โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
หลักสูตร HS06-การสร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
ข้าพเจ้านางสาวดวงฤทัย อัมราสกุลสมบัติ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ บ้านบุขี้เหล็ก ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานพบว่า ในช่วงการระบาดของโควิด-19 รอบนี้ ชาวบ้านในชุมชนบ้านบุขี้เหล็ก บางหลังคาเรือนต้องหยุดทำการค้าขาย บางหลังคาเรือนก็ยังค้าขายต่อไป และต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง ไม่ไปอยู่ในสถานที่ที่ผู้คนอยู่จำนวนมาก เพื่อความปลอดภัย นอกจากโควิด-19 แล้ว ในช่วงนี้เข้าสู่ช่วงหน้าฝน ฤดูแห่งการทำนา อาชีพที่เกิดขึ้นก็คือ การไถนาและ รับจ้างหว่านข้าว เป็นต้น ซึ่งเป็นอีกอาชีพที่ช่วยให้มีรายได้ให้ครอบครัว
การลงพื้นที่ชุมชนในตำบลแสลงพัน เพื่อประชาสัมพันธ์ รณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
- มอบหน้ากากอนามัย สบู่ เจลแอลกอฮอล์ และ สเปรย์แอลกอฮอล์ไว้ทำความสะอาดมือ พร้อมทั้งสอนขั้นตอนการใช้อย่างถูกต้อง
- ทำความสะอาดพื้นที่ สถานที่สาธารณะ หรือสถานที่ที่มีประชาชนรวมกลุ่มกันอยู่จำนวนมาก เช่น วัด ร้านค้าในชุมชน และศาลาประชาคม โดยทำการ ปัดฝุ่นชั้นวาง โต๊ะ เก้าอี้ กวาดพื้น กวาดเศษใบไม้บริเวณลานวัด เช็ดชั้นวาง โต๊ะ เก้าอี้ ถูพื้น จัดสถานที่ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
- เดินรณรงค์เชิญชวนประชาชนตามหลังคาเรือนให้ลงทะเบียนรับวัคซีน โควิด-19 และติดป้ายประชาสัมพันธ์ ในชุมชน
ลงพื้นที่ฝึกอบรมสร้างอาชีพให้กับกลุ่มประชาชนเป้าหมายอบรมครั้งที่ 2 วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เรื่องการเพาะเห็ด และการทำน้ำหมักชีวภาพ ณ วัดป่าแสลงพัน อบรมตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย ประชาชน 5 หมู่บ้าน จำนวน 24 คน ได้แก่
- บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่5 จำนวน 6 คน ได้แก่
- นายแสน หวานเขียง – นายวีรชัย แซกรัมย์
- นางสุนีย์ พลังมาก – นายทองสุข ชัยสิทธิ์
- นางทองใหม่ อุทัย – นางสาวสุพรรณี จันทะเมนชัย
- บ้านแสลงพัน หมู่7 จำนวน 5 คน ได้แก่
- นางสำราญ เลิศล้ำ – นางสมภาร คำบาง
- นางทองยุทธ ทูลไธสง – นางหัด สมานมิตร
- นางอมร แก้วกัลยา
- บ้านแสลงพันพัฒนา หมู่14 จำนวน 3 คน ได้แก่
- นางธิดา สีหาจันทร์ – นางปัด ฝาสูงเนิน
- นางสมัย คุณสาร
- บ้านบุก้านตง หมู่12 จำนวน 5 คน ได้แก่
- นางไผ่ แสงสำโรง – นางวิไรรัตน์ เนียนสันเทียะ
- นางอนงค์ ห้วยทอง – นางประยูร ภาระ
- นางสวัน เนียนสันเทียะ
- บ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่16 จำนวน 5 คน ได้แก่
- นางเภา เสื่อซ่อนโพรง – นางเสาร์ จันโสดา
- นางอัมพร โพนรัตน์ – นางสาวพรจันทร์ บุญทอง
- นางสาวพัชรีพร ภาดะ
ครั้งนี้ได้มีวิทยากรจากสวนเห็ดครูอ๋อย คุณภัทร ภูมราและทีมงาน มาอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มประชาชน สอนการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า การกรอกขี้เลื่อยใส่ถุงไว้สำหรับผลิตก้อนเชื้อเห็ด การทำเห็ดทอด การหยอดเชื้อเห็ด และการทำน้ำหมักชีวภาพ การทำจุลินทรีย์จากหน่อกล้วย
