เจียวกระเทียมให้สุกเหลืองและกรอบ ตักขึ้น พักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน

3.นำข่าซอย ตะไคร้ซอย กระชายซอย และใบมะกรูดชอยลงทอดรวมกันทั้งสี่ชนิด ทอดจนสุกเหลือง

และกรอบ ตักขึ้นพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน

4.นำน้ำมะชามเปียกและน้ำตาลทรายใส่กระทะ ที่มีน้ำมันที่เหลือจากการทอด ตั้งไฟอ่อน พอส่วนผสม

เดือดจึงใส่น้ำปลาร้า ผัดให้ส่วนผสมเดือดและงวดลงเล็กน้อย

5.ใส่หอมเจียว กระเทียมเจียว และส่วนผสมในข้อ 3 ลงผัดคลุกเคล้ากับส่วนผสมในข้อ 4 คนให้เข้ากัน

จึงใส่พริกและเห็ดป่น ผัดให้เข้ากันดี ตักขึ้นใส่ภาชนะ

                  

                 

           เมื่อวันที่ 11 กนยายน 2564 ได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์พัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่บ้านบุก้านตงพัฒนาหมู่ที่ 16 และบ้านบุก้านตง หมู่ที่ 12 มีสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรม 5 คน สมาชิกชุมชนได้เข้าร่วมกิจกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ร่วมกับทีมสมาชิกผู้ปฏิบัติงานโดยการจัดกิจกรรม คือ

น้ำพริกปลาร้าอินเตอร์

ส่วนผสม

1.พริกขี้หนูแห้งคั่วโขลกละเอียด 200 กรัม

2.หอมหัวเล็ก 150 กรัม

3.กระเทียม 150 กรัม

4.ข่าซอย คั่ว แล้วโขลกละเอียด 20 กรัม

5.ตะไคร้ซอย คั่ว แล้วโขลกละเอียด 20 กรัม

6.ใบมะกรูดซอย คั่ว แล้วโขลกละเอียด 20 กรัม

7.น้ำมะขามเปียก 50 กรัม

8.เนื้อปลาร้า 200 กรัม

9.น้ำตาลทราย 100 กรัม

10.เห็ดป่น 50 กรัม

วิธีทำ

1.คั่วกระเทียมให้สุกแล้วโขลกละเอียด พักไว้

2.คั่วหอมหัวเล็กให้สุกแล้วโขลกละเอียด พักไว้

3.นำปลาร้าใส่กระทะ ตั้งไฟอ่อน ผัดให้หอมและเดือด จึงใส่น้ำมะขามเปียกและน้ำตาลทราย ผัดให้ส่วนผสมเข้ากันดี

4.ใส่หัวหอมเล็ก กระเทียม ตะไคร้ ข่า และใบมะกรูด ที่เตรียมไว้ ผัดให้เข้ากัน พอส่วนผสมเดือดจึงใส่

พริกป่น ผัดให้เข้ากันดี ตักขึ้นใส่ภาชนะ

เทคนิคและข้อเสนอแนะ

1.ควรเลือกพริกขี้หนูแห้งจินดา เพราะจะมีสีสวยและไม่เผ็ดมาก

2.น้ำมะขามเปียก : ใช้อัตราส่วน มะขามเปียก 1 ส่วน : น้ำ 4 ส่วน

3.เลือกซื้อปลาร้าชนิดเนื้อ จะไม่มีก้าง สามารถนำมาปรุงน้ำพริกได้โดยไม่ต้องต้ม

4.หั่น ซอย สับ หอมหัวเล็ก กระเทียม ตะไคร้ ใบมะเกรูด ข่า ควรเตรียมให้แต่ละชนิดมีขนาดชิ้นใกล้เคียงกัน เมื่อนำไปคั่วจะได้สุกเหลืองในเวลาเดียวกันทุกชิ้น

5.การผัดน้ำพริก ควรใช้ไฟอ่อน

6.เก็บน้ำพริกใส่ในภาชนะมีฝาปิด เมื่อเย็นสนิท จะเก็บไว้ได้นาน

ประมาณการราคาทุน

1.ส่วนผสมสูตรนี้ จะได้น้ำพริกปลาร้าอินเตอร์ 600 กรัม

2.ราคาทุน 75 – 80 บาท (รวมบรรจุภัณฑ์)

3.ราคาขาย 35 บาท : 100 กรัม

                                            

                         

                                   

5.การให้คำแนะนำด้านการตลาดกับกลุ่มผลิตภัณฑ์จากเห็ด

         หลังจากที่ได้มีการจัดทำโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้าในชุมชน ทั้ง 3 ชุมชนแล้ว และได้มีการเก็บผลผลิตนำไปจำหน่ายในตลาดชุมชนต่างๆ ชุมชนมีความสนใจผลิตภัณฑ์และยังสร้างรายได้ให้กับทีมสมาชิกชุมชน และได้คิดค้นนำเสนอการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชนเพื่อได้ทดลองการตลาด โดยการนำเสนอ ไส้กรอกเห็ดวุ้นเส้น น้ำพริกปลาร้าเห็ดอินเตอร์ น้ำพริกปลาร้าเห็ดทรงเครื่อง ได้คิดค้นวิธีนำเสนอเพื่อเหมากับต้นทุนน้อย ซึ่งเรา    จะดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ต่อไป

6.จัดทำเพจนำเสนอสินค้าและผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม และพัฒนาตลาดออนไลน์

         ซึ่งทีมสมาชิกผู้ปฏิบัติงานได้ดำเนินการจัดทำเพจนำเสนอสินค้าผลิตภัณฑ์ ของตำบลแสลงพัน เพื่อทำการประชาสัมพันธ์และการตลาดออนไลน์ให้กับกลุ่มที่ต้องการสนใจผลิตภัณฑ์และเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในกลุ่มตลาด และจัดทำกิจกรรมต่างๆลงในออนไลน์ ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังมีเพิ่มขึ้น เรายังคงจัดกิจกรรมลงพื้นที่ส่งเสริมดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป

 

 

วีดีโอประจำเดือนกันยายน

อื่นๆ

เมนู