1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS06 - ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ
  4. HS06 – การลงพื้นที่อบรมโครงการหลักสูตรการส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางและปุ๋ยชีวภาพจากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง: เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรสำหรับประชาชน ในเขตตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

HS06 – การลงพื้นที่อบรมโครงการหลักสูตรการส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางและปุ๋ยชีวภาพจากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง: เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรสำหรับประชาชน ในเขตตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)

ประจำเดือนพฤษภาคม 2564

ข้าพเจ้านางสาวพัชรี มณีเติม ประเภท บัณฑิตจบใหม่

หลักสูตร : HS06 การสร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

พื้นที่รับผิดชอบ บ้านหนองผักโพด หมู่ 4  ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่ในโครงการตามที่รับมอบหมาย ดังนี้

1.การวิเคราะห์ข้อมูล บ้านหนองผักโพด หมู่ 4 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามแบบ 01, 02 และ 06 สภาพความเป็นอยู่ส่วนใหญ่ มีฐานะยากจน เพราะชาวบ้านประกอบอาชีพทำการเกษตร ทำไร่ ทำสวน และ เลี้ยงสัตว์ ทำให้รายได้ของชาวบ้านเข้าทางเดียว จึงทำให้วัยทำงานส่วนมากออกไปทำงานที่ต่างจังหวัด พอเกิดการโรคระบาดครั้งที่ 3 ชาวบ้านยังไม่กล้าให้ข้อมูลส่วนตัวเท่าไหร่นัก และมีความระแวงเนื่องจากโรคโควิด 19 ชาวบ้านต้องเว่นระยะห่าง และกลัวว่าเจ้าหน้าที่จะนำเชื้อโรคไปกระจายในพื้นที่ ผลกระทบต่อคนในชุมชน เช่น การออกไปตลาด การพูดคุยกับคนในชุมชล โรงเรียนปิด ศาสนสถานก็ต้องเว่นระยะห่าง และต้องสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน

2.ปฏิบัติหน้าที่ในโครงการฝึกอบรมการส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง: เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยทำหน้าที่เป็น ผู้จัดเตรียมสถานที่ บริการเสริฟน้ำและอาหารว่างให้กับผู้ที่ เข้าร่วมปฏิบัติฝึกอบรม ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังนี้-เชิญชวนสมาชิกในชุมชน บ้านหนองผักโพด หมู่ 4 เพื่อร่วมเป็นจิตอาสาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 6 คน ได้แก่

    1. นายอนุสรณ์ บุญเลิศ         บ้านหนองผักโพด หมู่ที่ 4
    2. นายพงษ์เพชร ผ่านสอน   บ้านหนองผักโพด หมู่ที่ 4
    3. นายประเสริฐ ทับผา         บ้านหนองผักโพด หมู่ที่ 4
    4. นายณรงค์ ในสุงเนิน        บ้านหนองผักโพด หมู่ที่ 4
    5. นายนิคม สูขประเสริฐ       บ้านหนองผักโพด หมู่ที่ 4
    6. นายเชิดชัย ชัยปัญญา      บ้านหนองผักโพด หมู่ที่ 4

3.ได้เข้ารับการอบรม เรื่อง การส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง: เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ณ เทศบาลตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 3-4 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 โดยมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

           3.1 กิจกรรมเปิดโครงการและแนะนำโครงการฝึกอบรมการส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง: เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

           3.2 การฝึกอบรมการผลิตปุ่ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ ดังนี้ โดยแลกเปลี่ยนจากเพื่อนสมาชิกในทีม

                       สูตรไตรโครเดอร์มา

                          วัสดุอุปกรณ์

                           -ถังใส่น้ำ 1 ถัง

                           -ไม้พาย 1 อัน

                           -เชื้อไตรโครเดอร์มา 2 ช้อนแกง

                           -น้ำตาลแดงธรรมชาติ 2 กิโลกรัม

                     วิธีการทำ

        1. นำน้ำ 20 ลิตรมาเทลงในถังภาชนะ
        2. นำน้ำตาลแดง 2 กิโลกรัมมาเทลงใส่ถัง
        3. นำเชื้อไตรโครโรมา 2 ช้อนแกง เทลงใส่ถัง
        4. ผสมให้เข้ากันไปในทิดทางเดียวกันให้น้ำตาลละลาย
        5. หมักไว้ 48 ชั่วโมง หรือ 2 วันนำออกมาใช้ได้เลย

                     วิธีใช้

                           – 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร

                           – ฉีดพ่นจอนเช้าหรือตอนเย็น ทุกสัปดาห์

                     ประโยชน์ไตรโคเดอร์มา

                          – ป้องกันเชื้อรา

                          – รากเน่า

                          – โคนเน่า

                          – แดงเกอร์

                       3.3 การเพาะเห็ดจากฟางข้าว

                               วัสดุอุปกรณ์สำหรับการเพาะเห็ดฟางในตระกร้าพลาสติก

                               1.วัสดุเพาะเห็ดฟางหลักๆ ได้แก่ ฟาง ฟางทุกชนิด แห้งสนิทไม่เปียกฝนมาก่อน ถ้าเป็นตระกร้าใหม่ก็สามารถนำมาเพาะเห็ดได้เลยหรือถ้าเป็นตร้าที่เคยเพาะเห็ดมาแล้วควรทำความสะอาดและตากให้แห้ง

                               2.อาหารเสริม เช่น ผักตบชวาสด หรือแห้ง เปลือกถั่วต่างๆ ผักบุ้ง มูลวัว/ควายแห้ง รำ เศษฝ้าย ไส้นุ่น ก้อนเชื้อนางรม/นางฟ้าเก่า เป็นต้น

                               3.อุปกรณ์อื่นๆ ได้แก่ ตะกร้า พลาสติก บัวรดน้ำ เชื้อเห็ดฟาง

                               วิธีการเพาะเห็ดฟาง

          1. ฟางแช่น้ำค้าง 1 คืน
          2. หัวเชื้อ 1 ก้อน แบ่งเป็น 3 กอง เพาะได้ 3 ตะกร้า
          3. ฟางอัดลงก้นตะกร้ากดให้แน่น สูง 1 ฝ่ามืออาหารเสริมต่างๆแช่น้ำพอชื้น โรยชิดขอบตะกร้า
          4. โรยเชื้อเห็ดฟาง 1 ส่วนทับบนอาหารเสริม เสร็จชั้นที่ 1
          5. ทำชั้นที่ 2 และ 3 เหมือนชั้นที่ 1
          6. ชั้นบนสุด โรยอาหารเสริมเต็มหน้าตะกร้า โรยเชื้อให้ทั่ว กลบด้วยอาหารเสริมอีกครั้ง

                        ประโยชน์ของเห็ดฟาง

                        เป็นเห็ดที่มี ไขมันต่ำแคลลอรี่น้อย และไม่มีคลอเรสเตอรอล มีคาร์โบไฮเดรตแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี1 บี2 วิตามินซี นอกจากนี้ยังมี ซีลิเนียม โพแทสเซียม ช่วยต้านมะเร็งลดความดันโลหิต เห็ดฟางยังมีโปรตีนสูงและกรดอะมิโนต่างๆ การทานเห็ดฟางจึงดีต่อสุขภาพ ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยย่อยอาหาร บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง บำรุงตับ แก้ร้อนใน แก้ช้ำใน…เห็ดฟางมีประโยชน์ขนาดนี้แล้วจึงเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ถ้าหากปลูกขายแล้วเชื่อแน่ว่า น่าจะเป็นอีกธุรกิจเกษตรทำเงินแน่นอน

4. ทำการบันทึกข้อมูลสถานที่สำคัญในตำบล โดยรับผิดชอบบ้านหนองผักโพด หมู่ 4 บ้านหนองผักโพด โดยรวมยังไม่พบจุดเด่นของชุมชน จากการลงพื้นที่จึงเสนอให้ มีสถานที่สำคัญต่าง ๆ ดังนี้ คือวัดหนองผักโพด-สามเขย

5. ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่

         5.1 ขอให้ผู้นำชุมชนช่วยประสานงานหรือประกาศให้ชาวบ้านทราบ เพราะชาวบ้านไม่กล้าให้ข้อมูล เนื่องจากสาเหตุเกิดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

        5.2 ชาวบ้านบางคนมีอาชีพทำไร่ เลี้ยงสัตว์ มักจะไม่ค่อยอยู่บ้าน ทำให้ไม่สามารถขอเก็บข้อมูลได้และทำให้ยืดระยะเวลาเก็บข้อมูลออกไป

       5.3 ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุที่อยู่บ้าน ส่วนลูกหลานจะออกไปทำงาน จึงทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเก็บข้อมูล

6. ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

       6.1 ศึกษางานที่ได้รับมอบหมายและทำความเข้าอย่างถี่ถ้วน

       6.2 รับฟังคำแนะนำและข้อเสนอแนะจากสมาชิกในทีม

       6.3 เก็บข้อมูลจากสมาชิกในหมู่บ้านให้มากที่สุด และนำไปปรับปรุงและพัฒนาให้เข้ากับโครงการที่กำลังทำอยู่ ณ ขณะนี้

       6.4 สร้างความเชื่อมั่นให้กับสมาชิกในหมู่บ้านว่าจะทำโครงการได้สำเร็จ

 

อื่นๆ

เมนู