1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS06 - ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ
  4. บทความสรุปผลการปฏิบัติงาน โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ ประจำเดือนกันยายน พ.ศ.2564 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดย นางสาวอารียา วิลาศ กลุ่มนักศึกษา

บทความสรุปผลการปฏิบัติงาน โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ ประจำเดือนกันยายน พ.ศ.2564 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดย นางสาวอารียา วิลาศ กลุ่มนักศึกษา

จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ รอบแรก  (เดือนมีนาคม – เดือนกรกฎาคม) พ.ศ. 2564 เพื่อจัดทำรูปเล่ม และนำส่งรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่เดือนมีนาคมได้มีการจัดกิจกรรมอบรมร่วมกับชาวบ้านในส่วนของรูปแบบโครงการ และกิจกรรมรณรงค์เรื่องไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019  และวิธีการป้องกันโรค มีการรวบรวมบริบททั่วไปของชาวบ้านหนองตาหล่าหมู่8 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ และลงข้อมูลเกษตรกรพืชที่ชาวบ้านมีและสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านมีอะไรบ้างและสภาพทั่วไปของพื้นที่พัฒนาข้อมูลสมาชิกชุมชนตลาดจนการประเมินผลโครงการเป็นต้น และนำข้อมูลเหล่านี้มาสรุป เพื่อจัดทำรูปเล่ม

กิจกรรมการส่งเสริมตลาดและการท่องเที่ยวบนฐานของผลิตภัณฑ์ชุมชน มีการจัดกิจกรรม คือจัดอบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้าน ที่บ้านหนองตาดตามุ่ง วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2564 มีรายละเอียดของการทำกิจกรรมในครั้งนี้ก็จะเป็นในเรื่องของการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดนางฟ้าเพื่อเพิ่มมูลค่าของเห็ด เช่น น้ำพริกปลาร้าจากเห็ดนางฟ้า โดยมีวิธีทำตามขั้นตอนดังนี้

  1. ควรเลือกพริกขี้หนูแห้งจินดา เพราะจะมีสีสวยและไม่เผ็ดมาก

2. น้ำมะขามเปียก : ใช้อัตราส่วน มะขามเปียก 1 ส่วน : น้ำ 4 ส่วน

3.เลือกซื้อปลาร้าชนิดเนื้อ จะไม่มีก้าง สามารถนำมาปรุงน้ำพริกได้โดยไม่ต้องต้ม

4.หั่น ซอย สับ หอมหัวเล็ก กระเทียม ตะไคร้ ใบมะเกรูด ข่า ควรเตรียมให้แต่ละชนิดมีขนาดชิ้นใกล้เคียงกัน เมื่อนำไปคั่วจะได้สุก          เหลืองในเวลาเดียวกันทุกชิ้น

5. การผัดน้ำพริก ควรใช้ไฟอ่อน

6. เก็บน้ำพริกใส่ในภาชนะมีฝาปิด เมื่อเย็นสนิท จะเก็บไว้ได้นาน

ประมาณการราคาทุน

  1. ส่วนผสมสูตรนี้ จะได้น้ำพริกปลาร้าอินเตอร์ 600 กรัม
  2. ราคาทุน 75 – 80 บาท (รวมบรรจุภัณฑ์)
  3. ราคาขาย 35 บาท : 100 กรัม

ในส่วนนี้ได้มีการจัดหาตลาดให้แก่ชาวบ้านคาดว่าน่าจะได้ผลคือวางขายตามตลาดชุมชนหรือวางขายตามร้ายค้าขายของชำทั่วไปส่วนในเรื่องของเห็ดที่ยังไม่ได้นำมาแปลรูปในส่วนนี้สามารถขายตามหมู่บ้านได้เป็นอย่างดีผลที่เกิดขึ้นหลังจากการทำกิจกรรมพบว่าชาวบ้านได้เรียนรู้กับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ และสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับเห็ดได้มากขึ้น

กิจกรรมติดตามและให้คำแนะนำประชาชนกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ได้มีการติดตามโดยการลงพื้นที่ในชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยไดรับผิดชอบในส่วนของบ้านบุก้านตงเพื่อแลกเปลี่ยนให้คำแนะนำกับชาวบ้าน และสอบถามถึงปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงาน พบปัญหาที่เกิด คือ เชื้อเดินเต็มก้อน แต่ไม่ออกดอกสาเหตุ เชื้อเป็นหมัน เชื้อไม่ดี สภาพแวดล้อมในโรงเรือนไม่เหมาะสม มีสิ่งปนเปื้อน เช่น รา ไร แบคทีเรีย

และปัญหาในเรื่องของความเข้าใจส่วนผสมในการแปรรูป ได้มีการแก้ไขโดยเข้าไปลงมือทำให้กับชาวบ้านอีกครั้งและมีสัดส่วนที่ชัดเจนให้ โดยได้ลงพื้นที่ทำกิจกรรมที่บ้านบุก้านตง ในวันที่ 11 กันยายน 2564 คือ ได้มีการปฏิบัติงานกับชาวบ้าน คือ การแปรรูปน้ำพริกปลาร้าจากเห็ดนางฟ้าโดยรายละเอียดกิจกรรมร่วมกับชาวบ้าน จำนวน 5 คน ผลที่เกิดขึ้นคือ ชาวบ้านมีความร่วมมือเป็นอย่างดีและมีได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้นและมีรายได้เพิ่มขึ้น

การให้คำแนะนำด้านการตลาดกับกลุ่มผลิตภัณฑ์จากเห็ด และน้ำหมักชีวภาพ เห็ดนางฟ้าโดยคิดเรื่องการแปรรูปเห็ดแทนการขายสดเห็ดแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานซึ่งทางกลุ่มมองต่างจากที่อื่น ๆ ตรงที่เห็ดสดเก็บไว้ไม่ได้นานเหลือขายไม่หมดมันก็เน่าเสียการแปรรูปทำให้เห็ดของกลุ่มเราสามารถอยู่ในตลาดได้นานช่วยเพิ่มโอกาสขายได้มากขึ้นที่สำคัญสามารถเพิ่มมูลค่าเห็ดได้มากกว่าเดิมและยังเป็นที่นิยมสูงในท้องตลาดชุมชน

จัดทำเพจนำเสนอสินค้าและผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม และพัฒนาตลาดออนไลน์ โดยใช้ชื่อเพจว่า “แสลงพันเข้มแข็ง” ได้มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางของเพจ เพื่อใช้เป็นช่องทางในการขายตลาดออนไลน์ให้มีความหลากหลายทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น

รวมภาพการจัดกิจกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดนางฟ้า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู