HS06-กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์การเพาะเห็ดนางฟ้า และเก็บแบบสอบถาม SROI ในตำบลแสลงพัน บ้านโคกใหม่ และ บ้านหนองตาดตามุ่ง

 

ข้าพเจ้านาย สราญจิต อินทราช ประเภทประชาชนทั่วไป HS06 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมสมาชิกผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรประจำพื้นที่บ้านโคกใหม่ หมู่ 1 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้าได้ทำการลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับทีมสมาชิกผู้ปฏิบัติงานตำบลแสลงพัน ในการปฏิบัติงานเดือนตุลาคม เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดโคโรนา 2019 ยังมีเพิ่มขึ้นในตำบลแสลงพันและบริเวณใกล้เคียง ทำให้พื้นที่ที่จัดทำกิจกรรมของทีมสมาชิกผู้ปฏิบัติงานร่วมกับทีมสมาชิกชุมชนเป็นไปได้ยาก แต่ทางอาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ประชุมและมอบหมายงานเพื่อลงพื้นที่จัดทำกิจกรรม โดยการแบ่งโซน แบ่งกลุ่มลงพื้นที่เพื่อความปลอดภัยและระมัดระวังกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

 

โดยข้าพเจ้าได้ รับผิดชอบในการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม SROI ในพื้นที่ตำบลแสลงพัน ในส่วนของการเก็บข้อมูลเอกชนและร้านค้า ห้างร้าน บริษัท และ หจก. ร้านวัสดุก่อสร้าง ในพื้นที่ตำบล แสลงพันร่วมกับสมาชิกในกลุ่มโดยแบ่งหน้าที่กันซึ่งในส่วนนี้ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ร่วมกัน 4 คนโดยมี

1.นาย บุญเหนือ

2.นายหัสวัฒน์

3.นายอภิสิทธ์

4.นายสราญจิต

และได้มีการเข้าเก็บข้อมูล ชุมชนทั่วไปในพื้นที่รับผิดชอบของตัวเอง ใน พื้นที่บ้านโคกใหม่ หมู่ที่ 1 ตำบลแสลงพัน อ.ลำปลายมาส จ.บุรีรัมย์

โดยได้รับความร่วมมือจาก ผู้ใหญ่บ้านโคกใหม่ หมู่ 1 ต.แสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

และหลังจากนั้นในวันที่ 7 ตุลาคม ได้มีการลงพื้นที่โรงเพาะเห็ด บ้านหนองตาดตามุ่ง เพื่อเข้า สำรวจและติดตาม ผลการ เพาะเห็ดนางฟ้าของ ชุมชนโดย ลงพื้นที่ร่วมกันกับทีมงานที่รับผิดชอบ เพื่อดู ความคืบหน้า สอบถาม และรับฟังปัญหา ต่างๆในการเพาะเห็ดนางฟ้า

และนำมาสรุปเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

-ปัญหาในตอนนี้ของการเพาะเห็ดคือ

1.เห็ดมีการออกน้อยลง เนื่องจากเชื้อเห็ด เกิดเชื้อราขึ้น

2.จากปัญหาข้อที่1ทำเห็ดไม่พอในทำผลิตภัณฑ์แปรรูป

-การแก้ปัญหา

1.ทำความสะอาดโรงเรือน และ ทิ้งไว้ 7 วัน และรอติดตามผล

 

ผลผลิตจากโรงเพาะเห็ดชาวบ้านได้นำไปขายให้เป็นกองทุนหมู่บ้าน ทำให้เกิดความสามัคคีในชุมชนช่วยกันดูแลแก่ประโยชน์ส่วนรวมมีความเข้มแข็งเป็นประสบการณ์ความรู้นำไปประยุกต์ใช้และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นในครั้งต่อไป

 

 

ได้มีการลงพื้นที่ เก็บแบบสอบถามเพิ่มเติม ในเขตพื้นที่ ตำบลที่รับผิดชอบ โดยได้แบ่งหน้าที่กัน

โดยที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้เก็บแบบสอบถามในส่วนของร้านค้าชุมชน

เช่น ห้างทวีกิจ ในพื้นที่ตำบล ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านสี่เหลี่ยม ห้างร้าน และ ร้านค้าวัสุด ต่างๆ

โดยมีการให้ความร่วมมือของชุมชนอย่างดีเยี่ยม

 

กิจกรรมพัฒนาการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ)

วันที่ 16 ตุลาคม 2564 จัดสถานที่อบรมให้แก่ตัวแทนชาวบ้านหมู่ละ 2 คน ณ ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 7 และศาลาหมู่ 17 ตำบลแสลงพัน เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมพัฒนาตำบลแสลงพัน ระยะที่ 2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ)

