โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 

(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศไทย)

ข้าพเจ้านางสาวเพ็ญนภา  ตาชูชาติ  ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร : HS06 การสร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร เมื่อวันที่ 10-12 เดือนกุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09.00-18.00 น. ณ พื้นที่ หมู่ 15 บ้านโคกใหม่พัฒนา ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่หมู่ 15 บ้านโคกใหม่พัฒนา ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลของชุมชนตามงานที่ได้รับมอบหมาย ดำเนินการเก็บข้อมูลชุมชนตามแบบฟอร์ม 01 และ 02 ซึ่งใช้เป็นแบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน (01) แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 (02) เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับจากชุมชนมาใช้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของชุมชนของท่าน จึงใคร่ขอความกรุณาผู้ตอบแบบสอบถามได้ให้ข้อมูลที่เป็นจริงและตอบคำถามในทุกคำถามเพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาชุมชนตามเป้าหมาย

โดยการลงพื้นที่นั้นคนในชุมชนได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการให้ข้อมูล ข้าพเจ้าได้พูดคุยซักถามข้อมูลถึงความเป็นมาของหมู่บ้าน สภาพความเป็นอยู่และปัญหาต่างๆในชุมชน ตามที่ได้รับมอบหมายจากส่วนกลาง ซึ่งในการเก็บข้อมูลนั้นพบว่า คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ปลูกพืชผักสวนครัว แคนตาลูป พุทราและเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว เป็ด ไก่ เป็นหลัก พร้อมกันนี้ยังมีการประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปซึ่งรายได้ของคนในหมู่บ้านมาจากการทำข้าวเป็นหลัก และหมู่บ้านนี้ยังมีจุดเด่นที่ไม่พอที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้

ปัญหาที่พบส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาหนี้สินสะสมมาจากการกู้ยืมทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก รายจ่ายมากกว่ารายรับ ปัญหาการกระจายสินค้าที่ผลิตเองทั้งภาคการเกษตร เพื่อเข้าสู่ตลาดที่กว้างขึ้น เข้าไม่ถึงการตลาดใหญ่ๆ ทำให้ไม่มีรายรับในส่วนนี้เท่าที่ควรและในการสำรวจผลกระทบจากโควิด-19 พบว่าคนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาดโควิดเป็นอย่างดี มีการปฏิบัติตามแนวป้องกันโรคระบาดโควิด 19 ได้อย่างดีเยี่ยม

ทั้งนี้ข้าพเจ้าจะนำข้อมูลที่ได้มาจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถามดังกล่าวไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติและเขียนเรียบเรียงในเชิงวิชาการต่อไป

 

ภาพบรรยากาศการลงพื้นที่

 

 

 

อื่นๆ

เมนู