บ้านบุขี้เหล็ก หมู่ที่ 6 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

      ข้าพเจ้านางสาวดวงฤทัย อัมราสกุลสมบัติ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2564 ที่วัดป่าแสลงพัน เวลา 16:00 น. ได้มีการประชุมวางแผนกับอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อมอบหมายงานประจำเดือนมีนาคม โดยเก็บข้อมูล แบบฟอร์ม 01 แบบสอบถามระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้พัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของชุมชน และแบบฟอร์ม 02 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 

      จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูล วันที่ 9 มีนาคม 2564 ตามแบบฟอร์ม 01 พบว่าประชาชนในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงวัว เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา รองลงมา คือ ค้าขาย โดยผลิตภัณฑ์ในชุมชนที่มีการจำหน่าย ได้แก่ พริก หอมแดง และกระเทียม ซึ่งสามารถนำไปต่อยอด แปรรูปเป็นสินค้าอื่นได้มากมาย เป็นการเพื่มรายได้ให้ครัวเรือนได้  เนื่องจากบางครัวเรือน ต้องกู้ยืมเพื่อมาทำการเกษตร ทำให้ไม่มีเงินออมเก็บไว้ใช้ในครัวเรือน ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมในชุมชน นอกจากโดดเด่นทางด้านเกษตรกรรมแล้ว ยังพบว่าบางครัวเรือนมีการทอเสื่อ ทอผ้า สานแห มีการจำหน่ายในชุมชนเช่นกัน แบบฟอร์ม 02 พบว่า ประชาชนส่วนมากเข้าใจเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ว่าเป็นเช่นไร และป้องกันตัวเองอย่างดี เช่น สวมหน้ากากทุกครั้งเมื่อไปร่วมกิจกรรมในชุมชน หรือไปห้างสรรพสินค้า ตลาด ล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสสิ่งของด้วยเจอแอลกอฮอล์ ใช้ช้อนกลางเวลารับประทานอาหาร ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ เป็นต้น

     ปัญหาที่พบจากการลงพื้นที่ ด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนพบว่า  มีการใช้สารเคมีทางการเกษตร แสงสว่างไม่เพียงพอในบางจุด จัดการขยะด้วยการเผา มีแหล่งน้ำในชุมชนแต่ไม่เพียงพอต่อการทำเกษตร ด้านสังคมในชุมชน พบปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด เป็นต้น ด้านการจัดการในชุมชน มีบางครัวเรือนรับขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ นำไปขายเพื่อเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน ในชุมชนมีการจัดการระบบน้ำประปา มีการจัดเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง มีการประชุมและแก้ไขปัญหาในชุมชน นอกจากนี้ปัญหาและผลกระทบที่ได้รับในช่วงมีการเคอร์ฟิว พบว่า ส่งผลกระทบปานกลาง และน้อย ในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน ส่วนด้านรายได้ กระทบปานกลางเช่นกัน หลังจากปลดล็อกแล้วส่งผลกระทบน้อยลง สามารถเดินทางไปประกอบอาชีพได้ง่ายขึ้น มีรายได้เข้ามามากขึ้น

 

อื่นๆ

เมนู