โดยมีการให้คำแนะนำการใช้ ปุ๋ยหมักชีวภาพ และ การทำปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุเหลือใช้ ให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ โดยที่เน้น การปลูกผักโดยปลอดสารพิษ

สูตรที่ 1 การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

         วัสดุและอุปกรณ์

1.เศษอาหารแห้ง เช่น เศษข้าว เศษขนมปัง ก้างปลา เปลือกไข่ เปลือกผลไม้ 1 ส่วน

2.มูลสัตว์ เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ ขี้ม้า 1 ส่วน

  1. ใบไม้ 1 ส่วน

4.ถังขนาด 20 ลิตร

5.ตาข่ายกันแมลง

          วิธีทำ

1.นำถังขนาด 20 ลิตร มาเจาะรูไว้รอบถังแล้วใช้ตาข่ายกันแมลงพันให้รอบ เพื่อช่วยระบายอากาศและป้องกันแมลงรบกวน

2.ผสมเศษอาหารแห้งที่มีขนาดเล็กและไม่มีน้ำ เช่น เศษข้าว เศษขนมปัง ก้างปลา เปลือกไข่ และเปลือกผลไม้ เข้ากับมูลสัตว์ เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ ขี้ม้า และเศษใบไม้ ในอัตรา 1:1:1 ส่วน

3.คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วปิดฝาให้สนิท ถ้าหากวันต่อไปมีเศษอาหารเพิ่ม ก็นำมาเติมเข้าไปได้ แต่อย่าลืมผสมในอัตราส่วนเท่าเดิมด้วย

4.พลิกกลับส่วนผสมวันละ 1-2 ครั้ง เป็นประจำทุกวัน

หมายเหตุ: ในช่วงแรกไม่จำเป็นต้องเติมน้ำ เพราะเศษอาหารมีความชื้นอยู่แล้ว แต่เมื่อเห็นว่าส่วนผสมเริ่มแห้งลง ก็สามารถพรมน้ำเข้าไปได้เล็กน้อย โดยจะใช้เวลาในการหมักประมาณ 1 เดือน ก็จะได้ปุ๋ยหมักสีดำขนาดเล็ก ที่แห้งสนิทและไม่มีกลิ่นเหม็นไว้ใช้บำรุงต้นไม้แล้ว

สูตรทึ่ 2 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพแบบน้ำ

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

1.ถุงกระสอบดินสำหรับใส่เศษอาหาร

2.ถังมีฝาปิด ขนาดที่สามารถใส่น้ำได้ 10 ลิตรขึ้นไป

3.น้ำตาล 1 กิโลกรัม

4.น้ำสะอาด 10 ลิตร ควรพักคลอรีนไว้สัก 1-2 คืน

          วิธีทำ

1.นำน้ำสะอาด 10 ลิตร มาเติมลงในถัง ใส่กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม หรือใส่น้ำตาล 1 ส่วน ใช้ไม้กวนให้เข้ากัน

2.นำเศษอาหารใส่ลงในกระสอบ (กระสอบดินถุงที่พอจะมีช่องระบายอากาศ) มัดปากถุงแล้วแช่ลงไป โดยเเนะนำว่าไม่ควรใส่เศษอาหารเกิน 3 ส่วน

3.หมักทิ้งไว้ประมาณ 20-30 วัน โดยควรปิดฝาให้สนิท เพื่อให้แมลงจะได้ไม่มาไข่ เเละทำให้ถังหมักของเราไม่มีหนอน

วิธีนำมาใช้

1.เวลานำมาใช้รดน้ำต้นไม้ ก็ควรจะผสมให้เจือจาง เเนะนำว่าควรใช้ 2 ชัอนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 บัว (ประมาณ 20 ลิตร)

2.ส่วนกากที่เหลือก็สามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยต่อได้ โดยนำมาผสมกับใบไม้แห้ง เเละปุ๋ยคอก  รดน้ำ ปรับความชื้น 60% คือ เมื่อบีบแล้วไม่มีน้ำไหลซึมออกจากง่ามมือ และเมื่อแบมือออก ปุ๋ยยังคงจับตัวกันเป็นก้อน และทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์ หรือสังเกตดูจนปุ๋ยหายร้อน ก็สามารถนำไปใช้ได้

หมายเหตุ: ระหว่างการหมัก ถ้าเป็นไปได้ก็ควรเทเข้าเทออกสักหน่อย คล้ายๆ กับเป็นการกลับกองไปในตัว  เเต่ถ้าลองสังเกตหรือจับดูเเล้วปุ๋ยที่หมักไม่ร้อนแสดงว่ากระบวนการหมักไม่เกิด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าเราปรับความชื้นไม่เหมาะสม

