บทความรายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน (เดือนพฤษภาคม)

  โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

(1ตำบล 1มหาวิทยาลัย)

ข้าพเจ้านาย เจษฎา กุลสุนทรรัตน์  ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ได้ทำการสำรวจข้อมูลพื้นฐานและวิเคราะห์หมู่บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 25 เดือนเมษายน พ.ศ.2564 ถึงวันที่ 17 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564  โดยการดำเนินตามแผนการปฏิบัติงานตามลำดับดังนี้คือ มีการอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพจากการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง โดยทำหน้าที่เป็นผู้ร่วมอบรมในโครงการและรับการฝึกอบรมกับผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มตำบล ในด้านการเก็บข้อมูลจากการลงพื้นที่ได้ทำการสำรวจตามแบบฟอร์ม 01 แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 และ แบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่เพื่อทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลชุมชน สรุปผลจากการสอบถามคนในชุมชนบุขี้เหล็กใหม่พัฒนาพบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความสนใจในการสร้างรายได้เสริมระหว่างก่อนและหลังการทำนาเพื่อให้เกิดรายได้ที่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นการนำเศษฟาง ใบไม้ และเศษวัสดุทางการเกษตรที่เหลือใช้มาแปรรูปเป็นปุ๋ยชีวภาพไว้ใช้ในการเกษตรเพื่อลดรายจ่ายจากการใช้ปุ๋ยเคมี ในด้านการจัดการป้องกันโรคโควิด-19 ชาวบ้านค่อนข้างมีการระมัดระวังป้องกันโรคเป็นอย่างดี มีการตรวจคัดกรองผู้ที่เข้ามาในชุมชน และยังประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่ออกจากเคหะสถานสวมใส่หน้ากาก

จากการสำรวจข้อมูลภาคสนามพบว่า ในเขตบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่ 17 และเขตหมู่บ้านใกล้เคียง มีฟาง เศษใบไม้และเศษอาหารจากครัวเรือนหรือมูลสัตว์ ที่พอจะมีศักยภาพที่จะพัฒนาด้านการผลิตดินปลูกต้นไม้ ปุ๋ยจากใบไม้  ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ หรือมีศักยภาพในการนำวัตถุดิบมาผลิตเห็ดชนิดต่างๆ หรือการเพิ่มมูลค่าได้ด้านอื่นๆ เพื่อช่วยส่งเสริมด้านการค้าและการบริโภคในครัวเรือน เพื่อที่จะสามารถลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ ทั้งนี้ทำเกษตรที่พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนของชุมชน โดยมีสมาชิกที่เข้าร่วมจำนวน 5 คน จากตัวแทนสมาชิกครัวเรือน ที่เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพจากการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง โดยทำหน้าที่เป็นผู้ร่วมศึกษาและรับการฝึกอบรมร่วมกับสมาชิกในกลุ่ม 5 คนดังนี้

1.นางสำเนียง ทราบรัมย์         บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่ 17

2.นางสนอง แซกรัมย์             บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา       หมู่ที่ 17

3.นายสังวาลย์น้อย แก้วกล้า    บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา       หมู่ที่ 17

4.นายอำนวย มาลัยสวรรค์     บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา       หมู่ที่ 17

5.นายประวิท เมืองลาม          บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา       หมู่ที่ 17

กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพจากการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลังมีกิจกรรมต่างๆดังนี้

1.แนะนำและเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพจากการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลังโดยผศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏบุรีรัมย์ และ นางอำนวย ศรีคล้าย ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเกษตรอินทรีย์และการผลิตปุ๋ยชีวภาพ เป็นวิทยากรให้ความรู้

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพการผลิตปุ๋ยอินทรีย์สูตรต่างๆจากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง และการผลิตเห็ดฟาง

โดยมีสูตรที่อบรมดังนี้

1 สูตรไตรโครเดอร์มา อุปกรณ์ และวิธีการทำ

อุปกรณ์ที่ใช้

1.ถังน้ำ

2.น้ำตาลทรายแดง 2 กิโลกรัม

3.เชื้อไตรโคโรม่า 2 ช้อนโต๊ะ

4.น้ำเปล่า 20 ลิตร

วิธีทำ

-นำน้ำจำนวน 20 ลิตรใส่ภาชนะ จากนั้นใส่น้ำตาลแดงลงไป 2 กิโลกรัม

-นำเชื้อไตรโครเดอร์มา 2 ช้อนแกงมาเทใส่ถัง ผสมให้เข้ากันในทิศทางเดียวกัน ให้น้ำตาลละลาย จากนั้นทำการหมักไว้ 48 ชั่วโมง หรือ 2 วันก็สามารถนำออกไปใช้ได้เลย โดยอัตราส่วนผสมคือ 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร

คุณสมบัติ

โดยสูตรนี้สามารถนำไปใช้ป้องกันเชื้อรา แก้โรครากเน่า โคเน่า และโรคแคงเกอร์

  1. สูตรฮอร์โมนกล้วย

วัสดุอุปกรณ์

1.ต้นกล้วย(ตัดในช่วงเช้า)

2.กากน้ำตาล

วิธีการ

1.สับต้นกล้วยให้ละเอียด

2.นำกากน้ำตาลผสมกับต้นกล้วยที่สับแล้ว ในสัดส่วน 1/3 ผสมแล้วคนให้เข้ากันทิ้งไว้ 7 วัน จึงจะสามารถนำมาใช้ได้

ประโยชน์จุลินทรีย์หน่อกล้วย

-ป้องกันเชื้อรา

-รากเน่า

-โคนเน่า

-ทำให้ดินร่วนซุย

วิธีใช้

2-5 แกง ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นตอนเช้าหรือตอนเย็น ทุกสัปดาห์

ประโยชน์ไตรโคเดอร์มา

-ป้องกันเชื้อรา

-รากเน่า

-โคนเน่า

-แดงเกอร์

วิธีใช้

2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร

ฉีดพ่นจอนเช้าหรือตอนเย็น ทุกสัปดาห์

  1. สูตรฮอร์โมนไข่และวิธีการทำ

สูตรฮอร์โมนไข่

วัสดุอุปกรณ์

– ไข่ไก่ทั้งฟอง 6 กิโลกรัม

– กากน้ำตาล 6 กิโลกรัม

– แป้งข้าวหมาก 1 ก้อน

– ยาคูลท์หรือนมเปรี้ยว 1 ขวด

– ถังน้ำ 1 ถัง

– ไม้คน 1 อัน

– เครื่องปั่น 1 เครื่อง

วิธีทำ

– นำไข่ไก่ไปปั่นให้ละเอียด เทใส่ถังที่เตรียมไว้

– นำกากน้ำตาลเทลงไป

– นำแป้งข้าวหมาก บดให้ละเอียดเทลงไป

– นำยาคูลท์เทลง คนให้เข้ากัน ต้องคนไปในทางเดียวกัน ห้ามสลับทาง

หมักไว้ 14 วัน  เก็บไว้ในที่ร่ม

คุณสมบัติฮอร์โมนไข่

-บำรุงใบเขียว

-เร่งดอก ผลผลิต

วิธีใช้

-ใช้ 2-5 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร

-ฉีดพ่นตอนเช้าหรือตอนเย็น ทุกสัปดาห์

  1. จัดเก็บและบันทึกแหล่งข้อมูลสำคัญในพื้นที่หมู่ที่ 17 บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา ให้ครบ 100% ในเดือนหน้า เนื่องจากกสถานการณ์โรคโควิท-19

ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในชุมชนคือการแพร่ระบาดของโรคโควิท-19 ทำให้ผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านต้องเฝ้าระวังการเข้าออกชุมชนและรักษาระยะห่างอย่างเข้มงวด จึงทำให้การฝึกอบรมของกลุ่มเป้าหมายต้องเลื่อนออกไป

ในการนี้ข้าพเจ้าขอเสนอแนะว่าควรให้กลุ่มผู้ปฎิบัติงานได้ฝึกปฏิบัติให้เกิดความชำนาญ สามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้อบรมมาส่งต่อให้กับกลุ่มผู้สนใจเพื่อทดลองใช้ปุ๋ยชีวภาพและไปใช้ในการเกษตรเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี เพื่อเป็นการอนุรักษ์ดินและแหล่งน้ำ พัฒนาชุมชนให้เกิดการสร้างงานและอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นจนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

รูปประกอบ

การเตรียมงานก่อนการอบรม

 

วันอบรมโครงการ

 

อื่นๆ

เมนู