สราญจิต อินทราช ประเภทประชาชน HS06

ตำบลแสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

ข้าพเจ้านาย สราญจิต อินทราช ประเภทประชาชน HS06 ตำบลแสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ได้ทำการสำรวจข้อมูลพื้นฐานและวิเคราะห์หมู่บ้านบุก้านตงพัฒนาและวางแผนพัฒนาชุมชน โดยได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานในช่วงเวลา กุมภาพันธ์ ถึง สิงหาคม พบว่าสภาพของประชาชนในพื้นที่ยังอยู่ในสภาวะการเฝ้าระวังเรื่องโรคโควิดแพร่ระบาด ระลอกที่ 4 ประกอบกับช่วงนี้สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างมาก เนื่องจากชาวบ้านอยู่ในสภาพผลกระทบจากการค้าขายฝืดเคืองรุนแรง เพราะเนื่องจากว่าการหมุนของระบบเงินในท้องถิ่นขาดแคลนที่ผลมาจากโรคระบาด จึงทำให้ระบบเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะชะงักงัน ประกอบกับช่วงนี้นี้เป็นการเริ่มฤดูแห่งการเพาะปลูกของเกษตรกร ทำให้ชาวบ้านต้องเตรียมแปลงเพาะปลูกข้าว พืชผัก และหญ้าอาหารสัตว์ เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ในสภาพเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรง ชาวบ้านต้องดิ้นรนมากกับสภาวะดังกล่าว ซึ่งกระบวนการเพาะปลูกต่างๆทำได้จำกัด เช่น การเตรียมดิน การควบคุมวัชพืช การใช้ปุ๋ย เป็นต้น อย่างไรก็ตามในด้านการพัฒนาชุมชนของโครงการยังคงดำเนินการต่อไปภายใต้สภาพดังปัญหาดังกล่าว

จึงได้มีการร่วมมือกับทีมสมาชิกผู้จ้างงานในโครงการ จัดทำโรงเรือนเพาะเห็ด นางฟ้า ที่บ้านบุก้านตง หมู่ 16 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ

จังหวัดบุรีรัมย์ มีชาวบ้านกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 5 คน และ ประชาชนที่สนใจ จำนวน 5คน พร้อมกับทีมผู้จ้างงานในโครงการ จำนวน 18 คน

กิจกรรมที่ดำเนินการ มีดัง นี้

1.ปรับปรุง ต่อเติมโรงเรือนให้มีความเหมาะสม มั่นคง มีสภาพอากาศที่เหมาะสมในการเพาะเห็ด

2.ประสานขอไม้ไผ่ ไม้ยูคาลิปตัส จากสมาชิกชุมชน และขอ แรงจากทีมผู้จ้างงาน และ สมาชิกในชุมชน

3.จัดวางก้อนเห็ดให้เป็นระเบียบเพื่อความสะดวกในการดูแล และ การเก็บผลผลิต

4.ให้วิทยากร แนะนำ และ บันทึกคำแนะนำจากวิทยากร และเผยแพร่ให้กับสมาชิกชุมชน ผู้ดูแลโรงเรือนเพื่อนำไปปฏิบัติให้ถูกต้อง

5.การทำโรงเรือนเห็ดนางฟ้า แข็งแรง มั่นคง สะอาด อากาศเหมาะสม

6.การจัดทำคลิปวีดีโอการผลิตเห็ดนางฟ้าเพื่อสร้างอาชีพในชุมชน

การช่วยเหลือการทำงาน

-ได้มีการช่วยจัดทำโรงเพาะเห็ดและยกของหนัก

โดยมีการมอบหมายงาน ให้จัดเรียงเชื้อเห็ด และ การตอกเสา

จัดทำผลการดำเนินงานตามแบบฟอร์ม 01, 02 และ 06 ลงในแพลตฟอร์มของมหาวิทยาลัย ในรอบการประเมินครั้งที่ 1 (มีนาคม – กรกฎาคม 2564)