การอบรมในครั้งนี้ ชาวบ้านมีความสนใจในกิจกรรมที่ทำ อีกทั้งทีมงานก็ได้รับความรู้จากการทำกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย อย่างเช่นขั้นตอนการดูแลเห็ด การตัดใย การให้น้ำ การเก็บเห็ดไว้สำหรับบริโภค หรือจำหน่าย
อบรมครั้งที่ 3 วันที่ 3 มิถุนายน 2564 ณ ศาลากลางหมู่บ้าน บ้านสามเขย เป็นการอบรมสมาชิกกลุ่มย่อยเพื่อให้ตัวแทนที่เข้าอบรมอาชีพในรอบแรกถ่ายทอดสู่สมาชิกในชุมชน เรื่องการเพาะเห็ดฟาง และการทำน้ำหมักชีวภาพ ได้แก่ กลุ่มประชาชน 2 หมู่บ้าน จำนวน 11 คน
- บ้านหนองผักโพด หมู่4 จำนวน 6 คน ได้แก่
- นายอนุสรณ์ บุญเลิศ – นายพงษ์เพชร ผ่านสอน
- นายประเสริฐ ทับผา – นายณรงค์ ในสูงเนิน
- นายนิคม สุขประเสริฐ – นายเชิดชัย ชัยปัญหา
- บ้านสามเขย หมู่13 จำนวน 5 คน ได้แก่
- นายวิชิต พิมพ์พันธ์ – นายเฉลียว ไชยเพชร
- นางสมทรง วงศ์สาลี – นายบุญเลิศ ยุทธพันธ์
- นางสำเนียง รุ่งแสง
อบรมครั้งที่ 4 วันที่ 4 มิถุนายน 2564 ณ ศาลาข้างองค์การบริหารส่วนตำบลแสลงพัน เป็นการอบรมสมาชิกกลุ่มย่อยเพื่อให้ตัวแทนที่เข้าอบรมอาชีพในรอบแรกถ่ายทอดสู่สมาชิกในชุมชน เรื่องการเพาะเห็ดฟาง และการทำน้ำหมักชีวภาพ ได้แก่กลุ่มประชาชน 4 หมู่บ้าน จำนวน 21 คน
- บ้านสี่เหลี่ยมน้อย หมู่9 จำนวน 6 คน
- นางบัวเรียน วงค์แก้ว – นางหนูดอง ภูสมศรี
- นางบัวแสง พิมพ์โคตร – นายสมศักดิ์ พิมพ์โคตร
- นางบัวผัน ชอบรัมย์ – นางสาวไพบูลย์ พรมพิลา
- บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่10 จำนวน 5 คน
- นายกุลเกษม ปพรภานนท์ – นายรอด ชอบรัมย์
- นายดนัย นาครินทร์ – นายสุรัตน์ อินไธสง
- นายหนูนา ศรีทัพไทย
- บ้านหนองระนาม หมู่2 จำนวน 5 คน
- นางโยทะกา บัวงาม – นางสำอางค์ บุตรธิยากลัด
- นางสุรัตวดี แสงเงิน – นางสำลี อักษรณรงค์
- นางทน ทองศรี
- บ้านหนองตาหล่า หมู่8 จำนวน 5 คน
- นายเอื้อน การัมย์ – นายกิตติภาพ บุญลาภศิลาสี
- นายเตี๊ยม วโสรัมย์ – นายสงกา ศรีสมพร
- นายศาคม โสภาคะยัง
อบรมครั้งที่ 5 วันที่ 5 มิถุนายน 2564 ณ ศาลา SMLหนองน้ำบ้านหนองสรวง เป็นการอบรมสมาชิกกลุ่มย่อยเพื่อให้ตัวแทนที่เข้าอบรมอาชีพในรอบแรกถ่ายทอดสู่สมาชิกในชุมชน เรื่องการเพาะเห็ดฟาง และการทำน้ำหมักชีวภาพ ได้แก่ กลุ่มประชาชน 3 หมู่บ้าน จำนวน 13 คน
- บ้านโคกใหม่ หมู่1 จำนวน 5 คน
- นางสาวสมัย จันทรลักษณ์ – นายบุญเมือง ผาคำ
- นางนันทนา ขงรัมย์ – นางวิลัยลักษณ์ ขงรัมย์
- นายพิชิต ขอมา
- บ้านหนองสรวง หมู่3 จำนวน 3 คน
- นางสาวณัฐจิตรา เสนานอก – นางประครอง สีหานู
- นางสาวปณิดา ชาติมนตรี
- บ้านโคกใหม่พัฒนา หมู่15 จำนวน 5 คน
- นายจำรัส วงค์ธรรม – นายสาคร ประทุม
- นายทองมูน ประทุม – นายโพธิ์ เสาแก้ว
- นายสุดใจ เขียวอ่อน
การอบรมครั้งที่ 6 วันที่ 8 มิถุนายน 2564 ณ ศาลากลางบ้าน บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่17 เป็นการอบรมสมาชิกกลุ่มย่อยเพื่อให้ตัวแทนที่เข้าอบรมอาชีพในรอบแรกถ่ายทอดสู่สมาชิกในชุมชน เรื่องการเพาะเห็ดฟาง และการทำน้ำหมักชีวภาพ ได้แก่ กลุ่มประชาชน 3 หมู่บ้าน จำนวน 14 คน