สูตรที่ 3 การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารในครัวเรือนแบบฝังดิน

วัสดุอุปกรณ์

1.ถุงผ้าแยงเขียว     1 ใบ

2.เศษอาหารที่สะสมไว้หลายวัน 1 ถัง

3.น้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ขันพลาสติก หรือ จุลินทรีย์น้ำซาว

          วิธีทำ

1.ขุดดินเป็นหลุมลึกพอประมาณกับถุงที่ใส่เศษอาหาร

2.หย่อนก้นถุงผ้าแยงลงไปในหลุมแล้วเศษอาหารลงไปให้เต็ม

3.เทน้ำหมักที่เตรียมไว้ให้และมัดปากถุงผ้าแยงให้แน่น แล้ววางถุงลงแนวนอน

4.เอาดินกลบให้ทั่วถึง ไม่ต้องกลบแน่น หาป้ายเขียนวันหมักไว้เพื่อกันลืม หมักไว้ประมาณ 30 วันก็ขุดเอามาใช้ประโยชน์ได้

– น้ำหมักน้ำซาวข้าว

1.น้ำซาวข้าว      1- 1.5    ลิตร

2.น้ำตาลทราย       2       ช้อนโต๊ะ

3.นมเปรี้ยว          2        ช้อนโต๊ะ

4.ขวดพลาสติกขนาด 1- 1.5 ลิตร

 วิธีทำ

เทน้ำซาวข้าวที่เตรียมไว้ลงขวด ตามด้วยน้ำตาลทราย และนมเปรี้ยว เขย่าให้น้ำตาลละลายปิดฝาหลวมๆหมักไว้ 1 อาทิตย์

ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก

1.ปุ๋ยหมักเป็นการนำขยะอินทรีย์มาใช้ประโยชน์ใหม่ จึงช่วยลดปริมาณขยะอินทรีย์เข้าระบบการจัดการขยะได้

2.ปุ๋ยหมักบางชนิดมีจุลินทรีย์ที่ช่วยยับยั้งและป้องกันจุลินทรีย์ที่ทำให้พืชเป็นโรคได้

3.ปุ๋ยหมักมีธาตุอาหารครบถ้วน ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม

4.ปุ๋ยหมักเป็นแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตในดินที่เป็นประโยชน์ จึงช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีขึ้น

5.ปุ๋ยหมักมักจะปล่อยธาตุอาหารให้พืชอย่างช้า ๆ ทำให้อยู่ในดินได้ค่อนข้างนาน จึงมีโอกาสเสียน้อยกว่าปุ๋ยเคมี

6.ปุ๋ยหมักช่วยปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดินให้เหมาะสมได้ ต่างจากปุ๋ยเคมีที่มีแอมโมเนียเป็นส่วนประกอบ จึงอาจจะทำให้ดินแปรสภาพเป็นกรด

7.ปุ๋ยหมักช่วยเพิ่มจุลินทรีย์และอินทรียวัตถุ ทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น เช่น ร่วนซุย ระบายน้ำดี ถ่ายเทอากาศสะดวก และรากแผ่กระจายหาอาหารง่ายขึ้น ในขณะที่ปุ๋ยเคมีไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงดินใด

8.ปุ๋ยหมักช่วยลดค่าใช้จ่ายและทำให้ประหยัดเงิน เพราะสามารถใช้แทนปุ๋ยเคมีได้ สามารถลดปริมาณการซื้อปุ๋ยเคมีลงได้ แถมยังไม่ต้องเสียเงินซื้อสารเคมีหรือยาป้องกันแมลงศัตรูพืชด้วย

3.ติดต่อประสานงาน

สมาชิกกลุ่มเป้าหมายหมู่บ้านบุก้านตง หมู่ที่ 12 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 2 คน ได้ลงพื้นที่สอบถามติดต่อประสานงานไปยังสมาชิกชุมชน ให้คำแนะนำผู้สนใจจิตอาสาพัฒนา เพื่อเข้ารับการอบรมเป็นต้นแบบของชุมชนการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ) ในการเข้าร่วมกิจกรรมนี้สามารถประกวดครอบครัวและชุมชนต้นแบบการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ และยังนำความรู้ไปต่อยอดพัฒนาสู่ชุมชนยังเกิดการสร้างรายได้ลดรายจ่ายให้กับตนเองและพื้นที่ชุมชน

อื่นๆ

เมนู