การเก็บเห็ดนางฟ้าและเทคนิคการทำ เมื่อบ่มเชื้อเห็ดแล้วจะทำการเปิดดอก และเก็บผลผลิต เทคนิดท่ให้ผลผลิตสม่ำเสมอคือเมื่อเก็บเห็ดแล้วต้องทำความสะอาดหน้าเชื้อก้อนเห็ด โดยเขี่ยเศษออกให้หมด แล้วงดให้น้ำประมาณ 2 ถึง 3 วัน ให้เชื้อพักตัวแล้วกลับมาให้น้ำตามปกติ ระวังโคนเห็ดที่เก็บค้างในถุง ก้อนเชื้อเพราะเป็นสาเหตตุของการเน่าของเชื้อเห็ดจากแมลงต่างๆ ที่จะเข้าไปวางไข่ ให้ระวังมดหรือปลวกขึ้นถุงก้อนเชื้อเห็ด

 

ปัญหาการเพาะเห็ดนางฟ้า

ปัญหาการผลิตเห็ดนางฟ้า 1. เชื้อในถุงไม่เดินไม่ออกดอก 2. ปัญหาหนอนแมลงกินเส้นใย 3. ปัญหาเห็ดมีกลิ่นบูดมีน้ำเมือก 4.มีดอกแต่ขนาดเล็กมากหรือมีก้านดอกยาวเกินไป 5. มีจำนวนของการออกดกที่สั้นเกินไป

ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการพัฒนาต่อยอด

ปัญหาโรคโควิดระบาด

-แก้ไขทำงานด้วยกลุ่มขนาดเล็ก ใช้เครือข่ายสมาชิกชุมชนเดียวกันช่วยกันสร้างโรงเรือนและทำงานภาคสนาม

ปัญหาการทำบัญชีในกลุ่มสมาชิก ที่ยังไม่คล่องในการจัดการบัญชีกลุ่ม

-แก้ไขโดยการเข้าไปแลกเปลี่ยนแนวทางการบันทึกข้อมูล และการจัดการบันทึกแบบง่ายๆ เพื่อความสะดวกในการติดตามความก้าวหน้า

การติดตามระบบการผลิตและการตลาดในกลุ่มผลิตเห็ดนางฟ้าของพื้นที่ชุมชนบ้านบุก้านตงพัฒนา

-ได้ลงก้อนเห็ดจำนวน 800 ก้อน ขายได้ 1,840 บาท ในรอบ 8 วัน   ที่ผ่านมาผลผลิตเห็ดได้ 23 กิโลกรัม ได้ผลผลิตเห็ดเฉลี่ย 2.9 กิโลกรัม/วัน/ 800 ก้อน  ช่วงนี้กลุ่มสมาชิกกำลังศึกษาและดำเนินการทำการผลิตเห็ดนางฟ้าในช่วงเริ่มต้น เรียนรู้แนวทางการตลาด การสร้างเครือข่ายกลุ่มผู้สนใจผลิตเห็ดนางฟ้า ตลอดจนการศึกษาการทำบัญชีการผลิตอย่างง่าย เพื่อที่จะประเมินถึงจุดอ่อนจุดแข็งในการต่อยอดการผลิตเห็ดนางฟ้าในชุมชนต่อไป

การสำรวจพื้นที่และข้อมูลสำคัญของตำบล

ข้อมูลพื้นฐานตำบลแสลงพัน

ประกอบด้วย 17หมู่บ้าน 2,657 ครัวเรือน

สภาพภูมิศาสตร์

เป็นพื้นที่ราบโล่ง สภาพเป็นดินร่วนปนทราย มีหนองน้ำสาธารณะ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาและเลี้ยงสัตว์

ประชากรทั้งหมด 9,400 คน

แบ่งเป็น ชาย 49 % หญิง 51%

สถานที่และแหล่งทรัพยากร

วัด 10 แห่ง

โรงเรียน 8 แห่ง ศพต. 1 แห่ง

พื้นที่ป่าไม้ 36,537.50 ไร่             แหล่งน้ำสาธารณะ 19 แห่ง

         

                   

อื่นๆ

เมนู