1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS06 - ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ
  4. HS06-กิจกรรมส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์เห็ดนางฟ้าจาก 3 โรงเรือนต้นแบบ และติดตามความก้าวหน้าโรงเรือนเห็ด ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนกันยายน 2564

HS06-กิจกรรมส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์เห็ดนางฟ้าจาก 3 โรงเรือนต้นแบบ และติดตามความก้าวหน้าโรงเรือนเห็ด ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนกันยายน 2564

 

 

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)

ประจำเดือนกันยายน 2564

นาย สราญจิต อินทราช ประเภทประชาชนทั่วไป  เจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ  จังหวัดบุรีรัมย์

พื้นที่รับผิดชอบ บ้านโคกใหม่ หมู่ที่ 1  ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : HS06 – สร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

 

ได้มีการจัดทำรูปเล่มการรายงานผลโครงการพื้นที่รับผิดชอบ ณ บ้านโคกใหม่ หมู่ 1 ตำบล แสลงพัน      อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยสำรวจในพื้นที่ชุมชน ตั้งแต่เดือน มีนาคม จน ถึง เดือน กรกฎาคม ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากแบบ 01 02 และข้อมูลสถานที่สำคัญ รายตำบล เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ทำให้การลงพื้นที่ ในการสำรวจครั้งนี้ ประสบปัญหาความยากลำบากมากขึ้น เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว ต่างหวาดระแวง ในการติดต่อสอบถามกับบุคคลที่มาจากนอกพื้นที่เพราะประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ นั้น ต่างเป็นห่วง กลัวจะมีการแพร่ระบาดเข้ามาในเขตพื้นที่หมู่บ้านตนเอง ทำให้หลายครอบครัวในพื้นที่ดังกล่าวเดือดร้อน ทางผู้ปฏิบัติงานจึงมีการรณรงค์   ในการใช้มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19)                   ให้ชุมชนดังกล่าว โดยการแนะนำการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19)  ตามมาตรการ      ที่ได้รับมอบหมายมา เช่น การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย การสวมหน้ากากอนามัย รวมถึงการล้างมือ          ด้วยเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง

  1. การส่งเสริมด้านการตลาดการท่องเที่ยว โดยมีผลิตภัณฑ์ของชุมชน เป็นจุดขายหลัก ทีมผู้ปฏิบัติงาน ได้ร่วมมือกับสมาชิกที่ร่วมโครงการ โดยการสร้างเรือนเพาะเห็ด 3 กลุ่ม คือ (1) บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา     (2) บ้านบุก้านตงพัฒนา (3) บ้านหนองตาดตามุ่ง โดยการช่วยทำ และแนะนำการออกแบบบรรจุภัณฑ์       ช่วยขายและขยายการตลาด แนะนำตลาดให้ ส่วนบรรจุภัณฑ์นั้นใช้การออกแบบ และโลโก้ให้ดูง่ายแปลกตาและเป็นที่โดดเด่น เป็นที่สนใจต่อผู้บริโภค รวมถึงถูกสุขลักษณะ
  2. การติดตามและกิจกรรมให้คำแนะนำประชาชนกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ที่ศาลากลางหมู่บ้าน บ้านหนองตาดตามุ่ง ใน วันที่ 30 สิงหาคม 2564 ได้มีการแบ่งงานรับผิดชอบ เป็นกลุ่มๆ ประชาชนได้มีการให้ความสนใจเป็นอย่างมากและทำตามด้วยดี

2019 (COVID 19) 4.การแปรรูปผลิตภัณฑ์และการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์  ได้มีการจัดทำและจัดสอน ในการแปรรูปเห็ดนางฟ้า เป็น ไส้กรอกวุ้นเส้น น้ำพริกปลาร้าทรงเครื่องเห็ด

วิธีทำ

  1. ล้างไส้ให้สะอาด
  2. ล้างให้สะอาดแล้วฉีกเห็ดเป็นชิ้นเล็ก นึ่งสุก 10 นาที แล้วบีบน้ำออกพอหมาดด้วยผ้าชาวบาง
  3. โขลกพริกไทย รากผักชี และกระเทียมพอละเอียด
  4. นำหมูบดคลุกให้เข้ากับเครื่องปรุงทั้งหมด ประมาณ 5 นาที ยัดใส่ไส้ที่เตรียมไว้ มัดเป็นก้อนพอดีคำ
  5. ผึ่งลมให้แห้ง ประมาณ 3-4 ชั่วโมง ก็สามารถนำมาไปประกอบอาหารได้

วัตถุดิบเห็ดไส้กรอกเห็ดวุ้นเส้น

เห็ดฉีกฝอยนึ่งสุก   600   กรัม                   หมูบดปนมัน   400   กรัม                กระเทียม   50   กรัม

พริกไทยเม็ด           10     กรัม                    รากผักชี           3     ราก                  ผงปรุงรส       1  ช้อนโต๊ะ

เกลือ   1    ช้อนโต๊ะ                                    ซอสหอย      2   ช้อนโต๊ะ                ซีอิ๊วขาว     1    ช้อนโต๊ะ

น้ำตาลทาย     2  ช้อนโต๊ะ                         วุ้นเส้นสด      500     กรัม                ไส้หมูสำหรับยัด    10     กรัม

เชือกมัดไส้หรอก      1         ม้วน

วิธีทำ

  1. คั่วกระเทียม หอมหัวเล็กให้สุก แล้วโขลกละเอีย    ด
  2. ใส่ปลาร้าในกระทะตั้งไฟอ่อนๆ ใสน้ำมะขามเปียกและน้ำตาลทราย ผัดให้ส่วนผสมเข้ากันดี
  3. ใส่หอมหัวเล็ก กระเทียม ตะไคร้ ข่า และใบมะกรูด ที่เตรียมไว้ ผัดให้เข้ากัน พอส่วนผสมเดือดจึงใส่พริกป่น ผัดให้เข้ากันดี ตักขึ้นใส่ภาชนะ

วัตถุดิบน้ำพริกเห็ดปลาร้าทรงเครื่อง

พริกขี้หนูป่น   150   กรัม                              หอมหัวเล็ก     150   กรัม

กระเทียม    150   กรัม                                  ข่าซอย คั่ว แล้วโขลกละเอียด   20 กรัม

ตะไคร้ คั่วโขลกละเอียด 20 กรัม                ใบมะกรูดคั่วแล้วโขลกละเอียด    20 กรัม

น้ำมะขามเปียก   50   กรัม                           เนื้อปลาร้า   200 กรัม

น้ำตาลทราย     100 กรัม                             เห็ดป่น       50 กรัม

การส่งเสริมด้านการตลาดการท่องเที่ยว โดยมีผลิตภัณฑ์ของชุมชน เป็นจุดขายหลัก ทีมผู้ปฏิบัติงาน      ได้ร่วมมือกับสมาชิกที่ร่วมโครงการ โดยการสร้างเรือนเพาะเห็ด 3 กลุ่ม คือ (1) บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา     (2) บ้านบุก้านตงพัฒนา (3) บ้านหนองตาดตามุ่ง โดยการช่วยทำ และแนะนำการออกแบบบรรจุภัณฑ์       ช่วยขายและขยายการตลาด แนะนำตลาดให้ ส่วนบรรจุภัณฑ์นั้นใช้การออกแบบ และโลโก้ให้ดูง่ายแปลกตาและเป็นที่โดดเด่น เป็นที่สนใจต่อผู้บริโภค รวมถึงถูกสุขลักษณะ

อื่นๆ

เมนู