วันที่ 26 มิถุนายน 2564 ณ วัดป่าแสลงพัน มีการฝึกอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีวิทยากรจากบ้านเธอแอง ครูอี๊ด ภัทรานิษฐ์ กุลพิเชษฐ์วณิช บรรยายและสอนการทำสบู่ล้างมือจากสมุนไพรให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน และตัวแทนชาวบ้านจากบ้านแสลงพัน แสลงพันพัฒนา บุก้านตง บุก้านตงพัฒนา และหนองตาดตามุ่ง สูตรและวิธีการทำ มีดังนี้
1.1 AD 25 หัวเชื้อแชมพู 600 กรัม
1.2 N70 สารลดแรงตึงผิว 1,000 กรัม
1.3 ผงข้น 350 กรัม
1.4 KD 250 กรัม
1.5 น้ำ + สมุนไพร 8,000 มิลลิลิตร
1.6 สารกันเสีย 1 ออนซ์
1.7 น้ำหอม 1 ออนซ์
1.8 สีผสมอาหาร พอประมาณ
วิธีทำ
1.นำน้ำ+สมุนไพรต้มให้เดือด กรองเอากากออก
2.นำ AD25 + N70 ผสมคนให้เข้ากัน
3.นำน้ำสมุนไพรที่เตรียมไว้ใส่ผงข้น คนให้ละลาย จากนั้นเทส่วนผสมในข้อ 2 คนให้เข้ากัน
4.เติม KD,สารกันเสีย,น้ำหอม และสีผสมอาหาร คนให้เข้ากัน บรรจุลงภาชนะ
ผลการฝึกอบรมในครั้งนี้ พบว่าผู้ที่เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้การทำสบู่จากสมุนไพรที่หาได้ในชุมชน อีกทั้งมีการรวมกลุ่มกันระหว่างชุมชนทำให้เกิดความสามัคคี ร่วมมือกันในกลุ่ม การอบรมในครั้งนี้จึงสำเร็จไปได้ด้วยดี
วันที่ 9 กรกฎาคม 2564 ลงพื้นที่ศาลากลางบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ 17 และบ้านผู้ใหญ่บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ 5 เพื่อจัดเตรียมสถานที่ในการทำโรงเรือนสำหรับเพาะเห็ดนางฟ้าในชุมชน โดยทำชั้นวางไว้สำหรับวางเห็ด จำนวน 1,000 ก้อน
วันที่ 11 กรกฎาคม 2564 ลงพื้นที่ศาลากลางบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ 17 และบ้านผู้ใหญ่บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ 5 นำเห็ดที่ได้จำนวน 1,000 ก้อนจาก สวนเห็ดครูอ๋อย จัดเรียงไว้ในชั้น พร้อมอธิบายขั้นตอนและวิธีการดูแลเห็ดนางฟ้าโดย ครูพีช ภัทร ภูมรา ดังนี้
1.เมื่อบ่มก้อนเชื้อจนเส้นใยเดินเต็มถุงตั้งแต่ปากถุงจนก้นถุงแล้ว
2.หลังจากนั้นทำการเปิดหน้าเชื้อก้อนเห็ด โดยต้องอยู่ในโรงเรือนที่ควบคุมความชื้น อุณหภูมิ แสงสว่าง และอากาศถ่ายเท อย่างเหมาะสม
3.วิธีเปิดหน้าก้อนเห็ด ทำการเปิดจุกพลาสติกออก นำปลายช้อนกินข้าวสั้น ทำความสะอาดหน้าก้อนเห็ดโดยการขูดสำลี และเมล็ดข้าวฟ่างออก
4.วิธีการรดน้ำ ควรพ่นเพียงแค่ให้หัวก้อนเชื้อชื้นก็พอ และจะรด เช้า กลางวัน เย็น แล้วแต่สภาพอากาศ
จากการลงพื้นที่ทำผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้ พบว่าผู้ที่เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้การทำสบู่จากสมุนไพรที่หาได้ในชุมชน อีกทั้งมีการรวมกลุ่มกันระหว่างชุมชนทำให้เกิดความสามัคคี ร่วมมือกันในกลุ่ม พูดคุยกันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี อีกทั้งพบว่าการลงพื้นที่ทำโรงเรือนเห็ด ทั้ง2 ชุมชน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานและชาวบ้านมีการทำงานเป็นทีม สามัคคีกัน มีการแบ่งงานตามชุมชนที่ได้รับผิดชอบ ทำให้งานดำเนินการไปได้อย่างรวดเร็วและประสบผลสำเร็จ อีกทั้งชาวบ้านยังได้รับความรู้ พร้อมการดูแล เพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ
P