- บ้านบุขี้เหล็ก หมู่6 จำนวน 5 คน
- นายไสว เวชวรรณ์ – นายจันศรี ศรีเจริญ
- นายสังวาล แซงรัมย์ – นางคำแปง คดีเจือ
- นางพันธ์ ดารสรัมย์
- บ้านบุขี้เหล็กใหม่ หมู่11 จำนวน 4 คน
- นายสำราญ โสดาปัตชา – นายหนูสิน พิมเสนา
- นายบุญเสริม จุมทอง – นางสมศรี หาลากรณ์
- บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่17 จำนวน 5 คน
- นางคำเนียง ทราบรัมย์ – นายสนอง แซงรัมย์
- นายสังวาลย์น้อย แก้วกล้า – นางอำนวย มาลัยสวรรค์
- นายประวิทย์ เมืองลาม
อาชีพที่อบรม
การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า
วัสดุเพาะ
- ก้อนเชื้อเห็ดฟาง
- ตะกร้า
- ฟางข้าวที่แช่น้ำเปล่า 1 คืน
- ถุงพลาสติกสำหรับคลุม
- อาหารเสริมเห็ด (ถ้ามี)
- แป้งมันหรือแป้งข้าวเหนียว
- มูลวัวหรือมูลควายตากแห้ง
- รำอ่อน
- บัวรดน้ำ
ขั้นตอนการผสมเชื้อเห็ดฟาง
- นำเชื้อเห็ดฟางออกมาขยี้กับแป้ง รำละเอียด อาหารเสริมเห็ด (ถ้ามี) อย่าใส่อาหารเสริมมากเกินไป จะทำให้เน่าเสียได้
- นำส่วนผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
- ใส่ฟางข้าวที่ผ่านการแช่น้ำไว้แล้วลงไปในตะกร้า กดให้พอแน่น
- จากนั้นโรยมูลวัวหรือมูลควายแห้งทับบนฟาง
- โรยเชื้อเห็ดฟางที่ผสมไว้แล้วโรยขอบๆตะกร้า นับเป็น ชั้นที่1 เรียบร้อย
- ทำชั้นที่ 2 3 และ4 ขึ้นอยู่กับขนาดของตะกร้า
- โดยชั้นสุดท้าย ให้โรยเชื้อเห็ดให้ทั่ว แล้วใช้ฟางทับไว้ไม่ต้องแน่น
- รดน้ำ ให้พอเปียกทั่ว จากนั้นคลุมด้วยถุงพลาสติกไม่ให้ลมเข้า 4 วัน ( ถ้าอากาศเย็นให้ยืดเป็น 5-6 วัน)
ขั้นตอนการตัดเส้นใย
- หลังจากครบวันที่กำหนดแล้ว ให้เปิดพลาสติก แล้วรดน้ำที่กองฟางพร้อมกับทำช่องระบายอากาศแล้วคลุมไว้เหมือนเดิม
- เช็คกองเห็ดเป็นระยะ ถ้าฟางแห้งให้รดน้ำ จากนั้น4 วัน เตรียมเก็บดอกเห็ดได้
การทำน้ำหมักจุลินทรีย์จากหน่อกล้วย
วัสดุอุปกรณ์
- หน่อกล้วย 3 กิโลกรัม
- กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
- ถังสำหรับเก็บแบบมีฝาปิด
วิธีทำ
- สับหน่อกล้วยให้ละเอียดใส่ลงถัง
- นำกากน้ำตาลเทลงถัง
- คนส่วนผสมให้เข้ากัน หมักไว้ 7 วัน
ประโยชน์ ป้องกันเชื้อรา ดินร่วนซุย กำจัดกลิ่นเหม็น ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ
จากการลงพื้นที่อบรมการเพาะเห็ด และการทำน้ำหมักชีวภาพ เพื่อส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มประชาชนในครั้งนี้ พบว่าประชาชนที่เข้าร่วมการอบรมมีความร่วมมือในการทำกิจกรรม ทีมผู้ปฏิบัติงานให้ข้อมูลโครงการฯ ที่ชัดเจน ครบถ้วน รับฟังความคิดเห็นของประชาชน และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อโครงการฯ มากขึ้น ทีมผู้ปฏิบัติงานพร้อมสนับสนุนผลักดันโครงการที่ทำอยู่ ให้เป็นหลักสูตรระยะสั้น และแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเพาะเห็ด และน้ำหมัก ให้เป็นผลิตภัณฑ์ในชุมชน เพื่อให้เกิดรายได้ และการประกอบอาชีพในชุมชน และครัวเรือน